เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand  สารบัญ (content)

การสำรวจลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพของนักศึกษาแพทย์ศิริราช

ม.ล.แสงจันทร์ วุฒิกานนท์ พ.บ.*
กนกรัตน์ สุขะตุงคะ กศ.ม., วท.ม.*
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ ปร.ด. (จิตวิทยา)*

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

บทคัดย่อ

แบบสำรวจ Temperament and Character Inventory (TCI 240) สร้างและพัฒนาโดย CR Cloninger ในปี ค.ศ.1994 เพื่อใช้วัดลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพของบุคคล 7 ประการได้แก่ การแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ (Novelty Seeking) การหลีกเลี่ยงภัยอันตราย (Harm Avoidance) การติดพึงใจในรางวัล (Reward Dependence) ความอดทนไม่ท้อถอย (Persistence) การนำตน (Self-Directedness) การให้ความร่วมมือ (Cooperativeness) และความรู้สึกปิติ (Self-Transcendence) แบบสำรวจนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และใช้กันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาปัญหาบุคลิกภาพผิดปกติในเวชปฏิบัติได้ ผู้วิจัยจึงแปลแบบสำรวจนี้เป็นภาษาไทย โดยตรวจสอบความตรงทางด้านเนื้อหาของภาษา และทดสอบค่าความเที่ยงของ TCI ฉบับภาษาไทย ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง = 0.85 (Cronbach alpha) และ = 0.76 ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ ถือได้ว่าเครื่องมือฉบับภาษาไทยมีความตรง และความเที่ยงในระดับสูง

ผู้วิจัยได้นำ TCI ฉบับภาษาไทยมาใช้สำรวจลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพของนักศึกษาแพทย์ศิริราช โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติของนักศึกษาอเมริกันที่ Cloninger ได้ศึกษาไว้ นักศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยครั้งนี้กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1-6 เป็นชาย 581 ราย หญิง 567 ราย จำนวนทั้งหมด 1,148 ราย ผลการศึกษาด้วย independent t-test พบว่านักศึกษาแพทย์ศิริราชมีค่าคะแนนแตกต่างจากนักศึกษาอเมริกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในด้าน Novelty Seeking, Reward Dependence, Persistence และ Cooperativeness ค่าคะแนน Harm Avoidance และ Self-Transcendence แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยที่นักศึกษาอเมริกันมีคะแนนสูงกว่าทั้งหมดยกเว้น Harm Avoidance สำหรับนักศึกษาแพทย์ศิริราชชายและหญิง เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่าหญิงมีค่าคะแนนสูงกว่าในด้าน Novelty Seeking, Reward Dependence และ Cooperativeness เฉพาะค่า Persistence เท่านั้นที่พบว่านักศึกษาแพทย์ชายมีค่าคะแนนสูงกว่า โดยทั้งหมดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 ทั้งนี้ไม่พบข้อแตกต่างระหว่างนักศึกษาแพทย์ชายและหญิงในด้าน Harm Avoidance, Self-Directedness และ Self –Transcendence

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542;44(3): 239-257.

คำสำคัญ อุปนิสัย บุคลิกภาพ นักศึกษาแพทย์

A Survey of Temperament and Character of Siriraj Medical Studer

M.L.Sangchandra Vuthiganond, M.D.*
Kanokrat Sukhatunga, M.Ed., M.S.*
Sucheera Phattarayutawat, Ph.D. (Psychology)*

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

Abstract

Temperament and Character Inventory (TCI) is a set of personality questionnaires, developed by CR Cloninger in 1994. It is a battery of tests designed to assess differences between people in seven basic dimensions of temperament and character. The four measured temperament dimensions are Novelty Seeking, Harm Avoidance, Reward Dependence and Persistence while the three character dimensions are Self-Directedness, Cooperativeness, and Self-Transcendence. This instrument has been translated into several languages and widely used in many countries. The author has translated TCI into Thai language. Content validity of the Thai version was performed and reliability tested with the reliability coefficient = 0.85 (Cronbach alpha) and 0.76 (test-retest), suggestive of highly reliable instrument.

The author has used the personality questionnaires with Siriraj medical students, consisted of 581 male and 567 female with the total number of 1,148. Comparison of TCI findings between Thai medical students and U.S. college students was analysed with independent t-test. There was significant difference in Novelty Seeking, Reward Dependence, Persistence and Cooperativeness (p < .001); Harm Avoidance and Self-Transcendence (p < .01), mostly with higher score on the U.S. side with the exception of Harm Avoidance.

For Siriraj medical students, the result showed higher score of Novelty Seeking, Reward Dependence and Cooperativeness in female but lower score on Persistence as compared to male. All the scores were significantly different at p < .001.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999;44(3):239-257.

Key words: temperament, character, TCI, medical students
บทนำ

การนำแบบทดสอบทางจิตวิทยามาใช้กับมนุษย์นั้นมีมาไม่ต่ำกว่าหนึ่งทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเครื่องมือทดสอบบุคลิกภาพนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 โดยที่ปัจจุบันแบบทดสอบที่ศึกษาถึงบุคลิกภาพ (personality tests) ทำได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ การทดสอบด้วยวิธี projective เช่น Rorschach, TAT เป็นต้น และวิธี objective เช่น personality questionnaires

Personality questionnaires ทำได้โดยให้ผู้ทำแบบทดสอบตอบข้อความแบบปรนัยจำนวนหนึ่ง โดยมีโครงสร้างของข้อความและรูปแบบการให้คะแนนที่แน่นอน แบบทดสอบที่ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยได้แก่ MMPI (Minnesota Multiphasic Personality Inventory) และ 16 PF (16 Personality Factors questionnaires) แบบทดสอบทั้ง 2 ชนิดมีจุดเด่นที่ต่างกันออกไปกล่าวคือ MMPI สามารถชี้บ่งถึงบุคลิกภาพและแสดงถึงปัญหาสุขภาพจิตจาก Clinical Scale ในขณะที่ 16 PF แสดงถึงองค์ประกอบบุคลิกภาพ 16 ประการ แบบทดสอบทั้ง 2 ชนิด ได้ถูกนำมาใช้ทั้งในด้านคลินิกและการคัดเลือกบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ 1,2

Temperament and Character Inventory (TCI) เป็น personality questionnaires ที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ C. Robert Cloninger จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ ปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองเซ็นต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอทฤษฎี biosocial ของบุคลิกภาพ ในปีค.ศ. 19863 โดยให้สมมุติฐานเริ่มแรกไว้ว่า บุคคลมีลักษณะอุปนิสัย (temperament) ได้แก่ พฤติกรรมการสนองต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ ลักษณะเหล่านี้ค่อนข้างมั่นคงตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม 3 ประการ ได้แก่ การแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ (Novelty Seeking) การหลีกเลี่ยงภัยอันตราย (Harm Avoidance) และ การติดพึงใจในรางวัล (Reward Dependence) ลักษณะเหล่านี้เป็นไปตามการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ๆ การได้รางวัล และการถูกลงโทษ มีผลก่อให้เกิด หรือยับยั้ง หรือคงไว้ซึ่งพฤติกรรมนั้น ๆ4 ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระบบสารสื่อประสาท 3 ระบบที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตอบสนองต่อสิ่งเร้า4

Brain System

(Related Personality Dimension)

Principal Monoamine

Modulator

Relevant Stimuli

Behavioral Response

Behavioral activation

(Novelty Seeking)

Dopamine

Novelty

Potential reward

Potential relief of monotony

or punishment

Exploratory persuit

Appetitive approach

Active avoidance, escape

Behavioral inhibition

(Harm Avoidance)

Serotonin

Conditioned signals for punishment, novelty or frustrative nonreward Passive avoidance, extinction

Behavioral maintenance

(Reward Dependence)

Norepinephrine

Conditioned signals for reward or relief of punishment

Resistance to extinction

 

