เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand  สารบัญ (content)

download in pdf format

การสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices ในกลุ่มประชากรไทย

The Normative Score of the Standard Progressive Matrices for the Thai Population.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ ปร.ด.(จิตวิทยา)*
กนกรัตน์ สุขะตุงคะ วท.ม. (จิตวิทยาคลินิก)*
จริยา จันตระ วท.ม.(จิตวิทยาคลินิก) *
วิลาสินี ชัยสิทธิ์ วท.ม.(จิตวิทยาคลินิก) *
กีรติ บรรณกุลโรจน์ วท.ม.(จิตวิทยาคลินิก) *
สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ วท.บ.(จิตวิทยาคลินิก) *

*ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10700

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเที่ยง ความตรง คุณภาพ และการหาเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices ในกลุ่มประชากรไทย

วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใน 5 กลุ่มช่วงอายุ คือต่ำกว่า 20, 21-30, 31-40, 41-50 และสูงกว่า 50 ปี ขึ้นไป ทำการวัดเชาวน์ปัญญาเป็นกลุ่มด้วยแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices แล้ววัดเชาวน์ปัญญาเป็นรายบุคคลด้วยแบบทดสอบ WAIS-R

ผลการศึกษา ค่าความเที่ยงชนิดความคงที่ภายในแบบ KR-20 มีค่า 0.90 ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบคือ 48.19 ไม่มีความแตกต่างของคะแนนเชาวน์ปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างเพศ พบระดับความยากของข้อสอบรายข้อมีค่าอยู่ในช่วง 0.29 ถึง 0.99 ซึ่งมีค่าความยากอยู่ในระดับปานกลาง (P=0.68) โดยมีลักษณะเริ่มต้นจากข้อง่าย ๆ ในตอนต้น (P=0.99) และยากในข้อท้าย ๆ (P=0.29) เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า SPM เป็นแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่วัดองค์ประกอบเดียวคือ g-factor ตามทฤษฎีของ Spearman และนำคะแนนมาสร้างเป็นเกณฑ์ปกติแบบเปอร์เซนต์ไทล์ และปรับค่าเป็นคะแแนนไอคิว

สรุป เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices สามารถเทียบเป็นตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์และเทียบเป็น full IQ กับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา WAIS-R

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2543; 45(1): 45-57.

คำสำคัญ เกณฑ์ปกติ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices, ประชากรไทย

Sucheera Phattharayuttawat, Ph.D.*
Kanokrat Sukhatunga, M.Sc.*
Jariya Chantra, M.Sc.*
Wilasinee Chaiyasit, M.Sc.*
Keerati Bunnagulrote, M.Sc.*
Soisuda Imaroonrak, B.Sc.*

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

Abstract

Objective To create the normative scores and classified IQ level from the raw scores of the Standard Progressive Matrices (SPM) for the Thai population.

Method The subjects of this study were 400 samples, males and females were equal from five age groups; below 20, 21-30,31 - 40, 41 - 50, and above 50 years. The obtained data were analyzed by using Kuder-Richardson-20, t-test, level of difficulty, power of discrimination, factor analysis, percentile rank, and regression equation.

Result The results presented the normative scores table and classification of IQ level of the Standard Progressive Matrices for the Thai population, which its mean score was 48.19. Gender identity did not effect mean score at .05 level. The reliability was .90, level of difficulty ranged between .29 to .99, which gave the mean of .68. Factor Analysis confirmed Spearman’s theory which implied that SPM measured “g factor”. 

J Psychiatr Assoc Thailand 2000; 45(1): 45-57.

Conclusions The normative score of the Standard Progressive Matrices could be converted to percentile rank and WAIS-R’s Full IQ.

Key words: normative score, Standard Progressive Matrices, Thai population

 บทนำ

ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการวัดเชาวน์ปัญญาจนปัจจุบัน นักจิตวิทยาได้พยายามหาวิธีการประเมินระดับเชาวน์ปัญญาให้มีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ จึงมีการพัฒนาเป็นเครื่องมือในลักษณะของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาขึ้นมา ซึ่งในปัจจุบันวิธีการที่ยอมรับกันว่าสามารถประเมินระดับเชาวน์ปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การวัดด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่เป็นแบบทดสอบมาตรฐาน

แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน แบ่งออกได้หลายประเภทมีทั้งประเภทที่ใช้ทดสอบรายบุคคล เป็นกลุ่ม และประเภทที่ใช้ถ้อยคำ ไม่ใช้ถ้อยคำ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่ใช้ทดสอบรายบุคคลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายฉบับหนึ่ง คือ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาของ David Wechsler มีทั้งชุดที่ใช้ทดสอบในเด็ก (WISC) และชุดที่ใช้ทดสอบในผู้ใหญ่ (WAIS) และในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเป็นชุด WISC-R และ WAIS-R ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการวัดเชาวน์ปัญญาแล้วยังมีคุณค่าในด้าน projective aspect อีกด้วย กล่าวคือทำให้ผู้ทดสอบทราบถึงภูมิหลังของบุคลิกภาพของผู้รับการทดสอบได้จากการแปลผล และการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับการทดสอบ แต่อย่างไรก็ตามการทดสอบนั้นๆ จะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความชำนาญ และการได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในการใช้และการแปลผลของผู้ทำการทดสอบ นอกจากนั้นเวลาที่ใช้ในการทดสอบรายบุคคลในแต่ละครั้งนั้น จะใช้ประมาณ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย โดยที่ในบางครั้งผู้ที่มารับการทดสอบที่มีปัญหาในเรื่องการพูด หรือการฟัง อาจไม่สามารถทำการทดสอบได้ หรืออาจทำได้ไม่เต็มความสามารถ เนื่องจากถือว่าเป็นแบบทดสอบที่ใช้ถ้อยคำ ดังนั้นผู้ทำการทดสอบจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้แบบทดสอบให้เหมาะกับผู้ที่มารับการทดสอบที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่นบางกรณีอาจเลือกใช้แบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคำมาแทน

J.C. Raven ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาในกลุ่ม Progressive Matrices ขึ้นมาในปี ค.ศ.1938 ในประเทศอังกฤษ และปรับปรุงต่อมาในปี ค.ศ.1948, 1952, จนถึงปี ค.ศ.1956 และมีการหาคะแนนเกณฑ์มาตรฐานแบบท้องถิ่น (local norm) ในอเมริกาครั้งล่าสุดในปี ค.ศ.19861,2

จากทฤษฎีเชาวน์ปัญญาในระดับภาพรวม พิจารณาองค์ประกอบของเชาวน์ปัญญาเป็นภาพโมเดลลำดับขั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังแผนภาพที่ 13

 1. general factor

 2.broad group factors

 3. narrow group factors

แผนภาพที่ 1 A Three-stage hierachy

 ซึ่งแบบทดสอบ Progressive Matrices นี้ออกแบบสร้างขึ้นมาเพื่อวัดองค์ประกอบทั่วไป (General factor) ตามแนวความคิดโครงสร้างของเชาวน์ปัญญาของสเปียร์แมน (Spearman) สามารถแสดงได้ดังแผนภาพที่ 1

แบบทดสอบ Progressive Matrices เหมาะกับการทดสอบผู้ที่ไม่มีการศึกษา หรือผู้ที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน4 และจากการที่รูปภาพเป็นรูปทรงเรขาคณิต และไม่มีภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้มีการนำไปใช้ในวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายมากที่สุด5,6 แบบทดสอบนี้เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งปัญหาต่างๆ จะถูกกำหนดไว้ในรูปของเมตริกเป็นลวดลายแบบต่างๆ เรียงลำดับจากข้อง่ายไปหาข้อยาก เมตริกในปัญหาแต่ละข้อมีส่วนขาดหายไป ผู้รับการทดสอบจะต้องเลือกชิ้นส่วน 1 ชิ้น จากรูปแบบที่ให้เลือก 6-8 แบบ แล้วนำมาเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ โดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกคำตอบเป็นไปในลักษณะของการทำให้รูปแบบสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างมีระบบ และการแยกรูปหรือลวดลายเป็นส่วนๆ อย่างมีระบบ แบบทดสอบนี้สร้างขึ้นมา 3 ชุด มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ดังนี้

ชุดที่ 1 The Coloured Progressive Matrices (CPM) เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเด็กเล็ก (5-11 ปี) และผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยา และทางจิตเวชศาสตร์ และใช้ได้เป็นผลที่น่าพอใจกับบุคคลที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ และบุคคลที่มีปัญหาทางกายพูดไม่ได้ เนื่องจากโรคทางสมอง หรือหูหนวก เช่นเดียวกับที่ใช้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจในบุคคลที่มีความสามารถทางสมองต่ำ หรือผู้ที่มีร่างกายพิการ CPM เป็นเครื่องมือวัดเชาวน์ปัญญาที่เรียกว่าแบบสอบที่ไม่ได้วัดความสามารถด้านภาษา (nonlanguage instrument) เป็นการวัดความสามารถของบุคคลโดยใช้ความสามารถด้านการรับรู้ความสัมพันธ์ (perceptual relationships) ด้วยการใช้เหตุผลในเชิงเปรียบเทียบ (reason by analogy) ซึ่งเป็นความสามารถที่จำเป็นในการเรียนรู้ของมนุษย์5,7

ชุดที่ 2 The Standard Progressive Matrices (SPM) แบบทดสอบชุดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับบุคคลทุกระดับอายุ ทุกระดับการศึกษาและเชื้อชาติ แบ่งเป็น 5 ชุดย่อย คือ A, B, C, D และ E ซึ่งแต่ละชุดมีข้อปัญหาจำนวน 12 ข้อ รวมเป็น 60 ข้อ ลักษณะของข้อปัญหาเป็นภาพขาว-ดำ สำหรับ 2 ชุดแรกนั้น แบบฟอร์มของรูปภาพเป็นเช่นเดียวกับข้อปัญหาในชุด A และ B ของ CPM ส่วน 3 ชุดที่เหลือเป็นข้อปัญหาที่มีความยาก และรูปฟอร์มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ มีข้อจำกัดที่เนื้อหาของแบบทดสอบอยู่ที่ระดับเชาวน์ปัญญาปานกลาง ไม่สามารถแยกคนที่มีเชาวน์ปัญญาที่สูงกว่าได้

