เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand  สารบัญ (content)

 การศึกษาเปรียบเทียบระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึก

กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล พ.บ. *
วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ พ.บ. **
นิศานติ์ สำอางศรี วท.บ. **

* โรงพยาบาลนิติจิตเวช แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

** ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกในช่วงเวลาต่าง ๆ ระหว่างปฏิบัติงาน รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกซึ่งปฏิบัติงานหอผู้ป่วยที่มีความหนักเบาของการปฏิบัติงานแตกต่างกัน

วิธีการศึกษา ศึกษากับพยาบาลที่ปฏิบัติงานเวรดึก ในหอผู้ป่วยงานหนัก คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ เปรียบเทียบกับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยงานเบา คือ หอผู้ป่วยจิตเวช และหอผู้ป่วยสูติกรรม รวม 40 คน ในช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนปฏิบัติงาน (23.30 น.) และระหว่างปฏิบัติงาน (02:00, 04:00 และ 06:00 น.) โดยใช้ Gordon Diagnostic System (GDS) วัดระดับ vigilance และใช้แบบสอบถาม Pittsburgh Sleep Quality Index ฉบับภาษาไทย (T-PSQI) วัดคุณภาพการนอนหลับ

ผลการศึกษา ระดับ vigilance ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานเวรดึก แต่ละช่วงเวลา มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.079) และระดับ vigilance ของพยาบาลซึ่งปฏิบัติงานเวรดึกในหอผู้ป่วยที่งานหนักกับพยาบาลเวรดึกซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานเบา มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน (p = 0.569) รวมทั้งคุณภาพการนอนของพยาบาลซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักและงานเบา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ Mean difference = 1.05 95% CI for Diff (-0.195, 2.295)

สรุป ระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกในช่วงเวลาต่าง ๆ ระหว่างปฏิบัติงาน และระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกซึ่งปฏิบัติงานหอผู้ป่วยงานหนักและงานเบา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(4):344-353.

คำสำคัญ vigilance, พยาบาล การทำงานผลัดดึก

The Comparison of Level of Vigilance in Night-Shift Nurses

Kampanart Tansithabudhkun, M.D.*
Waran Tanchaiswad, M.D.**
Nisan Samarngsri, B.Sc.**

* Nitijittavej Hospital, Bangkok 10170.

** Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hatyai, Songkhla 90112.

Abstract

Objective To compare the level of vigilance in night-shift nurses during work hours and the level of vigilance in night-shift nurses with differences in workload.

Methods A cross sectional study was carried out in 40 registered nurses and practical nurses in high workload wards (female medical ward and traumatic ward) and low workload wards (psychiatric ward and obstetric ward) before beginnng their work (11:30 pm) and during work hours (02:00, 04:00 and 06:00 am). The level of vigilance and sleep quality of all nurses were measured by the Gordon Diagnostic System (GDS) and the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index (T-PSQI) respectively.

Results There were no significant difference in the level of vigilance among night-shift nurses before and during work hours (p = 0.079) and the level of vigilance between night-shift nurses working in high workload wards and low workload wards (p = 0.569). In addition the quality of sleep was not significantly different. Mean difference = 1.05 95% CI for Diff (-0.195, 2.295)

Conclusions There was no significant difference in the level of vigilance among night-shift nurses working in different workload wards and times.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(4): 344-353.

Key words : vigilance, nurses, night-shift working

บทนำ

ความง่วงนอน (sleepiness) เป็นสภาวะของร่างกายและจิตใจในช่วงรอยต่อระหว่างการตื่นและการนอนหลับ หรือแนวโน้มของร่างกายที่จะหลับ1 หรือเป็นช่วงที่ร่างกายฝืนเปิดตาได้ยาก รวมทั้งความยากในการทำให้เกิดสมาธิ นอกจากนี้อาจหมายถึงความอ่อนล้าเหน็ดเหนื่อยก็ได้เช่นกัน2 ความง่วงนอนเป็นสภาวะที่เตือนให้คนเราทราบว่าขณะนั้นร่างกายต้องการการนอนหลับอันเป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสรีรวิทยา อย่างไรก็ตามคนเรายังต้องการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น เวลากลางวัน กลางคืน หรือเวลาทำงานว่าความง่วงนอนควรจะเกิดขึ้นในเวลาใด และไม่ควรเกิดในเวลาใด

