เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand

เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชและปัญหา อุปสรรคในการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศักดา กาญจนาวิโรจน์กุล พ.บ.*
ศิริพร ทองบ่อ พย.ม. (การพยาบาลชุมชน) *

*กลุ่มงานจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชน โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช และปัญหาอุปสรรคในการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ

ประเทศไทย 19 จังหวัด จำนวน 413 คน ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง ส่วนปัญหาอุปสรรคในการพยาบาลจิตเวชส่วนใหญ่มีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.3 สำหรับปัญหาในการปฏิบัติงานส่วนมากจะเป็นปัญหาด้านบุคลากรน้อย ไม่เพียงพอ และขาดความรู้ความมั่นใจ ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญต่อเจตคติของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต โดยการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการทำงาน ทั้งด้านความคิด ความรู้สึก องค์ความรู้ ตลอดจนการได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อเสริมสร้างให้เจตคติที่ดีคงอยู่ และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(3): 201-212..

คำสำคัญ เจตคติ การพยาบาลจิตเวช

Attitude toward Psychiatric Nursing and Barriers in Psychiatric Nursing Practice of Registered Nurses at Community Hospitals in Northeastern Thailand

Sakda Kanjanavirojkul, M.D. *  
Siriporn Thongbor, M.N.S. (community nursing) *
* Khon Kaen Neuro-psychiatric Hospital, Khon Kaen 40000.

Abstract

The main purposes of this research were to study the attitude toward psychiatric nursing and barriers in psychiatric nursing practice of registered nurses of the community hospitals in Northeastern Thailand. The samples were 413 registered nurses from 19 provinces in Northeastern area. The results revealed that the mean score of the attitude toward psychiatric nursing of registered nurses was at a high level. Sixty-seven per cent of registered nurses had difficulty in caring for violent and aggressive patients. The majority of problems in practice were inadequate health personnel and lack of self-confidence. The authors suggested that health administrators and related organizations should pay attention to the attitude of mental health staffs by providing support and promoting work readiness in the aspects of thinking, feeling and knowledge in order to maintain and develop their positive attitude.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(3):201-212..

Key words : attitude, psychiatric nursing

บทนำ

เจตคติเป็นความคิดเห็นซึ่งมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบและพร้อมที่จะมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ภายนอก1,2 ซึ่งปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออก อาจจะเป็นในทางบวกหรือลบได้ เช่น อาจยอมรับหรือปฏิเสธการเข้าหา ชอบหรือไม่ชอบ ไม่พอใจ3 ซึ่งในการพยาบาลจิตเวชนั้น เจตคติเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติ ในด้านความคิด อารมณ์และพฤติกรรม ทำให้การพูดหรือการกระทำที่แสดงออกไม่เหมาะสม เช่น พูดจาก้าวร้าว รุนแรง เอะอะคลุ้มคลั่ง ที่อาจจะคุกคามต่อความรู้สึกไม่มั่นคงในความเป็นบุคคลของพยาบาล จนเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ได้ เช่น โกรธ กลัว เกลียด เบื่อหน่าย ไม่ยอมรับ ส่งผลให้พยาบาลเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยจิตเวชในทางไม่เหมาะสมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ถึงแม้จะเป็นโรงพยาบาลที่เน้นให้บริการโรคทางกายเป็นหลัก แต่ก็มีโอกาสได้ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพราะมีรายงานการศึกษาว่ามีผู้ป่วยจิตเวช มาใช้บริการในโรงพยาบาลชุมชนถึงร้อยละ 454 ดังนั้น เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้าง และเป็นแรงจูงใจให้พยาบาลได้ทำหน้าที่ในการพยาบาล ด้วยความรัก ความเข้าใจ และเห็นใจ การได้ทราบถึงเจตคติของพยาบาลต่อการพยาบาลจิตเวช ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน จึงถือเป็นประโยชน์ต่อการนำไปสู่การพัฒนาการพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชนให้เหมาะสมต่อไปได้

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษา อุปสรรค ในการพยาบาลจิตเวช และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเจตคติ ต่อการพยาบาลจิตเวชตามลักษณะข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ สถาบันที่จบการศึกษา การได้รับอบรมความรู้ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ขนาดโรงพยาบาล ที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลาที่รับราชการ ประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิต จำนวนผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคทั่วไป ที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน

วิธีการศึกษา

เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรคือพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด จำนวน 456 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ปัญหา อุปสรรค ในการพยาบาลจิตเวช ซึ่งเป็นคำถามปลายปิดให้เลือกตอบ และคำถามปลายเปิดรวม 14 ข้อ และแบบวัดเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือด้านผู้ป่วยจิตเวช ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวช ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 4 ระดับ จำนวนทั้งหมด 34 ข้อ แบบสอบถามในการวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเที่ยงของแบบวัดเจตคติ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.72

