ประวัติความเป็นมา
  ประวัติ
  ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว
  กฏระเบียบของสมาคม
  คณะกรรมการ
   สมาชิกสมาคม
  th       English languageen
  เธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธฒเธชเธฑเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เนŒ
  เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธˆเธดเธ•เนเธžเธ—เธขเนŒ
   เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ
  เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธธเธก
  เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ
  เธ”เธฒเธงเธ™เนŒเน‚เธซเธฅเธ”
  ASEAN Journal of
          Psychiatry
บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต

ประวัติ ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว

ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว เป็นชาวอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2450 สำเร็จวิชาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์และ ศิริราชพยาบาล (เวชบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่ออายุ 22 ปี ไปปฏิบัติราชการ เป็นแพทย์หลวงประจำท้องที่ จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ.2473 อยู่ 4 ปี จึงกลับเข้ามา ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ขณะนั้นสังกัดกรม สาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ.2484 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง ชีวสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ 1 ปี จึงกลับไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและหัวหน้ากองโรงพยาบาลโรคจิต จนถึงปี พ.ศ.2501 ระหว่างปี พ.ศ.2502-2504 ดำรงตำแหน่งรองอธ ิ บดีกรมการแพทย์ ปี พ.ศ.2505 ดำรงตำแหน่งอธ ิ บดีกรมการแพทย์ และระหว่างปี พ.ศ.2506-2510 ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจนเกษียณอายุราชการในปี 2509 ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง จากคณะกรรมการ ทรัสตี ให้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ประเภทข้าราชการ...."ผู้เห็นการณ์ไกล วางแผนจัดสรร สร้างงานและจัดเจ้าหน้าที่ในวิชาการและการบริหารงานสุขภาพจิตในประเทศไทยได้อย่างดีเยี่ยม"

ในชีวิตราชการประจำและชีวิตราชการบำนาญนั้น ท่านได้รับยกย่องจากองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งวิชาการและกรรมการสำคัญเป็นอันมาก เช่นเป็นกรรมการบริหารสหพันธ์สุขภาพจิตโลก (2498-2502) เป็นผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิต ที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก (2503) และเคยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการบริหาร สหพันธ์สุขภาพจิตโลก (President, World Federation for Mental Health-2505) ประธานกรรมการการศึกษาวิจัยเรื่อง เด็กประถมวัย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ฯลฯ

ตลอดเวลาอันยาวนาน นับแต่เริ่มรับราชการจนพ้น
อายุราชการประจำ และขณะเป็นข้าราชการบำนาญนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว เป็นผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงแก่วงการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะวงการสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทยอันเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างขวางว่า เป็นผู้วางรากฐานวิชาจิตเวชศาสตร์ และสุขภาพจิตปัจจุบัน จนได้รับยกย่องจากวงการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศว่า เป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตของประเทศไทยด้วย

ไม่ว่าจะพยายามเพียงใด บทความสรรเสริญบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตนี้ จะไม่สามารถพรรณนาผลงานสร้างสรรค์ อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ของศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้ครอบคลุมครบถ้วน จึงจะยกมากล่าวถึง เพียงกิจกรรมเด่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิตและจิตเวชเท่านั้น มรว.เสริมศรี เกษมศรี นายกสมาคมสุขภาพจิตคนแรก ได้กล่าวถึงความเป็น "นัก" ต่างๆของท่านไว้ว่า ท่านเป็นทั้งจิตแพทย์ นักสุขภาพจิต นักธรรม และนักศึกษาอีกด้วย

งานสร้างสรรค์ที่เด่นชัดที่สุดชิ้นหนึ่งของศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ก็คืองานบุกเบิกพัฒนาสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันคืองานด้านบำบัดรักษาฟื้นฟู ประการหนึ่ง กับงานด้านป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพจิตอีกประการหนึ่ง กับงานด้านป้องกันส่งเสริมสุขภาพจิตอีกประการหนึ่ง งานพัฒนาสุขภาพจิตและจิตเวชทั้ง 2 ส่วนนี้ ได้รับการพัฒนาด้วยความอดทนแน่วแน่ของท่าน และกระทำโดยต่อเนื่องจนเป็นรากฐานที่มั่นคงแก่การดำเนินงานสุขภาพจิตในปัจจุบันนี้ด้วย