จากทฤษฎีดังกล่าว Cloninger ได้นำไปสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดลักษณะอุปนิสัย (temperament) ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชื่อ Tridimensional Personality Questionnaires (TPQ) ต่อมาได้พัฒนาโดยแยก Persistence ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งใน Reward Dependence (RD2) ออกมาเป็นอีก temperament หนึ่งและได้เพิ่มเติมในส่วนของลักษณะบุคลิกภาพ (character) หมายถึง การรู้จักตน เป้าหมายในชีวิต ค่านิยม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลในการเลือกตัดสินใจในการดำเนินชีวิต ตลอดจนการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลและสังคมชุมชน ความแตกต่างในบุคลิกภาพของบุคคลขึ้นกับการเรียนรู้จากสังคม วัฒนธรรม และจะพัฒนาก้าวหน้าไปตามประสบการณ์ชีวิต ลักษณะเหล่านี้ ได้แก่ การนำตน (Self-Directedness) การให้ความร่วมมือ (Cooperativeness) และความรู้สึกปิติ (Self-Transcendence)5 แบบสำรวจจึงเปลี่ยนชื่อจาก TPQ เป็น Temperament and Character Inventory (TCI) โดยสรุป TCI เป็น personality questionnaires ที่ใช้ประเมิน temperament และ character ของบุคคลใน 7 ด้าน แต่ละด้านมีลักษณะย่อยรวมทั้งหมด 24 subscale5 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ลักษณะของ TCI scale และ subscales

Scale

Subscale

Items

ผู้ที่ได้คะแนนสูง

ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ

Novelty Seeking

การแสวงหาสิ่ง

แปลกใหม่

NS 40 items

NS1

NS2

NS3

NS4

11

10

9

10

ชอบค้นคว้าผจญภัย อยากรู้อยากเห็น

หุนหันพลันแล่น ตัดสินใจเร็ว

ชอบใช้จ่าย รักสนุก ร่าเริง

ไม่มีระเบียบ

เฉยเมย ไม่สนใจ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตัดสินใจตามเหตุผล ช่างวิเคราะห์ถี่ถ้วน

ตระหนี่ ไว้ตัว เคร่งขรึม

เจ้าระเบียบ เคร่งครัด

Harm Avoidance

การหลีกเลี่ยงภัย

อันตราย

HA 35 items

HA1

HA2

HA3

HA4

11

7

8

9

ขี้กังวล เจ้าทุกข์ หวั่นกลัวอันตราย

เครียดง่ายไม่มั่นใจเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

ขี้อาย

อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย

ผ่อนคลาย มั่นใจตนเอง มองโลกในแง่ดี

สงบมั่นใจในทุกสถานการณ์

กล้า ชอบสังคม

มีพลัง แข็งแรง

Reward Dependence

การติดพึงใจในรางวัล

RD 24 items

RD1

RD3

RD4

10

8

6

อารมณ์อ่อนไหว อบอุ่น ชอบสงสาร

ชอบผูกพันใกล้ชิด

พึ่งพาผู้อื่นทางใจ รีรอในการตัดสินใจ

ด้วยตนเอง ชอบทำให้ผู้อื่นพอใจ

ใจแข็ง เย็นชา

แยกตัว เหินห่าง

ไม่พึ่งใคร ไม่สนใจเสียงวิพากษ์วิจารณ์

Persistence

ความอดทนไม่ท้อถอย

P 8 items

P

(RD2)

8

ขยัน สู้งานหนัก ไม่ท้อถอย

เป้าหมายสูง ทะเยอทะยานสมบูรณ์แบบ

ไม่กระตือรือร้น เกียจคร้าน ยอมแพ้ง่ายๆ

ไม่ทะเยอทะยาน

Self-Directedness

การนำตน

 

 

 

SD 44 items

SD1

SD2

SD3

SD4

SD5

8

8

5

11

12

รับผิดชอบ เชื่อถือได้

ทำอะไรตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

มีลู่ทางในการแก้ปัญหา ทำอะไรก็สำเร็จ

มั่นใจ รู้จักทั้งข้อดีและข้อบกพร่องของตน ยอมรับตนเอง

นิสัยดี มีวินัยในตนเอง

ไม่รับผิดชอบ โทษผู้อื่น

ไม่มีเป้าหมายในชีวิต

เฉื่อยชาทำอะไรไม่สำเร็จ แก้ไขอุปสรรคไม่ได้

ไม่มีความภูมิใจในตนเอง อยากมีอยากเป็นในสิ่งที่ตนเองไม่ได้เป็น

ไม่มีวินัยในตนเอง เอาชนะใจตนเองไม่ได้ใน

สถานการณ์ที่ชักจูงให้ทำผิด

Cooperativeness

การให้ความร่วมมือ

 

 

 

C 42 items

C1

C2

C3

C4

C5

8

7

8

10

9

เป็นมิตร ยอมรับผู้อื่น

เห็นใจ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น

ชอบช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ชอบทำงาน

เป็นทีม

มีเมตตา ใจบุญ ให้อภัย

สัมพันธภาพสร้างสรร

ซื่อสัตย์ จริงใจ ยุติธรรม มีมโนธรรม

ไม่เป็นมิตร ไม่อดทน ไม่ฟังความเห็นผู้อื่น

ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น

ไม่มีน้ำใจ เห็นแก่ตัว ชอบทำงานคนเดียว

ชอบแก้แค้น ดื้อดึง passive aggressive

ฉกฉวยโอกาส ไม่ยุติธรรม ไม่มีคุณธรรม

Self – Transcendence

ความรู้สึกปิติ

ST 33 items

ST1

ST2

ST3

11

9

13

คิดสร้างสรร ไม่นึกถึงตน มีสมาธิจิต

เสียสละเพื่อสังคมและมนุษยชาติ

เชื่อในเรื่องอำนาจจิต ศรัทธา ปาฏิหารย์

ไม่มีจินตนาการ ไม่มีสมาธิจิต

มุ่งประโยชน์ส่วนตนมากกว่าสังคม

วัตถุนิยม เชื่อเฉพาะในสิ่งที่พิสูจน์ได้หรือ

วิทยาศาสตร์อธิบายได้

แบบทดสอบ TCI นี้นอกจากจะใช้ประเมินลักษณะอุปนิสัย (temperament) และบุคลิกภาพ (character) ของบุคคลแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้ทางคลินิกได้ เช่น วินิจฉัยชนิดของบุคลิกภาพผิดปกติ6 อีกทั้งมีส่วนช่วยในการประเมินและทำนายการตอบสนองต่อการรักษาได้ด้วย เช่น การศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าก่อนการรักษาจะมีคะแนน Harm Avoidance สูงมาก7 นอกจากนี้ยังพบว่า temperament สามารถเป็นตัวทำนายได้ว่าผู้ป่วยจะตอบสนองดีต่อยาแก้เศร้าชนิดใด เช่น ผู้ที่ Reward Dependence สูงจะตอบสนองดีต่อ clomipramine, MAOI และ SSRI ในขณะผู้ที่มี Harm Avoidance สูง ตอบสนองดีต่อยา noradrenergic เช่น desipramine8 สำหรับการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล พบว่ากลุ่มนี้มักจะมี Harm Avoidance สูง ในรายที่ Harm Avoidance สูงควรรักษาด้วยเภสัชบำบัด ในขณะที่ผู้ได้คะแนน Harm Avoidance ต่ำจะตอบสนองต่อจิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัดได้โดยไม่ต้องใช้ยา9 นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาถึงความไวในการตอบสนองต่อยาพบว่าผู้ที่ Novelty Seeking สูงจะไวต่อการกดของยากลุ่ม benzodiazepine ทำให้ต้องใช้ยาในขนาดต่ำ10 อีกทั้งยังมีผู้ศึกษา temperament และ character ในโรคจิตเวชอื่น เช่น ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ใช้สารเสพย์ติด บุคลิกภาพผิดปกติ และโรคความผิดปกติของการกินอาหาร เป็นต้น

จากการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าแบบทดสอบ TCI สามารถนำมาใช้ในเวชปฏิบัติได้เป็นอย่างดี อาจช่วยในการวินิจฉัยโรค ทำนายการตอบสนองต่อชนิดของยาจิตบำบัด อีกทั้งยังช่วยในการประเมินและวางแผนรักษาผู้ป่วย ทั้งในด้านการรักษาด้วยเภสัชบำบัดและจิตบำบัดที่เหมาะสมต่อบุคลิกภาพของผู้ป่วยนั้น11 คณะผู้วิจัยมีความสนใจจะพัฒนาแบบทดสอบ TCI เป็นภาษาไทย เพื่อนำมาใช้ประกอบการปฏิบัติงานด้านจิตเวชศาสตร์ จึงดำเนินการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลและปรับปรุงแบบสำรวจ Temperament and Character Inventory (TCI) จากนั้นศึกษาความเที่ยงของ TCI ฉบับภาษาไทย และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพ โดยมีนักศึกษาแพทย์ศิริราชเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาเบื้องต้น

วัสดุและวิธีการ

1. เครื่องมือ Temperament and Character Inventory (TCI)

TCI เป็นแบบสำรวจใหม่ที่ยังไม่เคยมีการแปลเป็นภาษาไทยและประยุกต์ใช้กับคนไทยมาก่อน ต้นฉบับภาษาอังกฤษได้รับการตรวจแล้วว่า เป็นเครื่องมือที่มีความตรง (validity) และความเที่ยง (reliability) ในระดับสูง6

TCI ฉบับที่ใช้ในผู้ใหญ่ (self-report version) ประกอบด้วยข้อความแบบปรนัย จำนวน 240 ข้อ แต่ละข้อมีคำตอบให้เลือกว่า จริง หรือ ไม่จริง โดยให้ผู้ตอบตอบทุกข้อตามความรู้สึกของตน การตรวจให้คะแนนกระทำตามคู่มือการให้คะแนนของแบบสำรวจ TCI โดยมีคะแนนแต่ละข้อเป็น 0,1 หรือ 1,0 ปรับคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน (T-score) ด้วยวิธี simple standardization เพื่อเก็บไว้เป็นมาตรฐานกลุ่ม (group norm) จากนั้นคำนวณลำดับ percentile ของกลุ่มที่สำรวจ ค่า percentile ที่ ร้อยละ 33.3-66.7 ถือเป็นคะแนนเฉลี่ยปานกลาง ระดับคะแนนที่ต่ำหรือสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยปานกลาง บ่งบอกถึงแนวโน้มของลักษณะอารมณ์และบุคลิกที่เบี่ยงเบนจากกลุ่ม

การแปลผลรายบุคคลของ TCI ประกอบด้วย การวิเคราะห์ content scale (self-report) และ validity scale (performance) จากนั้นจึงวิเคราะห์ความเข้ากันได้ระหว่าง content และ validity profile

ผลของการตอบแบบสำรวจ TCI อาจมีข้อสงสัยเกิดขึ้นเนื่องจากการตอบผิดพลาดไม่ระมัดระวัง ตอบเกินความจริง ปกป้องตนเอง ไม่เปิดเผยตนหรือเหตุผลอื่น จึงทำให้มีการทำ validity indicators ไว้เป็นเกณฑ์ ถ้า validity scale แตกต่างไปมาก ต้องระมัดระวังในการแปลผล self-report ของผู้ตอบแบบสำรวจนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการตอบแบบทดสอบเกิดในสภาวะการณ์ที่ผู้ตอบมีแรงจูงใจที่จะแสดงความคิดผิดไปจากความรู้สึกที่แท้จริง

TCI validity scale แสดงถึงลักษณะเฉพาะตัวในการแสดงออกของบุคคล โดยที่แบบอย่างของการตอบย่อมเป็นไปตามลักษณะของบุคคลนั้น เช่น ผู้ที่ยอมตาม (submissive) มักจะตอบว่าจริงไว้ก่อนเมื่อมีข้อสงสัย ในขณะที่ผู้ที่ต่อต้านดื้อดึงก็มักจะตอบ “ไม่จริง ” ชุดคำตอบที่ดูผิดไปจากปกติจะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้ตอบผู้นั้นด้วย

Validity Scale ประกอบด้วย

1) Rarity Scale ผลรวมของจำนวนข้อที่มีผู้ตอบน้อยที่สุดในแต่ละ subscale

2) Runs จำนวนครั้งที่การตอบเปลี่ยนแปลงจาก จริง ? ไม่จริง หรือ ไม่จริง ? จริง ในข้อถัดไป

3) Number of true endorsement (Numtrue) จำนวนข้อที่ตอบ “จริง ”

4) Scale of the Like Items (SLI) จำนวนคู่ของข้อความจากทั้งหมด 29 คู่ที่ต้องตอบในทางเดียวกัน (จริงทั้งคู่ หรือไม่จริงทั้งคู่) คะแนนต่ำแสดงถึงความไม่สม่ำเสมอ ไม่พินิจพิจารณา เร่งรีบไม่ระมัดระวังในการตอบหรือปัญหาอื่น

5) Scale of the Unlike Items (SUI) จำนวนคู่ของข้อความจากทั้งหมด 21 คู่ ที่ต้องตอบตรงกันข้าม (ข้อหนึ่งจริง, อีกข้อไม่จริง )

ถ้า validity indicators สูงมากหรือต่ำมาก เช่น คะแนนมาตรฐานต่ำกว่า 30 หรือสูงกว่า 70 แสดงถึงความขัดแย้งกัน ระหว่าง content scale และ validity scale ต้องระมัดระวังในการแปลผลเป็นรายบุคคล 6

ความสำคัญทางด้านคลินิกในการแปลผลของ TCI คือ

1. สามารถบ่งชี้ถึงบุคลิกภาพผิดปกติได้ ถ้าค่าคะแนน Self -Directedness และ Cooperativeness ต่ำกว่าคะแนน percentile ที่ 33

2. วินิจฉัยชนิดของบุคลิกภาพผิดปกติได้ โดยพิจารณาที่ค่าคะแนนของ temperament score เฉพาะ Novelty Seeking, Harm Avoidance และ Reward Dependence 12 ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 Basic stimulus-response characteristics of traditional personality categories12

Personality disorder

Novelty Seeking

Harm Avoidance

Reward Dependence

Antisocial

Histrionic

Passive – Aggressive

Explosive

Obsessional

Schizoid

Cyclothymic

Passive – Dependent

High

High

High

High

Low

Low

Low

Low

Low

Low

High

High

High

Low

Low

High

Low

High

High

Low

Low

Low

High

High

2. การปรับปรุงแบบสำรวจ TCI เป็นภาษาไทย

ผู้วิจัยได้ติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ TCI เพื่อขออนุญาตแปลและปรับปรุงเป็นฉบับภาษาไทย เมื่อได้รับอนุญาตจึงดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านแปลตรงตามต้นฉบับเรียงตามลำดับข้อ ผู้วิจัยได้ปรับปรุงเนื้อหาให้เข้ากับแนวคิดทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในสังคมไทย จากนั้นจึงแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของภาษา (content validity)

ศึกษาความเที่ยงของเครื่องมือด้วยวิธี test-retest โดยทำโครงการนำร่องทดสอบซ้ำในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ขึ้นปฏิบัติงานที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ใช้ระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือด้วยวิธี Cronbach alpha และ test-retest

3. การดำเนินงานวิจัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยดำเนินการดังนี้

ก. ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลทุกชั้นปีที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2540 จำนวน 1,148 ราย

ข. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เพศ ชั้นปีที่ศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม ลักษณะการสำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมปลาย และวิธีสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ผ่านทบวงมหาวิทยาลัยหรือข้อสอบพิเศษของคณะฯ โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม

2) Temperament and Character Inventory ฉบับภาษาไทย

3) กระดาษคำตอบ เพื่อตรวจให้คะแนนด้วยคอมพิวเตอร์

ค. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ดำเนินการขออนุญาตเก็บข้อมูลในนักศึกษาแพทย์ แล้วประสานงานกับหัวหน้านักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปี เพื่อนัดวันเวลาเก็บข้อมูลจากกลุ่มพร้อมกันในแต่ละชั้นปี สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งหมุนเวียนปฏิบัติงานในภาควิชาต่างๆ ไม่สามารถนัดหมายเวลาตอบแบบสำรวจพร้อมกันได้ จึงได้นัดหมายให้หัวหน้ากลุ่มมารับชุดข้อมูลและรับผิดชอบแจกจ่ายไปยังกลุ่มย่อย นำข้อมูลชุดที่ตอบเรียบร้อยแล้วส่งคืนให้แก่ผู้วิจัยในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

เก็บข้อมูลตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ นำข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลส่วนตัวบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ ตรวจให้คะแนน TCI ตามคู่มือการให้คะแนน ได้ค่าคะแนนดิบของ TCI scale และ subscale จากนั้นปรับเป็นคะแนนมาตรฐาน (T score) และคะแนน percentile

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ก. ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (reliability coeffcient) ของ TCI ฉบับภาษาไทย ด้วยวิธี test-retest และ Cronbach alpha

ข. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง นำมาแจกแจงความถี่และคำนวณโดยใช้ค่าร้อยละ

ค. ปรับค่าคะแนนดิบของ TCI ทั้ง 7 scale และ 24 scale โดยวิธี simple standardization เป็นคะแนนมาตรฐานของกลุ่ม และปรับค่าคะแนนดิบเป็นคะแนน percentile

ง. เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนน TCI ทั้ง 7 scale และ 24 subscale ระหว่างนักศึกษาแพทย์ศิริราช และเกณฑ์ปกติของนักศึกษาอเมริกันและศึกษาค่า TCI ในนักศึกษาแพทย์ศิริราชตามตัวแปรเพศโดยวิเคราะห์ด้วย independent t-test

ผลการศึกษา

1. ความตรง (validity) และความเที่ยง (reliability) ของ Temperament and Character Inventory ฉบับภาษาไทย

ผู้วิจัยได้ใช้วิธีแปล Temperament and Character Inventory เป็นภาษาไทยโดยเรียงตามลำดับข้อ และได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อตรวจสอบความตรงในเชิงเนื้อหาของภาษา (content validity) จากนั้นจึงศึกษาความเที่ยงของเครื่องมือโดยได้ตรวจสอบทั้ง 2 วิธี ทั้งในด้านความสอดคล้องภายในด้วยเทคนิค Cronbach alpha และความสอดคล้องภายนอกโดยทดสอบซ้ำในระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ ได้ผลดังนี้

ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือ TCI ฉบับภาษาไทย (reliability study) ด้วยวิธี

test-retest และ Cronbach alpha

Reliability Coefficient

test-retest

Cronbach alpha

Novelty Seeking NS

Harm Avoidance HA

Reward Dependence RD

Persistence P

Self – Directedness SD

Cooperativeness C

Self –Transcendence ST

0.88

0.86

0.61

0.66

0.92

0.55

0.81

0.94

0.92

0.73

0.79

0.94

0.67

0.89

ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของ TCI

0.76

0.85

Fisher & Corcoran (1994)13 ได้แบ่งค่าความเที่ยงไว้ 4 ระดับคือ

r มีค่า 0.0- 0.20 ค่าความเที่ยงต่ำมาก

0.21- 0.40 ค่าความเที่ยงค่อนข้างต่ำ

0.41- 0.70 ค่าความเที่ยงพอประมาณ

0.71- 1.00 ค่าความเที่ยงสูง

ผลการวิจัย พบว่าเมื่อใช้วิธีทดสอบซ้ำ (test-retest) scale C, RD และ P มีค่าความเที่ยงปานกลาง ส่วน ST, HA, NS และ SD มีค่าความเที่ยงสูง แต่เมื่อคำนวณค่า r ด้วยวิธี Cronbach alpha พบว่าเฉพาะ scale C ที่มีความเชื่อมั่นปานกลาง ส่วน scale RD, P, ST, HA, NS และ SD มีค่าความเที่ยงสูง

สำหรับ TCI ฉบับภาษาไทยทั้งฉบับ คำนวณค่า r ได้ 0.76 และ 0.85 ด้วยวิธี test-retest และ Cronbach alpha ตามลำดับ จึงถือได้ว่า TCI ฉบับภาษาไทยมีความตรงในเชิงเนื้อหาและมีค่าความเที่ยง (reliability) อยู่ในระดับสูง

2. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากรที่ศึกษา

นักศึกษาแพทย์ศิริราชที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2540-2541 จำนวนทั้งหมด 1,148ราย เข้าร่วมในโครงการวิจัย ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 = 225 ราย (19.6%) ปีที่ 2 = 227 ราย (19.8%) ปีที่ 3 = 223 ราย (19.4%) ปีที่ 4 = 205 ราย (17.9%) ปีที่ 5 = 220 ราย (19.1%) และชั้นปีที่ 6 = 48 ราย (4.2%) ทั้งนี้นักศึกษาชั้นปีที่ 6 มีจำนวนน้อยที่สุด เนื่องจากกำลังปฏิบัติหน้าที่ extern ไม่สามารถนัดหมายเวลาพร้อมกันได้ รวมทั้งหมดเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก 674 ราย (58.8%) และคลินิก 474 ราย (41.2%)

ลักษณะปัจจัยส่วนตัวอื่นๆ ของประชากรที่ศึกษาได้แก่

เพศ ชาย 581 (50.6%) หญิง 567 (49.4%)

ศาสนา พุทธ 1,107 (96.4%) อื่นๆ 41 (3.6%)

ภูมิลำเนา กทม. 768 (66.9%) ต่างจังหวัด 380 (33.1%)

วุฒิมัธยมปลาย กศน./ 673 (58.6%) มัธยมบริบูรณ์ 466 (40.6%) ไม่ระบุ 9 (0.8%)

หลักสูตรเร่งรัด

วิธีการเข้าเรียนแพทย์ ข้อสอบทบวงฯ 769 (67.0%) ข้อสอบคณะฯ 375 (32.7%) ไม่ระบุ 4 (0.3%)

3. การศึกษาเปรียบเทียบ TCI scale score

3.1 นักศึกษาแพทย์ศิริราช กับ นักศึกษาชาวอเมริกัน

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนน TCI ของนักศึกษาแพทย์ศิริราชกับนักศึกษาจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่ง Cloninger ได้ศึกษาไว้6 พบว่านักศึกษาอเมริกันมีค่าคะแนน Novelty Seeking, Reward Dependence, Persistence และ Cooperativeness สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และค่า Self-Transcendence สูงกว่านักศึกษาแพทย์ศิริราชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่นักศึกษาแพทย์ศิริราชมีค่าคะแนนสูงกว่าเพียงด้านเดียวคือ Harm Avoidance และไม่มีความแตกต่างในค่า Self-Directedness ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนน TCI ระหว่างนักศึกษาแพทย์ศิริราช (N = 1,148) และนักศึกษาจิตวิทยาชาวอเมริกัน (N = 803)

No.

population

Temperament & Character

items

Siriraj medical students

mean (SD)

U.S.college6

students

mean (SD)

t

p value

Novelty Seeking NS

Harm Avoidance HA

Reward Dependence RD

Persistence P

Self-Directedness SD

Cooperativeness C

Self-Transcendence ST

Exploratory excitability NS1

Impulsiveness NS2

Extravagance NS3

Disorderliness NS4

Worry & Pessimism HA1

Fear of Uncertainty HA2

Shyness HA3

Fatigability HA4

Sentimentality RD1

Attachment RD3

Dependence RD4

Responsibility SD1

Purposefulness SD2

Resourcefulness SD3

Self-Acceptance SD4

Enlighten 2nd nature SD5

Acceptance C1

Empathy C2

Helpfulness C3

Compassion-Revenge C4

Integrated conscience C5

Self-forgetfulness ST1

Transpers. Identification ST2

Spiritual Acceptance ST3

40

35

24

8

44

42

33

11

10

9

10

11

7

8

9

10

8

6

8

8

5

11

12

8

7

8

10

9

11

9

13

18.99 (5.48)