ชุดที่ 3 The Advanced Progressive Matrices (APM) ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ.1943 เพื่อใช้ในการคัดเลือกนายทหารเข้าประจำการกองทัพอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ.1947 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อใช้กับบุคคลทั่วไปที่ฉลาด แบบทดสอบชุด APM นี้ วัดระดับความสามารถด้านการรับรู้ และการคิดอย่างมีระบบของคนได้แม่นตรง ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อกระทง ตลอดจนการเรียงลำดับข้อกระทง

แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา The Raven’s Progressive Matrices ของ J.C. Raven นับว่าเป็นแบบทดสอบที่มีโครงสร้างเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคำ และได้รับการยอมรับสูง เนื่องจากมีลักษณะเด่นดังนี้ 7 (1) มีวิธีการใช้ที่สะดวก และไม่ยุ่งยาก ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการทดสอบโดยเฉพาะก็พอจะนำไปใช้ได้ (2) สามารถทำการทดสอบได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม (3) ใช้เวลาในการทดสอบไม่มาก (4) มีอิทธิพลของวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยน้อยที่สุด จัดเป็นแบบทดสอบความสามารถทางสมองประเภทวัฒนธรรมเสมอภาค (Culture Fair Intelligence Test) (5) สามารถบ่งบอกถึงความสามารถในการสังเกต การรับรู้ทางการมองเห็น การคิดอย่างกระจ่าง และการใช้เหตุผลเชิงขัดแย้งของผู้รับการทดสอบได้ (6) ให้ผลเชื่อถือได้เมื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบที่ละเอียด เช่น แบบทดสอบของ David Wechsler เนื่องจากมีค่าสหสัมพันธ์กับ Performance tests ถึง 0.708

แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices เป็นแบบทดสอบที่ได้ถูกนำมาใช้ในวงการทดสอบทั้งทางด้านจิตวิทยา และการศึกษาในประเทศไทย มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี นับตั้งแต่สมทรง สุวรรณเลิศและคณะ8 ได้นำมาใช้ ในปัจจุบันสภาพสังคมและระบบการศึกษาของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงควรมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการทดสอบเชาวน์ปัญญาชุดดังกล่าวในแง่ความตรงเชิงโครงสร้าง ความเชื่อมั่น และที่สำคัญคือการสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้ฐานข้อมูลในคนไทย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเทียบค่าที่ได้จากการทดสอบต่อไป

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพของแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices ในด้านความเที่ยง ค่าระดับความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้าง และ (2) เพื่อสร้างตารางเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices ในกลุ่มคนไทย

วัสดุและวิธีการ

กลุ่มตัวอย่าง

เนื่องจากการศึกษานี้ต้องการทำการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบ multivariate ซึ่งมีข้อตกลงเบื้องต้นว่าต้องการจำนวนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 5 เท่าของตัวแปรที่ทำการศึกษา9 ในที่นี้ใช้แบบทดสอบ SPM ซึ่งมีจำนวนข้อคำถาม 60 ข้อ ได้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ 300 ราย (60 x 5= 300) แต่เนื่องจากต้องการที่จะสร้างตารางปกติวิสัย ดังนั้นเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างกระจายตามกลุ่มอายุ 5 กลุ่มและให้ได้จำนวนที่พอเพียงในแต่ละกลุ่มอายุ จึงทำการขยายกลุ่มตัวอย่างออกไปเป็น 400 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ quota sampling โดยกำหนดตัวแปรเป็นโควต้าในการคัดเลือก 2 ตัวคือ เพศ และ ช่วงอายุ กำหนดให้เพศชายและหญิงกลุ่มละ 200 ราย แล้วกำหนดให้กระจายตามกลุ่มอายุละ 80 คน

เครื่องมือ

ประกอบด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา 2 ชุดคือ (1) แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices (SPM) ของ J.C. Raven (ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ.1962) จำนวน 60 ข้อ (2) แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา WAIS-R ฉบับภาษาไทย

วิธีการศึกษา

ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบเป็นกลุ่มในส่วนของ SPM โดยการฉายสไลด์ในห้องที่จัดเตรียมไว้ ผู้วิจัยเป็นผู้ควบคุมเวลาที่ใช้ในสไลด์แต่ละภาพประมาณภาพละ 1 นาที ส่วนการทดสอบเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบ WAIS-R นั้นกระทำเป็นรายบุคคล มีการแจ้งผลการทดสอบให้กลุ่มตัวอย่างทราบทุกคนภายหลังการทดสอบเสร็จสิ้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

คำนวณค่าความเที่ยงชนิดเชิงความสอดคล้องภายในโดยใช้ Kuder-Richardson 20 (KR-20)

คำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบทั้งฉบับ และเปรียบเทียบความแตกต่างของเฉลี่ยตามตัวแปรเพศด้วย independent t-test เพื่อนำไปสู่การสร้างตารางปกติวิสัย (norm table)

หาระดับความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบ SPM โดยใช้เทคนิค 27% การหาระดับความยากใช้วิธีอัตราส่วนของผู้ที่ตอบถูกต่อจำนวนคนทั้งหมด แล้วคำนวณค่าอำนาจจำแนกโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Point-Biserial

คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (first principle factor loading) และ communality เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบเชิงโครงสร้าง (construct validity) คือองค์ประกอบเดี่ยวแบบ Spearman “g-factor”

สร้างตารางปกติวิสัย (norm table) ของแบบทดสอบ SPM โดยการคำนวณหาตำแหน่ง percentile rank และสร้างตารางเทียบค่าการทดสอบเป็นคะแนน IQ โดยการคำนวณจากสมการถดถอยเชิงเส้นตรง

ผลการศึกษา

ข้อมูลลักษณะกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเพศชายและหญิงกลุ่มละ 200 คน กระจายตามช่วงอายุ 5 กลุ่มคือ ต่ำกว่า 20, 21-30,31-40,41-50, และสูงกว่า 50 ปี กลุ่มละ 80 คน ระดับการศึกษากระจายเป็น 4 กลุ่มคือ ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, อนุปริญญา และสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 22.75, 28.5, 21.75, และ 27 ตามลำดับ รายได้กระจายเป็น 4 กลุ่มคือต่ำกว่า 5,000, 5,001-10,000, 10,001-20,00 และมากกว่า 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.75, 25.25, 22,3 และ 25 ตามลำดับ อาชีพกระจายเป็น 5 กลุ่มคือ นักเรียน/นักศึกษา, รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ, ค้าขาย, รับจ้าง และ อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32, 14.25, 28.25, 23.5 และ 2 ตามลำดับ

คุณลักษณะความเที่ยงของแบบทดสอบ SPM

จากการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) ของแบบทดสอบ SPM ด้วยสูตร KR-20 พบค่าความสอดคล้องภายในของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.90

คุณภาพของแบบทดสอบ SPM

วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเชาวน์ปัญญาระหว่างเพศด้วย independent t-test โดยกำหนด P-value ที่ระดับ 0.05 พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ (เพศชาย Mean? SD=49.42? 5.82; เพศหญิง Mean? SD=48.90? 4.11) โดยมีช่วงคะแนนค่อนข้างกว้าง กล่าวคือ ค่าต่ำสุด 5 และสูงสุด 60 (Min.=5; Max.=60) ซึ่งมีลักษณะเบ้ซ้าย (Skewness=-1.61)

เนื่องจากไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศต่อระดับเชาวน์ปัญญา ฉะนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไปโดยการรวมเป็นตารางเดียวกัน

การคำนวณค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบเชิงโครงสร้างคือองค์ประกอบเดี่ยวแบบ Spearman “g-factor” ผลการวิเคราะห์ทั้งหมดดังกล่าวปรากฏดังตารางที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ 

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าระดับความยาก (P) และค่าอำนาจ จำแนก (r) ของแบบทดสอบSPM

Item

M

SD

P

r

Item

M

SD

P

R

Item

M

SD

P

r

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

.99

.97

.95

.91

.94

.89

.91

.86

.98

.81

.90

.81

.97

.94

.91

.90

.90

.96

.84

.82

.10

.14

.11

.21

.23

.26

.31

.19

.15

.32

.28

.31

.33

.19

.34

.15

.37

.39

.36

.29

.99

.97

.91

.88

.94

.90

.89

.84

.93

.80

.88

.83

.96

.93

.90

.96

.90

.87

.80

.79

.10

.12

.13

.28

.21

.18

.26

.34

.27

.36

.21

.29

.11

.17

.13

.16

.14

.15

.18

.24

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.

35.

36.

37.

38.

39.

40

.76

.72

.66

.64

.89

.82

.84

.79

.70

.66

.63

.61

.60

.55

.52

.51

.80

.77

.71

.66

.48

.61

.16

.39

.26

.41

.54

.33

.35

.51

.56

.49

.51

.56

.52

.54

.77

.86

.90

1.04

.77

.81

.67

.64

.86

.79

.72

.70

.69

.66

.65

.59

.57

.55

.53

.54

.49

.44

.40

.41

.27

.21

.19

.23

.19

.24

.31

.30

.17

.26

.26

.14

.27

.21

.29

.15

.22

.21

.19

.31

41.

42.

43.

44.

45.

46.

47.

48.

49.

50.

51.

52.

53.

54.

55.

56.

57.

58.

59.

60.

