ประวัติความเป็นมา
  ประวัติ
  ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว
  กฏระเบียบของสมาคม
  คณะกรรมการ
   สมาชิกสมาคม
  th       English languageen
  เธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธฒเธชเธฑเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เนŒ
  เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธฃเธฒเธŠเธงเธดเธ—เธขเธฒเธฅเธฑเธขเธˆเธดเธ•เนเธžเธ—เธขเนŒ
   เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒเธˆเธดเธ•เน€เธงเธŠ
  เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ
  เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธŠเธธเธก
  เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ
  เธ”เธฒเธงเธ™เนŒเน‚เธซเธฅเธ”
  ASEAN Journal of
          Psychiatry
ประวัติสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

ประวัติสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

            สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเป็นองค์กรเอกชนซึ่งประกอบด้วยจิตแพทย์เป็นสมาชิกสามัญ ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน  แสงสิงแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมฯ และจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2496 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 94 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 ในบริเวณโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย

แนวคิดในการก่อตั้งสมาคมฯ นี้ มีปรากฏในประวัติของสมาคมฯโดยสังเขป กล่าวคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2494  คณะผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมฯ อันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ได้แก่  ศาสตราจารย์นายแพทย์ หลวงวิเชียรแพทยาคม  ,   ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ,  ศาสตราจารย์นายแพทย์ อรุณ  ภาคสุวรรณ์และศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ  รัตนากร  มีความเห็นว่า งานทั้งหลายหากต้องการความร่วมมือจากประชาชน ต้องให้ประชาชน มีส่วนร่วมด้วย แนวคิดเช่นนี้เป็นรากฐานของการจัดตั้งสมาคมทางวิชาการเพื่อการศึกษาวิชาการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้น

วัตถุประสงค์

1.    บำรุงและส่งเสริมการแพทย์สาขาจิตเวชศาสตร์ในประเทศไทยตลอดจนการศึกษาป้องกันและรักษาโรคทางจิตเวชให้ก้าวหน้าไปตามหลักวิทยาศาสตร์
2.    เผยแพร่และโฆษณาความรู้ในวิชาการจิตเวชศาสตร์  สุขภาพจิตและจิตวิทยาแก่ประชาชน ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
3.    ร่วมมือกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยและสมาคมทางการแพทย์สาขาอื่น ๆ  รวมทั้งสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
4.    ร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาคม องค์การ และสถาบันการแพทย์สาขาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในต่างประเทศ

กิจกรรม

1. บำรุงและส่งเสริมวิชาการจิตเวชศาสตร์

    ตีพิมพ์วารสารวิชาการชื่อ“วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย”  ปีละ 4 ฉบับ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2498 อย่างต่อเนื่อง เพื่อรายงานผลงานวิจัย,รายงานผู้ป่วย ฯลฯ เผยแพร่วิชาการแก่สมาชิกและผู้สนใจ

    จัดประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2516 การประชุมนี้เปิดโอกาสให้แก่สมาชิก, แพทย์สาขาต่างๆที่สนใจ,พยาบาล,และนักวิชาชีพผู้เกี่ยวข้อง

    ผลิตตำราจิตเวชศาสตร์โดยมีผู้เขียนจากสถาบันจิตเวชต่าง ๆ ทั่วประเทศ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก   พ.ศ.2520 และฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2536 เพื่อเป็นตำราวิชาการที่ใช้ในการศึกษาของแพทย์ทั่วไป และวงการวิชาชีพสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    ให้ทุนวิจัยศาสตราจารย์หลวงวิเชียรแพทยาคมแก่สมาชิกของสมาคมฯ เป็นประจำทุกปี ทุนนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2521 เพื่อการศึกษาวิจัยด้านจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต


2.ร่วมมือกับสมาคมและองค์กรในประเทศและต่างประเทศ

    ให้ความร่วมมือและให้คำปรึกษาทางวิชาการสาขาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการติดต่อโดยตรงที่ได้รับคำขอ

    ให้ความร่วมมือแก่แพทยสภาในการจัดตั้งกรรมการพิจารณาจัดหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารจิตเวชศาสตร์  และปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ (เป็นบทบาทของสมาคมฯ ก่อนหน้าที่จะมีราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย)

    สนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในการจัดการประชุมวิชาการในประเทศไทย เช่น เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ The Third Regional Symposium on Psychotropic Medication เมื่อ พ.ศ.2519 ,The Third ASEAN Forum on Child and Adolescent Psychiatry เมื่อ พ.ศ.2524,ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยมหิดล  และกรมสุขภาพจิต ในการจัดประชุม CINP Regional Asia Pacific Meeting เมื่อ พ.ศ.2549  เป็นต้น

    ให้ความร่วมมือสนับสนุนและประสานงานกับ World Psychiatric Association  (WPA), World Federation for Mental Health (WFMH), และ  ASEAN Federation for Psychiatry and Mental Health (AFPMH) อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดและส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมการประชุมวิชาการที่องค์กรต่าง ๆ ดังกล่าวจัดให้มีขึ้นตามโอกาสอันควร รวมทั้งการให้ความร่วมมือกับ AFPMH ในการจัดประชุมวิชาการในภูมิภาค ASEAN ที่หมุนเวียนผลัดกันเป็นเจ้าภาพ โดยสมาคมฯ ได้จัดการประชุม ASEAN Congress ไปเมื่อ พ.ศ.2524 และ พ.ศ.2539

    ให้ความร่วมมือแก่สถาบันและองค์กรเอกชนในการจัดฝึกอบรมพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตเช่น เป็นวิทยากรดำเนินการฝึกอบรมให้แก่สภาพัฒนาองค์การเด็กและเยาวชน (ส.อ.ย.ด.)  เมื่อ พ.ศ.2531 ฯลฯ


3.  เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน

    ให้ความรู้ทางจิตเวชและสุขภาพจิตแก่ประชาชนโดยผ่านทาง สื่อมวลชน,หนังสือพิมพ์,วิทยุ, และโทรทัศน์เป็นระยะ ๆ เช่น  เผยแพร่ทางรายการปัญหาชีวิตและสุขภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9  ในช่วงทศวรรษ 2520-2530 และเผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา ในรายการตามตะวัน ทุกวันอังคารที่ 1,2 ของเดือนเป็นต้น


4. อื่น ๆ

    เสนอกระทรวงสาธารณสุขให้เพิ่มเงินพิเศษแก่จิตแพทย์ผู้ทำงานส่วนภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ พ.ศ.2522 ซึ่งมีผลให้จิตแพทย์ผู้ปฏิบัติราชการในโรงพยาบาลต่างจังหวัด ได้รับเงินเพิ่มพิเศษคนละ 1,500  บาท ต่อเดือนตลอดมา

    ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์จิตแพทย์อาวุโสในเดือนเมษายน  เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้น


กล่าวโดยสรุปกิจกรรมของสมาคมจิตแพทย์ฯ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมด้านวิชาการสาขาจิตเวชศาสตร์ และสุขภาพจิต ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ    ผลแห่งการพัฒนาวิชาการและความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ   ย่อมตกอยู่แก่ประชาชนในที่สุด ทั้งในด้านการรักษาและการป้องกันโรคทางจิตเวชและการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยทั้งปวง

@ All rights reserved © 2009 THE PSYCHIATRIC ASSOCIATION OF THAILAND