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ รวมระยะเวลาในการเก็บรวบรวม ข้อมูล 1 เดือน 11 วัน โดยได้รับแบบสอบถามกลับทั้งสิ้น 440 ชุด นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 413 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.66 ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด

ผลการศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป

ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31–40 ปีจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีระยะเวลาในการรับราชการนาน 11–20 ปี และปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิต พยาบาลวิชาชีพมากกว่าครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์อยู่ระหว่าง 1 –5 ปี และเคยผ่านการอบรมความรู้สุขภาพจิตมาแล้ว ซึ่งส่วนมากจะให้บริการผู้ป่วยจิตเวชเฉลี่ย 1–5 คนต่อวัน ส่วนผู้ป่วยโรคทั่วไปจะให้บริการเฉลี่ย 1 –50 คนต่อวันมากที่สุด ดังรายละเอียดในตารางที่ 1

2. เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช

ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช โดยรวมของพยาบาลวิชาชีพมีค่าเท่ากับ 3.13 เมื่อพิจารณาเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชด้านผู้ป่วยจิตเวชมีค่าเท่ากับ 2.97 ด้านการปฏิบัติต่อผู้ป่วยจิตเวชมีค่าเท่ากับ 3.19 และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวชมีค่าเท่ากับ 3.24 ดังรายละเอียดในตารางที่ 2

3. การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป

เมื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ ต่อการพยาบาลจิตเวชของพยาบาลวิชาชีพ ตามลักษณะข้อมูลทั่วไปได้ข้อค้นพบ ดังนี้

3.1 เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีลักษณะข้อมูลทั่วไปที่ต่างกันในทุกปัจจัยที่ศึกษา มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3.2 เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชรายด้าน พบว่าด้านผู้ป่วยจิตเวช พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จะมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดเล็ก และพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปจำนวนเฉลี่ยต่อวันมากจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการ ในจำนวนเฉลี่ยต่อวันน้อย

ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช พยาบาลวิชาชีพเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพเพศชายและปัจจัยด้านสถาบันที่จบการศึกษา พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาจากสถาบันที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษา จากสถาบันสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ด้านวิชาการพยาบาลจิตเวช พยาบาลวิชาชีพที่มีลักษณะข้อมูลทั่วไปที่ต่างกันในทุกปัจจัยที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3 และ 4

4. ปัญหา อุปสรรค และความต้องการการสนับสนุน ในการพยาบาลจิตเวช

ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.3 รองลงมาคือ ผู้ป่วยซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ร้อยละ 53.5 และผู้ป่วยที่มาขอรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 46.7 มีเพียงร้อยละ 7.5 ที่ตอบว่าไม่มีปัญหาในการดูแล

ส่วนปัญหา อุปสรรค ที่พบในการปฏิบัติงานนั้น พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีปัญหาในเรื่องจำนวนบุคลากรน้อย ขาดความรู้ความมั่นใจในการทำงาน สถานที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และญาติไม่สนใจผู้ป่วย จากปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าว พบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ เอกสารวิชาการด้านสุขภาพจิต เวชภัณฑ์ งบประมาณ การนิเทศงาน การอบรมฟื้นฟูความรู้ คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวช คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต

อภิปรายผล

จากการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชในระดับสูง ที่ผลเป็นเช่นนี้ อาจเนื่องจากข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ที่พบว่า พยาบาลวิชาชีพร้อยละ 86.4 ไม่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช นอกจากนี้ความรู้จากการเรียนวิชาพยาบาลจิตเวชในหลักสูตรการศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่าปริญญาตรี ที่สถาบันการศึกษาต่างมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ ความสามารถ เพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ตลอดจนการเสริมสร้าง ให้มีเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช โดยมีแนวคิด ทฤษฎี ทางการพยาบาลจิตเวชเป็นพื้นฐาน ในการนำไปสู่การปฏิบัติกับผู้ป่วย5,6 ซึ่งจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ จึงทำให้ พยาบาลวิชาชีพเกิดความรู้ ความเข้าใจในผู้ป่วยและวิธีการดูแล จึงทำให้เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชอยู่ในระดับสูง

เมื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชกับลักษณะข้อมูลทั่วไป ได้ข้อค้นพบว่า