.48

.44

.50

.47

.33

.30

.29

.29

.69

.66

.57

.55

.44

.42

.49

.39

.33

.30

.33

.29

1.11

.90

1.20

1.05

.69

1.30

1.44

1.40

1.34

1.50

1.98

.99

2.10

2.10

1.55

2.39

2.22

1.90

2.01

3.14

.66

.70

.71

.58

.55

.51

.54

.49

.44

.45

.39

.39

.34

.32

.33

.30

.33

.29

.33

.30

.34

.29

.33

.22

.39

.21

.19

.21

.23

.20

.22

.18

.24

.22

.26

.39

.35

.22

.29

.34

จากตารางที่ 1 พบว่าระดับความยาก (P) รายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0.29 - 0.99 และเมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยความยากของแบบสอบทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.68 ข้อสอบที่มีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์ดี คือช่วงระหว่าง 0.20 - 0.80 ซึ่งพบว่าข้อสอบทุกข้อของ SPM อยู่ในช่วงดังกล่าว

ส่วนค่าอำนาจจำแนก ( r ) มีค่าระหว่าง 0.10 - 0.39 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกในเกณฑ์ดีจะมีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป10 โดยเกณฑ์นี้พบว่ามีจำนวนข้อกระทงที่มีค่าต่ำกว่า 0.20 อยู่จำนวน 18 ข้อ ส่วนอีก 42 ข้ออยู่ในเกณฑ์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ดี

ตารางที่ 2 ค่า Eigenvalue ตามองค์ประกอบที่ได้ 11 องค์ประกอบ

Factor

Eigenvalue > 1

Factor 1

Factor 2

Factor 3

Factor 4

Factor 5

Factor 6

Factor 7

Factor 8

Factor 9

Factor 10

Factor 11

8.11

3.42

2.15

1.68

1.41

1.33

1.26

1.20

1.15

1.11

1.04

 

แผนภาพที่ 2 ค่า Eigenvalue ขององค์ประกอบหลักทั้ง 11

จากตารางที่ 2 และ แผนภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ที่องค์ประกอบที่ 1

ตารางที่ 3 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ( r) ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบหลัก (first principle factor loading) และค่า communality (h2)

Item

r

First Principal

Factor Loading

h2

Item

r

First Principal

Factor Loading

h2

Item

r

First Principal

Factor Loading

h2

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

.26

.41

.52

.54

.42

.37

.31

.33

.42

.57

.44

.05

.39

.51

.49

.58

.40

.46

.49

.47

.22

.56

.47

.53

.41

.45

.33

.37

.46

.59

.52

.56

.38

.50

.53

.56

.44

.39

.42

.40

.61

.55

.47

.59

.56

.60

.52

.63

.67

.54

.61

.63

.71

.55

.49

.70

.51

.71

.71

.66

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.

35.

36.

37.

38.

39.

40

.51

.48

.53

.44

.47

.31

.36

.31

.16

.33

.39

.20

.31

.34

.39

.28

51

.49

.58

.40

.56

.51

.43

.41

.47

.24

.33

.28

.11

.29

.33

.10

.26

.23

.21

.29

.46

.59

.52

.56

.42

.77

.71

.55

.55

.67

.71

.59

.73

.58

.61

.68

.59

.67

.62

.64

67

.54

.61

.63

41.

42.

43.

44.

45.

46.

47.

48.

49.

50.

51.

52.

53.

54.

55.

56.

57.

58.

59.

60.

.54

.42

.37

48

.53

.44

.47

.31

.36

54

.42

.37

.31

.31

.33

.42

.57

.44

.05

.39

.33

.37

.46

.59

.52

.22

.56

.47

.53

.51

.43

.41

.47

.24

.33

.11

.29

.33

.41

.31

.60

.52

.63

.67

.54

.61

52

.63

.67

.54

77

.71

.55

.55

.67

.71

.59

.77

.67

.69

ค่า Eigenvalue ของ first principal factor loading = 8.11

ร้อยละของความแปรปรวน = 11.11 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม = 27.33

ค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักขององค์ประกอบหลักกับค่าสหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม = 0.88

 

จากตารางที่ 3 ค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมมีค่าระหว่าง 0.05 ถึง 0.58 และพบค่าสหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักองค์ประกอบแรกของรายข้อสัมพันธ์กับค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมเท่ากับ 0.88 หรือคิดเป็นค่าสัมประสิทธ์แห่งการกำหนด เท่ากับ 77.44 (R2 = .7744)

ตารางที่ 4 ความถี่ ตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์ ของคะแนนแบบทดสอบ SPM

raw score

f

percentile

raw score

f

percentile

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

1

1

1

1

2

3

4

5

7

8

9

9

10

12

12

12

13

14

14

15

16

16

17

17

17

18

20

21

22

1.1

1.5

2.2

2.3

3.9

4.6

4.9

5.3

7.0

7.8

8.7

11.2

12.8

13.5

14.2

16.4

20.2

22.5

24.8

25.1

26.8

29.5

30.2

31.1

32.5

33.2

35.5

35.9

37.8

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

25

33

33

39

40

42

45

45

45

31

27

22

20

19

18

18

19

18

19

18

18

16

15

13

11

11

9

40.3

42.3

54.2

55.9

61.8

68.5

69.6

74.5

77.3

79.2

80.1

81.2

82.0

83.5

84.1

84.9

86.7

88.5

90.1

94.6

97.0

98.0

98.3

98.6

99.0

99.9

100

ตารางที่ 4 พบว่าช่วงคะแนนที่กลุ่มตัวอย่างทำได้มีตั้งแต่ 5 คะแนนถึง 60 คะแนน โดยเมื่อปรับเป็น percentile rank แล้วมีค่าระหว่าง percentile rank ที่ 1.1 ถึง percentile rankที่ 100 

