ประวัติความเป็นมา
  ประวัติ
  ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว
  กฏระเบียบของสมาคม
  คณะกรรมการ
   สมาชิกสมาคม
  th       English languageen
  เธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธฒเธชเธฑเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เนŒ
  เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธˆเธดเธ•เนเธžเธ—เธขเนŒ
   เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ
  เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธธเธก
  เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ
  เธ”เธฒเธงเธ™เนŒเน‚เธซเธฅเธ”
  ASEAN Journal of
          Psychiatry
บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต

ข้อบังคับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2534

หมวดที่ 1 ชื่อ เครื่องหมาย และที่ตั้งสำนักงาน

ข้อ 1 สมาคมนี้ชื่อว่า "สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย" ใช้ชื่อย่อ "ส.จ.ท."ชื่อภาษาอังกฤษ " The Psychiatric Association of Thailand "และใช้อักษรย่อว่า " PAT"

ข้อ 2 ตราสมาคม เป็นรูปคบเพลิง มีปีก 1 ปีก งูพันภายในขอบวงกลม 2 ขอบ ซึ่งมีอักษรว่า "สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2496" ดังรูปข้างล่างนี้

ข้อ 3 สำนักงานใหญ่ของสมาคม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 94 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 (โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา)

หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์

ข้อ 4 สมาคมฯมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

4.1 บำรุงส่งเสริมและช่วยเหลือการแพทย์สาขาจิตเวชศาสตร์ในประ-เทศไทย ตลอดจนการศึกษา ป้องกัน และรักษาโรคทางจิตเวชให้ก้าวหน้าไปตามหลักวิทยาศาสตร์

4.2 เผยแพร่และโฆษณาความรู้ในวิชาจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต และจิตวิทยาแก่ประชาชน ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

4.3 ร่วมมือกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมทางการแพทย์สาขาอื่นๆ รวมทั้งสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย

4.4 ร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาคม องค์การ และสถาบันการแพทย์สาขาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในต่างประเทศ

หมวดที่ 3 ประเภทสมาชิก และการสมัครเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ 5 สมาคม มีสมาชิก 3 ประเภท คือ

5.1 สมาชิกสามัญ
5.1.1 รายปี
5.1.2 ตลอดชีพ

5.2 สมาชิกพิเศษ
5.2.1 รายปี
5.2.2 ตลอดชีพ

5.3 สมาชิกกิติมศักดิ์

ข้อ 6 ผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ ต้องเป็นบุคคลซึ่งสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ มีประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรแพทยศาสตร์ และเคยปฏิบัติงานในสาขาจิตเวชศาสตร์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี และคณะกรรมการอำนวยการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกสามัญ

ข้อ 7 สมาชิกพิเศษได้แก่ บุคคลซึ่งไม่ใช่จิตแพทย์ แต่ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
7.1 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
7.2 มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นที่รังเกียจในการสมาคม
7.3 ไม่ถูกออกจากสมาคมหรือสโมสรใดๆ มาโดยมีความเสียหาย
7.4 ไม่เป็นโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจต่อสังคม
7.5 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7.6 เป็นผู้มีความเหมาะสมที่คณะกรรมการอำนวยการฯ เห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกพิเศษ

ข้อ 8 สมาชิกกิติมศักดิ์ได้แก่ บุคคล ผู้ทรงเกียรติคุณ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรให้เชิญเป็นสมาชิกเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาคมโดยเฉพาะผู้ที่ได้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต

ข้อ 9 ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกประเภทสามัญและพิเศษ ให้ยื่นใบสมัครตาม แบบของสมาคม ต่อเลขาธิการ โดยมีสมาชิกเป็นผู้นำ 1 คน กับผู้รับรองอีก1 คน