15.80 (6.35)

15.32 (3.67)

3.63 (1.71)

28.81 (6.34)

32.50 (5.24)

15.17 (5.38)

6.19 (2.17)

3.49 (1.99)

4.67 (2.36)

4.64 (1.85)

4.46 (2.27)

3.83 (1.95)

4.13 (2.16)

3.38 (2.20)

6.83 (1.72)

4.07 (2.11)

3.81 (1.46)

5.40 (1.71)

5.86 (1.87)

3.55 (1.34)

6.02 (2.63)

7.97 (1.88)

6.34 (1.56)

4.68 (1.43)

6.41 (1.32)

8.24 (2.10)

6.82 (1.30)

5.88 (2.31)

3.55 (1.93)

5.75 (2.57)

20.2 (6.6)

14.9 (7.7)

17.4 (3.9)

5.3 (2.1)

29.1 (7.8)

34.3 (5.8)

16.1 (6.5)

6.9 (2.5)

3.7 (2.5)

4.5 (2.4)

5.1 (2.2)

4.3 (2.9)

3.6 (2.1)

4.0 (2.5)

3.0 (2.4)

7.5 (1.9)

5.8 (2.0)

4.1 (1.3)

5.9 (2.0)

5.5 (2.0)

3.5 (1.5)

5.0 (3.0)

9.2 (2.6)

7.1 (1.3)

5.8 (1.3)

6.8 (1.3)

7.7 (2.7)

6.9 (1.5)

5.6 (2.5)

3.2 (2.3)

7.2 (3.3)

-4.32***

2.73**

-12.24***

-18.56***

-0.88

-3.40***

-3.10**

-7.27***

-2.00*

0.91

-4.70***

1.36

1.82

1.09

3.36***

-6.36***

-10.10***

-2.73**

-4.55***

2.93**

0.45

8.50***

-9.09***

-7.27***

-10.00***

-3.64***

4.55***

-0.91

1.67

2.5*

-10.11***

 

 

0.000

0.014

0.000

0.001

0.912

0.000

0.002

0.000

0.022

0.360

0.000

0.063

0.060

0.068

0.000

0.000

0.000

0.014

0.000

0.010

0.536

0.000

0.000

0.000

0.000

0.000

0.000

0.360

0.110

0.015

0.000

*p ? 0.05 ** p ? 0.01 *** p ? 0.001

เมื่อพิจารณาค่าใน subscale ประกอบด้วย พบว่านักศึกษาอเมริกันมีคะแนน Novelty Seeking สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาสิ่งแปลกใหม่แนวคิดใหม่ ๆ ไม่ชอบการอยู่นิ่งเฉยและไม่เข้มงวดในระเบียบ ตัดสินใจเร็วหุนหันพลันแล่น อารมณ์เสียง่ายและแสดงความโกรธอย่างเปิดเผย ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ที่ศึกษามีลักษณะแบบที่อนุรักษ์นิยม เคร่งครัดเข้มงวดไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง มักวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ ไม่ทำลายกฎระเบียบและมีความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆ

นอกจากนี้พบว่านักศึกษาแพทย์ศิริราชมีลักษณะ Harm Avoidance สูงกว่านักศึกษาอเมริกันเฉพาะในด้าน HA4 (fatigability) เท่านั้น แสดงว่านักศึกษาแพทย์ไม่ค่อยมีพลังแข็งแรงทางร่างกาย มีแนวโน้มเหนื่อยล้าง่าย ฟื้นตัวจากโรคภัยและความเครียดช้ากว่า ในขณะที่นักศึกษาอเมริกันมองว่าตนแข็งแรงมีพลังกระฉับกระเฉงเสมอ และฟื้นตัวจากโรคภัยหรือความเครียดได้เร็ว

Reward Dependence ในนักศึกษาอเมริกันสูงกว่า โดยเฉพาะอารมณ์ลึกซึ้งอ่อนไหวง่าย สงสารเห็นใจผู้อื่น และแสดงอารมณ์อ่อนไหวโดยไม่สะกดกลั้นไว้ มีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดอบอุ่น และต้องการพึ่งพาทางใจสูงกว่า ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ศิริราชไม่แสดงอารมณ์อ่อนไหว ใจแข็ง ไม่พยายามทำให้คนอื่นพอใจเพื่อคำชม และไม่ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ในสายตาคนอาจเห็นได้ว่าเป็นอิสระ เชื่อใจตนเอง ไม่เป็นไปตามแรงกดดันจากสังคมแวดล้อม

ในด้านของ Persistence นักศึกษาอเมริกันมีลักษณะของความขยันขันแข็ง สู้ไม่ถอยแม้จะมีปัญหาเกิดขึ้น รักที่จะอาสาทำงาน กระตือรือร้นที่จะเริ่มงานเมื่อได้รับมอบหมาย เห็นว่าปัญหาคือการท้าทาย ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ศิริราชพอใจในระดับที่ตนเองเป็นอยู่ อาจประสบความสำเร็จมากกว่านี้ แต่ขาดความพยายามเท่าที่ควร ไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะผลักดันตนเองเต็มกำลังความสามารถ

สำหรับด้าน Character นั้นค่าคะแนนรวมของ Self-Directedness ไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาจาก subscale จะพบความแตกต่าง โดยนักศึกษาแพทย์ศิริราชมี SD2 (purposefulness) และ SD4 (self-acceptance) สูงกว่า ในขณะที่นักศึกษาอเมริกันมี SD1 (responsibility) และ SD5 (enlighten 2nd nature) สูงกว่า แสดงว่านักศึกษาแพทย์ศิริราชมีการยอมรับในตนเองได้ดี รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่ ไม่อยากมีอยากเป็นในสิ่งที่เกินความสามารถ มีเป้าหมายในชีวิต ในขณะที่นักศึกษาอเมริกันมีความรับผิดชอบ เลือกสิ่งที่ตนเองอยากจะทำโดยไม่โทษใครและมีวินัยในการควบคุมตนเอง ทนต่อการเย้ายวนใจจากอารมณ์หรือแรงชักจูงได้ดี เชื่อมั่นตนเองได้ในสถานการณ์ที่ยั่วใจให้ทำผิด อย่างไรก็ตามข้อเด่นที่ต่างกันออกไปนี้ทำให้ค่าคะแนนผลรวมของ Self-Directedness ไม่ต่างกัน

สำหรับด้าน Cooperativeness นักศึกษาอเมริกันสูงในด้าน C1 (acceptance), C2 (empathy) และ C3 (helpfulness)ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ศิริราช C4 (compassion-revenge) สูงกว่า แสดงว่านักศึกษาแพทย์กลุ่มที่ศึกษามีแนวโน้มที่จะมีเมตตา ให้อภัยไม่แก้แค้น แต่มักไม่อดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเห็นหรือค่านิยมแตกต่าง นักศึกษาอเมริกันจะยอมรับผู้อื่นอย่างที่เขาเป็นได้ มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ชอบบริการและมักชอบทำงานเป็นทีมพร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ชอบทำงานคนเดียวมากกว่า สำหรับในด้านของความซื่อสัตย์ มโนธรรม ไม่มีข้อแตกต่างกัน

Self-Transcendence นักศึกษาแพทย์ศิริราชมีค่า ST2 (transpersonal identification) สูงกว่านักศึกษาอเมริกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงถึงลักษณะการเสียสละเพื่อสังคมไม่มุ่งเฉพาะประโยชน์ส่วนตน นักศึกษาอเมริกันมีค่าคะแนน ST3 (spiritual acceptance) สูงกว่าแสดงถึงความเชื่อในเรื่องอำนาจจิต ศรัทธาปาฏิหารย์สิ่งลี้ลับต่าง ๆ ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ศิริราชจะเชื่อในสิ่งที่มีตัวตนจริงและมีความเชื่อเฉพาะในสิ่งที่วิทยาศาสตร์อธิบายได้เท่านั้น