การทำงานเป็นผลัด (shift work)3 หมายถึงการจัดการเกี่ยวกับชั่วโมงในการทำงาน ซึ่งมักจะใช้ตั้งแต่สองทีมขึ้นไปในการทำงาน ให้ครอบคลุมช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่การทำงานเป็นผลัดตั้งแต่สามผลัดขึ้นไปจะครอบคลุมถึงช่วงกลางคืนด้วย

ความตื่นตัวในการทำงาน (vigilance)3 หมายถึง ความสามารถที่จะคงความสนใจในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง

เนื่องจากความง่วงนอนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ vigilance ดังนั้นถ้าบุคคลนั้นมีความง่วงนอนมากในระหว่างการทำงาน ย่อมส่งผลกระทบต่อ vigilance ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงานได้4,5 จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการทำงานเป็นผลัด โดยเฉพาะผลัดกลางคืน มีผลให้คุณภาพการนอนด้อยลง6 รวมทั้ง vigilance ลดลง3,7 นอกจากนี้การทำงานผลัดกลางคืนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้4,7 โดยเฉพาะการทำงานผลัดกลางคืน ผลัดหลัง ๆ จะทำให้เกิดความอ่อนล้า และความง่วงในการทำงานมากกว่าผลัดอื่น3,8 มีการศึกษาพบว่าความอ่อนล้าในการทำงานจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เข้าทำงานผลัด และลดลงในช่วงที่ออกจากผลัด3 ในบางการศึกษารายงานว่าความง่วงเกิดขึ้นอย่างมากและรุนแรงในช่วงการทำงานผลัดดึก9,10

คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเกิดความง่วงนอนหรืองีบหลับโดยไม่ตั้งใจของแต่ละช่วงเวลาใน 24 ชั่วโมง ไม่เหมือนกันแต่จะมีแนวโน้มที่จะหลับโดยไม่ตั้งใจสูงใน 2 ช่วงเวลา คือ ช่วง 02:00-07:00 น. และ 14:00-17:00 น. โดยในช่วงบ่ายความรุนแรงความง่วงนอนจะน้อยกว่า11 ในการศึกษาอื่น ๆ พบความง่วงซึ่งเกิดขึ้นในการทำงานผลัดดึกจะเกิดขึ้นสูงสุดในครึ่งหลังของการทำงานผลัดดึก และช่วงเช้าตรู่ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Anderson3 พบว่าร้อยละ 88 ของกลุ่มตำรวจที่อยู่เวรผลัดดึก12 จะรู้สึกง่วงในระหว่างปฏิบัติงาน ในช่วง 04:00-06:00 น. นอกจากนี้ในบางการศึกษาพบว่าตำรวจ คนงานในโรงงานถลุงเหล็ก และนักพยากรณ์อากาศ มีความอ่อนล้าในการทำงานผลัดดึก ถึงร้อยละ 80-90

จากแนวโน้มที่คนทั่วไปจะเกิดความง่วงนอนหรืองีบหลับ โดยไม่ตั้งใจในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นให้ตื่นก็จะมีความอ่อนล้า และความตื่นตัวในการทำงานลดลงได้ โดยที่ความง่วงนอนในช่วงเวลาดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสริม ได้แก่ การอดนอนของผู้ที่เปลี่ยนสลับเวรเวลาทำงานเป็นช่วงกลางคืน นอกจากนี้ก็อาจเป็นผลจากการนอนที่ไม่ต่อเนื่อง และการมีกิจกรรมทางร่างกายมากน้อยเท่าไร รวมทั้งมีการใช้สารกระตุ้นประสาทหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด13

ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาถึงผลกระทบต่อ vigilance หรือความตื่นตัวจากการทำงานเป็นผลัด โดยเฉพาะผลัดดึก ความหนักเบาของงานในหอผู้ป่วยที่แตกต่างกัน รวมทั้งช่วงเวลาที่เกิดความง่วงนอนระหว่างทำงานที่ทำให้เสีย vigilance มากที่สุด ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยมีสมมุติฐานว่า vigilance ของพยาบาลเวรดึกซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานเบากว่าจะต่ำกว่าของพยาบาลเวรดึก ซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักกว่า

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทราบถึงระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกในช่วงเวลาที่ต่างกันตั้งแต่ก่อนและในระหว่างปฏิบัติงาน

2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่มีความหนักเบาของงานแตกต่างกัน

3. เพื่อศึกษาถึงคุณภาพการนอน และความผิดพลาดในการทำงานว่ามีมากน้อยเพียงใด

วิธีการศึกษา

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยลักษณะ cross-sectional study โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 1 ปี โดยปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนัก คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 10 คน และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ จำนวน 10 คน และปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานเบา คือ หอผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 10 คน และหอผู้ป่วยสูติกรรม จำนวน 10 คน รวม 40 คน วิธีการในการเลือกกลุ่มตัวอย่างอาศัยข้อมูลความหนักเบาในการทำงานจากฝ่ายการพยาบาล โดยศึกษาระดับ vigilance หรือความตื่นตัวโดยศึกษาจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลซึ่งปฏิบัติงานเวรดึกคืนแรกของผลัดนั้น ในหอผู้ป่วยดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

1. ศึกษาช่วงเวลาที่เกิดความง่วงมากที่สุด โดยการวัด vigilance task ตั้งแต่เริ่มขึ้นเวรประมาณ 23:30 น. และทุก ๆ 2 ชั่วโมง คือ 02:00 น., 04:00 น. และ 06:00 น. ในระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ vigilance ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ณ เวลาต่างกัน รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของ vigilance ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยที่งานหนัก กับหอผู้ป่วยที่งานเบา โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาทีต่อการวัด 1 ครั้ง

2. ศึกษาคุณภาพการนอนของพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลทุกคนที่เข้าร่วมในการศึกษา   โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการนอนของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักกับงานเบา

3. ศึกษาความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลในแต่ละหอผู้ป่วยว่าช่วงใดที่มีความผิดพลาดในการทำงานมากที่สุด

เครื่องมือ

1. เครื่องมือที่ใช้วัด vigilance คือ Gordon Diagnostic System (GDS) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประมวลข้อมูลชนิดพกพาที่ประกอบไปด้วยกล่องที่มีปุ่มไว้สำหรับกดและจอแสดงตัวเลข โดยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้สร้างขึ้นเพื่อวัดหาระดับการควบคุมความต้องการของตนเอง (impulse control) และสมาธิ (attention) ในผู้ป่วย Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) ซึ่งได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน14,15,16

GDS แบ่งลักษณะการใช้งานเป็น 2 ส่วน คือส่วนของ delay task และ vigilance task โดย delay task นั้น ผู้ทดสอบต้องอาศัยความสามารถในด้านการยับยั้งที่จะไม่กดปุ่มเครื่องมือเป็นระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ (6 วินาที) ส่วน vigilance task นั้น ผู้ทดสอบจะต้องกดปุ่มเครื่องมือทุกครั้งที่มีตัวเลขที่กำหนดไว้ขึ้นต่อเนื่องกัน (sequence number) ตัวอย่างเช่น กำหนดให้กดปุ่มทุกครั้งที่มีตัวเลข 9 ปรากฏที่หน้าจอตามหลังตัวเลข 1 ในการศึกษานี้จะเลือกใช้เฉพาะงานในส่วน adult vigilance task14,15,16 โดยมีคะแนนเต็ม 30 คะแนน