ข้อ 10 เมื่อถึงคราวประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ให้เลขาธิการนำรายชื่อผู้สมัครนั้นเสนอต่อที่ประชุม เพื่อคณะกรรมการอำนวยการ พิจารณาลงมติรับเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ 11 เมื่อคณะกรรมการอำนวยการ ลงมติรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้เลขาธิ การแจ้งไปยังผู้สมัคร เป็นลายอักษร ให้ชำระค่าบำรุงสมาคมภายใน 3 เดือน

ข้อ 12 สมาคม จะยังไม่ถือว่า ผู้สมัครใหม่เป็นสมาชิก และไม่จดทะเบียนจนกว่าผู้ สมัครจะได้ชำระค่าบำรุงสมาคมตามระเบียบ

ข้อ 13 ผู้สมัครคนใดชำระเงินค่าบำรุงสมาคมตามความในข้อ 11 และข้อ 12 แล้ว ให้นายทะเบียบลงชื่อไว้ในทะเบียนของสมาคม และประกาศชื่อในวารสาร ของสมาคม สำหรับสมาชิกพิเศษให้ทำทะเบียนแยกไว้ต่างหาก

หมวดที่ 4 ค่าบำรุงสมาคมและระเบียบการชำระเงิน

ข้อ 14 ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกพิเศษ ต้องชำระเงินค่าบำรุงสมาคม (ซึ่งเรียกคืนไม่ได้ เมื่อชำระแล้ว) ดังนี้
14.1 รายปี 200 บาท ทั้งนี้ต้องชำระเงินภายในเดือนมีนาคมของแต่ละปี หรือ
1 4.2 ตลอดชีพ 1 , 500 บาท

ข้อ 15 หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบำรุงสมาคม ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่

ข้อ 16 สมาชิกกิติมศักดิ์ไม่ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม

หมวดที่ 5 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ 17 สมาชิกมีสิทธิใช้ประโยชน์ในสถานที่ของสมาคม และได้รับผลปฏิบัติโดยเสมอภาคกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์และเป็นไปตาม ระเบียบข้อบังคับ

ข้อ 18 สมาชิกมีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความเจริญของกิจการ หรือความ เป็นอยู่ของสมาคมได้ต่อ คณะกรรมการอำนวยการ หรือที่ประชุมใหญ่

ข้อ 19 สมาชิกมีสิทธิไต่ถามหรือขออนุญาตต่อคณะกรรมการอำนวยการ ตรวจตรา เอกสารทะเบียบสมาชิก บัญชี หรือทรัพย์สินของสมาคม ณ สำนักงานของสมาคม ได้ในเวลาอันสมควร

ข้อ 20 สมาชิกมีสิทธิเข้าประชุมในการประชุมของสมาคม กับมีสิทธิประทับเครื่องหมายของสมาคม สำหรับสมาชิกสามัญมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนละ 1 คะแนน ในการเลือกตั้งนายกสมาคม และกรรมการ อำนวยการ สมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย

ข้อ 21 สมาชิกผู้ใดเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อสกุล ยศ ตำแหน่ง หรือ ที่อยู่ ต้องแจ้งให้ เลขาธิการทราบเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อสมาคมจะได้แก้ทะเบียน

หมวดที่ 6 การขาดจากสมาชิกภาพ

ข้อ 22 สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
22.1 ตาย
22.2 ลาออก
22.3 ต้องจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล และคณะกรรมการอำนวยการฯ ลงมติว่าเป็นการเสื่อมเสียแก่ สมาคมอย่างร้ายแรง
22.4 ขาดชำระค่าบำรุงสมาคม ตามข้อ 14.1
22.5 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออก

ข้อ 23 สมาชิกคนใดประสงค์จะลาออกจากสมาชิกภาพให้แสดงความจำนงเป็นหนังสือ ยื่นต่อเลขาธิการ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการอำนวยการ แต่ต้องชำระเงินค่า บำรุงสมาคมและหนี้สินอย่างอื่น อันค้างชำระอยู่แก่สมาคมให้เสร็จเสียก่อน และความเป็นสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คณะกรรมการอำนวยการ ได้อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลาออกได้แล้ว