อนึ่ง ความแน่วแน่ของท่าน คงจะเริ่มต้นนานแล้ว ดังความในจดหมาย ตอนหนึ่งที่ท่านเขียนถึงเพื่อน น.พ.วิรัช มรรคดวงแก้ว ที่ว่า ...โรคอะไรๆมันก็เหมือนกัน หากเราตั้งใจทำมันก็ดีทั้งนั้น... แล้วท่านก็มาปฏิบัติงาน เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ.2477 และพัฒนางานทันทีงานสุขภาพจิตและจิตเวชด้านการ บำบัดรักษาฟื้นฟูของท่านนั้นเริ่มที่พัฒนาคนขึ้นก่อน กล่าวคือดำเนินการสนับสนุนแพทย์ยุคบุกเบิกไปศึกษาวิชาจิตเวชศาสตร์ เพิ่มเติมในต่างประเทศ เพื่อกลับมาพัฒนา บริการจากระบบที่ค่อนข้างไปทาง กักขัง (Custodial Care) ไปสู่การรักษาพยาบาล (Hospital Care) แบบ อารยประเทศ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นไปพลางก่อน ขณะเดียวกันก็อาศัยแพทย์เหล่านี้เป็นครูแพทย์และนักศึกษาแพทย ์ ์รุ่นต่อมาอีกด้วยซึ่งจัดว่าเป็นการเตรียมแก้ปัญหาระยะยาวของท่าน ทั้งนี้ก็โดยวิริยะอุตสาหะฝ่าพันอุปสรรคนานาประการ ให้มีการสอน วิชาจิตเวชศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาแพทย์ทุกชั้นปี ตลอดหลักสูตร 4 ปี (รวม 204 ชั่วโมง) จากหลักสูตรเดิมเพียง 12 ชั่วโมง ความพยายามเรื่องนี้ ท่านได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2477 และประสบความสำเร็จภายหลังการประชุมใหญ่ เรื่องการศึกษาแพทยศาสตร์ที่บางแสนในปี พ.ศ.2499 ผลแห่งความสำเร็จจาก