2. เครื่องมือที่ใช้วัดระดับคุณภาพการนอน ใช้แบบทดสอบคุณภาพการนอน Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI)17 ที่มีการดัดแปลงเป็นภาษาไทย เพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการเก็บข้อมูล โดย ตะวันชัย และคณะ6 แบบสอบถามจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เกี่ยวกับการนอน โดยใช้เกณฑ์คะแนนมากกว่า 5 คะแนน ถือว่าคุณภาพการนอนไม่ดี

3. เครื่องมือที่ใช้วัดความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาล ใช้รายงานความผิดพลาดในการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และในรอบ 1 เดือน ของช่วงที่เก็บข้อมูล จากฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance ในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้ ANOVA-test

2. เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งปฏิบัติงาน

ในหอผู้ป่วยที่งานหนักและงานเบา ในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้ ANOVA-test

3. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการนอนของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักและงานเบา โดยใช้ t-test

ผลการศึกษา

1. ลักษณะทั่วไป

ประชากรที่ศึกษา จำนวน 40 คน เป็นเพศหญิง 38 คน เพศชาย 2 คน อายุเฉลี่ย 30.5 ปี ร้อยละ 52.5 ยังไม่แต่งงาน ร้อยละ 47.5 แต่งงานแล้ว อายุงานการพยาบาลเฉลี่ย 8 ปี ปฏิบัติงานเฉลี่ย 43 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาปฏิบัติงานเวรเช้า, เวรบ่าย และเวรดึก อย่างละ 7 เวร มีวันหยุดประมาณ 11 วัน เฉลี่ยแล้วนอนหลับได้ประมาณคืนละ 7 ชั่วโมง ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 7.5 ของพยาบาลในกลุ่มที่ศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการนอนว่า อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ร้อยละ 70 อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 20 ไม่ค่อยดี และร้อยละ 2.5 ไม่ดีเลย (โดยข้อมูลส่วนนี้ได้จากการสัมภาษณ์ในแบบสอบถามซึ่งไม่ใช่ส่วนของ T-PSQI)

2. ระดับคะแนน vigilance task ในการปฏิบัติงาน ณ เวลาต่างกัน

2.1 ระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ก่อนการปฏิบัติงานและในระหว่างปฏิบัติงานของพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลเวรดึก ดังแสดงในตารางที่ 1

2.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ณ เวลาต่าง ๆ ดังตารางที่ 1 โดยใช้ ANOVA-test พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ก่อนการปฏิบัติงานและระหว่างการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวลาของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P = 0.079)

3. ระดับคะแนน vigilance task ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนัก และงานเบา

3.1 ระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ก่อนการปฏิบัติงาน และระหว่างการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวลา ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ดังแสดงในตารางที่ 2

3.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักและงานเบา ณ เวลาต่าง ๆดังตารางที่ 2 โดยใช้ ANOVA-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P = 0.569)

4. คุณภาพการนอนของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล

4.1 ระดับคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนของพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลในแต่ละหอผู้ป่วย ดังแสดงในตารางที่ 3

4.2 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบคุณภาพการนอนของพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนัก กับ หอผู้ป่วยที่งานเบา ดังตารางที่ 3 โดยใช้ t-test พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ Mean Difference = 1.05 95% CI for Diff (-0.195, 2.295)

5. ความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาล

5.1 รายงานความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาล ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ดังแสดงในตารางที่ 4

5.2 รายงานความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาลในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมา (ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลวิจัย) ดังแสดงในตารางที่ 5

วิจารณ์

การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความหนักเบาและช่วงเวลาการปฏิบัติงานเวรผลัดดึกว่ามีผลต่อ vigilance หรือความตื่นตัวในการปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งเปรียบเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมาของ จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์ และคณะ8 โดยใช้เครื่องมือ Gordon Diagnostic System ศึกษา vigilance ของพยาบาล พบว่าหลังจากปฏิบัติงานเวรผลัดดึก vigilance ของพยาบาลลดต่ำลงมากกว่าเวรผลัดอื่น แต่ไม่ได้ศึกษาไว้ในระหว่างการปฏิบัติงานเวรผลัดดึกว่า vigilance ของพยาบาลลดต่ำลงบ้างหรือไม่ และในช่วงเวลาใดบ้างในระหว่างปฏิบัติงานที่ vigilance ลดลง ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่ละเอียดมากขึ้นกว่าการศึกษาที่ผ่านมา โดยศึกษาถึงแต่ละช่วงเวลาในระหว่างปฏิบัติงานเวรผลัดดึกด้วย

นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพการนอน ต่อ vigilance ของพยาบาลดังการศึกษาของ ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ และคณะ6 พบว่าการทำงานเป็นผลัดมีผลทำให้คุณภาพการนอนลดลง ซึ่งคุณภาพการนอนมีผลทำให้ vigilance ลดลงด้วย โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงคุณภาพการนอนของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่เข้าร่วมในงานวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยพบว่าส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าคุณภาพการนอนอยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งอาจส่งผลให้ vigilance ไม่ลดลงได้ ถึงแม้ว่าจากการทดสอบโดยใช้ T-PSQI ได้คะแนนออกมามากกว่า 5 คะแนนก็ตาม แต่คะแนนจากค่า T-PSQI เป็นค่าคะแนนเฉลี่ยและมากกว่า 5 คะแนนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังตารางที่ 3

จากการวิจัยครั้งนี้ที่พบว่าไม่สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาว่าระดับ vigilance ของพยาบาลเวรดึกลดลง อาจเนื่องจากจำนวนตัวอย่างยังไม่มากพอ รวมทั้งอาจมีปัจจัยที่ทำให้ระดับ vigilance ในการทำการทดสอบแต่ละครั้งไม่ลดลงมากนัก จนไม่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ คือ ในการทดสอบแต่ละครั้งจะมีการทดสอบเป็นช่วง ๆ ตามเวลาดังกล่าวมา เมื่อกลุ่มตัวอย่าง ถูกทดสอบ จะเกิดความตื่นเต้น พยายามทำให้คะแนนมากที่สุด ซึ่งตรงจุดนี้เป็นการกระตุ้นให้ความตื่นตัวสูงขึ้น โดยก่อนหน้าที่จะทำการทดสอบแต่ละครั้ง ผู้ถูกทดสอบอาจมีความง่วงเกิดขึ้น และระดับ vigilance อาจจะต่ำลงได้ ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องควรจะเป็นการวัดความตื่นตัว และความง่วงเป็นแบบตลอดเวลา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้ถูกทดสอบเป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ที่ต้องเดินไปเดินมาในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าเป็นอาชีพอื่นซึ่งต้องนั่งอยู่กับที่ตลอดเวลา อาจจะใช้วิธีทดสอบในการวัดความง่วงและระดับ vigilance ได้โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Multiple Sleep Latency (MSL)18 หรือใช้วิธีวัดความง่วงโดยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ subscale check list ของ Thayer19 และ Hoddes และคณะ20

นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ คือ Gordon Diagnostic System (GDS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบในส่วนของ adult vigilance task ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบระดับ vigilance ก็ตาม แต่สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่า อาจจะจำเป็นจะต้องใช้วิธีการทดสอบที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อที่จะดูว่าความตื่นตัวในการทำงานลดลงจริง ๆ หรือไม่ เนื่องจากพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล รายงานว่ามีความง่วงเกิดขึ้นจริงในระหว่างปฏิบัติงานและการทดสอบแต่ยังทำการทดสอบได้คะแนนดี เนื่องจากการทดสอบค่อนข้างง่าย

ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาตลอดระยะเวลาปฏิบัติงานของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งความง่วงอาจจะเกิดขึ้นกับผู้เก็บข้อมูล แต่ไม่ส่งผลถึงความผิดพลาดในการเก็บข้อมูล เพราะการทำงานของเครื่องมือเป็นแบบอัตโนมัติซึ่งจะเริ่มทำงานโดยการกดปุ่มเซ็ทเครื่องเริ่มต้น หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ

สำหรับรายงานความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาล ซึ่งได้ข้อมูลจากฝ่ายพยาบาลนั้น พบว่าความผิดพลาดในการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น พบในเวรเช้ามากกว่าเวรดึก และสำหรับในเวรดึกนั้นก็ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่คาดไว้ว่าน่าจะเกิดความผิดพลาดในการทำงานมากที่สุดคือช่วง 02:00 น. ถึง 06:00 น. ซึ่งอาจเป็นได้ว่าการรายงานความผิดพลาดนั้นอาจรายงานไม่ครบถ้วนในเวรดึก และยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดความง่วงแล้วทำให้ระดับ vigilance ลดลงจนเกิดความผิดพลาดในการทำงานหรือไม่ รวมทั้งปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบในช่วงเวรเช้ามีมากกว่าเวรดึก ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พบความผิดพลาดในการทำงานมากกว่า

จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ถึงแม้ว่าจากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญของระดับ vigilance ของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งปฏิบัติงาน ณ เวลาต่าง ๆ ในเวรดึกและระหว่างพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่งานหนักกับงานเบาก็ตาม แต่ก็มีรายงานว่ามีความง่วงเกิดขึ้นจริงในระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับ vigilance ได้ ซึ่งในอนาคตน่าจะมีการพัฒนาเครื่องมือในการทดสอบ ซึ่งมีความไวในการทดสอบมากกว่าเครื่องมือที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการป้องกันความผิดพลาดในระหว่างการปฏิบัติงาน ไม่เพียงเฉพาะงานบริการพยาบาลเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในสายอาชีพอื่น ๆ ที่ทำงานเป็นผลัดได้ เช่นเดียวกัน.

เอกสารอ้างอิง

  1. Dement WC, Carskadon MA. Current perspective on daytime sleepiness: the issues. Sleep 1982; 5:S56-66.

  2. Broadbent DE. Is a fatigue test now possible? Ergonomics 1979; 22:1277-90.

  3. Akersted T. Sleepiness as a consequence of shift work. Sleep 1988;11:17-34.

  4. Colguhoun WP. Accidents, injuries and shift work. In : Shift work and Health. DHHS Pub. No. (NIOSH) 76-203. Washington, DC: Govt Printing Office, 1976.

  5. Czeisler CA, Moor-Edd MC, Coleman RM. Resetting circardian clocks: applications to sleep disorders and occupational health. In : Guilleminault C, Lugaresi E, eds. Sleep/wake disorders; natural history, epidemiology and long term evolution. New York: Rawen Press, 1983.

  6. ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. คุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการ

  7. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42:123-31.

  8. Dennis C, Harold T, Debra RS. A rational approach to shift work in emergency medicine. Ann Emergency Med 1992; 21:1250-8.

  9. จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. การศึกษาเปรียบเทียบ vigilance ของพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในผลัดต่าง ๆ ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44:12-8.

  10. Kogi K, Ohta T. Incidence of near accidental drowy in locomotive driving during a period of rotation. J Hum Ergol 1975; 4:65-76.

  11. Akerstedt T, Torsvall L, Froberg JE. A questionnaire study of sleep / wake disturbances and irregular work hours. Sleep Res 1983;12:358.

  12. Mitler MM, Carskadon MA, Czeizler CA, et al. Catastrophies, sleep and public policy : consensus report. Sleep 1988; 11:100-9.

  13. Akerstedt T, Gillberg M. Sleep disturbances and shift work. In: Reinberg A, Vieux N, Andlauer P, eds. Night and shift work: biological and social aspects. Oxford : Pergamon Press, 1981:127-38.

  14. Roth T, Roehrs TA, Carskadon MA, et al. Day time sleepiness and alertness. In: Kryger MH, Roth T, Dement WC, eds. Principles and practice of sleep medicine. Philadelphia: WB. Saunder,1994:40-9.

