เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


Journal of the Psychiatric Association of Thailand

Volume 43 Number 1 ......... January-March 1998


(Full Text)

แนวโน้มการฆ่าตัวตายในประเทศไทย: แง่มุมทางเพศและช่วงวัย

มาโนช หล่อตระกูล พ.บ.

บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของคนไทยในช่วง 2 ทศวรรษหลัง โดยเน้นในแง่มุมของความแตกต่างทางเพศและช่วงวัย วิธีการศึกษา ข้อมูลในการศึกษาได้จากสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวบรวมสถิติจากมรณบัตรทั่วประเทศในแต่ละปี วิเคราะห์อัตราการฆ่าตัวตายระหว่างพ.ศ. 2535-2539 โดยจำแนกตามเพศ และช่วงอายุ และวิธีการที่ใช้โดยจำแนกตามเพศ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการตายของประชากรจังหวัดกรุงเทพมหานครกับจังหวัดชัยนาท ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 6.4 ต่อแสนประชากรในช่วง 10 ปีแรก (พ.ศ. 2520-2529) เป็น 6.7 ต่อแสนประชากรในช่วง 10 ปีหลัง (พ.ศ. 2530-2539) โดยในทศวรรษหลังเพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นกว่าเพศหญิงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเพศชายในช่วงวัย 20-24 ปี (21.7 ต่อแสนประชากรในพ.ศ. 2539) ส่วนเพศหญิงพบการฆ่าตัวตายสูงในช่วงอายุ 15-19 ปี (6.6 ต่อแสนประชากรในพ.ศ. 2539) วัยสูงอายุพบการฆ่าตัวตายไม่มาก วิธีการฆ่าตัวตายที่พบบ่อยในเพศชายได้แก่การแขวนคอ ส่วนในเพศหญิงนิยมกินยาเกินขนาดหรือใช้สารเคมี อัตราการฆ่าตัวตายในวัยหนุ่มสาวของจังหวัดชัยนาทสูงกว่ากรุงเทพมหานครมาก ในขณะที่การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุพบไม่มาก

สรุปควรมีการศึกษาในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไปเพื่อที่จะได้อธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ชัดเจนขึ้น

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(1): 67-83.

คำสำคัญ การฆ่าตัวตาย วัยหนุ่มสาว วัยสูงอายุ


Suicide trends in Thailand: categorized by age and gender

Manote Lortrakul, M.D. *

Objective To examine suicide trends in Thailand during the past two decades as categorized by age and gender. Methods Statistics on deaths in the country is annually collected from the death-certificates by the Health Information Division, Bureau of Health Policy and Planning, Ministry of Public health. This data was obtained as the source of information in this study. In addition to annual reported of suicide rates and male to female ratio during the past two decades, suicide statistics during 1992-96 were analyzed by age and gender. Results The mean suicide rates for 1977-86 and 1987-96 were 6.4 and 6.7 per 100,000 respectively. The male to female ratio increased from 1.3 in 1984 to 2.9 in 1996 due to a steady decline in female rates and an increment in male rates. In 1996 the highest rates occurs in males aged 20 through 24 years (21.7 per 100,000) and in females aged 15 through 19 years (6.6 per 100,000) while overall rate of elderly suicides was 10.6 per 100,000. Hanging was the method most chosen by men whereas women preferred self-intoxicating. Suicide rates among young adults in Chainat, a small province in the central region of the country, were rather high compared to those in Bangkok while elderly suicides were rare. Conclusions More suitable complementary methods such as an ethnographic study are required to provided a thorough understanding of these trends.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(1): 67-83.

Key words: completed suicide, culture, gender, early adult, elderly

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Rama VI Road, Bangkok 10400


[main page] [Rama Psychiatry Homepage]

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us