เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand  สารบัญ (content)

 ความคิดเห็นต่อปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย

เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา พ.บ.*
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ พ.บ.*

*ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10700

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อหาความชุกของความคิดฆ่าตัวตาย และทัศนคติที่มีต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มประชากรซึ่งเข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ”ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย” ซึ่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้จัดขึ้น โดยได้ทำการแจกแบบสอบถามซึ่งสร้างโดยอิงจากแนวคิดของ Shneidman ไปเท่ากับจำนวนผู้เข้าฟังการบรรยายทุกท่านและได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 148 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิตเชิงบรรยาย และทำการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาด้วยสถิติไคว์สแควร์

ผลการศึกษาพบว่าความชุกของความคิดที่จะฆ่าตัวตาย พบร้อยละ 17.6 ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของการฆ่าตัวตายที่มองว่าเป็นความเชื่อที่ผิดนั้น สามารถจำแนกประชากรออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มที่เคยคิดฆ่าตัวตาย และกลุ่มที่ยังคงคิดฆ่าตัวตายหากประสบกับวิกฤตในชีวิต พบว่าทั้งสามกลุ่มต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่บอกคนอื่น และไม่แน่ใจว่าควรถามและเอาใจใส่ผู้ที่ฆ่าตัวตายหรือไม่ นอกจากนี้ยังพบว่าในขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย และกลุ่มที่เคยคิดฆ่าตัวตายมีทัศนคติในด้านลบต่อการฆ่าตัวตายว่าเป็นการหนีปัญหา แต่กลุ่มที่ยังคงคิดฆ่าตัวตายกลับมองว่าการฆ่าตัวตายเป็นการแก้ไขและเป็นทางออกของปัญหา และพบความสัมพันธ์ระหว่างความคิดที่จะฆ่าตัวตายกับการมีบุคคลใกล้ชิดเคยฆ่าตัวตายในกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึงทัศนคติที่ถูกต้องต่อคนที่มีความคิดฆ่าตัวตาย และแนวทางการช่วยเหลือผู้มีความคิดอยากตาย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(4): 329-343.

คำสำคัญ การฆ่าตัวตาย ทัศนคติ ความเชื่อ สังคมไทย

Suicidal Ideation and Attitude towards Suicidal Behavior : A Survey

Thienchai Ngamthipwatthana, M.D.*
Sucheera Phattharayuttawat, Ph.D.*

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Bangkok 10700, Thailand.

Abstract

The prevalence of suicidal ideation and attitude towards about suicide was surveyed in 148 people attending Health Education Seminar at Siriraj Hospital. The questionnaires were constructed on the Shneidman’s concepts about the myth about suicide. Descriptive statistic was applied. The result of this study shows that prevalence of suicidal ideation was 17.6 %. All of the 3 groups (people without suicidal idea, people who used to have suicidal idea and people who still have suicidal idea) have the same idea that people who want to commit suicide will never tell other people about their ideas and they are not sure about how to approach people who have suffering. While people in the first group hold negative attitude about suicide and they agree that committed suicide was not the way to cope with crises. On the contrary, people who still had suicidal idea hold positive attitude and viewed that for them, suicide is the way to getting out the problem. Efforts should be taken to give public education about what are facts and myth about suicide. Appropriate intervention should be included in the program.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(4): 329-343.

Key words: suicidal behavior, myth, attitude, Thai culture

สถิติการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะสุขภาพจิตของประชากรในสังคมนั้น ตั้งแต่ระดับย่อยที่สุดในสังคมนั้น เช่น หมู่บ้าน ไปจนถึงระดับใหญ่มากขึ้น เช่นเมือง หรือประเทศ ตัวเลขที่มีการรวบรวมกันมาในประเทศไทยบ่งชี้ไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น1 ถึงแม้จะมีความเห็นว่าตัวเลขที่ได้ต่ำกว่าความเป็นจริงก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงสามปีที่ผ่านมาตัวเลขโดยรวมสูงขึ้น มีผู้พยายามอธิบายด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมว่า สาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นเนื่องมาจากปัญหาความเครียดของประชาชนโดยเฉพาะจากวิกฤตเศรษฐกิจ หรือความเครียดจากการผิดหวังในชีวิต การศึกษาในประเทศไทยที่ผ่านมามักจะศึกษาในสองลักษณะคือ การศึกษาเชิงพรรณาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของประชากร วิธีการที่ใช้และการกระจายของปัญหาในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ2-7 กับการศึกษาเชิงพรรณนาในกลุ่มประชากรอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่พยายามฆ่าตัวตาย หรือฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ8-14 มีบ้างที่การศึกษาบางชิ้นให้ความสำคัญกับความคิดอยากตาย15-17 ซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาก่อนการฆ่าตัวตาย หรือสาเหตุของความคิดอยากตายในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล18 งานศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมานอกจากจะมีประโยชน์ในทางระบาดวิทยาแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นถึงความต่อเนื่องของปรากฎการณ์ทางสังคมของพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย

ถ้าพิจารณาในเชิงขององค์ความรู้ จะพบว่าความรู้ที่มีอยู่เปรียบเสมือนภาพต่อที่ยังคงรอชิ้นส่วนใหม่ๆมาต่อให้เกิดความสมบูรณ์ของภาพมากขึ้น ในขณะภาพที่มีในปัจจุบันคือ การอธิบายถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายทั้งในเชิงจิตพยาธิสภาพ สังคมวิทยา ข้อมูลทางระบาดวิทยาของการฆ่าตัวตาย และการพยายามฆ่าตัวตาย หรือการพยายามหาว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ซึ่งข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนี้มีความพยายามนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันรวมถึงการให้การช่วยเหลือทางด้านจิตวิทยาสังคมและการรักษาทางจิตเวช (psychosocial and psychiatric interventions) แต่จากการทบทวนรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้องโดย Diekstra พบว่าแผนการช่วยเหลือทั้งหมดไม่มีผลต่อการลดลงของอัตราการฆ่าตัวตาย19 แต่ก็เป็นการอธิบายในแง่มุมเกี่ยวกับผู้กระทำ หรือพยายามกระทำ แต่น้อยมากที่จะกล่าวถึงแง่มุมจากมุมมองของประชากรทั่วไป ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ยังขาดและมีการเอ่ยถึงค่อนข้างน้อยในงานวิจัยที่ผ่านมาในบ้านเรา ความเข้าใจในทัศนคติของประชากรทั่วไปจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะละเลยและควรให้ความสำคัญ เพราะการฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของบุคคลนั้น ในระดับย่อยการฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงปัญหาเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับผู้ใกล้ชิด20 และในภาพรวมป็นการสะท้อนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับสังคม21

สำหรับสาเหตุของการฆ่าตัวตายนั้นรายงานการศึกษาหลายชิ้นสรุปตรงกันว่า ในทางจิตเวชนั้นการฆ่าตัวตายเกี่ยวข้องกับภาวะการเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะซึมเศร้าและการใช้สุรา22

ในขณะเดียวกันก็มีการเสนอถึงความเชื่อผิด ๆ ที่คนทั่วไปเชื่อ หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย24 ซึ่งเชื่อว่าความเชื่อหรือทัศนคติที่ผิดนี้มีส่วนทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ หรือลังเลใจในการฆ่าตัวตาย ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เช่นความเชื่อที่ว่าการถามถึงความคิดฆ่าตัวตายในคนที่กำลังทุกข์ใจจะกระตุ้นให้เขาคิดถึงการฆ่าตัวตาย หรือความเชื่อที่ว่าคนที่ตั้งใจจะฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่บอกกับคนรอบข้าง เหล่านี้ล้วนทำให้คนที่อยู่รอบข้างไม่ให้ความสนใจ และละเลยกับการหาทางป้องกัน

ตารางที่ 1 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อย

1. คนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่พูดบอกคนอื่น

2. คนที่ฆ่าตัวตาย มักจะทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ

3. การถามถึงความคิดฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์จะกระตุ้นให้เขาเกิดการตัดสินใจกระทำ

4. คนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ มักจะไม่ตั้งใจตายจริง

5. การเอาใจใส่คนที่พูดถึงการฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก

ในอีกด้านหนึ่ง ค่านิยมและทัศนะในการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้นอาจมีผลต่อการตัดสินใจที่จะเลือก หรือไม่เลือกการฆ่าตัวตายในการใช้เป็นทางออกของปัญหา25 เช่น ในสังคมที่สมาชิกผูกพันกับศาสนา หรือมีการปลูกฝังความคิดทางศาสนาว่า การฆ่าตัวตายเป็นบาปมีส่วนทำให้สมาชิกในสังคมคิดถึงการฆ่าตัวตายน้อยกว่าสังคมสมัยใหม่ ที่ขาดแรงยึดทางด้านศาสนา หรือสังคมที่เน้นถึงเสรีภาพ หรือสิทธิของปัจเจกชนอาจมีส่วนสนับสนุนให้สมาชิกเลือกการฆ่าตัวตาย เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นสิทธิที่สามารถทำได้

การศึกษาถึงทัศนคติของบุคคลทั่วไปที่มีต่อการฆ่าตัวตายและสภาพจิตใจของผู้ฆ่าตัวตาย จึงน่าจะมีประโยชน์ทั้งในเชิงของการเข้าใจถึงความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปมีต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นไปได้ทั้งคนที่อาจจะคิดฆ่าตัวตาย หรือมีคนใกล้ชิดที่คิดหรือกระทำการฆ่าตัวตาย หากเรายอมรับในแนวคิดที่มองว่าพฤติกรรมการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องของการสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือ (communication and crying for help) และการฆ่าตัวตายเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและบุคคลที่เกี่ยวข้อง24 ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อไปสำหรับการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปในสังคม และทัศนคติที่เหมาะสม เพื่อการช่วยเหลือผู้ที่มีความคิด หรือพยายามกระทำการฆ่าตัวตาย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจความชุกของความคิดฆ่าตัวตายของผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ ”ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย”

เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทยของผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ

“ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทยว่าสอดคล้องและเป็นไปตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้าน suicidology หรือไม่

เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทยเฉพาะผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายของ

ผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ “ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย” และเพื่อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของ ทัศนคติเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของผู้ที่มีความคิดจะทำ กับผู้ที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย

วิธีการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สนใจที่เข้าร่วมฟังการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ “ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย” ซึ่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไปเมื่อเดือนมกราคม 2542 โดยได้ทำการแจกแบบสอบถามไปเท่ากับจำนวนผู้เข้าฟังการบรรยายทุกท่านและได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 148 ชุด ซึ่งถือเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในการวิจัยนี้

แบบสอบถามที่ใช้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย ซึ่งได้ทำการสร้างขึ้นโดยคณะผู้วิจัย แบ่งส่วนของคำถามออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ และส่วนที่ 2 เป็นข้อคำถามที่ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องการฆ่าตัวตายในประเด็นต่าง ๆ การสร้างแบบสอบถามในส่วนที่สองได้จาก ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายตามแนวคิดของ Shneidman24,25

การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยการใช้สถิตเชิงบรรยาย และทำการคำนวณหาความ

สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาด้วยสถิติ Chi-square (c 2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนด้วย Z- test

วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายด้วยสถิติเช่นเดียวกันกับในข้อ 1.

แนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล แสดงดังแผนภาพที่ 1

ความชุกของการเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย

 

 

 

 

 

แผนภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา

ความชุกของความคิดฆ่าตัวตาย

ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 148 ราย พบว่าผู้ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย 122 ราย (ร้อยละ 82.4) และผู้เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย 26 ราย (ร้อยละ 17.6)

ในการวิเคราะห์ได้แยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ทำการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างซึ่งไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 122 ราย ส่วนที่ 2 แยกทำการวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 26 ราย และส่วนที่ 3 คัดสรรเฉพาะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายและยังคงต้องการเลือกวิธีการฆ่าตัวตายอีกเมื่อประสบวิกฤตในชีวิต

ตารางที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของการฆ่าตัวตาย เปรียบเทียบระหว่างจำนวนคนที่เห็นด้วยกับ

จำนวนคนที่ไม่เห็นด้วยในแต่ละกลุ่ม

  ผู้เข้าไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (N=122) ผู้เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (N=26)

 

ประเด็น

ไม่เห็นด้วย เห็นด้วย P-value

(%) (%)

ไม่เห็นด้วย เห็นด้วย P-value

(%) (%)

1. คนที่ตั้ง2. ใจฆ่าตัวตายจริง3.

จะไม่พูดบอกคนอื่น

4. คนที่ตั้ง5. ใจฆ่าตัวตาย

มักเรียกร้องความสนใจ

6. การถามถึง7. การฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์จะกระตุ้นให้เขาตัดสินใจกระทำ

8. คนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ

มักจะไม่ตั้งใจกระทำ

9. การเอาใจใส่คนที่พูดถึง10. การฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก

28 94 .000*

(22.95) (77.05)

84 38 .000*

(68.85) (31.15)

68 54 .205

(55.74) (44.26)

 

75 47 .001*

(61.48) (38.52)

68 54 .205

(55.74) (44.26)

7 19 .019*

(26.9) (73.1)

20 4 .000*

(84.6) (15.4)

14 12 .695

(53.8) (46.2)

20 5 .006*

(76.9) (23.1)

14 12 .695

(53.8) (46.2)

หมายเหตุ : เป็นการเปรียบเทียบระหว่างความเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยภายในกลุ่มที่ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย

และเปรียบเทียบระหว่างจำนวนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยภายในกลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบประสบการณ์ และความเห็นของผู้เข้าฟังการบรรยายระหว่างกลุ่มที่ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย

กับกลุ่มที่เคยคิดฆ่าตัวตาย

ผู้ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (N=122)

ผู้เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย

(N=26)

N (%)

N (%)

1. การเคยมีบุคคลใกล้ชิดฆ่า

ตัวตาย

2. ถ้าประสบวิกฤตในชีวิตจะ

เลือกการฆ่าตัวตาย

3. เห็นด้วยว่าการฆ่าตัวตายเกิดจากการเลียนแบบสื่อ

18 (14.75)

2 (1.64)

66 (54.10)

6 (23.1)

4 (15.4)

4 (15.4)

.000*

.000*

.001*

ตารางที่ 4 ความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย

ผู้ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (N=122)

ผู้เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (N=26)

N %

N %

เป็นบาป

เป็นทางออกของปัญหา

เป็นการหนีปัญหา

เป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต

เป็นการเรียกร้องความสนใจ

เป็นสิทธิส่วนบุคคล

62 50.82

30 24.59

98 80.33

53 43.44

28 22.95

17 13.93

6 23.1

16 61.1

8 30.8

5 19.2

3 11.5

9 34.6

.003*

.067

.002*

.002*

.087

.000*

หมายเหตุ: ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ

ตารางที่ 5 ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ส่งผลให้ฆ่าตัวตายในกลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย (n=26)

ประเด็น

ไม่เห็นด้วย

จำนวน (ร้อยละ)

เห็นด้วย

จำนวน (ร้อยละ)

P-value

1. จุดประสง2. ค์ของ3. การฆ่าตัวตายเพื่อเป็นทาง4. แก้ปัญ5. หา

6. เป้าหมายของ7. การฆ่าตัวตายเพื่อต้อง8. การยุติการดำรง9. ชีวิต

10. การฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทาง11. จิตใจ

12. ตัวเร้าที่ทำให้เกิดภาวะการฆ่าตัวตายคือการเกิด

ความขัดแย้งของความต้องการทางด้านจิตใจ

13. ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการฆ่าตัวตาย

คือความรู้สึกหมดหวัง

14. ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดภาวะการฆ่าตัวตายคือความคิดที่ลัง15. เล ไม่แน่ใจ ตัดสินใจไม่ได้

16. การรับรู้ในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความรู้สึก

มืดมน ไม่เห็นทางออกของปัญหา

17. การกระทำที่เกิดขึ้นในภาวะที่คิดฆ่าตัวตาย

คือความก้าวร้าว

18. การฆ่าตัวตายเป็นการส่ง19. สารให้ผู้อื่นทราบถึง20.

ความตั้งใจที่จะกระทำ

21. การฆ่าตัวตายที่กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกใน

บุคคลถือว่าเป็นรูปแบบการปรับตัวของ

บุคคลนั้น

10 38.5

9 34.6

7 30.8

13 50.0

4 15.4

10 38.5

5 19.2

21 80.8

14 57.7

21 80.8

15 61.5

16 65.4

17 69.2

13. 50.0

20 84.6

16 61.5

20. 80.8

5 19.2

11 42.3

5 19.2

 

.239

.117

.050*

1.00

.000*

.239

.002*

.002*

.433

.002*

 

การวิเคราะห์ในส่วนที่ 1 : กลุ่มผู้ที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 122 ราย

และการวิเคราะห์ในส่วนที่ 2 : เฉพาะในกลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดจะฆ่าตัวตายจำนวน 26 ราย

ข้อมูลการวิเคราะห์รวมจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 122 ราย ซึ่งพบว่า

