เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand  สารบัญ (content)

สุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ

สกล ด่านภักดี พ.บ. *

* กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ

วิธีการศึกษา สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่าปีการศึกษา 2540 ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิจำนวน 19,034 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 391 คน เป็นชาย 196 คน และหญิง 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามลักษณะข้อมูลประชากรทั่วไป และแบบสอบถามสุขภาพจิต SCL-90

ผลการศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ มีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมร้อยละ15.60 ปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ อยู่ระหว่างร้อยละ 14.07 ถึงร้อยละ 17.90 โดยพบความผิดปกติด้านย้ำคิดย้ำทำมากที่สุด (ร้อยละ 17.90); ไม่พบความแตกต่างของปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างนักเรียนเพศชายกับเพศหญิง นักเรียนที่มีระดับอายุ 13 –15 ปี กับนักเรียนที่มีระดับอายุ 16 –18 ปี และนักเรียนที่มีสภาพครอบครัวแตกต่างกัน; นักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกันมีปัญหา สุขภาพจิตด้านความเป็นอริและด้านหวาดระแวงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนที่ผู้ปก-ครองมีอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจ มีสุขภาพจิตด้านความเป็นอริและด้านหวาดระแวงสูงกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองมีอาชีพค้าขายและรับจ้าง และนักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่างกันมีภาวะ สุขภาพจิตไม่แตกต่างกัน

สรุป ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติในการใช้แบบทดสอบ SCL-90 ทั้งโดยการใช้ค่ามาตรฐานและการใช้ค่า t-score ควรศึกษาเพิ่มเติมด้านเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติในแต่ละเพศ และควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันและหาสาเหตุที่อาชีพของผู้ปกครองมีผลต่อภาวะ สุขภาพจิตด้านความเป็นอริและหวาดระแวง

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542;44(3): 213-227.

คำสำคัญ สุขภาพจิต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา SCL-90

Mental Health Status of Secondary School Students in Chaiyaphum Municipality

Sakol Danpakdee, M.D.*

* Division of psychiatry, Chaiyaphum Hospital, Muang District, Chaiyaphum.

Abstract

Objectives To study the mental health status and its relating factors among the secondary school students in Chaiyaphum municipality, Chaiyaphum, Thailand.

Method Three hundreds and ninety-one students from Mathayom 1-6 were randomly selected; 196 were male and 195 were female. The research procedure entailed the completion of the SCL- 90 questionnaire.

Results The total mental health abnormality detected among the students was 14.07%. The most common mental health abnormality detected was obsessive-compulsive aspect (17.90%). There was no significant difference in mental health status among students who have different gender, age group, and family status. The students who have different family occupation scored significantly difference in hostility and paranoid aspect. The students whose parents were government officers or public enterprise employees showed more hostility and paranoid score than those whose parents were merchant and private employed. There was no significant difference in mental health status detected among student who have different family income.

Conclusions More studies should be conducted regarding the standard score of the SCL-90 and each gender may has different standard score. Differences in hostility and paranoid aspect among students from different family occupation require further exploration.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999;44(3):  213-227.

Key words: mental health, secondary school students, SCL-90

บทนำ

วัยรุ่นที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่ผู้ใหญ่ เป็นวัยที่นำเสนอปัญหาสำคัญต่อสังคม ต่อครอบครัว และต่อตัววัยรุ่นเอง 1 นักเรียนระดับมัธยมเป็นวัยรุ่นที่กำลังมีพัฒการอย่างมากทั้งทางร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สติปัญญา บทบาทและการปรับตัวทางสังคม2 การศึกษาระยะหลังพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่สามารถมีความสุขกับครอบครัวตามสมควร3 แต่อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาพบว่าวัยรุ่นถึงร้อยละ 18.7 มีความผิดปกติทางจิตเวช4 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องที่พบบ่อยและมีความสำคัญ

ปัจจัยหลายประการมีผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น เช่น ผู้หญิงรายงานปัญหาทางจิตเวช ( psychiatric distress ) และโรคอารมณ์แปรปรวนมากกว่าผู้ชายสองเท่า อาจเป็นเพราะบทบาททางสังคมของผู้หญิงทำให้ต้องประสบกับความเครียดเรื้อรังมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงโดยเฉลี่ยเสี่ยงมากกว่า ผู้ชายที่จะได้รับผลกระทบเมื่อพบเหตุการที่เครียด อาจเป็นเพราะผู้หญิงได้รับการสนับสนุนทางสังคม (social support) น้อยกว่าผู้ชาย 5 ในประเทศไทยมีการศึกษาพบว่าวัยรุ่นหญิงมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นชาย6 ดังเช่นการศึกษาของเปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ซึ่งพบว่าวัยรุ่นหญิงมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านย้ำคิดย้ำทำ ไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กลัวโดยปราศจากเหตุผล และหวาดระแวง7 ดังนั้นเพศ จึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตของวัยรุ่น