3.2 นักศึกษาแพทย์ศิริราชเพศชายและเพศหญ3.3 ิง3.4 (ตาราง3.5 ที่ 6-8)

ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบความแตกต่างของ TCI Scale ระหว่างตัว แปรเพศ

เพศ

Temperament & Character

ชาย

หญิง

t

p value

mean (SD)

 

mean (SD)

Novelty Seeking NS

Harm Avoidance HA

Reward Dependence RD

Persistence P

Self-Directedness SD

Cooperativeness C

Self-Transcendence ST

Exploratory excitability NS1

Impulsiveness NS2

Extravagance NS3

Disorderliness NS4

Worry & Pessimism HA1

Fear of Uncertainty HA2

Shyness HA3

Fatigability HA4

Sentimentality RD1

Attachment RD3

Dependence RD4

Responsibility SD1

Purposefulness SD2

Resourcefulness SD3

Self-Acceptance SD4

Enlighten 2nd nature SD5

Acceptance C1

Empathy C2

Helpfulness C3

Compassion-Revenge C4

Integrated conscience C5

Self-forgetfulness ST1

Transpers. Identification ST2

Spiritual Acceptance ST3

 

18.35 (5.44)

15.65 (6.44)

14.75 (3.65)

3.82 (1.75)

28.48 (6.35)

31.98 (5.40)

15.16 (5.60)

6.02 (2.08)

3.31 (1.95)

4.49 (2.46)

4.53 (1.94)

4.40 (2.32)

3.63 (1.93)

4.28 (2.21)

3.34 (2.20)

6.72 (1.74)

4.37 (2.09)

3.66 (1.43)

5.34 (1.77)

5.77 (1.84)

3.65 (1.32)

5.88 (2.69)

7.85 (1.81)

6.28 (1.61)

4.49 (1.40)

6.33 (1.35)

8.19 (2.21)

6.69 (1.35)

5.93 (2.35)

3.65 (2.05)

5.58 (2.65)

19.62 (5.45)

16.00 (6.29)

15.90 (3.62)

3.42 (1.64)

29.11 (6.30)

33.01 (4.98)

15.20 (5.16)

6.35 (2.26)

3.66 (2.00)

4.84 (2.24)

4.76 (1.74)

4.52 (2.23)

4.05 (1.95)

3.99 (2.09)

3.44 (2.21)

6.96 (1.69)

4.98 (2.09)

3.96 (1.48)

5.44 (1.65)

5.94 (1.88)

3.45 (1.37)

6.18 (2.56)

8.11 (1.94)

6.41 (1.50)

4.87 (1.43)

6.48 (1.28)

8.31 (1.98)

6.95 (1.22)

5.84 (2.27)

3.44 (1.79)

5.91 (2.50)

-3.903***

-0.936

-5.282***

4.012***

-1.665

-3.327***

-0.110

-2.590**

-2.976**

-2.495*

-2.117*

0.916

-3.666***

2.273*

-0.746

-2.292*

-4.904***

-3.427***

-0.908

-1.573

2.503*

-1.929

-2.315*

-1.35

-4.393***

-1.889

-0.962

-3.474***

0.623

1.842

-2.164*

0.000

0.356

0.000

0.000

0.096

0.001

0.912

0.010

0.003

0.013

0.034

0.360

0.000

0.023

0.456

0.022

0.000

0.001

0.364

0.116

0.012

0.054

0.021

0.177

0.000

0.059

0.336

0.001

0.534

0.066

0.031

 

* p ? 0.05 ** p ? 0.01 *** p? 0.001

ตารางที่ 7 Percentile และ T-Score ของ TCI Scale จำแนกตามเพศ

 

Temperament & Character

Percentile

T-Score

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

Novelty Seeking NS

Harm Avoidance HA

Reward Dependence RD

Persistence P

Self-Directedness SD

Cooperativeness C

Self-Transcendence ST

Exploratory excitability NS1

Impulsiveness NS2

Extravagance NS3

Disorderliness NS4

Worry & Pessimism HA1

Fear of Uncertainty HA2

Shyness HA3

Fatigability HA4

Sentimentality RD1

Attachment RD3

Dependence RD4

Responsibility SD1

Purposefulness SD2

Resourcefulness SD3

Self-Acceptance SD4

Enlighten 2nd nature SD5

Acceptance C1

Empathy C2

Helpfulness C3

Compassion-Revenge C4

Integrated conscience C5

Self-forgetfulness ST1

Transpers. Identification ST2

Spiritual Acceptance ST3

46.72

49.34

45.60

53.50

48.44

47.53

49.69

47.93

47.24

47.80

48.73

49.33

47.09

52.22

49.31

48.40

46.08

46.82

49.44

48.18

52.10

48.28

47.92

48.93

46.10

48.68

50.06

47.21

50.92

51.32

48.09

 

53.24

51.01

54.26

46.49

51.42

52.67

50.24

52.35

52.40

51.85

51.73

50.97

53.04

48.22

50.77

51.90

54.36

52.72

50.41

51.45

47.87

51.51

52.26

50.71

53.65

51.58

50.52

52.76

49.72

48.54

51.93

48.85

49.76

48.44

51.14

49.49

49.02

49.98

49.23

49.11

49.24

49.42

49.76

48.94

50.69

49.83

49.38

48.57

48.91

49.69

49.51

50.69

49.43

49.35

49.58

48.66

49.43

49.78

48.98

50.22

50.52

49.35

51.16

50.32

51.56

48.77

50.48

50.98

50.04

50.77

50.87

50.72

50.68

50.31

51.11

49.34

50.28

50.74

51.47

50.94

50.23

50.44

49.20

50.58

50.72

50.39

51.26

50.56

50.35

51.02

49.85

49.42

50.64

 

ตารางที่ 8 Personality Profile จาก Percentile Scores เปรียบเทียบระหว่างตัวแปรเพศ

Personality Profile

TCI Scale

เฉยเมยไม่สนใจ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบค้นคว้าผจญภัย อยากรู้อยากเห็น

ตัดสินใจด้วยเหตุผล ช่างวิเคราะห์ถี่ถ้วน NS ตัดสินใจเร็ว ชอบใช้จ่าย

ไว้ตัว เคร่งขรึม เจ้าระเบียบเคร่งครัด รักสนุกร่าเริง ไม่มีระเบียบ

ผ่อนคลาย มั่นใจในตนเอง มองโลกแง่ดี ขี้กังวล เจ้าทุกข์ หวั่นกลัวอันตราย

สงบมั่นใจทุกสถานการณ์ กล้า ชอบสังคม HA เครียดง่าย ขี้อาย อ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย

มีพลัง แข็งแรง

ใจแข็ง เย็นชา แยกตัวเหินห่าง RD อารมณ์อ่อนไหว อบอุ่น ชอบสงสาร

ไม่พึ่งใคร ไม่สนใจคำวิพากษ์วิจารณ์ ชอบผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาผู้อื่น ชอบทำให้คนพอใจ

ไม่กระตือรือร้น เกียจคร้าน ยอมแพ้ง่าย P ขยัน สู้งานหนัก ไม่ท้อถอย

ไม่ทะเยอทะยาน เป้าหมายสูง ทะเยอทะยาน สมบูรณ์แบบ

ไม่รับผิดชอบ โทษผู้อื่น ไม่มีเป้าหมายในชีวิต รับผิดชอบ เชื่อถือได้ มีเป้าหมาย

เฉื่อยชา ทำอะไรไม่สำเร็จ ไม่ภูมิใจในตน SD มีลู่ทางในการแก้ปัญหา มั่นใจ

ไม่มีวินัย เอาชนะใจตนไม่ได้ รู้จักข้อดี/บกพร่องของตน นิสัยดี มีวินัย

ไม่เป็นมิตร ไม่อดทน ไม่ฟังความเห็นผู้อื่น เป็นมิตร ยอมรับผู้อื่น เห็นใจ เข้าใจคน

ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ไม่มีน้ำใจ เห็นแก่ตัว C ชอบช่วยเหลือ ชอบทำงานเป็นทีม