การยอมรับจิตเวชศาสตร์เข้าบรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนอย่างสมบรูณ์ ปรากฎเป็นภาคจิตเวชศาสตร์อยู่ในคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งในบัดนี้ เมื่อนักศึกษาแพทย์เหล่านี้สำเร็จการศึกษาและปฏ ิ บัติงานแพทย์ ณ ที่ใดก็ตาม ก็เป็นที่หวังได้ว่าราษฎร์ที่เจ็บไข้ด้วยสาเหตุทางจิตใจๆก็ดี จะได้รับบริการสุขภาพจิตระดับหนึ่งจากแพทย์เหล่านั้นได้เสมอ ควบคู่ไปกับการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์ ท่านได้เสนอแนะให้มีหอผู้ป่วยโรคจิตในโรงเรียนแพทย์ และในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ความคิดทำนองนี้คล้ายเป็นฐานในการขยายบริการสุขภาพจิตในโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งได้เริ่มแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) ด้วยในส่วนของการพัฒนาโรงพยาบาลจิตเวชให้มีลักษณะเป็นสถานบริการรักษาพยาบาล แบบประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งระบบบริการและการปรับปรุงอาคารสถานที่ในโรงพยาบาลนั้น ได้รับการปฏิรูป "เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลอย่างแท้จริง" โดยเฉพาะโครงการลงทุนงบประมาณระยะยาว 5 ปี (2501-2505) ซึ่งท่านเป็นผู้เสนอเอง ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองโรงพยาบาลโรคจิต และต่อมาดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีและอธิบดีกรมการแพทย์ตามลำดับ โครงการเหล่านั้นได้รับการ ตอบสนองแทบทั้งหมด ต่อมาในแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 1 และ 2 (2504-2509) เมื่อท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีโรงพยาบาลจิตเวช ทุกขนาดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งหมดทั่วประเทศรวม 14 แห่ง ดังปรากฎในปัจจุบันนี้ จนเป็นที่มั่นใจได้ว่า บริการสุขภาพจิต ด้านบำบัดรักษา ได้ถึงมือประชาชนอย่างกว้างขวาง ระดับหนึ่งแล้ว และในการบำรุงส่งเสริมวิชาจิตเวชศาสตร์ให้ก้าวหน้า เพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ประชาชนตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้แก่สมาคม องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ท่านได้ก่อตั้งสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2496 อย่างไรก็ดี งานสุขภาพจิตโดยเฉพาะงานด้านป้องกันและส่งเสริมนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว มีความเห็นว่า เป็นงานของคนหลายฝ่ายต้องช่วยกัน มิใช่ภาระของแพทย์ทั้งหมด เพราะปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ปัจจัยทางชีวภาพ การเลี้ยงดูและปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม เป็นต้น ด้วยเหตุดังนี้ท่านจึงเป็นผู้สนับสนุนให้จัดตั้งสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อ 7 เมษายน 2502 สำหรับกิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตนี้ ท่านได้พยายามผลักดันโดยตลอด แม้ในปีที่เกษียณอายุราชการท่านได้เสนอ เรื่องของสุขภาพจิตในประเทศไทย หลักการและโครงการปฏิบัติ เสนอคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นไว้ อันเป็นโครงการที่ทันสมัย สาระสำคัญโดยสรุปของโครงการนี้ก็คือ ให้บริการสุขภาพจิตถึงมือประชาชนให้มากที่สุด โดยความร่วมมือของชุมชนและองค์กรต่างๆในชุมชนนั้นๆ โดยมีศูนย์สุขภาพจิตเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและให้บริการ สุขภาพจิตในชุมชนด้วย ศูนย์สุขภาพจิตนี้ มีลักษณะคล้ายสถานีอนามัย ตั้งขึ้นทุกภาคและทุกจังหวัดและมีบทบาทสำคัญในชุมชนดังนี้

  • เป็นศูนย์การรักษาผู้ใหญ่และเด็ก รวมทั้งดูแลผู้ป่วยนอก
  • เป็นศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านบริการสุขภาพจิตและการค้นคว้าวิจัยสุขภาพจิต
  • เป็นศูนย์ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะแรก ให้ความมั่นใจแก่ชุมชน และเป็นด่านกักผู้ป่วยไว้ในหมู่บ้าน เพราะบ้านให้ความอบอุ่นกว่าโรงพยาบาลและดูแลผู้ป่วยนอก
  • เป็นศูนย์การเผยแพร่ให้ความรู้สุขศึกษาติดตามผลการพักฟื้นร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน
  • เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาหารือด้านสุขภาพจิตแก่สถานีอนามัยในชุมชน และให้การสงเคราะห์แก่ผู้พิการทางจิตใจ ร่างกาย ปัญญาอ่อน ติดสารเสพติด และพิษสุราเรื้อรัง
  • เป็นคลินิกสุขวิทยาจิตแก่เด็ก โดนให้คำแนะนำ แก้ไข และช่วยเหลือปัญหาทางจิตใจ เช่น เด็กก้าวร้าว หนีโรงเรียน เรียนหนังสือไม่ได้ และลักษณะนิสัยไม่พึงประสงค์ต่างๆและลักษณะโน้มเอียงไปทางยุวอาชญากร - เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านสุขภาพจิต ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าใจการป้องกันปัญหาจิตเวชป้องกันและสังคมเจตคติ ของชุมชน ความเชื่อและวัฒนธรรมรวมทั้งการศึกษาด้าน จิตเวชสังคมและระบาดวิทยาทางจิตเวชในชุมชนด้วย ศูนย์สุขภาพจิตนี้ ควรสร้างขึ้นในชุมชนไปโดยลำดับ คือเริ่มต้นจากระดับภาคและขยายลงไปในระดับเขตและในระดับจังหวัด ทุกจังหวัดในที่สุด