1. ปัจจัยด้านเพศ พยาบาลวิชาชีพที่เพศต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม ด้านผู้ป่วยจิตเวช และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวชไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการที่พยาบาลวิชาชีพทุกคนได้รับการเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการพยาบาลจิตเวชจากการเรียนในหลักสูตรการศึกษาพยาบาล ดังมีรายงานการศึกษาในนักศึกษาพยาบาลที่พบว่า ภายหลังจากได้ฝึกปฏิบัติงานการพยาบาลจิตเวชแล้ว นักศึกษาพยาบาลส่วนมากมีความต้องการจะปฏิบัติงานด้านการพยาบาลจิตเวช ร้อยละ 62.0 เพราะทำให้เข้าใจความต้องการของบุคคลมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงานได้7 และพยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่าพยาบาลในอุดมคติ ที่จะให้การพยาบาลที่ดี ควรจะผสมผสานทั้งความเป็นหญิงและชาย คือความรู้สึกอบอุ่น เป็นมิตร อ่อนน้อมในลักษณะความเป็นหญิง และคุณลักษณะความเข้มแข็ง เป็นตัวของตัวเอง ท้าทาย มีความมั่นใจสูง มีความสามารถในการตัดสินใจ ในความเป็นชาย8 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าเพศชาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพศหญิงสามารถใช้ความเป็นหญิงในการแสดงออกของบทบาทเพศแม่ ในการให้การพยาบาลที่ดีได้โดยง่าย ทำให้สามารถปฏิบัติกับผู้ป่วยได้อย่างนุ่มนวล สอดคล้องกับบุคลิกภาพของความเป็นหญิง8

2. ปัจจัยด้านการได้รับการอบรมความรู้ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่เคยและไม่เคยรับการอบรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม และรายด้านแต่ละด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมา9,10 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากว่า พยาบาลเคยผ่านการเรียนวิชาการพยาบาลจิตเวชในหลักสูตรการศึกษาพยาบาลและถึงแม้ในส่วนที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมก็อาจจะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง จากอ่านเอกสาร ตำราหรือการปรึกษาผู้รู้

3. ปัจจัยด้านสถาบันที่จบการศึกษา พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบจากสถาบันการศึกษาต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม ด้านผู้ป่วยจิตเวช และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวชไม่แตกต่างกัน เป็นไปได้ว่า สถาบันการศึกษาพยาบาลทุกสถาบันต่างปลูกฝังและเสริมสร้างให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในผู้ป่วยจิตเวชและพยาบาลวิชาชีพเองต่างก็ตระหนักในประโยชน์ที่ได้รับจากวิชาการพยาบาลจิตเวชที่สามารถใช้ได้กับชีวิตประจำวัน5,6 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ความแตกต่างของประสบการณ์การเรียนรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับในช่วงการเรียนในหลักสูตรการศึกษาพยาบาลในแต่ละสถาบัน ซึ่งอาจแตกต่างกันในปัจจัยด้านต่างๆ เช่น การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศ สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียน การสอนจะปรากฏในลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน การมอบหมายงาน วิธีการสอน ท่าที การแสดงออกของครู ตลอดจนพยาบาลประจำการในสถานที่ที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงาน11,12 สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาจากกระทรวงสาธรณสุข

4. ปัจจัยด้านขนาดโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีขนาดต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวมด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวชไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปได้ว่า พยาบาลวิชาชีพมีบริบททางสังคม วัฒนธรรมด้านสถานที่ปฏิบัติงานไม่ต่างกัน คือ เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ให้บริการทางกายเป็นหลักส่วนการให้บริการทางจิตเวชจัดให้ตามขีดความสามารถและความพร้อมของโรงพยาบาลทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ สถานที่ ความรู้ ตลอดจนนโยบายด้านสุขภาพจิต ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่พยาบาลวิชาชีพรับรู้ได้ไม่แตกต่างกัน แม้จะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดต่างกันก็ตาม ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติด้านผู้ป่วยจิตเวช พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่จะมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า โรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจมีความพร้อมที่จะให้บริการมากกว่า ทั้งในด้านจำนวนบุคลากร งบประมาณ สิ่งสนับสนุนอื่นๆ จึงทำให้มีความรู้สึกว่าผู้ป่วยจิตเวชก็เหมือนผู้ป่วยโรคทั่วไปอื่นๆที่ต้องให้บริการ