ตารางที่ 5 WAIS-R IQ equivalents for SPM

Raw score

IQ

Raw score

IQ

Raw score

IQ

Raw score

IQ

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

64

65

66

67

67

68

69

70

70

71

72

73

74

78

79

80

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

81

82

83

84

85

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

98

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

99

100

101

102

103

104

105

106

108

109

110

111

112

113

114

115

53

54

55

56

57

58

59

60

116

117

118

120

121

122

123

124

การจัดกระทำ WAIS-R IQ Equivalents for SPM ตามตารางที่ 5 คิดคำนวณจากสมการเชิงเส้น (Y = a+bx)ดังนี้ WAIS-R IQ = 58.01 + 1.10 (SPM) โดยมี standard error ในการประมาณค่า = 8.44

 

จากตารางที่ 5 แสดงการเทียบค่าคะแนนดิบที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบ SPM แล้วทำการเทียบค่าเป็นระดับ IQ โดยตารางนี้ใช้เป็นตารางปกติได้กับกลุ่มตัวอย่างทุกคนโดยไม่ต้องจำแนกตามเพศเนื่องจากผลการทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์ปัญญาในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ

วิจารณ์

คุณลักษณะความเที่ยงของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา SPM

จากการวิเคราะห์ความเที่ยงเชิงความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) พบค่า =0.90 มีค่าที่ในระดับสูงและใกล้เคียงกับการศึกษาของ Sinha และ Maya11 ซึ่งทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างชายหญิงชาวอินเดียอย่างละ 100 คน ในช่วงอายุ 11 – 15 ปี จากสองโรงเรียน โดยพบค่าความเที่ยงประมาณ 0.89-0.95

คุณภาพของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา SPM

พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในคะแนนรวมของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา SPM

ซึ่งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างเพศและเชาวน์ปัญญานั้น พบว่าในภาพรวมของเชาวน์ปัญญานั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างความสามารถของชายและหญิง แต่จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของความสามารถเฉพาะด้าน ดังเช่นการศึกษาของ Wechsler12 ซึ่งพบว่า ในแง่ความสามารถเฉพาะด้าน เพศชายทำคะแนนได้ดีกว่าเพศหญิงในแบบทดสอบความรู้ทั่วไป ความเข้าใจในการคำนวณ การจัดลูกบาศก์ตามแบบและการต่อรูป ส่วนเพศหญิงทำคะแนนดีกว่าเพศชาย ในแบบทดสอบการเปรียบเทียบความเหมือน การจำตัวเลข และการจัดเรียงลำดับภาพ แต่ระดับเชาวน์ปัญญาโดยทั่วๆ ไป ไม่มีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับที่ Thurstone13 รายงานว่า จากการที่ใช้แบบทดสอบที่ใช้วัดสมรรถภาพสมองขั้นพื้นฐาน (primary mental abilities) พบว่าในแง่ความสามารถเฉพาะด้าน เพศชายเก่งกว่าเพศหญิงอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องมิติสัมพันธ์ (spatial relationship) ส่วนเพศหญิงจะเก่งกว่าเพศชายในเรื่องความจำ เหตุผล และความคล่องแคล่วในการใช้คำ

จากเหตุที่เพศหญิงมีความสามารถดีกว่าเพศชายในเรื่องหนึ่ง และเพศชายมีความสามารถดีกว่าเพศหญิงในอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อรวมคะแนนต่างๆ มาเป็นคะแนนรวมของทั้งฉบับ จึงทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ในระดับเชาวน์ปัญญาทั่วๆ ไป สอดคล้องกับที่ สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ และคณะ14 ที่ทำการศึกษาในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย โดยใช้แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาชุด Advanced Progressive Matrices ซึ่งใช้วัดความสามารถทั่วๆ ไปพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาในนักศึกษาชายและหญิง

การวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบ SPM นี้เป็นการวัดในด้านองค์ประกอบทั่วไปตามแนวคิดของ Spearman รวมทั้งคะแนนที่ได้เป็นคะแนนความสามารถรวมโดยไม่ได้แยกแสดงความสามารถออกเป็นรายด้านย่อย ๆ จึงทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ ดังนั้นการสร้างตารางปกติวิสัย ในการศึกษานี้จึงทำการวิเคราะห์รวมโดยไม่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในตัวแปรเรื่องเพศ