นอกเหนือจากจัดทั้งศูนย์สุขภาพจิตดังกล่าวแล้วโครงการสุขภาพจิตฯ ควรเน้นการปรับปรุงคุณภาพการป้องกันส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงพยาบาล จิตเวชและศูนย์สุขภาพจิตให้มากขึ้น เร่งประสานงานกับสื่อมวลชน โดยเน้นการให้สุขศึกษาด้านสุขภาพจิตแก่ประชาชนอย่างง่ายๆ และน่าสนใจ อาศัยความร่วมมือกับภาคเอกชน สมาคมและมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง เช่นสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรขยายบริการสุขภาพจิต โดยสร้างโรงพยาบาลจิตเวชขึ้นใหม่ตามความเหมาะสม และจัดตั้งคณะกรรมการวางผังโครงการสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้ชื่อว่าเป็นนักธรรมผู้หนึ่งสนใจศึกษาธรรมและฟังเทศน์เป็นนิตย์ เพื่อนของท่านเล่าว่า ท่านไปฟังเทศน์ที่วัดชลประทานในวันอาทิตย์และจะ มีสมุดเล็กๆเตรียมไปด้วย ฟังไปจดไปขากลับก็อธิบาย เรื่องที่ฟังมา ทำให้ความรู้ในทางศาสนากระจ่างขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เป็นนักสุขภาพจิตที่ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติ มีความรู้สึกที่สุขุม เยือกเย็น อยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง เคยถูกเพื่อนถามว่า "เขาว่าเธอไม่รู้จักโกรธไม่ใช่หรือ" คำตอบของท่านก็คือ "ทำไมจะไม่โกรธ แต่เราต้องค่อยๆหัดควบคุมมันให้ได้ เมื่อมันมาแรงเป็นภูเขาเลากา เราต้องหาทางออกให้มัน"

และกับอีกคำถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข" คำตอบก็คือ "ความสุขอยู่ที่ความพอใจ หัดทำให้เกิดความพอใจแล้วก็จะมีความสุขเอง"

นี้คือคำตอบที่เป็นหลักปฏิบัติของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี หรือผู้ที่ประสงค์จะมีสุขภาพจิตดีโดยแท้ กล่าวโดยสรุป ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้พัฒนางานสุขภาพจิตและจิตเวช ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2477 โดยอุทิศกำลังความสามารถ ของท่านเพื่อจะพัฒนางานสุขภาพจิตและจิตเวชอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศและประชาชนไทยได้รับบริการสุขภาพจิตที่ดีกว่า จนตลอดชีวิตของท่านรวมเวลาอย่างต่อเนื่องยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ไม่เพียงแต่เป็นผู้วางรากฐานงานสุขภาพจิต และจิตเวชเท่านั้น ท่านยังได้ชื่อว่าเป็น "ครู" อย่างแท้จริงอันควรแก่การสักการะอย่าง ไม่รู้กาลสิ้นสุดอีกด้วย ท่านมิได้สอนแต่วิชา แต่ได้ปลูกฝังจรรยาบรรณ ความรอบรู้ในชีวิต สังคมและวัฒนธรรม เป็นครูผู้ทำตนเป็นเยี่ยงอย่าง โดยดำรงตนอยู่ในเมตตาธรรม และศีลธรรมอันดีงามตลอดชีวิต เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ แม้เมื่อท่านได้รับรางวัล แมกไซไซ ก็ได้สละเงินรางวัลนั้นจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาและวิจัยทางสุขภาพจิต บุคลิกภาพของท่านนั้น ผู้ได้มีโอกาสเข้าใกล้จะรู้สึกตรงกันว่า "ยามร้อนมาจะเย็น ยามหนาวมาจะอุ่น" เมื่อท่านเสียชีวิตในปี พ.ศ.2524 สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ได้จารึกคำสดุดีและคำไว้อาลัยแด่ "บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ของไทย" ไว้ในสารถึงสมาชิกทั่วโลกปูชนียบุคคลอันควรแก่การคารวะอาจมีได้หลายหลากหลาย แต่ปูชนียบุคคลผู้เป็น"บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต" ของไทยมีเพียงผู้เดียว ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว

 

@ All rights reserved © 2009 THE PSYCHIATRIC ASSOCIATION OF THAILAND