ช่วงอายุเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตของวัยรุ่น มีการศึกษาพบว่าโรคจิตพบได้น้อยในวัยเด็ก และจะพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากเข้าสู่วัยรุ่น8 โดยที่วัยรุ่นตอนกลางมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นตอนต้น6 โดยเฉพาะในด้านความรู้สึกป่วยทางกาย อาการซึมเศร้า และอาการวิตกกังวล7

สภาพครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง และฐานะทางเศรษฐกิจ อาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น วัยรุ่นจากครอบครัวแตกแยก มีมโนภาพแห่งตน (self concept) ต่ำกว่า ซึมเศร้าและวิตกกังวลมากกว่าวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวปกติ9 นักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับราชการ ลูกจ้างรัฐบาลหรือทำงานรัฐวิสาหกิจมีมโนภาพแห่งตนดีกว่านักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป10 นักเรียนวัยรุ่นที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำมีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่า ซึมเศร้า และวิตกกังวลมากกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะปานกลางหรือสูง 9

จะเห็นได้ว่าการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสุขภาพจิตของวัยรุ่นในโรงเรียน มีความแตกต่างกันตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตวัยรุ่นในนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลชัยภูมิในด้านต่าง ๆ และเพื่อเปรียบเทียบ สุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมว่ามีความแตกต่างตามตัวแปรด้านเพศ อายุ สภาพครอบครัว อาชีพของผู้ปกครองและฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานสุขภาพจิตในวัยรุ่นต่อไป

วัสดุและวิธีการ

กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่าในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 19,034 คน ใน สถาบันการศึกษา 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนสตรีชัยภูมิ โรงเรียนเมืองพญาแล วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยเกษตรกรรมชัยภูมิ และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน นักเรียนทั้งหมดจะได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane11 โดยให้มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 5 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้คือ 391 คน

ผู้วิจัยได้ใช้แบบสำรวจ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามด้านลักษณะข้อมูลประชากรทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ สภาพครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง และรายได้ของครอบครัว

ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบ Symptoms Checklist –90 (SCL-90) เป็น self-report rating scale ซึ่ง ละเอียด ชูประยูร12 ดัดแปลงมาจาก แบบทดสอบสุขภาพจิต ของ Derogatis และคณะ แบบทดสอบนี้ได้รับการหาเกณฑ์มาตรฐาน หาความเที่ยงตรง (validity) ความเชื่อมั่น (reliability) แล้วโดยผู้วิจัยหลายท่าน7,13,14 แบบทดสอบ SCL-90 นี้ประกอบด้วยแบบทดสอบกลุ่มอาการต่าง ๆ ทางสุขภาพจิตของบุคคลที่มีอายุระหว่าง 15-67 ปี จำนวน 90 ข้อ โดยใช้มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับดังนี้ 0 = ไม่เลย, 1 = เล็กน้อย, 2 = ปานกลาง, 3 = ค่อนข้างมาก, 4 = มากที่สุด และแบ่งลักษณะความผิดปกติออกเป็น 9 ด้าน คือ ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย (somatization), ด้านย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive), ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น (interpersonal sensitivity), ด้านซึมเศร้า (depression), ด้านวิตกกังวล (anxiety), ด้านความเป็นอริ (hostility), ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล (phobia), ด้านหวาดระแวง(paranoid) และด้านอาการทางจิต (psychosis)

เมื่อตรวจให้คะแนนแบบสำรวจ SCL-90 แล้วจะใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติ 2 วิธีคือ วิธีแรก จะนำคะแนนรวมและคะแนนแต่ละด้านไปแปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน t-score ค่า t-score ที่สูงกว่า 60 ถือว่าผิดปกติ วิธีที่สองจะนำคะแนนแต่ละด้านเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานของคนปกติที่ ละเอียด ชูประยูร12 ได้ทำการศึกษาไว้ การตัดสินความผิดปกติในแต่ละเพศจะนำคะแนนรวมและคะแนน แต่ละด้านแยกตามเพศแล้วหาค่า t-score ในแต่ละเพศ ค่า t-score ที่สูงกว่า 60 ถือว่าผิดปกติ การตัดสินความผิดปกติในแต่ละกลุ่มอายุก็จะใช้ค่า t-score ของแต่ละกลุ่มอายุเป็นการตัดสินเช่นเดียวกัน

ผู้วิจัยได้จัดส่งแบบสำรวจ ถึงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 ชุด ที่ห้องเรียนและได้แบบสอบถามคืนทั้งหมด 391 ชุด นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ แล้วตรวจให้คะแนนแบบทดสอบ SCL-90 ตามมาตรฐานที่แบบทดสอบกำหนดไว้ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC คำนวณ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ chi square

