เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


(Full Text)

ลักษณะของเด็กในครอบครัวไทย

 จรรจา สุวรรณทัต ปร.ด. (Educational Psychology and Guidance)

 บทคัดย่อ

บทความนี้พยายามวิเคราะห์สังเคราะห์การวิจัยสำคัญด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยแต่อดีตจนปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าการอบรมเลี้ยงดูในช่วงอย่างน้อย 3 ทศวรรษที่ผ่านมานั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการพัฒนาจิตลักษณะและพฤติกรรมของเด็กบางประการที่สำคัญอย่างไรบ้างในครอบครัวไทย การศึกษาวิจัยในอดีตพบว่า ครอบครัวไทยได้ใช้กรอบคุณธรรมและค่านิยมสำคัญเป็นฐานในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งได้แก่ คุณธรรมแห่งความไม่ก้าวร้าวรุกราน ความกตัญญูรู้คุณ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพผู้อาวุโสและผู้มีอำนาจ และการมีกิริยา มรรยาทที่เหมาะสม แบบการอบรมเลี้ยงดูมีลักษณะอะลุ้มอล่วยในเกือบทุกด้าน แต่จะมีความเข้มงวดในด้านการควบคุมพฤติกรรมที่เกี่ยวกับบทบาททางเพศ ในปัจจุบันความเข้มงวดในพฤติกรรมตามบทบาททางเพศและการมีกิริยามรรยาทที่เหมาะสมลดหย่อนไปมาก

ผลการวิจัยระหว่างประเทศที่เป็นการวิจัยระยะยาวชิ้นแรกและชิ้นเดียวของประเทศไทยพบว่า ความคาดหวังสำคัญของพ่อแม่ในครอบครัวไทย ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก ได้แก่ การพัฒนาให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นเพียงพอในตนเอง ความสามารถทางภาษา และทักษะการเตรียมตัวทางวิชาการ หากพ่อแม่คาดหวังจากเด็กน้อยมากในเรื่องความสามารถที่จะประเมินตนเอง ซึ่งแท้จริงแล้วความสามารถในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก และเด็กควรได้รับการพัฒนาจากครอบครัวควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตลักษณะมุ่งอนาคต การพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะที่สามารถประเมินตนเองได้อย่างเที่ยงตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ในสังคมไทย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 252-7.

 คำสำคัญ การอบรมเลี้ยงดู กรอบคุณธรรมในการเลี้ยงดู ความคาดหวังของบิดามารดา

 


 Characteristics of Children in Thai Families

Chancha Suvannathat, Ed.D. (Educational Psychology and Guidance)

 Abstract

This research article is based on the analysis and synthesis of important research studies about child rearings in Thai socio-cultural context. Its objective is to point out what are taking place in the socialization practices in Thai families. In the past, it was found that Thai families inculcated in their children certain significant values namely nonaggression, honesty, generosity, respect for authority and seniority, and propriety of etiquette. The pattern of child rearings was considered to be widely permissive. Thai parents were lenient with their children in almost every aspect except sex role behavior. At present, the child rearings pattern is still permissive. The parents are now more lenient with the child in the aspects if sex role behavior and propriety of etiquette. The Thai children and youth in to-day society accordingly reveal themselves as more aggressive and assertive type of personality.

In addition, main results from the only one international longitudinal study project on preschooler services reveal that Thai parents’ main expectation for their children are self-sufficiency, language ability, and preacademic skills. However, they put less importance to self-assessment ability of the child which actually is considered to be very significant in helping develop the child to be person of quality when he or she grows up.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(3): 252-7.

 

 

 

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us