5. ปัจจัยด้านระยะเวลาในการรับราชการและประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิต พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาในการรับราชการและประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกันมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม และรายด้านแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน อาจเนื่องจากว่า โรงพยาบาลชุมชนเป็นหน่วยงานที่ให้บริการโรคทางกายเป็นหลักจึงทำให้มีผู้รับบริการด้านจิตเวชจำนวนไม่มากนัก ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพถึงแม้จะมีระยะเวลาในการรับราชการ หรือประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิตมากน้อยต่างกันแต่อาจจะมีโอกาสได้ให้บริการหรือดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากน้อยพอ ๆ กัน

6. ปัจจัยด้านจำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยจิตเวชในจำนวนเฉลี่ยต่อวันต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวมและรายด้านแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน เป็นไปได้ว่าผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลวิชาชีพมีเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชในระดับสูง และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไม่ทำให้เสียเวลาในการดูแลผู้ป่วยอื่น ๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ดีต่อผู้ป่วยจิตเวช

7. ปัจจัยด้านจำนวนผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปในจำนวนเฉลี่ยต่อวันต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช และด้านวิชาการพยาบาลจิตเวชไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า พยาบาลวิชาชีพมองเห็นประโยชน์ของวิชาการพยาบาลจิตเวช ดังผลการศึกษาครั้งนี้ที่พยาบาลวิชาชีพบอกว่าการเรียนวิชาการพยาบาลจิตเวชทำให้เข้าใจสภาพจิตใจของผู้ป่วยโรคทางกายมากขึ้น ดังนั้นการให้บริการผู้ป่วยโรคทั่วไปมากมากน้อยต่างกันก็อาจได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านการพยาบาลจิตเวชเช่นกัน ส่วนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชด้านผู้ป่วยจิตเวช พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปในจำนวนที่ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปในจำนวนเฉลี่ยต่อวันมากจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติสูงกว่าพยาบาลที่ให้บริการจำนวนน้อย อาจเป็นไปได้ว่าการที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปจำนวนมากในแต่ละวันทำให้พบกับสภาพผู้ป่วยในลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องให้การดูแลแตกต่างกันไปตามความต้องการ ดังนั้นจึงได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านการพยาบาลจิตเวชมากยิ่งขึ้นไปด้วย

8. ปัญหา อุปสรรคในการพยาบาล จากการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง และในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชมักพบกับปัญหาการขาดความรู้ ความมั่นใจในการทำงาน บุคลากรน้อย สถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นไปได้ว่า พยาบาลวิชาชีพอาจขาดแหล่งสนับสนุนในการทำงานทั้งในด้านบุคคลผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องสุขภาพจิตโดยตรง หรือแหล่งของสื่อ/เอกสารความรู้ทางวิชาการ คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต ถึงแม้จะพบว่า ได้มีการค้นคว้าด้วยตนเองและปรึกษาผู้รู้ก็ตาม แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอเพราะผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า พยาบาลวิชาชีพยังต้องการการสนับสนุนด้านความรู้ เอกสารวิชาการ การอบรมฟื้นฟูความรู้ การได้รับการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ

9. ข้อสังเกตที่พบจากการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 55.0 ให้บริการแก่ผู้ป่วยจิตเวชจำนวนเพียง 1-5 คนต่อวัน และมีบางส่วน คือ ร้อยละ 28.3 ไม่มีผู้ป่วยที่จะให้บริการ ทั้งที่มีรายงานการศึกษาว่า มีผู้ป่วยจิตเวชมาใช้บริการในโรงพยาบาลชุมชนถึงร้อยละ 454 ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากว่างานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชนยังไม่เป็นงานที่เด่นชัด รูปแบบงานไม่ชัดเจน ไม่มีโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง ผู้บริหารและบุคลากรในโรงพยาบาลไม่เห็นความสำคัญ ทำให้งานสุขภาพจิตกลายเป็นงานรอง ได้รับความสนใจน้อย เป็นงานฝากและแทรกอยู่ในหลายฝ่ายขึ้นกับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาลว่าจะมอบหมายให้ฝ่ายใดรับผิดชอบ ซึ่งพบว่า กระจายอยู่ตามฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล ฝ่ายสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตยังต้องรับผิดชอบงานอื่นๆอีกหลายอย่างที่สำคัญ คือ บุคลากรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบ่อย13-17 ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตอาจอยู่ในฝ่ายที่ไม่ได้ให้บริการและดูแลผู้ป่วยโดยตรงอีกทั้งอาจจะเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เพิ่งหมุนเวียนสับเปลี่ยนมารับงานในช่วงการเก็บรวบรวมข้อมูล จึงทำให้ทำงานในส่วนบริการและดูแลผู้ป่วยจิตเวชน้อยหรือไม่ได้ให้บริการเลย

