เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


(Full Text)

ผู้ที่ครอบครัวระบุว่าป่วยทางจิตเวชกับผู้ป่วยทางจิตเวชอื่นๆ ในครอบครัว

 ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ พ.บ.
* กวี สุวรรณกิจ พ.บ.*
วัจนินทร์ โรหิตสุข ปรด.(การศึกษาพฤติกรรมประยุกต์)* สมร อริยานุชิตกุล วทม.(สุขภาพจิต, พยาบาล)* 

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ที่ครอบครัวระบุว่าป่วยทางจิตเวชและผู้ป่วยทางจิตเวชอื่นๆ ในครอบครัวนี้ ประชากรที่ศึกษามาจากผู้ที่มารับการรักษาที่คลินิกครอบครัว รวมทั้งหมด 25 ครอบครัว ผลการศึกษาพบว่าในแต่ละครอบครัวมีจำนวนสมาชิกป่วยทางจิตเวช ร้อยละ 48, ร้อยละ 76 ของครอบครัวทั้งหมดมีผู้ป่วยทางจิตเวชมากกว่า 1 คนในครอบครัว และร้อยละ 80 ของครอบครัวทั้งหมดมีสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีความเห็นตรงกับทีมผู้รักษาว่าใครคือผู้ป่วยอื่นๆ ในครอบครัว

ผู้ที่ครอบครัวระบุว่าป่วยทางจิตเวช เป็นชาย 16 คน หญิง 9 คน รวม 25 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา, ร้อยละ 60 มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาและประถมศึกษา, ร้อยละ 32 ว่างงาน, ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสเป็นโสด, สถานภาพในครอบครัวเป็นลูก, การวินิจฉัยโรคที่พบบ่อยเป็น major depressive disorder, bipolar disorders, schizophrenia และ adjustment disorders

ผู้ป่วยทางจิตเวชอื่นๆ ในครอบครัว เป็นชาย 12 คน หญิง 15 คน รวม 27 คน, ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคน, มีการศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยมากที่สุด (ร้อยละ 44), 2 ใน 3 มีสถานภาพสมรสเป็นแบบคู่, ส่วนใหญ่มีงานทำ ว่างงานเพียงร้อยละ 3.7, 2 ใน 3 มีสถานภาพในครอบครัวเป็นพ่อ แม่หรือสามี ภรรยา, การวินิจฉัยโรคเป็น personality disorders มากที่สุด (ร้อยละ 37) รองลงไปเป็น adjustment disorders, psychological factors affecting medical condition (tension headache), alcohol abuse and dependence

ผู้ที่ครอบครัวระบุว่าป่วยทางจิตเวชและผู้ป่วยทางจิตเวชอื่นๆ ในครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ในเรื่องอายุ อาชีพ สถานภาพสมรส สถานภาพในครอบครัว และการวินิจฉัยโรคหลัก ที่แบ่งเป็น axis I และ axis II ของ DSM-IV

ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาครอบครัว มักจะมีผู้ป่วยทางจิตเวชหลายคนในครอบครัว ถ้าผู้ป่วยทุกคนในครอบครัวได้รับการรักษาร่วมด้วย ก็จะทำให้ผลการรักษาดีหรือดีมาก

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 240-51.

 คำสำคัญ ผู้ที่ครอบครัวระบุว่าป่วยทางจิตเวช ผู้ป่วยอื่นๆ ในครอบครัว ครอบครัวบำบัด

 *ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700


Identified Psychiatric Patients and Other Psychiatric Patients in Their Families*

Sirirat Kooptiwoot, M.D.* Kavi Suvarnakich, M.D.**

Wajjanin Rohitsuk, Ph.D.(applied behavioral studies)** Samorn Ariyanuchitkul, MSc.(mental health, nurse)**

Abstract: Twenty-five identified psychiatric patients and 27 other psychiatric patients in their families in this prospective and comparative study were part of those from the family therapy clinic, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, during January to December 1997. We found that in each family there were 48 per cent of family members having mental disorders according to the DSM-IV diagnostic criteria. Seventy-six per cent of these 25 families had more than one psychiatric patients in a family. Twenty families (80 per cent) had at least one family member having the same opinion as the therapist team having about who were other patients in their families.

Identified psychiatric patients were 16 men and 9 women. Most of them were young adult and adolescent, single and being sons or daughters. Half of them were studying in primary and secondary schools. Nearly one-third were unemployed. The four common diagnoses were major depressive disorder, bipolar disorders, schizophrenia and adjustment disorders.

Other psychiatric patients in the families were 12 men and 15 women. Most of them were in middle adulthood, married, working, educated, and being father, mother or husband, wife. The most common diagnoses were personality disorders (37 per cent) and other common diagnoses were adjustment disorders, psychological factors affecting medical condition (tension headache), alcohol abuse and dependence.

Identified psychiatric patients were different from other psychiatric patients in the families statistical significantly at p < 0.05 in 5 aspects which were age, occupation, marital status, family status and major diagnoses in axis I or axis II.

The result of this study showed that most of the families of psychiatric patients having family problems had more than one psychiatric patient in a family. If all of the patients receive treatment, the treatment outcome will be excellent.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(3): 240-51.

  Key words: identified psychiatric patients, other patients in a family, family therapy

 * Supported by a grant from the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 1997.

**Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700.

 

 

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us