ข้อมูลด้านกลุ่มตัวอย่างนั้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 87.7) สถานภาพสมรสเป็นโสด (ร้อยละ 73.8) ครึ่งหนึ่งมีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 61.5) รายได้กระจายอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ ระดับการศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 69.7) อายุเฉลี่ย 34 ปี (โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 19 ถึง 78 ปี)

ส่วนข้อมูลการวิเคราะห์ในรายละเอียด แสดงดังตารางที่ 2, 3 และ 4 โดยมีข้อสรุปจากตารางดังกล่าวดังนี้

ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของการฆ่าตัวตาย (ตารางที่ 2 และ 3)

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันใน 3 ประเด็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ใน

ประเด็นดังนี้คือ ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าคนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่พูดบอกคนอื่น และไม่เห็นด้วยว่า คนที่ฆ่าตัวตาย มักจะทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ กับ ไม่เห็นด้วยว่าคนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ มักจะไม่ตั้งใจจริง

กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันใน 2 ประเด็นคือ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสัดส่วนที่

ไม่แตกต่างกันว่าการถามถึงความคิดฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์ จะกระตุ้นให้เขาเกิดการตัดสินใจกระทำ และ การเอาใจใส่คนที่พูดถึงการฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก

กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เคยมีบุคคลใกล้ชิดที่ฆ่าตัวตาย และถ้าประสบ

วิกฤตในชีวิตจะเลือกการฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ในประเด็นที่ว่าการฆ่าตัวตายเกิดจากการเลียนแบบสื่อหรือไม่นั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมี

ความคิดฆ่าตัวตายเห็นด้วยว่าเป็นการเลียนแบบสื่อสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย (ตารางที่ 4)

กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเรียงลำดับความ

สำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ (1) เป็นการหนีปัญหา (2) เป็นบาป (3) เป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต (4) เป็นทางออกของปัญหา (5) เป็นการเรียกร้องความสนใจ และ (6) เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายมีความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ (1) เป็นทางออกของปัญหา (2) เป็นสิทธิส่วนบุคคล (3) เป็นการหนีปัญหา (4) เป็นบาป (5) เป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต และ (6) เป็นการเรียกร้องความสนใจ

ซึ่งเมื่อนำสัดส่วนความคิดเห็นมาทำการเปรียบเทียบพบว่า ความเชื่อที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมี

ความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พบใน 3 ประเด็นซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายเห็นด้วยสูงกว่าดังนี้ (1) การฆ่าตัวตายเป็นบาป (2) เป็นการหนีปัญหา (3) เป็นเรื่องของคนป่วยทางจิตใจ ในขณะที่อีก 1 ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายเห็นด้วยสูงกว่าคือ การฆ่าตัวตายเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ฆ่าตัวตาย (ตารางที่ 5)

กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเห็นที่เห็นด้วยใน 5 ประเด็นอย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติที่ระดับ .05, .01 และ .001 ในประเด็นดังนี้คือ เห็นด้วยใน 3 ประเด็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทางด้านจิตใจ ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการฆ่าตัวตายคือความรู้สึกหมดหวัง และการรับรู้ในภาวะที่เกิดความคิดฆ่าตัวตายคือความรู้สึกมืดมน ไม่เห็นทางออกของปัญหา และในส่วนที่เห็นสอดคล้องกันในเชิงไม่เห็นด้วยใน 2 ประเด็นคือ การกระทำที่เกิดขึ้นในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความก้าวร้าว, และการฆ่าตัวตายที่กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในบุคคลเดียวกันถือว่าเป็นรูปแบบการปรับตัวของบุคคลนั้น

เมื่อทำการเรียงลำดับความสำคัญความคิดเห็นต่อประเด็นที่ส่งผลให้ฆ่าตัวตายในกลุ่มตัวอย่างที่

ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย 3 อันดับแรกที่ไม่เห็นด้วยคือ (1) การกระทำที่เกิดขึ้นในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความก้าวร้าว (2)การฆ่าตัวตายที่กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในบุคคลถือว่าเป็นรูปแบบการปรับตัวของบุคคลนั้น (3)การฆ่าตัวตายเป็นการส่งสารให้อื่นทราบถึงความตั้งใจที่จะกระทำ

ส่วน 3 อันดับแรกที่เห็นด้วยคือ (1) ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการฆ่าตัวตายคือความรู้สึกหมด

หวัง (2) การรับรู้ในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความรู้สึกมืดมนไม่เห็นทางออกของปัญหา (3) การฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทางจิตใจ

การวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 : เฉพาะในกลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดจะฆ่าตัวตายและต้องการใช้วิธีการฆ่าตัวตายอีกถ้าประสบวิกฤตในชีวิตจำนวน 4 ราย

จากข้อคำถามที่ว่า ถ้าประสบวิกฤตในชีวิตจะเลือกการฆ่าตัวตายหรือไม่ นั้น ในกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 26 รายนั้น มีอยู่ 4 รายที่ตอบว่าจะเลือกวิธีการฆ่าตัวตายอีกถ้าต้องประสบกับวิกฤตในชีวิต ซึ่งแม้จำนวนมีน้อยกว่าที่จะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติได้ชัดเจน แต่ว่าเป็นประเด็นสำคัญที่น่าจะนำมาพิจารณา จึงได้ทำการวิเคราะห์เฉพาะในกลุ่มตัวอย่าง 4 รายดังกล่าว ได้ข้อค้นพบดังนี้คือ

ทางด้านข้อมูลทั่วไปพบว่า ทั้ง 4 ราย เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรสเป็นโสด 2 ราย แต่งงานและม่าย (คู่เสียชีวิต) อย่างละ 1 ราย อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 2 ราย นักศึกษาและค้าขายอย่างละ 1 ราย ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป 3 ราย และมัธยมศึกษา 1 ราย

ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของการฆ่าตัวตายพบว่า ส่วนใหญ่ (3 ใน 4 ราย) เห็นด้วยว่าคนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริงจะไม่พูดบอกคนอื่น และไม่เห็นด้วยว่าคนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายมักเรียกร้องความสนใจ คนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ มักจะไม่ตั้งใจกระทำ และการเอาใจใส่คนที่พูดถึงการฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก ส่วนหนึ่งประเด็นซึ่งกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสัดส่วนที่พอ ๆ กัน (อย่างละ 2 ราย) คือการถามถึงการฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์ จะกระตุ้นให้เขาตัดสินใจกระทำ

สำหรับความคิดเห็นต่อประเด็นที่ส่งผลให้ฆ่าตัวตายของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้พบว่าส่วนใหญ่ ( 3 ใน 4 ราย) เห็นด้วยว่าภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดก่อนภาวะการฆ่าตัวตายคือความรู้สึกหมดหวัง จุดประสงค์ของการฆ่าตัวตายเพื่อเป็นทางแก้ปัญหา เป้าหมายของการฆ่าตัวตายเพื่อต้องการยุติการดำรงชีวิต การฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทางจิตใจ และตัวเร้าที่ทำให้เกิดภาวะการฆ่าตัวตายคือเกิดความขัดแย้งของความต้องการทางด้านจิตใจ ส่วนในประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (4 ราย) ไม่เห็นด้วยก็คือการกระทำที่เกิดขึ้นในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความก้าวร้าว การฆ่าตัวตายเป็นการส่งสารให้ผู้อื่นทราบถึงความตั้งใจที่จะกระทำ และการฆ่าตัวตายที่กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในบุคคลถือว่าเป็นรูปแบบการปรับตัวของบุคคลนั้น

ความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของกลุ่มตัวอย่างใน 4 รายนี้พบว่าให้ความสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้

อันดับที่ 1 เป็นทางออกของปัญหา อันดับที่ 2 เป็นสิทธิส่วนบุคคล อันดับที่ 3 เป็นการหนีปัญหา อันดับที่ 4 เป็นบาป อันดับที่ 5 เป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต และอันดับที่ 6 เป็นการเรียกร้องความสนใจ

ในประเด็นของการเคยมีบุคคลใกล้ชิดฆ่าตัวตายหรือไม่นั้น พบว่าครึ่งต่อครึ่ง (อย่างละ 2 ราย) เคยและไม่เคยบุคคลใกล้ชิดฆ่าตัวตาย

และในประเด็นการฆ่าตัวตายเกิดจากการเลียนแบบสื่อหรือไม่นั้น พบว่า 2 รายให้ความเห็นว่าไม่ใช่ ส่วนอีกอย่างละ 1 รายให้ความเห็นว่าใช่ และไม่แน่ใจ

อภิปรายผล

จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความชุกของความคิดฆ่าตัวตายร้อยละ 17.6 ซึ่งต่างกับการศึกษาก่อนหน้านี้ของศรีประภา ชัยสินธพ และ วรลักษณา ธีราโมกข์ 15 พบว่ามีประมาณร้อยละ 23 การศึกษาของกนกรัตน์ สุขะตุงคะและคณะ17 พบความคิดอยากฆ่าตัวตายร้อยละ 24 ในการศึกษาประชากรทั่วไป 170 คน หรือการศึกษาของธนา นิลชัยโกวิทย์ และจักรกฤษณ์ สุขยิ่ง16 ในชุมชนหนองจอกซึ่งพบเพียงร้อยละ 5.3 ในขณะที่การศึกษาในต่างประเทศนั้นพบว่าความชุกมีตั้งแต่ ร้อยละ 2.3 จนถึงร้อยละ 23.43 26,27 ตัวเลขที่แตกต่างกันในแต่ละการศึกษาอาจเนื่องจากวิธีการศึกษา กลุ่มประชากร และช่วงเวลาในการศึกษา สำหรับในการศึกษานี้ กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาค่อนข้างจะมีลักษณะจำเพาะ คือเฉพาะกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจปัญหานี้ อย่างไรก็ตามความชุกที่ได้นี้บอกกับเราว่าความคิดฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป

ในส่วนความเชื่อที่ผิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายตามแนวคิดของ Shneidman นั้น พบว่าในกลุ่มประชากรที่ศึกษาทั้งสามกลุ่ม (กลุ่มที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย และกลุ่มที่ยังคงมีความคิดดังกล่าว) มีความเห็นตรงกันว่า คนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่บอกคนอื่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจากการศึกษา ของ Robin และคณะในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ (committed suicide) จำนวน 134 รายพบว่า ร้อยละ 69 มีการสื่อสารหรือแสดงให้คนรอบข้างทราบถึงเจตนาที่จะกระทำ28 เช่นเดียวกับการศึกษาของ Dorpat และ Ripley29 ในขณะที่จากการศึกษาของสมภพ เรืองตระกูล และคณะ พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมีการแสดงเจตนาให้ทราบก่อนการกระทำ3 ส่วนวิธีการสื่อสารนั้นเป็นไปได้ทั้งด้วยวาจาโดยตรง เช่น พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หรือวาจาโดยอ้อม เช่น เบื่อชีวิต นอกจากนี้วิธีการสื่อสารอาจเป็นในเชิงของพฤติกรรม เช่นติดต่อถึงเพื่อนที่ไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน และร้อยละ 43 มีการสื่อสารในช่วง 3 เดือนก่อนการกระทำ28 ดังนั้นจากการศึกษานี้ที่พบว่าทัศนะทั่วไปมองว่าคนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่พูดบอกคนอื่น อาจจะมีส่วนทำให้ประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถูกละเลยและไม่ได้รับการดูแล เพราะเมื่อบุคคลเหล่านี้สื่อสารให้คนรอบข้างฟังถึงความคิดอยากตาย อาจถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการบ่นอย่างไม่จริงจัง หรือไม่คิดจะกระทำจริง ๆ และเมื่อพิจารณาจากคำตอบที่ไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ ในประเด็นของการถามถึงความคิดฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์ หรือการเอาใจใส่ผู้ที่ฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก บ่งถึงความเห็นของคนทั่วไปว่าไม่แน่ใจถึงวิธีการในการช่วยเหลือบุคคลที่อยู่ในภาวะเสี่ยง (เช่นบุคคลที่มี acute psychosocial stressor บุคคลที่มีลักษณะเศร้าหรือทุกข์อย่างมาก หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน) จุดนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องกังวลมากขึ้นหากพิจารณากลุ่มคนที่เข้าฟังว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นบุคคลากรสาธารณสุข หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในปัญหาการฆ่าตัวตาย