จากตารางที่ 1 ระดับความยากรายข้อมีค่าระหว่าง 0.29-0.99 โดยมีค่าเฉลี่ยความยากของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.68 แสดงว่าแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา SPM มีความยากอยู่ในระดับปานกลาง ข้อสอบที่มีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์ดี คือช่วงระหว่าง 0.20-0.8010 และเมื่อทำการแปลงค่าเป็นคะแนน IQ พบว่ามีคะแนนสูงสุดหรือคะแนนเพดาน (ceiling score) เท่ากับ 124 ดังนั้นแบบทดสอบชุดนี้จึงอาจไม่เหมาะสมนักที่จะใช้วัดกลุ่มบุคคลที่ฉลาดหรือมีการศึกษาสูง เนื่องจากผู้ที่ทำได้ถูกทั้งหมด 60 ข้อจะมีระดับ IQ ไม่เกิน 124 ทั้งที่บุคคลผู้นั้นอาจมีระดับ IQ สูงกว่านั้นก็ได้ ถ้ามีโอกาสได้ทำในแบบสอบที่ยากมากขึ้น การวัดเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบ SPM นี้ในบุคคลที่ฉลาดจึงไม่อาจเรียกได้ว่าวัด maximum performance ตามลักษณะของการวัดเชาวน์ปัญญา ดังนั้นในกลุ่มบุคคลดังกล่าวอาจต้องพิจารณาไปใช้ชุด Advanced Progressive Matrices15 และเมื่อพิจารณาลักษณะของคะแนนรายข้อ (item behavior) พบว่าเริ่มจากข้อที่มีความง่าย (P=0.99) ในข้อต้น ๆ และมีความยาก (P=0.29) ในข้อหลัง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับที่ Raven เคยศึกษาไว้15

สำหรับค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) พบว่ามีจำนวนข้อกระทงที่มีค่าต่ำกว่า 0.20 อยู่จำนวน 18 ข้อ ส่วนอีก 42 ข้ออยู่ในเกณฑ์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งแบบสอบ SPM มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 แสดงว่าแบบทดสอบ SPM สำหรับกลุ่มศึกษาในครั้งนี้ มีประสิทธิภาพพอเพียงในการทดสอบเชาวน์ปัญญาของกลุ่มตัวอย่างได้ ซึ่งค่าอำนาจจำแนกในกลุ่มข้อสอบที่ไม่ดีใน 18 ข้อนั้นอาจเกิดจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ฉลาด ในกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวอาจไปพิจารณาใช้ชุด Advanced Progressive Matrices ดังที่ได้อภิปรายไปแล้ว

จากตารางที่ 2 ซึ่งทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยวิเคราะห์องค์ประกอบรายข้อตามวิธีการที่ Lord16แนะนำไว้รวมทั้งการพิจารณาตามคำแนะนำของ Cristofferson17 ซึ่งมีแนวทางในการพิจารณาคือ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบรายข้อนั้น องค์ประกอบที่วิเคราะห์ได้มักมีค่ามากกว่า 1 องค์ประกอบที่มีค่า Eigenvalue มากกว่า 1 หลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่าองค์ประกอบนั้นจะมีองค์ประกอบเดียวหรือไม่ ให้พิจารณาว่า (1) ค่า Eigenvalue ขององค์ประกอบตัวแรกต้องมากกว่าองค์ประกอบตัวที่สอง และ (2) ค่า Eigenvalue ขององค์ประกอบอื่น ๆ ที่เหลือต้องค่อนข้างใกล้เคียงกัน ซึ่งถ้าเข้าเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าวแล้ว ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่า รายข้อทั้งหมดของแบบสอบนั้นมีองค์ประกอบเดียว รวมทั้งพิจารณาการวิเคราะห์องค์ประกอบรายข้อที่ให้คะแนนเป็น 0 กับ 1 (dichotomized variables) นั้น ข้อวินิจฉัยว่าข้อสอบนั้นจะถือว่ามีองค์ประกอบเดียวเมื่อค่าสหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักองค์ประกอบตัวแรกของรายข้อ (factor loading of first principal) มีความสัมพันธ์กับค่าสหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งจากตารางที่ 2 ที่แสดงค่า Eigenvalue ขององค์ประกอบทั้ง 11 ที่มีค่าสูงที่สุดคือองค์ประกอบที่ 1 มีค่า 8.11 และจากแผนภาพที่ 2 แสดงให้เห็นความแตกต่างของเส้นกราฟระหว่างองค์ประกอบที่ 1 กับอีก 10 องค์ประกอบที่เหลือ รวมทั้งข้อมูลจากตารางที่ 5 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักองค์ประกอบแรกของข้อสอบรายข้อนั้น สัมพันธ์กับค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมในระดับปานกลางค่อนไปทางสูงคือ 0.77 ซึ่งแสดงว่าแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา SPM เป็นแบบทดสอบที่วัดองค์ประกอบเดียว องค์ประกอบเดียวนี้อนุมานได้ว่าเป็นองค์ประกอบ g-factor ตามที่ Spearman ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างแบบทดสอบนี้ ตามที่ Raven ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาชุดนี้15,18

