เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


Journal of the Psychiatric Association of Thailand

Volume 43 Number 1 ......... January-March 1998


(Full Text)

การฆ่าตัวตายหมู่ในครอบครัว

เบญจพร ปัญญายง, พ.บ. *

งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์และเสนอกรณีตัวอย่าง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตายหมู่ในครอบครัวในประเทศไทย วิธีการศึกษา คือ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ของศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน ผลการศึกษา ในระหว่างปี พ.ศ.2533 - 2540 มีการฆ่าตัวตายหมู่ในครอบครัวทั้งหมด 110 คนจาก 47 ครอบครัว เหตุการณ์เกิดขึ้นมากที่สุดในภาคกลาง และต่ำสุดในภาคตะวันออก ผู้ใหญ่ที่ฆ่าตัวตายส่วนมากอายุอยู่ในช่วง 20 - 39 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ถูกฆ่าตายร้อยละ 17 รูปแบบการฆ่าตัวตายที่พบมากที่สุด คือ แม่ - ลูก รองลงมา คือ พ่อ-แม่-ลูก ผู้ชายนิยมใช้วิธียิงตัวตาย ส่วนผู้หญิงใช้วิธีกินยาตาย สมาชิกในครอบครัวจำนวนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพจิต ปัจจัยที่กระตุ้นให้ฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ ปัญหาเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ปัญหาครอบครัว

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(1): 56-66.

คำสำคัญ การฆ่าตัวตายหมู่, ครอบครัว


Extended Suicide in the Family

Benjaporn Panyayong, M.D. *

This is a retrospective cross-sectional study of data on suicide from newspaper reports of the Matichon Information Center in order to examine characteristics of extended suicide in the family in Thailand. During 1990-97, there were 47 families committed extended suicides making a total of 110 subjects. The events occurred most common in the central region and least common in the eastern region. The suicide rates in adults peaked between ages 20 and 39. Seventeen per cent of cases were infanticide. The two most common patterns were mother-child suicide and father-mother-child suicide, respectively. The most common method in men was shooting whereas women preferred drug overdose. There were psychiatric problems among some family members. The most common precipitating factors were economic problems and family problems, respectively.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(1): 56-66.

Key words: extended suicidal, family

* Child Mental Health Center, Department of Mental Health, Rama VI road, Bangkok 10400


[main page] [Rama Psychiatry Homepage]

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us