เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


Journal of the Psychiatric Association of Thailand

Volume 43 Number 1 ......... January-March 1998


จิตพยาธิสภาพของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

อุมาพร ตรังคสมบัติ
อรวรรณ หนูแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพฤติกรรมฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและจิตพยาธิสภาพของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 - 3 ที่อาศัยอยู่ที่วัดสระแก้ว จังหวัดอ่างทอง ผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 257 ราย พบว่าความชุกของพฤติกรรมฆ่าตัวตายในระยะเวลา 1 ปี เท่ากับร้อยละ 34.2 โดยเป็นความคิดอยากฆ่าตัวตายร้อยละ 24.1 และการพยายามฆ่าตัวตายร้อยละ 10.1 การศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายจำนวน 36 รายพบว่าร้อยละ 86.1 มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และร้อยละ 13.9 พยายามฆ่าตัวตายมาในอดีต อายุที่เริ่มมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายครั้งแรกส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นและตอนกลาง วิธีการที่ใช้บ่อยที่สุด คือ การกินสารพิษหรือกินยาเกินขนาด ปัจจัยที่กระตุ้นให้มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายบ่อยที่สุด คือ ความรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังเกี่ยวกับอนาคต การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายมีจิตพยาธิสภาพรุนแรงกว่า โดยพบความชุกของโรคทางจิตเวชสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 97.2 และ 27.1 ตามลำดับและ P<10 -6 ) ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะซึมเศร้า การประเมินด้วย CDI และ SCL-90 พบว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายมีระดับความซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงกว่ากลุ่มควบคุม การเปรียบเทียบปัจจัยเครียดทางจิตสังคมพบว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย จะมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในครอบครัว การเจ็บป่วยทางกายเรื้อรังของตัวเด็ก การถูกบิดามารดาทอดทิ้ง และการถูกทารุณทางกาย ในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การติดตามกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่า ร้อยละ 47 มีความคิดอยากฆ่าตัวตายซ้ำ และในกลุ่มนี้จะมีภาวะซึมเศร้าและความเป็นอริ (hostility) ในอัตราสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<10 -4 ) ผลการศึกษานี้แสดงว่าพฤติกรรมฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่พบบ่อยในวัยรุ่นและอาจคงอยู่นาน ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเครียดในสภาพแวดล้อมบางประการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ดังนั้นการป้องกันพฤติกรรมฆ่าตัวตายควรมุ่งไปที่วัยรุ่นที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และจำเป็นจะต้องทำการติดตามเป็นระยะเวลานานตามสมควร

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(1): 22-38.

*หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ13000 คณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Psychopathology of Suicidal Adolescents

Umaporn Trangkasombat, M.D. Orawan Nukhew,R.N.

ABSTRACT The purpose of this research was to study the prevalence of suicidal behavior and psychopathology of suicidal adolescents. The sample consisted of students in grade 7 - 9 who lived in Wat Sakeow. The study in the sample of 257 students found one-year prevalence of suicidal behavior to be 34.2 % (suicidal ideation 24.1% and suicidal attempt 10.1%) . Characteristics of suicidal behavior were analysed in 36 cases. Suicidal ideation was found in 86 % and suicidal attempt in 14 % . The age period when suicidal behavior first began was in ea rly and middle adolescence. The most frequent method was toxic substance ingestion and drug overdose. Feeling of hopelessness oncerning the future was the most frequent precipitant. Thirty-six suicidal and 70 non-suicidal adolescents were compared. It was found that suicidal adolescents had more severe psychopathology. The rate of psychiatric disorders of the suicidal group was significantly higher than that of the control group (97.2 % and 27.1 % respectively, P <10 -6 ). The most common psychiatric disorder was depression. The suicidal group was found to have more severe psychiatric symptoms as measured by the CDI and the SCL-90, than the control group. History of suicidal behavior and mental illness in the family, chronic physical illness in the child, neglect and physical abuse were significantly more frequent in the suicidal group. One-year follow up of the suicidal subjects revealed 47 % to have repeated suicidal ideation. The prevalence of depression and the degree of hostility in this group was higher than in the group without repeated ideation (P<10 -4 ). This research shows that suicidal behavior is common in adolescents and can continue for a long period of time. Depression and some psychosocial stressors are significant risk factors. Intervention programs should focus on adolescents with these risk factors and long term follow-up is necessary.

Key words : psychopathology suicide adolescents

* Dept of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok


[main page] [Rama Psychiatry Homepage]

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us