ชอบทำงานคนเดียว ชอบแก้แค้น ดื้อดึง มีเมตตา ใจบุญ ให้อภัย

ฉกฉวยโอกาส ไม่ยุติธรรม สัมพันธภาพสร้างสรร ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

ไม่มีจินตนาการ ไม่มีสมาธิ คิดสร้างสรร ไม่นึกถึงตน มีสมาธิ

มุ่งประโยชน์ส่วนตน วัตถุนิยม ST เสียสละเพื่อสังคม

เชื่อเฉพาะสิ่งพิสูจน์ได้ หรือ วิทยาศาสตร์อธิบายได้ เชื่อเรื่อง อำนาจจิตศรัทธา ปาฏิหาริย์

16 33 67 83

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

Percentile Score

very low low low average high average high very high

0-16% 17-33% 34-50% 51-66% 67-83% 84-100%

ชาย

หญิง

ตารางที่ 6 การศึกษาเปรียบ TCI scale ระหว่างนักศึกษาแพทย์ ชายและหญิง พบว่า

นักศึกษาแพทย์หญิงมีค่าคะแนน Novelty Seeking, Reward Dependence และ Cooperativeness สูงกว่านักศึกษา-แพทย์ชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในขณะที่นักศึกษาชายมีค่าคะแนน Persistence สูงกว่านักศึกษาหญิงที่ระดับ .001 ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างใน Harm Avoidance, Self-Directedness และ Self-Transcendence

เมื่อพิจารณาค่าคะแนนใน subscale ร่วมด้วย เฉพาะ subscale ที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .001 พบว่าหญิงมีค่าคะแนนสูงกว่าทั้งหมดในด้าน HA2 (Fear of uncertainty), RD2 (Attachment), RD4 (Dependence), C2 (Empathy) และ C5 (Integrated conscience)

นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาหญิงมีค่าคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 ในด้าน NS1 (exploratory excitability) NS2 (impulsivity) และนัยสำคัญที่ .05 ในด้าน NS3 (extravagance), NS4 (disorderliness), RD1 (sentimentality), SD5 (enlighten 2ndnature) และ ST3 (spiritual acceptance) ในขณะที่นักศึกษาชายค่าคะแนนสูงกว่าเฉพาะ H3 (shyness) และ

SD3 (resourcefulness)

ตารางที่ 7 แสดงถึงคะแนน percentile ทั้ง 7 scale และ 24 subscale ของกลุ่มนักศึกษาชายและหญิงอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ได้คำนวณค่า T score ไว้เป็นคะแนนมาตรฐานของกลุ่ม โดยที่คะแนนมาตรฐานนี้ไม่ได้นำมาใช้ในการแปลผล

ตารางที่ 8 การแปลผล TCI รายบุคคล มีการนำเสนอภาพ personality profile โดยนำค่าคะแนน percentile จาก scale ทั้ง 7 มาแสดง ในกรณีที่ percentile ต่ำกว่า 33 หรือสูงกว่า 67 แสดงแนวโน้มของปัญหาลักษณะอุปนิสัย และบุคลิก-ภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า Self-Directedness และ Cooperativeness ต่ำกว่า percentile ที่ 33 แสดงถึงบุคลิกภาพผิดปกติ

Personality profile วิเคราะห์จากคะแนน percentile พบว่าทั้งชายและหญิงมีค่าคะแนน TCI ทั้ง 7 dimension อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย (คะแนน percentile ที่ 33.3-66.7) ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาชายอยู่ในเกณฑ์ low average และนักศึกษาหญิงอยู่ในเกณฑ์ high average เฉพาะ Persistence ที่นักศึกษาชายสูงกว่าและอยู่ในระดับ high average

เมื่อพิจารณาค่าคะแนนทั้งใน 7 scale และ subscale ร่วมกันพบว่านักศึกษาชายมีลักษณะขยันขันแข็ง เอาจริงเอาจัง สู้งานหนักไม่ยอมวางมือง่าย ทะเยอทะยานและมุ่งในความสำเร็จ มักวิเคราะห์ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจและมีลู่ทางในการแก้ปัญหาได้ดี แต่ก็จะมีลักษณะขี้อายในสถานการณ์ทางสังคมมากกว่า ในขณะที่นักศึกษาหญิงมีลักษณะของการชอบแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ แนวคิดใหม่ ๆ อยากรู้อยากเห็นและตัดสินใจเร็ว ไม่เจ้าระเบียบ ชอบใช้จ่ายมากกว่าที่จะประหยัดอดออม ลักษณะเด่นของนักศึกษาหญิงคือมีสัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิด ต้องการพึ่งพาทางใจ พร้อมทั้งมีลักษณะของการเข้าอกเข้าใจผู้อื่นได้มากกว่า มีอารมณ์ซาบซึ้งอ่อนไหว มีมโนธรรมหักห้ามใจตนเองได้ดีในสถานการณ์ที่โน้มน้าวให้ทำสิ่งผิด แต่ก็มีลักษณะเครียดง่ายไม่มั่นใจเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ไม่ชอบที่จะเสี่ยงภัยอันตราย นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาหญิงมีความเชื่อในอำนาจจิต ศรัทธาปาฏิหารย์ ในขณะที่นักศึกษาชายมีแนวโน้มเชื่อเฉพาะสิ่งที่วิทยาศาสตร์อธิบายได้เท่านั้น

วิจารณ์

การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพด้วย Temperament and Character Inventory (TCI) การแปลผลได้จาก self-report (content scale) จึงเป็นผลจากการสำรวจตนเอง ตระหนักในอุปนิสัยและบุคลิกภาพของตนเป็นสำคัญ การศึกษาในขั้นตอนนี้ยังไม่มีการวิเคราะห์ performance หรือ validity scale ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปของการพัฒนาเครื่องมือ เพื่อนำไปสู่การแปลผลเป็นรายบุคคล

ผลการศึกษาแสดงถึงเกณฑ์ปกติของประชากรกลุ่มนักศึกษาแพทย์ศิริราช ซึ่งคณะผู้วิจัยได้นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์ของนักศึกษากลุ่มอื่น ได้แก่ นักศึกษาจิตวิทยาชาวอเมริกัน จำนวน 803 รายที่ Cloninger ได้ศึกษาไว้ นักศึกษาทั้งสองกลุ่มย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในด้านเชื้อชาติ สังคมประเพณีวัฒนธรรมและประสบการณ์ชีวิต จึงพบค่าคะแนน TCI แตกต่างกันมากทั้งด้าน temperament และ character จุดเด่นของนักศึกษาแพทย์ศิริราชคือการยอมรับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมีตนเป็น และมีความเมตตาให้อภัยไม่แก้แค้น ทั้งนี้น่าจะเป็นจากค่านิยมและความเชื่อทางศาสนาของคนไทยเป็นสำคัญ สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือความแตกต่างด้าน Harm Avoidance จะพบเฉพาะใน subscale ของ fatigability เท่านั้น นั่นคือนักศึกษาแพทย์ศิริราชมีความรู้สึกว่าตนไม่แข็งแรง เหนื่อยล้าง่ายไม่กระฉับกระเฉง เป็นไปได้ว่าสังคมอเมริกันให้ความสำคัญในการออกกำลังกายมาก ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ต้องศึกษาเล่าเรียนหนักจนไม่มีเวลาพอที่ทำกิจกรรมด้านกีฬา ส่วนด้านความวิตกกังวลไม่มั่นใจหรือเขินอายนั้น ไม่พบความแตกต่างจากนักศึกษาอเมริกัน