หมวดที่ 7 การเลือกตั้งนายกสมาคมและคณะกรรมการอำนวยการสมาคมจิตแพทยแห่งประเทศไทย

ข้อ 24 ให้เลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม เรียกว่า "คณะกรรมการอำนวยการ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย" ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นสมาชิกสามัญ 15คน คือ นายก 1 อุปนายก 1 เลขาธิการ 1 เหรัญญิก 1 ปฏิคม 1 นายทะเบียน 1 ประธานฝ่ายวารสาร 1 ประธานฝ่ายวิชาการ 1 บรรณารักษ์ 1 กรรมการ 6

ข้อ 25 การเลือกตั้งนายก

25.1 ให้เลือกตั้ง "คณะกรรมการเสนอชื่อ "จำนวน 5 คน ทุก 2 ปี โดย วิธีการลงคะแนนเสียง ในที่ประชุม วิชาการประจำปี "คณะกรรมการเสนอชื่อ" นี้มีหน้าที่เสนอชื่อสมาชิกสามัญผู้ที่ตนเห็น สมควร และยินยอมรับตำแหน่งเมื่อได้รับเลือกตั้ง เข้ารับการเลือกตั้ง เป็นนายกได้คนละ 1 ชื่อ

25.2 ให้เลขาธิการแจ้งชื่อ ผู้ได้รับเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นนายกให้สมาชิกสามัญทราบ เพื่อลงคะแนนเสียง ในบัตรเลือกตั้งของสมาคม เท่านั้น ทางไปรษณีย์ และให้ดำเนินการตรวจ นับคะแนนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมวิชาการประจำปีและให้ เลขาธิการแจ้งผลการ เลือกตั้ง ให้สมาชิกทราบ

25.3 การตรวจนับคะแนนให้นายกในขณะนั้น จะต้องแต่งตั้งสมาชิกสามัญอย่างน้อย 3 คน จากความเห็นชอบ ของคณะกรรมการอำนวยการร่วมกับเลขาธิการ เป็นกรรมการตรวจนับคะแนนจากบัตรเลือกตั้ง ผู้ ได้รับคะแนนสูงสุด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก ในกรณีที่คะแนนเท่ากัน ให้เลขาธิการแจ้งชื่อ ผู้ได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน ให้สมาชิกสามัญทราบเพื่อทำการเลือกตั้ง โดยลงคะแนนเสียง ในบัตรเลือกตั้ง ของสมาคมทางไปรษณีย์อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ให้ทราบผลการเลือกตั้งภายใน 1 เดือน

25.4 นายกอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี เมื่อพ้นวาระแล้ว มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ได้อีก

ข้อ 26 การเลือกตั้งกรรมการอำนวยการให้เลือกตั้งกรรมการอำนวยการขึ้น 9 คน ในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีโดย

26.1 ให้นายกในขณะนั้นแต่งตั้งสมาชิกสามัญอย่างน้อย 3 คน เป็นกรรม-การตรวจนับคะแนน

26.2 ให้สมาชิกสามัญเสนอชื่อสมาชิกสามัญที่ตนเห็นสมควรต่อที่ประชุมซึ่งแต่ละชื่อที่เสนอต้องมีสมาชิกสามัญ รับรองอย่างน้อย 1 คน

26.3 ที่ประชุมทำการเลือกตั้ง โดยสมาชิกแต่ละคนเขียนชื่อสมาชิกสามัญซึ่งถูกเสนอชื่อไม่เกิน 4 ชื่อ ลงในบัตรตามแบบที่กำหนดไว้ ส่งให้กรรมการตรวจนับคะแนน ผู้ที่ได้คะแนนสูงอันดับ 1-9 คือผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการอำนวยการ ในกรณีที่มีผู้ได้รับเลือกไม่สามารถจะรับเป็นได้ ให้ผู้ที่มีคะแนนถัดไปเป็นแทน