เมื่อพิจารณาความเห็นที่สอดคล้องกันของกลุ่มที่เคยคิดฆ่าตัวตายกับกลุ่มที่ยังคงคิดฆ่าตัวตายเมื่อประสบกับวิกฤตในชีวิต พบว่าทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันถึงปัจจัยที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย ว่าเนื่องมาจากการฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทางด้านจิตใจ และ ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการฆ่าตัวตายคือความรู้สึกหมดหวัง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Beck และคณะ รวมทั้งงานอื่นๆที่พบว่า ความรู้สึกสิ้นหวังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย31 ในขณะที่กลุ่มที่คิดถึงการฆ่าตัวตายเมื่อประสบวิกฤตในชีวิต มีความเห็นเพิ่มว่า จุดประสงค์ของการฆ่าตัวตายเพื่อเป็นทางแก้ปัญหา เป้าหมายของการฆ่าตัวตายเพื่อต้องการยุติการดำรงชีวิต และตัวเร้าที่ทำให้เกิดภาวะการฆ่าตัวตายคือการเกิดความขัดแย้งของความต้องการทางด้านจิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มที่ยังคงคิดถึงการฆ่าตัวตายเมื่อประสบกับปัญหาที่ตัวเองไม่สามารถหาทางออกได้

การที่ความรู้สึกสิ้นหวังหรือหมดหวัง (hopelessness) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายนั้นShneidman อธิบายว่าภาวะที่บุคคลนั้นคิดถึงการฆ่าตัวตาย (suicidal crisis) ในขณะนั้นวิธีการมองปัญหาและทางออกของปัญหามีลักษณะคับแคบ (tunnelling of perceptions) มองได้ไม่รอบด้าน ทำให้ไม่เห็นทางออก และนำไปสู่ความรู้สึกสิ้นหวัง (hopelessness)30 ส่วน Beck มีทัศนะคล้าย ๆ กัน โดย Beck อธิบายว่าเกิดจากโครงสร้างวิธีคิดแบบ negative triad คือมองตัวเองในแง่ลบ รวมถึงการมองโลกและอนาคตในแง่ลบ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง และเกิดการฆ่าตัวตาย31

ในส่วนของทัศนคติเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย พบว่าในกลุ่มที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเห็นร่วมกันเป็นอันดับแรกว่าการฆ่าตัวตายเป็นการหนีปัญหา การฆ่าตัวตายเป็นบาป และเป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต อีกทั้งความเชื่อหรือทัศนคติที่มีต่อการฆ่าตัวตายของคนกลุ่มนี้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าทัศนคติของคนกลุ่มนี้เป็นทัศนะที่มองการฆ่าตัวตายในแง่ลบ การที่กลุ่มนี้มีทัศนคติในแง่ลบต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงการยอมรับข้อห้ามทางศาสนาอาจเป็นคำอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมกลุ่มนี้จึงไม่คิดถึงการฆ่าตัวตายเมื่อประสบกับวิกฤตในชีวิต

ส่วนการที่กลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมองว่า การฆ่าตัวตายเป็นทางออกของปัญหาเป็นสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการหนีปัญหา อาจเป็นเพราะการที่คนกลุ่มนี้เชื่อในเรื่องของเสรีภาพส่วนบุคคล และมีความผูกพันกับสังคมและศาสนาไม่แน่นเหนียว จึงมองว่าการฆ่าตัวตายเป็นทางออกของปัญหา ส่วนการที่คนกลุ่มนี้เลิกคิดถึงการฆ่าตัวตาย อาจเนื่องจากภาวะวิกฤตได้ผ่านไปแล้ว Beck อธิบายว่านอกจาก cognitive triad ของคนที่พยายามหรือกระทำการฆ่าตัวตายเหมือนกับที่พบในผู้ป่วย depression แล้ว คนกลุ่มนี้ยังมีลักษณะความคิดแบบ dysfunctional assumptions (มีความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล ทัศนะการมองโลกในแง่ลบและสิ้นหวัง) dichotomous thinking (มองปัญหารุนแรงเกินความเป็นจริง ไม่เห็นศักยภาพของตนเอง ประเมินผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาในแง่ร้าย) และ problem-solving deficits (ขาดความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหา)32-37 ในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้มองการฆ่าตัวตายในลักษณะเป็นทางออกของปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ ทัศนคติดังกล่าวจึงเป็นเสมือนเหตุผลที่ชอบธรรมในการเลือกแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ส่วนกลุ่มที่ยังคงคิดถึงการฆ่าตัวตายหากประสบภาวะวิกฤตในชีวิตนั้นบ่งถึงลักษณะ cognitive ของคนกลุ่มนี้ว่า น่าจะเป็นเรื่องของบุคลิก (trait) มากกว่าภาวะ (state) คนกลุ่มนี้จึงยังคงคิดถึงการฆ่าตัวตายเมื่อประสบวิกฤตในชีวิตอีกในครั้งหน้า