ผลการศึกษา

1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 391 คน เป็นชาย 196 คน หญิง 195 คน อายุตั้งแต่ 13-18 ปี ส่วนมากอายุอยู่ในช่วง 16-18 ปี (ร้อยละ 72.6) สภาพครอบครัวส่วนมากจะรักใคร่ปรองดองกันดี (ร้อยละ 74.2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 40.2) รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (5,000-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 42.7) ตามรายละเอียดในตารางที่ 1

2. จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่า t -score จากแบบทดสอบ SCL-90 พบว่า นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิมีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมร้อยละ 15.60 ด้านที่พบความผิดปกติมากที่สุดได้แก่ ด้านย้ำคิดย้ำทำ (ร้อยละ 17.90) รองลงไปได้แก่ ด้านอาการทางจิต (ร้อยละ 17.39) ด้านวิตกกังวล (ร้อยละ 16.62) และด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล (ร้อยละ 16.62) ตามรายละเอียดในตารางที่ 2 แต่เมื่อใช้ค่าปกติที่ ละเอียด ชูประยูรได้ศึกษามาก่อนเป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดปกติพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาสุขภาพจิตในด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผลมากที่สุด (ร้อยละ40.90) รองลงไปได้แก่ ด้านซึมเศร้า (ร้อยละ 35.50) และด้านอาการทางจิต (ร้อยละ 30.90) ตามรายละเอียดในตารางที่ 2

3. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายกับเพศหญิงโดยใช้ค่า t-score ที่มากกว่า 60 ของแต่ละกลุ่มอายุเป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดปกติ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน ตามรายละเอียดในตารางที่ 3

4. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่มีกลุ่มอายุต่างกันโดยใช้ค่า t-score ที่มากกว่า 60 เป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดปกติ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้านตามรายละเอียดในตารางที่ 4

5. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่มี สภาพครอบครัวต่างกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน ไม่ว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีบิดามารดาที่รักใคร่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน แยกกันอยู่หรือหย่าร้าง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตหรือเสียชีวิตทั้งคู่ก็ตาม ตามรายละเอียดในตารางที่ 5

6. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกันมีความผิดปกติด้านความเป็นอริ และด้านหวาดระแวงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจความผิดปกติด้านความเป็นอริและด้านหวาดระแวงสูงที่สุด (ร้อยละ 28.57 และร้อยละ24.68 ตามลำดับ) ตามรายละเอียดในตารางที่ 6

7. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่างกัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่างกัน มีปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในทุกด้าน ตามรายละเอียดในตารางที่ 7

วิจารณ์

การศึกษาครั้งนี้ใช้ค่า t-score ที่ 60 เป็นเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติ พบว่านักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิมีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมร้อยละ 15.60 ปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ค่อนข้างใกล้เคียงกันคืออยู่ระหว่างร้อยละ 14.07 ถึงร้อยละ 17.90 โดยพบว่ามีความผิดปกติในด้านย้ำคิดย้ำทำมากที่สุด ต่างกับการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่พบว่าวัยรุ่นมีความผิดปกติในด้าน simple phobia และกลัวการเข้าสังคม (social phobia) มากที่สุด15 อาจเนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน จึงทำให้มีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันไปด้วย การดำเนินงานทางสุขภาพจิตจึงต้องคำนึงถึงปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่ที่ดำเนินการด้วย

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติโดยใช้ค่า t-score ของการศึกษาครั้งนี้ กับการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติที่ ละเอียด ชูประยูร เคยทำการศึกษาไว้8 จะพบว่าการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติที่ ละเอียด ชูประยูร เคยทำการศึกษาไว้จะทำให้ได้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติโดยใช้ค่า t-score ของการศึกษาครั้งนี้ค่อนข้างมากในทุก ๆ ด้าน แต่ว่าการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติที่ ละเอียด ชูประยูร เคยทำการศึกษาไว้อาจมีข้อจำกัดในการแปลผล เนื่องจากค่า t-score ของคนปกติในการศึกษาของ ละเอียด ชูประยูรได้ข้อมูลจากนักเรียนพยาบาล นักเรียนนายเรือ นักเรียนจ่าอากาศ และนักเรียนโรงเรียนสารพัดช่าง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมต่อการนำมาเป็นค่าปกติในนักเรียนมัธยม จึงน่าจะใช้ค่า t-score ของการศึกษาครั้งนี้เป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดปกติมากกว่า