26.4 กรรมการอำนวยการ อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี เมื่อพ้นวาระแล้ว มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่อีก

ข้อ 27 ให้นายกและกรรมการอำนวยการฯ ที่ได้รับเลือกตั้งประชุมปรึกษากันแต่งตั้ง สมาชิกสามัญให้เป็น กรรมการ อำนวยการฯ อีก 5 คน เพื่อให้ครบจำนวนตามข้อ 24 ภายใน 15 วัน หลังการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ข้อ 28 ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ ทั้ง 15 คน ประชุมปรึกษากันโดยความเห็น ชอบของนายก แต่งตั้งกรรมการเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่ระบุไว้ตามข้อ 24

ข้อ 29 ถ้าตำแหน่งนายกว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากคราวออกตามวาระให้เลื่อน อุปนายกขึ้นดำรงตำแหน่ง แทนจนกว่าจะหมดวาระ

ข้อ 30 ถ้าตำแหน่งอุปนายกว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากคราวออกตามวาระให้คณะ กรรมการอำนวยการฯ เลือกตั้งกันเอง เข้าดำรงตำแหน่งแทนจนกว่าจะหมดวาระ

ข้อ 31 ถ้าตำแหน่งกรรมการใดว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากคราวออกตามวาระให้คณะกรรมการอำนวยการ เลือกตั้งสมาชิกสามัญเข้าเป็นกรรมการแทนจนกว่าจะหมดวาระ

หมวดที่ 8 การขาดจากตำแหน่งคณะกรรมการอำนวยการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

ข้อ 32 กรรมการอำนวยการฯ ย่อมขาดจากตำแหน่งได้โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
32.1 ถึงคราวออกตามวาระ
32.2 ขาดจากสมาชิกภาพตามหมวดหก

ข้อ 33 ที่ประชุมใหญ่อาจลงมติถอดถอนคณะกรรมการอำนวยการ ทั้งคณะหรือบางคนได้โดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมในกรณีที่ดำเนินกิจการของสมาคม นอกเหนือ จากวัตถุประสงค์ และข้อบังคับ ของสมาคม ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

หมวดที่ 9 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

ข้อ 34 คณะกรรมการอำนวยการ มีหน้าที่บริหารกิจการทั้งหมายของสมาคมในการนี้มี สิทธิและอำนาจตราระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใด ที่ไม่ขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์ หรือข้อบังคับของสมาคม แต่งตั้งที่ปรึกษา ตั้งกรรมการพิเศษ ตลอดจนบรรจุ และถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำของสมาคม กรรมการแต่ละคนมีอำนาจควบคุม ให้กิจการทุกอย่างของสมาคม ดำเนินไปด้วยดี

ข้อ 35 นายกมีฐานะและหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทุกอย่างของสมาคมให้ ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ เป็นประธานในที่ประชุมทำการติดต่อกับนิติบุคคล หรือองค์การอื่นใดตลอดจนบุคคลทั่วไป มีอำนาจตามความในข้อ 45 และข้อ54 กับเป็นผู้เรียกร้องหรือสั่งนัดหมายประชุมคณะกรรมการอำนวยการ

ข้อ 36 อุปนายกมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายก และทำหน้าที่บริหารงานแทนเมื่อนายกไม่อยู่ หรือเมื่อได้รับมอบหมาย

ข้อ 37 เลขาธิการมีหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับสมาชิก และบุคคลอื่นในกิจการต่างๆของสมาคม รักษาระเบียบข้อบังคับของสมาคม จัดการและจดบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี จัดส่งรายงานการประชุมให้สมาชิกพร้อมทั้งพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคม

ข้อ 38 เหรัญญิกมีหน้าที่รับจ่ายและรักษาเงินของสมาคมฯ ทำบัญชีงบเดือน บัญชี งบดุลย์ และงบประมาณประจำปี เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการควบคุม การใช้จ่ายงบประมาณได้รับอนุมัติ และบัญชีงบดุลย์จะต้องมีรายการย่อแสดง จำนวนทรัพย์สินและหนี้สินของสมาคม