ในงานศึกษานี้พบความเกี่ยวข้องของความคิดฆ่าตัวตายกับการมีญาติ หรือคนใกล้ชิดฆ่าตัวตาย

งานศึกษาส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสรุปว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบ38 ในการศึกษานี้พบว่ากลุ่มที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเห็นว่าการลงข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของสื่อมวลชนมีผลต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย ในขณะที่กลุ่มที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเห็นว่าไม่มีอิทธิพล สิ่งที่น่าสนใจคือ การนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายจะเกิดขึ้นมากก็ในช่วงที่สภาพสังคมเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม39 ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดการฆ่าตัวตายในลักษณะ anomic suicide21 อยู่แล้ว คงเป็นการด่วนสรุปหากระบุว่า การฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเลียนแบบ และหากลดการนำเสนอข่าวจะมีผลต่อการป้องกันการฆ่าตัวตาย รวมถึงการลดอัตราการฆ่าตัวตายลง1

ข้อเสนอแนะ

เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จกับกลุ่มคนที่พยายามฆ่าตัวตาย และกลุ่มคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และงานศึกษาชิ้นนี้พบว่าบุคคลทั่วไปยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย การให้ความรู้ความเข้าใจกับบุคคลทั่วไปถึงความเข้าใจที่ถูกต้องว่าคนที่มีความทุกข์และพูดบ่นถึงการฆ่าตัวตายนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะกระทำ รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม น่าจะเป็นวิธีการที่มีความเป็นไปได้วิธีหนึ่งในการลดอัตราการฆ่าตัวตาย โดยการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่อยู่ในขั้นของความคิดก่อนที่จะนำไปสู่การปฎิบัติ

สรุปผลการศึกษา

ความชุกของความคิดที่จะฆ่าตัวตาย พบร้อยละ 17.6

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันใน 3 ประเด็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในประเด็นดังนี้คือ ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าคนที่ตั้งใจฆ่าตัวตายจริง ๆ จะไม่พูดบอกคนอื่น และไม่เห็นด้วยว่า คนที่ฆ่าตัวตาย มักจะทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ กับ ไม่เห็นด้วยว่าคนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ มักจะไม่ตั้งใจจริง

กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันใน 2 ประเด็นคือ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันว่าการถามถึงความคิดฆ่าตัวตายในคนที่มีความทุกข์ จะกระตุ้นให้เขาเกิดการตัดสินใจกระทำ และการเอาใจใส่คนที่พูดถึงการฆ่าตัวตายมากเกินไป จะทำให้เขาทำซ้ำอีก

ส่วนความคิดเห็นที่กลุ่มผู้ที่ไม่เคยฆ่าตัวตายมีความเห็นด้วยในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายคือ การฆ่าตัวตายเกิดจากการเลียนแบบสื่อ ในขณะที่กลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีสัดส่วนที่สูงกว่าคือ การเคยมีบุคคลใกล้ชิดฆ่าตัวตาย และ ถ้าประสบวิกฤตในชีวิตจะเลือกวิธีการฆ่าตัวตาย

สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายนั้น พบว่ากลุ่มผู้ที่ไม่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายเห็นว่า การฆ่าตัวตายเป็นการหนีปัญหา เป็นบาป และเป็นเรื่องของคนป่วยทางจิต ในขณะที่กลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายมีความเชื่อว่า การฆ่าตัวตายเป็นทางออกของปัญหา เป็นสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการหนีปัญหา

ในกลุ่มผู้ที่เคยมีความคิดฆ่าตัวตายยังพบว่าประเด็นที่ส่งผลให้คิดฆ่าตัวตายนั้นคือ ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการฆ่าตัวตายคือความรู้สึกหมดหวัง การรับรู้ในภาวะที่คิดฆ่าตัวตายคือความรู้สึกมืดมนไม่เห็นทางออกของปัญหา และการฆ่าตัวตายเป็นการลดความเจ็บปวดทางจิตใจ

เอกสารอ้างอิง

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์. การฆ่าตัวตาย : การสอบสวนหาสาเหตุและการป้องกัน.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พลัสเพรส, 2541.

2. สมภพ เรืองตระกูล, อรพรรณ ทองแตง, เกรียงไกร แก้วผนึกรังษี. การศึกษาเรื่องการฆ่าตัวตายในผู้ป่วย 8

ราย. สารศิริราช 2517; 26:2077-93.

3. สมภพ เรืองตระกูล, อรพรรณ ทองแตง, เกรียงไกร แก้วผนึกรังษี, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. ลักษณะเฉพาะของ

ผู้กระทำอัตวินิบาตกรรม : การศึกษาผู้ป่วย 27 ราย. สารศิริราช 2518; 27:771-85.

4. สมพร บุษราทิจ, ทองพูน วิจารณ์รัฐขันธ์. อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง

ประเทศไทย 2521; 23:158-67.

5. สุชาติ พหลภาคย์, ผกาพันธุ์ วุฒิลักษณ์. วิจัยการฆ่าตัวตายในสังคมไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง

ประเทศไทย 2527;29:163-82.

6. สุนันทา ฉันทรุจิกพงศ์, เกรียงไกร แก้วผนึกรังษี, สมภพ เรืองตระกูล. อัตวินิบาตกรรมของผู้ป่วยที่รับไว้

รักษาในโรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2529; 31:111-7.

7. สุดสบาย จุลกทัพพะ. การสำรวจภาวะการฆ่าตัวตายในประเทศไทย 2533. สารศิริราช 2536; 45:245-54.

8. สมภพ เรืองตระกูล, อรพรรณ ทองแตง, เกรียงไกร แก้วผนึกรังษี, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. การศึกษาผู้ป่วย

พยายามฆ่าตัวตายจำนวน 105 รายในโรงพยาบาลศิริราช. สารศิริราช 2518; 27:317-34.