การศึกษาครั้งนี้พบว่ามีปัจจัยต่าง ๆ มีผลต่อสุขภาพจิตของนักเรียนระดับมัธยมดังนี้

1. นักเรียนเพศหญิงและเพศชายมีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่างจากการศึกษาก่อน ๆ หน้านี้ เช่น Casper และคณะ ซึ่งศึกษาอาการทางจิตเวชของนักเรียนมัธยมพบว่าวัยรุ่นหญิงมีความกดดันทางอารมณ์ (emotional distress) โดยเฉพาะอารมณ์เศร้าและวิตกกังวลมากกว่าวัยรุ่นชาย16 การศึกษาของ เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ที่พบว่า วัยรุ่นหญิงมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านย้ำคิดย้ำทำ ไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กลัวโดยปราศจากเหตุผล และหวาดระแวง7 และจากการศึกษาของธนู ชาติธนานนท์ซึ่งสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชัยนาทจำนวน 215 คน เปรียบเทียบกับคนไข้ที่มารับบริการทางจิตเวช จำนวน 65 คน โดยใช้แบบสอบถาม Cornell Medical Index (CMI) พบว่ากลุ่มนักเรียนหญิงมีปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์มากกว่ากลุ่มนักเรียนชาย17

การที่ผลการศึกษาครั้งนี้ต่างจากผลงานการวิจัยที่กล่าวมาแล้วอาจเป็นเพราะการศึกษาครั้งนี้ใช้ค่า t-score ของแต่ละเพศเป็นเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติซึ่งเมื่อแยกคิดค่า t-score ของเพศหญิงและเพศชายออกจากกันแล้ว จะได้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติที่ t-score เท่ากับ 60 ต่างกันค่อนข้างมากตามตารางที่ 3 ผู้วิจัยมีความเห็นว่าเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติของแต่ละเพศไม่น่าจะสามารถใช้เกณฑ์เดียวกันได้ เช่น วัยรุ่นหญิงอาจจะมีคะแนนด้านซึมเศร้าผิดปกติเมื่อเทียบวัยรุ่นชาย แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่นหญิงด้วยกันแล้วก็อาจจะยังไม่ผิดปกติก็ได้ ดังนั้นแต่ละเพศน่าจะมีเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติของแต่ละเพศต่างกัน เมื่อใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติแยกกันแล้วอาจจะพบว่าเพศหญิงและเพศชายมีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกันก็ได้

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่กลุ่มอายุต่างกัน มีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแตกต่างจากผลการศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2529 ของ อัมพร โอตระกูล 18 ที่พบว่าปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมในกลุ่มอายุต่าง ๆ มีดังนี้ กลุ่มอายุ 0-3 ปี มีปัญหาร้อยละ 29.8, กลุ่มอายุ 4-7 ปี มีปัญหาร้อยละ 29, กลุ่มอายุ 7-16 ปี มีปัญหาร้อยละ 37.9 และกลุ่มอายุ 16 ปีขึ้นไป มีปัญหาร้อยละ 48.7 และแตกต่างจากการศึกษาของดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก6 ที่ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุ่น ทั้งชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในกรุงเทพมหานครและสงขลา ที่มีอายุ 13-17 ปี จำนวน 917 คน ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นตอนกลางมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นตอนต้น เช่นเดียวกันกับ เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์กับวัยรุ่นในโรงเรียนพบว่าวัยรุ่นตอนกลางมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยรุ่นตอนต้น ในด้านความรู้สึกป่วยทางกาย ซึมเศร้า และวิตกกังวล7

การที่ผลการศึกษาครั้งนี้ต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้ มิได้เป็นเพราะการใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติแยกกันระหว่างกลุ่มอายุ เพราะค่า t-score ที่ 60 ของทั้งสองกลุ่มอายุก็ใกล้เคียงกัน แต่อาจเป็นเพราะทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ที่ต่างกันก็อาจพบปัญหาสุขภาพจิตที่อาจแตกต่างกันได้จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

3. นักเรียนที่มีสภาพครอบครัวต่างกัน มีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ผลการศึกษานี้แตกต่างจากการศึกษาอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ เช่น การศึกษาของ ชิรวัฒน์ นิจเนตร9 ได้ทำการศึกษาถึงความเกี่ยวพันระหว่างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนกับสุขภาพจิต 5 ด้านของนักเรียนวัยรุ่น ซึ่งประกอบด้วยอาการทางกาย มโนภาพแห่งตน ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความก้าวร้าว และสุขภาพจิตโดยรวมกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเทียบเท่า ซึ่งเรียนอยู่ในสถานศึกษาของกรมสามัญศึกษา และกรมอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,122 คน ผลการศึกษาครั้งนั้นพบว่า วัยรุ่นจากครอบครัวแตกแยกจะมีสุขภาพจิตเสื่อมกว่าวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวปกติ

มีปัจจัยหลายประการที่อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างนี้ เช่น สถานที่ทำการศึกษาต่างกัน ลักษณะของครอบครัวขยายที่ยังมีอยู่มากกว่าในต่างจังหวัดอาจจะมีญาติผู้ใหญ่ทำหน้าที่แทนบิดามารดาในกรณีที่ครอบครัวแตกแยก ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ในแง่ที่ว่าวัยรุ่นจากครอบครัวเดี่ยวที่แตกแยกจะมีสุขภาพจิตแตกต่างจากวัยรุ่นจากครอบครัวขยายที่แตกแยกหรือไม่ อย่างไร

4. นักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน มีปัญหาสุขภาพจิตในด้านความเป็นอริและด้านหวาดระแวงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจมีสุขภาพจิตด้านความเป็นอริและด้านหวาดระแวงสูงกว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขายและรับจ้าง

ผลดังกล่าวอาจเกิดขึ้นผ่านกลไกหลายอย่าง เช่น ทัศนะของผู้ปกครองในการเลือกอาชีพ อาจแสดงถึงทัศนะในการเลี้ยงดูบุตร ผู้ปกครองที่มีอาชีพหนึ่งอาจมีทัศนะในการเลี้ยงดูบุตรต่างจากผู้ปกครองที่มีอาชีพอีกอาชีพหนึ่ง อาชีพของผู้ปกครองอาจจะกระทบถึงเวลาในการเลี้ยงดูบุตร และสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่มีอาชีพต่างกันก็อาจจะแตกต่างกัน เช่น บุตรของครอบครัวข้าราชการอาจจะติดต่อกับบุคคลภายนอกน้อยกว่าบุตรของครอบครัวค้าขายที่ช่วยผู้ปกครองติดต่อกับลูกค้าตลอดเวลา เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจมีแนวโน้มจะมีความหวาดระแวงและความเป็นอริ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่ได้ผลเช่นนี้มาก่อน จึงควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน และศึกษาหาสาเหตุต่อไป

5. นักเรียนที่ผู้ปกครองรายได้ต่างกัน มีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษานี้ต่างจากการศึกษาของ ชิรวัฒน์ นิจเนตร ที่พบว่านักเรียนที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำ มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่า อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลมากกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีฐานะปานกลางหรือสูง 9 แต่กลับสอดคล้องกับความเห็นของ ประดินันท์ อุปรมัย19 ที่กล่าวว่าครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีภาระหน้าที่โดยตรงต่อการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จำเป็นต้องให้เวลากับการทำงานมากจนไม่มีเวลาที่จะอบรมเลี้ยงดูเด็ก และการมีสภาพเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่ได้รับการตอบสนองตามต้องการอย่างเพียงพอ ขาดโอกาสที่จะแสวงหาความบันเทิงเพื่อผ่อนคลายความเครียด อย่างไรก็ตามครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง หัวหน้าครอบครัวมีภาระต้องทำมากและมีเงินมากพอที่จะจ้างผู้อื่นมาเลี้ยงดูเด็กแทนตน ทำให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นไปตามอารมณ์และลักษณะนิสัยของผู้เลี้ยงมากกว่าจะคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก นอกจากนี้บิดามารดาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงจำนวนไม่น้อยมักเลี้ยงลูกแบบตามใจทุกอย่าง และปกป้องลูกมากเกินไป ทำให้เด็กขาดความเข้าใจในสิ่งที่ควรและไม่ควร เอาแต่ใจตัวเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ไม่ว่าต่ำหรือสูงล้วนมีผลต่อวิธีการอบรมเลี้ยงดู และสุขภาพจิตของเด็กได้ทั้งทางบวกและทางลบเช่นเดียวกัน

สรุป

1. นักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิมีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมร้อยละ 15.60 ปัญหาสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ ค่อนข้างใกล้เคียงกันคืออยู่ระหว่างร้อยละ 14.07 ถึงร้อยละ 17.90 โดยพบว่ามีความผิดปกติในด้านย้ำคิดย้ำทำมากที่สุด

2. อาชีพของผู้ปกครองอาจจะมีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนได้ นักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจ มีความเป็นอริและหวาดระแวงสูงกว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขายและรับจ้าง แต่เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่ได้ผลเช่นนี้มาก่อน จึงควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน และศึกษาหาสาเหตุต่อไป

3. นักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิที่มีเพศ กลุ่มอายุ สภาพครอบครัว หรือรายได้ของครอบครัวต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

1. การใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติในการใช้แบบทดสอบ SCL-90 ทั้งสองแนวทางคือการใช้ค่ามาตรฐานและการใช้ค่า t-score

2. การใช้เกณฑ์การตัดสินความผิดปกติในแต่ละเพศ เนื่องจากเพศชายและหญิงอาจมีเกณฑ์การตัดสินความผิดปกติต่างกันได้

3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพของผู้ปกครองกับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียน โดยเฉพาะอาชีพรับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนด้านความเป็นอริและหวาดระแวง

กิตติกรรมประกาศ

การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากทุนวิจัยศาสตราจารย์หลวงวิเชียรแพทยาคม สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2540 ผู้รายงานขอขอบพระคุณ คณะกรรมการทุนวิจัยฯ ที่อนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลชัยภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คุณพัชนี จินชัย ที่กรุณาให้คำปรึกษาทางสถิติ และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานจิตเวชทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยเหลือในการทำการศึกษาครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง

เอกสารอ้างอิง
  1. Schowalter JE. Normal adolescent development. In: Harold IK, Benjamin JS, eds. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed. Vol. 2. Baltimore:Williams & Wilkins, 1995:2161-7.
  2. ศรีธรรมธนะภูมิ. พัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: ชวนชมการพิมพ์, 2535:74-83.

