เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


(Full Text)

พุทธศาสนาและจิตเวชศาสตร์

 จำลอง ดิษยวณิช M.S., พ.บ.*


บทคัดย่อ

มีทั้งความคล้ายคลึงกัน และความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างพระอภิธรรม ซึ่งเป็นจิตวิทยาแนวพุทธ และจิตเวชศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตวิเคราะห์ ระบบเกี่ยวกับคำสอนทั้งสองอย่าง มีมโนทัศน์ว่าปรากฏการณ์ทางจิตทั้งหลายรวมทั้งความทุกข์และพฤติกรรมต่างๆ ล้วนแต่มีสาเหตุที่เป็นลักษณะเฉพาะอยู่ก่อนแล้วและมักปฏิบัติการอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก อย่างไรก็ตามภวังคจิตหรือจิตไร้สำนึกในพุทธศาสนามีขอบเขตกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าในจิตวิเคราะห์มาก เพราะเป็นที่เก็บสั่งสมของกุศลกรรมและอกุศลกรรม อาสวะและบารมี รวมทั้งตัณหาซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ ตัณหาสามอย่างซึ่งได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา สามารถเปรียบเทียบได้กับมโนทัศน์ของสัญชาตญาณทางเพศ สัญชาตญาณแห่งอัตตา และสัญชาตญาณแห่งความตายในจิตวิเคราะห์ตามลำดับ

ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เกี่ยวกับอกุศลมูลในจิตไร้สำนึกซึ่งได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) ความหลง (โมหะ) นั้น มโนทัศน์ของความโลภและความโกรธมีมุมมองที่คล้ายคลึงกันหลายอย่างกับแรงขับทางเพศ และแรงขับทางก้าวร้าว แต่ฟรอยด์ดูเหมือนจะไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องของความหลง (โมหะ) เลย เกี่ยวกับกุศลมูลในจิตไร้สำนึก ซึ่งได้แก่ ความไม่โลภ (อโลภะ) หรือความคิดเผื่อแผ่ ความไม่โกรธ (อโทสะ) หรือความเมตตา และ ความไม่หลง (อโมหะ) หรือปัญญา สามารถเปรียบเทียบได้กับมโนทัศน์ของอภิอัตตาในจิตวิเคราะห์

จุดหมายในจิตเวชศาสตร์คือการช่วยผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตใจให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งการปรับตัวทางสังคมและพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ดีขึ้น เป้าประสงค์ในพุทธศาสนาสูงกว่าในจิตเวชศาสตร์มาก ในแง่ที่ว่าได้ให้คำสอนแก่คนปกติที่สามารถนำมาปฏิบัติจนมีพัฒนาการทางจิตวิญญาณสูงขึ้นเรื่อยๆ จากระดับโลกียะเข้าสู่ระดับโลกุตตระ และบรรลุนิพพานในที่สุด ในจิตวิเคราะห์ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิผลในการทำลายล้างแรงขับทางสัญชาตญาณและตัณหาของมนุษย์ให้หมดสิ้นได้ แต่ในพุทธศาสนากิเลสอย่างละเอียดในจิตไร้สำนึกหรืออนุสัยกิเลสสามารถขจัดได้โดยสิ้นเชิงด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มุมมองทางจิตวิทยาของวิปัสสนากรรมฐานประกอบด้วย 1) การกำหนดรู้เฉย ๆ 2) การขจัด-การเก็บกด 3) การขจัด-การวางเงื่อนไข 4) การเรียนรู้ใหม่ และ 5) การพิจารณาซ้ำ

ฟรอยด์เชื่อว่าภาวะของสุขภาพจิตสัมบูรณ์เป็นอุดมคติที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า ความวิตกกังวลซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคประสาทยังคงมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ในทางตรงกันข้าม พุทธศาสนากลับมีแนวคิดว่า สุขภาพจิตสัมบูรณ์เป็นสิ่งที่บรรลุได้ในชีวิตนี้ ถ้าบุคคลใดก็ตามสามารถขจัดกิเลสและอาสวะทั้งหลายภายในจิตได้โดยสิ้นเชิง บุคคลดังกล่าวเรียกว่า “พระอรหันต์” ผู้เป็นอริยบุคคลขั้นสูงสุดและสามารถทำลายสังโยชน์ซึ่งเป็นกิเลสที่ผูกพันสัตว์ ให้เวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสารได้หมดสิ้น

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 266-91.

 คำสำคัญ ตัณหา กุศลมูล อกุศลมูล วิปัสสนากรรมฐาน แรงขับทางสัญชาตญาณ อภิอัตตา

** ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200


 

 Buddhism and Psychiatry  

Chamlong Disayavanish, M.S., M.D.*

  Abstract

There are clearly both parallelisms and divergences between Abhidhamma which is Buddhist psychology and psychiatry, especially psychoanalysis. Both doctrinal systems have the concept that all mental phenomena including suffering and behaviors have specific antecedent causes, often operating on an unconscious level. However, the Bhavanga citta or the unconscious in Buddhism has a broader and more profound scope than the unconscious in psychoanalysis as the former is a reservoir of wholesome and unwholesome actions, mental intoxications and perfections, including cravings which are the origin of suffering. The three kinds of cravings, namely craving for sensual pleasures, craving for existence and craving for non-existence, can be compared with the concepts of sexual instinct, ego instinct and death instinct in psychoanalysis respectively.

Moreover, with regard to the unconscious unwholesome roots, namely greed (lobha), hatred (dosa), and delusion (moha), the concepts of greed and hatred are very similar in many aspects to sexual drive and aggressive drive but Freud did not seem to acknowledge the notion of delusion (moha) at all. As to the unconscious wholesome roots, namely non-greed or generosity, non-hatred or loving-kindness, and non-delusion or wisdom, they can be relatively compared with the concept of superego in psychoanalysis.

The aim in psychiatry is to help the patients with mental disorders return to normality with a better social adjustment and personality development. The goal in Buddhism is far superior to that in psychiatry in that it provides the normal individual with the doctrine that can be practiced to promote higher spiritual development from the mundane level to the supramundane one and finally to Nirvana. In psychoanalysis, there is no effective method to eradicate human instinctual drives and cravings completely but, according to the Buddhist doctrine, the deep-rooted unconscious impurities or latent defilements can be absolutely eradicated through the practice of insight meditation. The psychological aspects of insight meditation includes 1) bare attention, 2) de-repression, 3) de-conditioning, 4) new learning, and 5) working through.

Freud believed that the state of absolute mental health is an impossible ideal because anxiety which is a neurotic symptom still exists in every human being. On the contrary, Buddhism advocates the conception that absolute mental health can be attained in this very life if one can totally remove all mental defilements and intoxications. Such person is called an Arahant, the noble one who is fully enlightened and has given up all spiritual fetters that bind man to the endless round of rebirths and redeaths.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(3): 266-91.

Key Words: cravings (tanha), wholesome roots, unwholesome roots, insight meditation, instinctual drives, superego

   * Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us