  15. The Gordon Diagnostic System. Instruction Manual Golden, Colo : Clinical Diagnostic Inc,1983:1-6.

  16. The Gordon Diagnostic System - Interpretive Supplement. Golden, Colo : Clinical Diagnostic Inc, 1983:1-15.

  17. The Gordon Diagnostic System. Threshold Table. Golden, Colo : Clinical Diagnostic Inc,1985.

  18. Bysse DJ, Reynolds CF, Monk TH, et al. The Pittsburgh Sleep Quality Index : A new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Res 1988; 28:190-213.

  19. Carskadon MA, Dement WC. The multiple sleep latency test : what does it measure ? Sleep 1982;5:S67-72.

  20. Thayer RE. Measurement of activation through self - report. Psychol Rep 1967; 20:663-78.

  21. Hoddes E, Zarcone V, Smyth H, et al. Quantification of sleepiness : a new approach. Psychophysiology 1973; 10:431-6.

ตารางที่ 1 ระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ก่อนการปฏิบัติงาน และระหว่างการปฏิบัติงานในช่วงเวลาต่างๆ ของพยาบาลและ

ผู้ช่วยพยาบาล

เวลา(นาฬิกา) จำนวน (คน) คะแนนเฉลี่ย SD คะแนนเต็ม
23:30 40 29.18 2.33 30
02:00 40 29.8 0.464 30
04:00 40 29.7 0.648 30
06:00 40 29.8 0.405 30

 ตารางที่ 2 ระดับคะแนนเฉลี่ย vigilance task ในแต่ละช่วงเวลาของพยาบาลและผู้ช่วย พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยงานหนัก

และงานเบา

เวลา

หอผู้ป่วยงานหนัก

หอผู้ป่วยงานเบา

 

คะแนนเฉลี่ย

SD

คะแนนเฉลี่ย

SD

23.30 น.

29.55

0.82

28.80

3.18

02.00 น.

29.85

0.48

29.75

0.44

04.00 น.

29.60

0.59

29.80

0.69

06.00 น.

29.70

0.47

29.90

0.30

 

ตารางที่ 3 ระดับคะแนนเฉลี่ย ของแบบทดสอบคุณภาพการนอนของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลในแต่ละหอผู้ป่วย

 

คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบคุณภาพการนอน (PSQI)

หอผู้ป่วย

ค่าเฉลี่ย (mean)

SD

จิตเวช (n=10)

สูติกรรม (n=10)

อุบัติเหตุ (n=10)

อายุรกรรม (n=10)

5.8

6.6

4.5

5.8

2.29

1.78

1.51

1.99

 

ตารางที่ 4 รายงานความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (เน้นที่ความผิดพลาดของเวรดึกเป็นสำคัญ)

 

เวรเช้า

เวรบ่าย

เวรดึก

เหตุการณ์

(ราย)

(ราย)

จำนวนรวม (ราย)

เวลา (ราย)

       

24-2

2-4

4-6

6-8

ต่อเครื่องช่วยหายใจขณะปิดเครื่องไว้

   

1

     

1

ผสมยาผิด

1

           

ให้ยาผิด dose, ซ้ำ dose

5

 

2

1

1

   

ฉีดยาผิดชนิด

4

4

2

1

   

1

ให้ยาผิดเตียง

6

2

         

ให้ยาผิดทาง

1

1

2

1

   

1

ให้น้ำเกลือผิดเตียง

 

1

         

ให้น้ำเกลือผิดชนิด

1

 

2

 

1

 

1

เปลี่ยนขวด ICD ไม่ได้ใส่น้ำ

   

1

1

     

ให้เลือดผิดคน

2

           

ให้ TPN สลับคน

   

1

 

1

   

เจ้าหน้าที่รับ order ไม่สมบูรณ์

1

           

เอาสารเคมีผสมในอาหาร

 

1

         

รวม

21

9

11

4

3

 

4

 

ตารางที่ 5 รายงานความผิดพลาดในการทำงานของพยาบาลในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

เหตุการณ์

เวรเช้า (ราย)

เวรบ่าย (ราย)

เวรดึก (ราย)

ให้ TPN ผิดเตียง

1

   

ให้ยาผิด

 

1

 

ให้ยาเกินขนาด

1

   

รวม

2

1

0

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us