การเลือกคณะที่ศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพของบุคคล นักศึกษาวิทยาศาสตร์อาจมีลักษณะแตกต่างจากนักศึกษาด้านศิลปศาสตร์ นักศึกษาแพทย์ถูกฝึกอบรมให้คิดในเชิงวิทยาศาสตร์ ต้องละเอียดรอบคอบ มีระเบียบในการปฏิบัติ ช่างวิเคราะห์ ถี่ถ้วน มีความเข้มแข็ง และควบคุมอารมณ์ให้สงบมั่นคงไม่หวั่นไหว อีกทั้งเป็นการศึกษาที่รับภาระหนักทั้งในด้านการศึกษาตำรับตำราและปฏิบัติงานกับผู้ป่วย ในขณะที่นักศึกษาจิตวิทยาชาวอเมริกันพื้นฐานการศึกษาคือ การฝึกให้เข้าใจอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ มักจะมีอารมณ์อ่อนไหว ไวต่อความรู้สึก เข้าใจผู้อื่น และมีอารมณ์แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาต่างไปจากนักศึกษาแพทย์ การเลือกคณะที่จะศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเลือกวิชาชีพในอนาคต และการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลด้วย

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่น่าจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างในค่าคะแนน TCI โดยเฉพาะด้านวุฒิภาวะ ได้แก่ประสบการณ์ชีวิตในวัยศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เนื่องจากคนอเมริกันที่เข้าศึกษาในระดับนี้เป็นวัยที่ถูกผลักดันให้เป็นอิสระจากครอบครัว ต้องพึ่งตนเอง ทำงานเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการศึกษาเอง โดยที่นักศึกษาไทยส่วนใหญ่ยังไม่จำเป็นต้องมีภาระเช่นนั้น อีกทั้งคนอเมริกันหลายราย เข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหลังจากได้ทำงานประกอบอาชีพมาแล้วระยะหนึ่ง เมื่อพร้อมที่จะพึ่งตนเองจึงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่ เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์ ก็เข้าศึกษาต่อเนื่องในคณะแพทยศาสตร์ทันที ปัจจัยเหล่านี้น่าจะส่งเสริมให้คนอเมริกันต้องรับผิดชอบ มีวินัย และนำไปสู่การพัฒนาของวุฒิภาวะในวัยดังกล่าว

สำหรับการศึกษาบุคลิกภาพของนักศึกษาแพทย์ศิริราชนั้น ได้เคยมีผู้วิจัยไว้แล้วโดยใช้ MMPI 14,15 และ 16 PF16 เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะบุคลิกภาพระหว่างนักศึกษาแพทย์ชายและหญิงซึ่งก็พบในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้พบความแตกต่างระหว่างบุคลิกของนักศึกษาแพทย์ชายและหญิงในด้าน Novelty Seeking, Reward Dependence และ Cooperativeness โดยพบนักศึกษาหญิงมีค่าคะแนนสูงกว่า เมื่อพิจารณา subscale ร่วมด้วยพบว่าหญิงมีอารมณ์ลึกซึ้งอ่อนไหว ผูกพันใกล้ชิด และต้องพึ่งพาทางใจมากกว่าชาย พร้อมกันนี้มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจ และมีมโนธรรมสูงทั้งนี้น่าจะเป็นเนื่องจากเพศหญิงถูกอบรมเลี้ยงดู และค่านิยมกำหนดบทบาทไว้เช่นนั้น ในขณะที่ชายจะมีลักษณะการขยันขันแข็ง ต่อสู้ ไม่ยอมถอย (Persistence) เด่นกว่าหญิง

สรุป

การศึกษาครั้งนี้เป็นโครงการศึกษานำร่อง เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพโดยใช้ personality questionnaires ได้แก่ Temperament and Character Inventory โดยผู้วิจัยได้แปลเป็นภาษาไทย จากนั้นตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของภาษา และพบว่า TCI ฉบับภาษาไทยมีความเที่ยงในระดับสูง

เมื่อนำ TCI ฉบับภาษาไทยมาทดสอบกับนักศึกษาแพทย์ศิริราชจำนวน 1,148 ราย ได้ self-report profile และคะแนนมาตรฐานของกลุ่มที่แตกต่างจากนักศึกษาอเมริกัน นอกจากนี้ยังสามารถบอกความแตกต่างในลักษณะอุปนิสัยและบุคลิกภาพระหว่างชายและหญิงได้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงโครงการเริ่มต้น พบข้อมูลที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมในอีกหลายด้าน เช่น ความแตกต่างระหว่างนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก และคลินิก ผู้ที่ผลสัมฤทธิการเรียนสูง และต่ำ นักศึกษาที่ป่วยเป็นโรคจิตเวช และนักศึกษาปกติ ฯลฯ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยต่อเนื่องเรื่อง TCI นี้ อาจเป็นประโยชน์ในการให้การช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ และเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประสบการณ์ชีวิต และพัฒนาบุคลิกภาพของแพทย์ในอนาคต

กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าไม่ได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์ C. Robert Cloninger ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือ TCI และได้ให้คำแนะนำที่มีคุณค่ายิ่ง

คณะผู้รายงานขอขอบคุณคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ให้โอกาสและทุนสนับสนุนในการดำเนินการวิจัย ตลอดจนอาจารย์ผู้ให้ความรู้ต่อศิษย์ ศาสตราจารย์นายแพทย์สมภพ เรืองตระกูล และศาสตราจารย์นายแพทย์สมพร บุษราทิจ ขอบคุณนายแพทย์วิชัย มนัสศิริวิทยา ที่กรุณาตรวจบันทึกข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ และนายอนุวัฒน์ จีนเจริญ ที่ช่วยดำเนินการเก็บข้อมูลและพิมพ์ต้นฉบับรายงานการวิจัยครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

1. ประสิทธิ์ หะริณสุต. การทดสอบทางจิตวิทยา. ใน: ตำราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536:99-138

2. Kaplan RM, Saccuzzo DP. Psychological testing. Principles, Applications and Issues 3rd ed. California :

Brooks/Cole Publishing Co., 1993.

3. Cloninger CR. A unified biosocial theory of personality and its role in the development of anxiety states.

Psychiatric Developments 1986; 3:167-226.

4. Cloninger CR. A systematic method for clinical description and classification of personality variants. Arch

Gen Psychiatry 1987; 44:573-88.

5. Cloninger CR, Svrakic DM, Przybeck TR. A psychobiological model of temperament and character. Arch

Gen Psychiatry 1993; 50:975-90.

6. Cloninger CR, Przybeck TR, Svrakic DM, Wetzel RD. The Temperament and Character Inventory (TCI) : A

guide to its development and use. St.Louis, Center for Psychobiology of Personality, Washington University,

1994.

7. Brown SL, Svrakic DM, Przybeck TR, Cloninger CR. The relationship of personality to mood an anxiety

states : A dimensional approach. J Psychiatric Res 1992 ; 26:197-211.

8. Joyce PR, Mulder RT, Cloninger CR. Temperament predicts clomipramine and desipramine response in major

depression. J Affect Dis 1994; 30:35-46.

9. Fossey MD, Roy-Byrne PP, Cowley DS, et al. Personality assesment using the Tridimensional

Personality Questionnaire (TPQ) in patients with panic disorder and generalized anxiety disorder. Biol

Psychiatry 1989; 25:10A-13A.

10. Cowley DS, Roy-Byrne PP, Greenblatt DJ, Hommer DW. Personality and benzodiazepine sensitivity in

anxious patients and control subjects. Psychiatry Res 1993 ; 47:151-62.

11. Cloninger CR, Svrakic DM. Integrative psychobiological approach to psychiatric assessment and treatment :

Psychiatry 1997; 60:120-41.

12. Svrakic DM, Whitehead C, Przybeck TR, Cloninger CR. Differential diagnosis of personality disorders by the

seven factor model of Temperament and Character. Arch Gen Psychiatry 1993; 50:991-9.

13. Fisher F, Corcoran K. Measures for clinical practice : A Source Book, vol.1. 2nd ed. New York : The

Free Press, 1994.

14. กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, ปราณี ชาญณรงค์, มงคล หลักคำ. ลักษณะบุคลิกภาพของนัก

ศึกษาแพทย์ศิริราช. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2528; 16:70-88.

15. กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. องค์ประกอบบุคลิกภาพของนักศึกษาแพทย์ศิริราช. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2538; 26:31-8.

16.จริยา จันตระ. บุคลิกภาพของนักศึกษาแพทย์ศิริราช. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538.

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us