ข้อ 39 ปฏิคมมีหน้าที่รักษาสถานที่ ทรัพย์สินของสมาคม ควบคุมเจ้าหน้าที่ประจำ ของสมาคม และให้ความสะดวกแก่สมาชิกในการดำเนินงานของสมาคม

ข้อ 40 นายทะเบียนมีหน้าที่รักษาทะเบียนของสมาคม

ข้อ 41 กรรมการฝ่ายต่างๆและกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุ ประสงค์ของสมาคม ตามนโยบายของคณะกรรมการอำนวยการ

ข้อ 42 คณะที่ปรึกษาของสมาคม มีหน้าที่ให้คำแนะนำในกิจการทั่วไปของสมาคมและ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของนายกสมาคม ที่ได้แต่งตั้งขึ้น

ข้อ 43 กรรมการพิเศษที่คณะกรรมการอำนวยการแต่งตั้งขึ้น มีหน้าที่ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการอำนวยการมอบหมายให้ และอยู่ในตำแหน่งตามวาระของนายกสมาคม ที่ได้แต่งตั้งขึ้น หรือตามกำหนดเวลาที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 44 ในการประชุมอาจเชิญที่ปรึกษาหรือกรรมการพิเศษเข้าร่วมประชุมได้แต่ไม่สิทธิออกเสียงลงมติ

ข้อ 45 ให้คณะกรรมการอำนวยการ จัดทำงบประมาณประจำปี และสามารถใช้จ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคม ตามงบประมาณที่ตั้งไว้ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุพิเศษจำเป็นเกิดขึ้น ให้นายกมีอำนาจสั่งจ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณได้อีก10 , 000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการ รายรับ รายจ่ายทั้งหมดของสมาคม จะต้องเสนอในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี และต้องแจ้งให้สมาชิกทราบก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า7 วัน

ข้อ 46 คณะกรรมการอำนวยการ ต้องฝากเงินของสมาคม ไว้ในธนาคารในนามของสมาคม แต่เพื่อให้มีเงินสดไว้สำรองจ่าย คณะกรรมการอำนวยการ หรือเหรัญญิกสามารถเก็บเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 5 , 000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ถ้าเกินจากนั้นต้องนำฝากธนาคารบัญชีและกระแสรายวันและออมทรัพย์ได้ไม่เกิน60 , 000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) ที่เหลือนอกจากนั้นฝากบัญชีประจำ การสั่งจ่ายเงินของสมาคม จากธนาคารจะต้องมีลายมือชื่อ 2 คน คือนายกหรืออุปนายกและเหรัญญิก ให้คณะกรรมการอำนวยการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี

ข้อ 47 คณะกรรมการอำนวยการ ต้องจัดให้มีบัญชีดังต่อไปนี้ไว้ให้ถูกต้อง คือ 47.1
47.1 บัญชีรายรับ รายจ่ายของสมาคมฯ
47.2 บัญชีทรัพย์สินของสมาคมฯ

หมวดที่ 10 การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ

ข้อ 48 ให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการอย่างน้อย 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือกิจการของสมาคม โดยให้เลขาธิการเป็นผู้นัดประชุมนายกหรือกรรมการตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป อาจเรียกประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯเป็นพิเศษได้เมื่อมีเหตุอันสมควร

ข้อ 49 ถ้านายกและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมตกลงเลือกตั้งกันเองเป็นประธานเฉพาะการประชุมคราวหนึ่งๆ

ข้อ 50 กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย 6 คน จึงจะเป็นองค์ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาดได้อีกเสียงหนึ่ง

หมวดที่ 11 การประชุมสมาชิก

ข้อ 51 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จัดปีละครั้ง เพื่อแถลงกิจการของสมาคมฯโดยแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ 52 การประชุมใหญ่พิเศษ