  3. Weiner IB. Distinguishing healthy from disturbed adolescent development. J Dev Behav Pediatr 1990; 2:151-4.

  4. Kashani JH, Beck NC, Hoeper EW, et al. Psychiatric Disorders in a community sample of adolescents. Am J Psychiatry 1987; 144:584-9.

  5. Kessler RC. Sociology and psychiatry. In: Harold IK, Benjamin JS, eds. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed. Vol. 2. Baltimore:Williams & Wilkins, 1995:356-64.

  6. ดวงเดือน พันธุมนาวิน, เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2524.

  7. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง. การเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์กับเด็กวัยรุ่นในโรงเรียน (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2526.

  8. Kaplan HI, Sadock BJ. Synopsis of psychiatry: behavioral sciences, clinical psychiatry. 6th ed. Baltimore:Williams & Wilkins, 1991:321-4.

  9. ชิรวัฒน์ นิจเนตร. สภาพเชิงจิต-สังคมในโรงเรียนกับสุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2526.

  10. นัยนา มีศิริ. สุขภาพจิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2529.

  11. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540:82-93.

  12. ละเอียด ชูประยูร. การศึกษาแบบทดสอบ SCL - 90 ในคนไข้โรคประสาท. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2521; 9:9–16.

  13. กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. วิเคราะห์สุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จังหวัดปราจีนบุรี (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523.

  14. จันทนา สุวรรณอาสน์. สุขภาพจิตของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2532.

  15. Verhulst FC, van der Ende J, Ferdinand RF, Kasius MC. The prevalence of DSM-III-R diagnoses in a national sample of Dutch adolescents. Arch Gen Psychiatry 1997; 54:329-36.

  16. Casper RC, Belanoff J, Offer D. Gender differences, but no racial group differences, in self-reported psychiatric symptoms in adolescents. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1996; 35:500-8.

  17. ธนู ชาติธนานนท์. การสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชัยนาท. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2521; 9:60-6.

  18. อัมพร โอตระกูล. สุขภาพจิตผู้รับบริการศูนย์สุขวิทยาจิต. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2521; 2:144-55.

  19. ประดินันท์ อุปรมัย. ครอบครัวและชุมชน กับนักเรียนวัยรุ่น ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยรุ่น. นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532:125-75.

ตารางที่ 1 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปร

จำนวน (ร้อยละ)

เพศ  
ชาย

196 (50.1)

หญิง

195 (49.9)

อายุ  
13 – 15 ปี

107 (27.4)

16 – 18 ปี

284 (72.6)

สถานภาพครอบครัว

 
บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน รักใคร่ปรองดองกัน

290 (74.2)

บิดามารดาอยู่ด้วยกัน มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน

27 (6.9)

บิดามารดาแยกกันอยู่

22 (5.6)

บิดามารดาหย่าร้างกัน

13 (3.3)

บิดาเสียชีวิต

25 (6.4)

มารดาเสียชีวิต

9 (2.3)

บิดามารดาเสียชีวิต

2 (0.5)

ไม่ระบุ

3 (0.8)

อาชีพผู้ปกครอง  
รับราชการ

66 (16.9)

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

11 (2.8)

ค้าขาย

63 (16.1)

รับจ้าง

157 (40.2)

อื่นๆ

94 (24.0)

รายได้ของครอบครัว  
ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน

139 (35.5)

ตั้งแต่ 5,000 ถึง 10,000 บาทต่อเดือน

167 (42.7)

มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ขี้นไป

83 (21.2)

ไม่ระบุ

2 (0.5)

 

ตารางที่ 2 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

ใช้ค่า t-score ของการศึกษาครั้งนี้

ใช้ค่าปกติของละเอียด ชูประยูร

 

ค่า t-score 60

จำนวนที่ปกติ (ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ (ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ (ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ (ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

1.5

333

(85.17)

58

(14.83)

301

(77.00)

90

(23.00)

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

1.9

321

(82.10)

70

(17.90)

302

(77.20)

89

(22.80)

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

2

333

(85.17)

58

(14.83)

303

(77.50)

88

(22.50)

ด้านซึมเศร้า

1.85

327

(83.63)