การสร้างเกณฑ์ปกติ

แบบทดสอบทุกประเภทจำเป็นจะต้องมีเกณฑ์ปกติ (Norms) เพื่อประโยชน์ต่อคุณค่าเชิงวินิจฉัย หรือเชิงทำนาย ถ้าปราศจากเกณฑ์ปกติจะทำให้ไม่สามารถตีความหมายของคะแนนได้ ซึ่งเกณฑ์ปกติไม่เพียงแต่บอกถึงค่าเฉลี่ยของการประกอบการเท่านั้น แต่ยังบ่งบอกถึงความถี่สัมพัทธ์ของการเบี่ยงเบนระดับต่างๆ ที่อยู่เหนือ หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอีกด้วย นั่นคือ จะทำให้ผู้ทดสอบทราบว่าผู้ถูกทดสอบอยู่ที่ตำแหน่งใดเมื่อเทียบกับกลุ่ม และสามารถนำไปเปรียบเทียบกับแบบทดสอบที่ต่างชนิดกันได้ด้วย เกณฑ์ปกติที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นในการศึกษานี้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตารางเกณฑ์ปกติซึ่ง สมทรง สุวรรณเลิศและคณะ8 ได้ทำการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2511

อย่างไรก็ตามสำหรับแนวทางการนำตารางเกณฑ์ปกติไปใช้นั้น สำหรับผู้ที่ยังใช้การทดสอบเชาวน์ปัญญาของ Wechsler สำหรับผู้ใหญ่ฉบับเดิมคือ WAIS นั้นยังสามารถใช้ตารางเกณฑ์ปกติที่ สมทรง สุวรรณเลิศและคณะ ได้เคยศึกษาไว้ได้ ส่วนผู้ที่ใช้ใช้การทดสอบเชาวน์ปัญญาของ Wechsler สำหรับผู้ใหญ่ฉบับปรับปรุง คือ WAIS-R แล้วนั้น อาจพิจารณาใช้ตารางเกณฑ์ปกติที่ได้ทำการพัฒนาในงานวิจัยนี้ได้ เนื่องจากงานวิจัยนี้ได้สร้างสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อเทียบคะแนน SPM

กิตติกรรมประกาศ

ด้วยความขอบคุณอาจารย์ผุสดี เรืองศรีมั่น (ผู้ล่วงลับ) ที่ช่วยประสานงานทุกอย่างในการเก็บข้อมูลนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาสุขภาพจิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 6 และ Miss Monika Konderzoek ที่ช่วยเหลือในการเก็บข้อมูล นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยาคลินิกมหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 11 และ 14 ที่มีส่วนช่วยในการบันทึกข้อมูล

เอกสารอ้างอิง

1. Kamphaus RW. Clinical assessment of children’s intelligence. MA: Allyn & Bacon,1993:119-24.

2. Suzuki LA, Meller PJ, Ponterotto SG. Handbook of Multicultural Assessment. San Francisco, CA:Jossey-Bass Publishers, 1996:101-11.

3. Carpenter PA, Just MA, Shell P. What one intelligence test measures: A theoritical account of the processing in the Raven Progressive Matrices Test. Psychol Rev 1990; 97:404-31.

4. Sattler JM. Assessment of Children. 3 rd ed. San Diego: CA, Harcourt Brace College Publishers,1992:107-14.

5. Jensen AP. Bias in Mental Testing. New York: Free Press, 1980:193-44.

6. Murphy, Kavin R. Davidshofer CO. Psychological Testing : Principles and Applications. New Jersey: Prentice-Hall, 1991:121-4.

7. Llabre MM. Standard Progressive Matrices. In Keyser DJ, Sweetland RC, (esd.) Test Critique. Kansas City, MO: Test Corporation America, 1984:546-9.

8. สมทรง สุวรรณเลิศ. การประเมินค่า WISC และ WAIS IQ จากคะแนน Progressive Matrices. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2511;13:205-11.

9. Floyd FJ, Widaman KF. Factor analysis in the development and refinement of clinical assessment instruments. Psychol Assess 1995; 7:286-99.

10. Nunnally JC. Educational measurement and evaluation. New York: McGraw-Hill, 1964:133-6.

11. Maya. S. Validity of the Progressive Matrices Test. J Educ Psychol 1977;21:221-6.

12. Wechsler D. Manual for the Wechsler Adult Intelligence Scale. New York :The Psychological Corporation, 1981:148.

13. รัตนา ศิริพานิช. หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2533:60-1.

14. สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, ปราณี ชาญณรงค์, มงคล หลักคำ. เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา Advanced Progressive Matrices ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย. วารสารสมาคมนักจิตวิทยาคลีนิค 2537;25:66-80.

15. Raven J. Manual for Raven’s Progressive Matrices and Vocabulary Scales: Research Supplement No.3. London: Lewis &Co, Ltd., 1986:5-7.

16. Lord FM. Applications of Item Response Theory to Practical Testing Problems. New Jersey : Lawrence Frlbaum Assocaties, 1980: 19-21.

17. Cristofferson A. Factor analysis of dichotomized variables. Psychometrika 1975; 40:5-32.

18. Spearman C, Jone LL. Human Ability. London : Macmillan. 1950:5-11.

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us