52.1 ให้คณะกรรมการอำนวยการ เป็นผู้เรียกประชุมหรือสมาชิกสามัญรวม กันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก สามัญทั้งหมดขอร้องให้ เรียกประชุม โดยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเลขาธิการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน เมื่อมีเหตุอันควร

52.2 ให้เลขาธิการนัดกำหนดสถานที่และวันประชุม แจ้งระเบียบวาระให้ สมาชิกสามัญทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

52.3 ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะนับเป็นองค์ประชุม

52.4 ถ้ามีสมาชิกสามัญมาไม่ครบองค์ประชุม การนัดประชุมครั้งที่สองจะมี สมาชิกสามัญมาประชุมเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม ให้ถือเป็นองค์ ประชุมได้

ข้อ 53 การประชุมวิชาการ

53.1 ให้มีการประชุมวิชาการประจำปี ปีละครั้ง

53.2 ให้มีการประชุมย่อยทางวิชาการอย่างน้อย ปีละ 6 ครั้ง

ข้อ 54 การขออนุมัติโดยไม่ต้องเรียกประชุมใหญ่ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

54.1 ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกประชุมได้ ถ้าคณะกรรมการอำนวยการเห็นว่าเป็นปัญหา หรือกิจการสำคัญ สมควรจะหารือสมาชิกทั้งหลายโดย วิธีประชามติ ( Referendum) ให้นายกแจ้งข้อความแก่สมาชิกสามัญทราบ พร้อมทั้งเสนอญัตติขอให้สมาชิกสามัญลงมติในเรื่องนั้นๆ ถ้า 2ใน 3 ของจำนวนเสียงที่ส่งมาเห็นด้วยกับญัตติให้คณะกรรมการอำนวยการ ดำเนินการตามญัตตินั้นได้

54.2 ถ้าในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกสามัญ ที่มาประชุม เห็นสมควรให้เสนอญัตติข้อหนึ่งข้อใด ในปัญหาที่พิจารณาอยู่ต่อหน้าสมาชิกทั้งหลายเพื่อลงมติโดยวิธีป ประชามติ ดังกล่าวแล้วในข้อ 54.1 ก็ให้กระทำได้

หมวดที่ 12 การเลิกสมาคมฯและการชำระบัญชี

ข้อ 55 เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกสมาคม โดยคะแนนเสียงมากกว่า 1 ใน 2 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด สมาคมเป็นอันเลิก

ข้อ 56 ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้งผู้ชำระบัญชี การชำระบัญชีนั้นให้เป็นไปตาม กฎหมายที่ใช้บังคับ อยู่ในเวลาเลิกสมาคม

ข้อ 57 ทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระบัญชีมีอยู่เท่าใด ให้ตกไปเป็นของ "มูลนิธิฝน แสงสิงแก้ว"

หมวดที่ 13 บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ 58 สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสมาคม ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2494

ข้อ 59 การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อบังคับ จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือที่ประชุมใหญ่พิเศษโดยมติ 2 ใน3 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม และจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว

ข้อ 60 ให้ยกเลิกข้อบังคับของสมาคม ซึ่งบังคับใช้มาแต่ก่อน และให้ใช้ข้อบังคับนี้แทนตั้งแต่วันที่................เป็นต้นไป

หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้และแก้ไขข้อบังคับฉบับนี้คือ โดยที่ข้อบังคับ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยฉบับแก้ไข พ.ศ.2520 ได้ใช้บังคับมาเป็น เวลานาน และข้อบังคับบางข้อไม่เหมาะสมกับสภาพการปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน สมาคมได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และกิจการของสมาคมได้ ขยายตัวออกไปสู่สังคมอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องแก้ไขข้อบังคับฉบับนี้ขึ้น

@ All rights reserved © 2009 THE PSYCHIATRIC ASSOCIATION OF THAILAND