64

(16.37)

252

(64.50)

139

(35.50)

ด้านวิตกกังวล

1.71

326

(83.38)

65

(16.62)

344

(88.00)

47

(12.00)

ด้านความเป็นอริ

1.5

333

(85.17)

58

(14.83)

312

(79.80)

79

(20.20)

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

1.71

326

(83.38)

65

(16.62)

231

(59.10)

160

(40.9)

ด้านหวาดระแวง

1.83

336

(85.93)

55

(14.07)

318

(81.30)

73

(18.70)

ด้านอาการทางจิต

1.6

323

(82.61)

68

(17.39)

270

(69.10)

121

(30.90)

คะแนนรวมทั้งหมด

1.63

330.00

(84.40)

61

(15.60)

--

--

 

ตารางที่ 3 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกตามเพศ

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

ชาย (n=196)

หญิง (n=195)

  t-score 60

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

t-score 60

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

1.5

163

(83.16)

33

(16.84)

1.42

167

(85.64)

28

(14.36

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

1.9

166

(84.69)

30

(15.31)

2

165

(84.62)

30

(15.38)

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

1.78

167

(85.20)

29

(14.80)

2.11

167

(85.64)

28

(14.36)

ด้านซึมเศร้า

1.77

166

(84.69)

30

(15.31)

2

166

(85.13)

29

(14.87)

ด้านวิตกกังวล

1.7

164

(83.67)

32

(16.33)

1.8

166

(85.13)

29

(14.87)

ด้านความเป็นอริ

1.33

162

(82.65)

34

(17.35)

1.67

166

(85.13)

29

(14.87)

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

1.57

169

(86.22)

27

(13.78)

1.86

163

(83.59)

32

(16.41)

ด้านหวาดระแวง

1.83

165

(84.18)

31

(15.82)

1.67

158

(81.03)

37

(18.97)

ด้านอาการทางจิต

1.6

160

(81.63)

36

(18.37)

1.6

163

(83.59)

32

(16.41)

คะแนนรวม

1.61

163

(83.16)

33

(16.84)

1.66

165

(84.62)

30

(15.38)

 

ตารางที่ 4 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกตามกลุ่มอายุ

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

อายุ 13-15 ปี (n=107)

อายุ 16-18 ปี (n=284)

t-score 60

จำนวนที่ปกติ (ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ (ร้อยละ)

t-score 60

จำนวนที่ปกติ (ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ (ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

1.42

89

(83.18)

18

(16.82)

1.5

238

(83.80)

46

(16.20)

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

1.9

90

(84.11)

17

(15.89)

2

240

(84.51)

44

(15.49)

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

1.89

90

(84.11)

17

(15.89)

2

242

(85.21)

42

(14.79)

ด้านซึมเศร้า

1.85

91

(85.05)

16

(14.95)

1.92

241

(84.86)

43

(15.14)

ด้านวิตกกังวล

1.7

92

(85.98)

15

(14.02)

1.8

242

(85.21)

42

(14.79)

ด้านความเป็นอริ

1.5

93

(86.92)

14

(13.08)

1.5

240

(84.51)

44

(15.49)

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

1.86

91

(85.05)

16

(14.95)

1.71

239

(84.15)

45

(15.85)

ด้านหวาดระแวง

1.83

87

(81.31)

20

(18.69)

1.67

237

(83.45)

47

(16.55)

ด้านอาการทางจิต

1.7

91

(85.05)

16

(14.95)

1.6

236

(83.10)

48

(16.90)

คะแนนรวม

1.62

90

(84.11)

17

(15.89)

1.63

239

(84.15)

45

(15.85)

 

ตารางที่ 5 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกตามสภาพครอบครัว

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

บิดามารดารักใคร่ปรองดองกัน

(n= 290)

บิดามารดาทะเลาะเบาะแว้งกัน (n=27)

บิดามารดาหย่าร้างกัน หรือแยกกันอยู่ (n=35)

บิดาและ/หรือมารดาเสียชีวิต(n=36)

 

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

244

(84.14)

46

(15.86)

21

(77.78)

6

(22.22)

31

(88.57)

4

(11.43)

34

(94.44)

2

(5.56)

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

240

(82.76)

50

(17.24)

22

(81.48)

5

(18.52)

27

(77.14)

8

(22.86)

30

(83.33)

6

(16.67)

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

245

(84.48)

45

(15.52)

22

(81.48)

5

(18.52)

29

(82.86)

6

(17.14)

34

(94.44)

2

(5.56)

ด้านซึมเศร้า

245

(84.48)

45

(15.52)

21

(77.78)

6

(22.22)

26

(74.29)

9

(25.71)

32

(88.89)

4

(11.11)

ด้านวิตกกังวล

243

(83.79)

47

(16.21)

21

(77.78)

6

(22.22)

30

(85.71)

5

(14.29)