9. สุวัทนา อารีพรรค. การพยายามฆ่าตัวตายของคนไทย.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

2522; 24:261-82.

10. ปิยะฉัตร เนินเลิศ. การศึกษาปัญหาทางสังคมของผู้กระทำอัตวินิบาตกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้มารับการ

รักษา ณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

2524.

11. สุชาติ พหลภาคย์. ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารสมาคมจิต

แพทย์แห่งประเทศไทย 2530; 32:111-24.

12. ไพรัตน์ พฤกษ์ชาติคุณากร, ปริทรรศ ศิลปกิจ. ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย และผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จที่รับไว้รักษา

ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พ.ศ.2522-2530. สงขลานครินทร์เวชสาร 2535;10:101-12.

13. ไพฑูรย์ ณรงค์ชัย. สาเหตุการฆ่าตัวตายพบที่โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2532-2536. เชียงใหม่เวช

สาร 2538;34:15-21

14. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์, อัปษรศรี ธนไพศาล, สุพรรณี เกกินะ. รายงานผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย 485 คน

ของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541;43:2-13.

15. ศรีประภา ชัยสินธพ, วรลักษณา ธีราโมกข์. ความคิดเห็นของคนในกรุงเทพมหานครต่อเรื่องการทำอัต

วินิบาตกรรม. เสนอในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และวิทยาลัยจิต

แพทย์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, 16-17 กรกฎาคม 2535, โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า, กรุงเทพมหานคร.

16. ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง. ความคิดอยากฆ่าตัวตายในประชาชนเขตหนองจอก

กรุงเทพมหานคร : รายงานเบื้องต้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย 2540; 42:77-87.

17. กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, โกวิทย์ บูรณสัมฤทธิ์. ทัศนคติของชาวบ้านต่อการฆ่าตัวตาย. วารสารจิตวิทยาคลินิค.

2520; 8:36-43.

18. ธีรศักดิ์ ศาสตรา. การสื่อสารก่อนการฆ่าตัวตายในผู้พยายามฆ่าตัวตาย. งานวิจัยเพื่อการสอบวุฒิบัตร

สาขาจิตเวชศาสตร์. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, 2542.

19. Diekestra RFW. The epidemiology of suicide and parasuicide. In: Diekstra R, ed. Preventive

strategies on suicide. Leiden, Brill, 1995:1-34.

20. Adam KS. Environmental, psychosocial, and psychoanalytic aspects of suicidal behavior. In:

Blumenthal SJ, Kupfer DJ, eds. Suicide over the life cycle. Washington: American Psychiatric

Press, 1990:39-96.

21. Durkheim E. Suicide: a study in sociology. London: Routledge and Kegan Paul, 1952.

22. Diekestra R. The epidemiology of suicide and parasuicide. Acta Psychiatr Scand 1993; 371

(suppl):9-20.

23. Bongar B. The suicidal patient: clinical and legal standards of care. Washington: American

Psychological Association, 1996.

24. Shneidman ES. Introduction: current over-view of suicide. In: Shneidman ES, ed. Suicidology :

Contemporary developments. London: Grune& Stratton,1976.

25. Blumenthal SJ. An overview and synopsis of risk factors, assessment, and treatment of suicidal

patients over the life cycle. In: Blumenthal SJ, Kupfer DJ, eds. Suicide over the life cycle,

Washington: American Psychiatric Press,1990 : 685-734.

26. Paykel ES, Meyers JK, Lindenthal JJ, Tanner J. Suicidal feelings in the general population: a

prevalence study. Br J Psychiatry 1974; 124:460-9.

27. Swanson JW, Linskey AO, Quintero-Salinas R, Pumariega AJ, Holzer CE. A binational school

survey of depressive symptoms, drug use, and suicidal ideation. J Am Acad Child Adolesc

Psychiatry 1992; 31:669-78.

28. Robins E, Gassner S, Kayes J, et al. The communication of suicidal intent: a study of 134

consecutive cases of successful (completed) suicide. Am J Psychiatry 1959; 115:724-33.

29. Dorpat Tl, Ripley HS. A study of suicide in Seattle are. Compr Psychiatry 1960; 1:349-59.

30. Shneidman E. Definition of suicide. New York: John Wiley,1975.

31. Beck AT, Kovacs M, Weisman A. Hopelessness and suicidal behaviour : an overview. J Am

Med Assoc 1975; 234:1146-9.

32. Cole DA. Hopelessness, social desirability, depression and parasuicide in two college samples.

J Consult Clin Psychol 1980; 56:131-6.

33. Minkoff K, Bergman E, Beck AT, Beck R. Hopelessness depression and attempted suicide. Am

J Psychiatry 1973;130:455-9.

34. Wetzel RD, Margulies T, Davis R, Karam E. Hopelessness, depression and suicidal intent. J Clin

Psychiatry 1980;41:159-60.

35. Beck AT, Steer RA, Kovacs M, Garrison B. Hopelessness and eventual suicide: 10 year

prospective study of patients hospitalized with suicidal ideation. Am J Psychiatry 1985;142:559-

63.

36. Weishaar ME, Beck AT. Cognitive Approaches to understanding and treating suicidal behavior.

In: Blumenthal SJ, Kupfer DJ, eds. Suicide over the life cycle. Washington: American

Psychiatric Press, 1990;469-98.

37. Arffa S. Cognition and suicide: a methodological review. Suicide Life Threat Behav

1983; 13:109-22.

38. Gould MS, Shaffer D. The impact of suicide in television movies: evidence of imitation. N Engl J

Med 1986; 315:690-4.

39. Buda M, Tsuang MT. The epidemiology of suicide: Implications for clinical practice. In:

Blumenthal SJ, Kupfer DJ, eds. Suicide over the life cycle. Washington: American Psychiatric

Press, 1990:17-38.

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us