เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985
บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


(Full Text)

ปัจจัยทางจิตสังคมในเด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการที่ศูนย์สุขวิทยาจิต

 พรรณพิมล หล่อตระกูล พ.บ.
* พรรณนิภา มีรสล้ำ ศศ.บ.
* ศศกร วิชัย ศศ.บ.*

 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษาที่ศูนย์สุขวิทยาจิต ในระหว่างปี พ.ศ.2539-40 โดยศึกษาในด้าน 1) ความถี่ของปัจจัยทางจิตสังคมในแต่ละด้าน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมกับกลุ่มอายุ และระดับสติปัญญา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการต่างๆ กับปัจจัยทางจิตสังคม

วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง Axis V Abnormal psychosocial situations ฉบับปรับปรุงใหม่ตามการวินิจฉัยแบบ multiaxial ของ ICD-10 จากผู้ปกครองผู้ป่วยนอกใหม่ที่ศูนย์สุขวิทยาจิต วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแบบบันทึกอาการผู้ป่วยใหม่ของศูนย์สุขวิทยาจิต

ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยเด็ก 365 ราย อายุเฉลี่ย 9.37 ปี ในเด็กทั้งหมดมีความผิดปกติของภาวะจิตสังคมเรียงตามลำดับดังนี้ การเลี้ยงดูที่เอาใจใส่เด็กมากเกินไป ร้อยละ 28.0, สถานภาพพ่อแม่ผิดปกติร้อยละ 22.5, การเลี้ยงดูที่มีความคาดหวังมาก ร้อยละ 22.0. ความผิดปกติของปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับอายุในเด็กวัยรุ่น จะมีปัญหาจาก ความสัมพันธ์ในครอบครัวผิดปกติ, พ่อแม่มีความบกพร่อง/พิการ, การเลี้ยงดูที่ผิดปกติ และมีปัญหาจากเหตุการณ์ชีวิตในปัจจุบัน. ในเด็กวัย 6-12 ปี จะสัมพันธ์กับการเลี้ยงดู ที่ผิดปกติ ในแง่ของเชาว์ปัญญาพบว่าเด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำจะมีความสัมพันธ์ในครอบครัวผิดปกติ และการเลี้ยงดูที่ผิดปกติ. นอกจากนี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการทางอารมณ์ สังคม การเรียน กับความผิดปกติของปัจจัยทางจิตสังคมบางประการ

สรุป ผู้ป่วยใหม่เด็กและวัยรุ่นอายุเฉลี่ย 9.37 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีความผิดปกติของปัจจัยทางจิตสังคม ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอายุ ระดับสติปัญญา และกลุ่มอาการทางอารมณ์ สังคม และการเรียน

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 226-39.

 คำสำคัญ ปัจจัยทางจิตสังคม เด็ก วัยรุ่น ครอบครัว การเลี้ยงดู

 * ศูนย์สุขวิทยาจิต กรมสุขภาพจิต ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400


Abnormal Psychosocial Situations in Children and Adolescents Attending Child Mental Health Center

Panpimol Lotrakul, M.D. * Pannipa Meeroslam, B.Ed.* Sasakorn Wichai, B.Ed.*

 Objectives : The purposes of this study were to examine the abnormal psychosocial situations in children and adolescents attending the Child Mental Health Center with regard to 1) the frequency of each abnormal situation; 2) the relationship between psychosocial situations and age and intelligence; and 3) the relationship between psychosocial situations and each symptom cluster.

Method : Each new patient's parent was interviewed using the parent interview schedule of the new version of Axis V abnormal psychosocial situations according to the ICD-10 multiaxial diagnosis. The patient's symptoms were collected by the new-patient recording form of the Child Mental Health Center.

Results : Mean age of the 365 subjects was 9.37 years. Common abnormal psychosocial situations were overprotection (28%), anomalous parenting situation (22.5%), and overexpectation (22%). Among adolescent subjects significant abnormal psychosocial situations were abnormal intrafamilial relationship, parents' disability, abnormal upbringing, and acute life events respectively; whereas abnormal upbringing was the crucial factor among 6-12 year old subjects. Compared to other subjects in the study, children with low IQ had significantly more abnormal intrafamilial relationship and abnormal upbringing. There were significant correlations between emotional, social, and academic problems and several abnormal psychosocial situations.

Conclusions : Among our subjects, the abnormal psychosocial situations significantly correlated with age, intelligence, and emotional, social, and academic problems.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(3): 226-39.

Key words: psychosocial factor, child, adolescent, family

* Child Mental Healh Center, Rama VI Road, Bangkok 10400

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us