30

(83.33)

6

(16.67)

ด้านความเป็นอริ

243

(83.79)

47

(16.21)

23

(85.19)

4

(14.81)

31

(88.57)

4

(11.43)

33

(91.67)

3

(8.33)

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

244

(84.14)

46

(15.86)

22

(81.48)

5

(18.52)

30

(85.71)

5

(14.29)

27

(75.00)

9

(25.00)

ด้านหวาดระแวง

249

(85.86)

41

(14.14)

21

(77.78)

6

(22.22)

30

(85.71)

5

(14.29)

33

(91.67)

3

(8.33)

ด้านอาการทางจิต

241

(83.10)

49

(16.90)

21

(77.78)

6

(22.22)

28

(80.00)

7

(20.00)

30

(83.33)

6

(16.67)

คะแนนรวม

248

(85.52)

42

(14.48)

21

(77.78)

6

(22.22)

28

(80.00)

7

(20.00)

30

(83.33)

6

(16.67)

 

ตารางที่ 6 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกตามอาชีพของครอบครัว

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

อาชีพรับราชการ /

รัฐวิสาหกิจ

(n=77)

อาชีพค้าขาย

(n=63)

อาชีพรับจ้าง

(n=157)

อาชีพอื่นๆ

(n=94)

 

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

62

(80.52

15

19.48

53

(84.13

10

15.87

137

(87.26

20

12.74

81

(86.17

13

13.83

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

60

77.92

17

22.08

53

(84.13

10

15.87

133

(84.71

24

15.29

75

79.79

19

20.21

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

63

(81.82

14

18.18

54

(85.71

9

14.29

139

(88.54

18

11.46

77

(81.91

17

18.09

ด้านซึมเศร้า

63

81.82

14

18.18

53

84.13

10

15.87

136

86.62

21

13.38

75

79.79

19

20.21

ด้านวิตกกังวล

61

79.22

16

20.78

49

77.78

14

22.22

138

87.90

19

12.10

78

82.98

16

17.02

ด้านความเป็นอริ **

55

71.43

22

28.57

56

88.89

7

11.11

143

91.08

14

8.92

79

84.04

15

15.96

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

66

85.71

11

14.29

49

77.78

14

22.22

132

84.08

25

15.92

79

84.04

15

15.96

ด้านหวาดระแวง *

58

75.32

19

24.68

56

88.89

7

11.11

142

90.45

15

9.55

80

85.11

14

14.89

ด้านอาการทางจิต

58

75.32

19

24.68

49

77.78

14

22.22

137

87.26

20

12.74

79

84.04

15

15.96

คะแนนรวม

62

80.52

15

19.48

52

82.54

11

17.46

139

88.54

18

11.46

77

81.91

17

18.09

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ตารางที่ 7 ปัญหาสุขภาพจิตรายด้านของนักเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ แยกตามรายได้ของครอบครัว

กลุ่มปัญหาสุขภาพจิต

รายได้น้อยกว่า 5000 บาทต่อเดือน

(n=139)

รายได้ตั้งแต่ 5000 ถึง 10,000 บาทต่อเดือน (n=167)

รายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน

(n=83)

 

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ปกติ

(ร้อยละ)

จำนวนที่ผิดปกติ

(ร้อยละ)

ด้านความรู้สึกผิดปกติของร่างกาย

120

(86.33)

19

(13.67)

139

(83.23)

28

(16.77)

73

(87.95)

10

(12.05)

ด้านย้ำคิดย้ำทำ

113

(81.29)

26

(18.71)

138

(82.63)

29

(17.37)

68

(81.93)

15

(18.07)

ด้านความรู้สึกไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น

116

(83.45)

23

(16.55)

144

(86.23)

23

(13.77)

71

(85.54)

23

(14.46)

ด้านซึมเศร้า

113

(81.29)

26

(18.71)

140

(83.83)

27

(16.17)

73

(87.95)

10

(12.05)

ด้านวิตกกังวล

115

(82.73)

24

(17.27)

140

(83.83)

27

(16.17)

70

(84.34)

13

(15.66)

ด้านความเป็นอริ

122

(87.77)

17

(12.23)

144

(86.23)

23

(13.77)

65

(78.31)

18

(21.69)

ด้านกลัวโดยปราศจากเหตุผล

113

(81.29)

26

(18.71)

136

(81.44)

31

(18.56)

75

(90.36)

8

(9.64)

ด้านหวาดระแวง

119

(85.61)

20

(14.39)

145

(86.83)

22

(13.17)

70

(84.34)

13

(15.66)

ด้านอาการทางจิต

117

(84.17)

22

(15.83)

135

(80.84)

32

(19.16)

69

(83.13)

14

(16.87)

คะแนนรวม

117

(84.17)

22

(15.83)

139

(83.23)

28

(16.77)

73

(87.95)

10

(12.05)

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us