ข้อเสนอแนะ

1. ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชในระดับสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลในการดูแลผู้ป่วยด้วยความรัก ความเข้าใจและเอาใจใส่ ซึ่งนั่นก็หมายถึงคุณภาพการพยาบาลจิตเวชที่ดีด้วย จากเจตคติที่ดีจึงเชื่อว่าบุคคลย่อมมีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะให้การสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น จัดฝึกอบรม การฟื้นฟูความรู้ การศึกษาดูงาน การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน/คู่มือการพยาบาลจิตเวชสำหรับพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ตลอดจนโอกาสความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การมีกรอบอัตรากำลังที่ชัดเจนและเพียงพอเพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ยังพบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคที่เป็นข้อค้นพบในการศึกษานี้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติของพยาบาลวิชาชีพได้

2. ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีปัญหาอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่พบมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในส่วนที่เป็นปัญหานี้เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องทักษะ ซึ่งอาจจะเป็นการจัดเนื้อหาหลักสูตรที่เน้นให้มีการศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติมากขึ้น

3. จากผลการศึกษาที่พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตส่วนมากให้บริการผู้ป่วยเพียงจำนวนน้อยและบางส่วนไม่ได้ให้บริการเลย อาจเนื่องจากงานสุขภาพจิตไม่ได้เป็นฝ่ายแยกเด่นชัด ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่า ให้มีฝ่ายสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชนหรือกำหนดให้งานอยู่ในฝ่าย/กลุ่มงานใดที่เป็นรูปแบบเดียวกันทุกโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานได้ทำบทบาทได้อย่างเต็มที่

4. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น ดังนั้นควรมีการศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั้งในระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน

5. การวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานด้านความคิดเห็น ความรู้สึกต่อการพยาบาลจิตเวชเท่านั้น ดังนั้นควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการพัฒนาการพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชนต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Allport GW. Attitude. In: Allport GW, ed. Reading in attitude theory and measurment. New York :John Wiley and Sons Inc.,1967:2.
  2. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. การวัดสถานะทางสุขภาพ :การสร้างมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์, 2537:224-7.
  3. Triandis HC. Attitudes and attitude change. New York:John Wiley and Sons Inc.,1971:2-3.
  4. ชัชวาล ศิลปกิจ, รัตนา สายพานิชย์. Psychiatric disorder in primary care setting: an implication for undergraduate psychiatric education. รายงานการวิจัยเสนอในการประชุมวิชาการประจำปีของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 2540.
  5. อุบล นิวัติชัย. หลักการพยาบาลจิตเวช. เชียงใหม่:ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2527:1-16.
  6. สอิ้ง อภิปาลกุล. ปรัชญาและแนวปฏิบัติในการพยาบาลจิตเวช . ใน : คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์.การพยาบาลจิตเวช :แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น: สำนักงานคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2535 :9-16.
  7. สมสนุก พระอามาตย์, ชุลีวรรณ เพียรทอง, จำลองลักษณ์ จามรพิน พิมพ์เสน,มัลลิฑา พูนสวัสดิ์. รายงานการวิจัยเรื่องเจตคติของพยาบาลต่อปัจจัยส่งเสริมคุณภาพการพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น. ขอนแก่น:โรง พยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2539.
  8. สุบิน สมีน้อย, สุพิน พิมพ์เสน, มัลลิฑา พูนสวัสดิ์. รายงานการวิจัยเรื่องเจตคติของพยาบาลต่อปัจจัยส่งเสริมคุณภาพการพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2539.
  9. รุ่งศรี ศรีสุวรรณ์. การศึกษาเจตคติต่อผู้ป่วยจิตเวชและต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล.(วิทยานิพนธ์) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
  10. จันทร์ทิพย์ นามไชย, เสงี่ยม สารบัณฑิตกุล, อรวรรณ ลี่ทองอิน, ศิริพร ทองบ่อ, ประหยัด ประภาพรหม, ลัดดา ตัณกัณฑะ. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่จำเป็นต่อบริการพยาบาลจิตเวชเชิงวิชาชีพในโรงพยาบาลจิตเวช . เชียงใหม่:โรงพยาบาลสวนปรุง และโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น, 2541.
  11. พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. ทิศทางในการพัฒนาวิชาชีพพยาบาล. ใน:เอกสารการสอนชุดวิชาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล หน่วยที่ 8-15 . กรุงเทพฯ : ฝ่ายการพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2530:931-5.
  12. รัตนา ทองสวัสดิ์. วิชาชีพการพยาบาล :ประเด็นและแนวโน้ม . เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532:1-7.
  13. บุญชัย นวมงคลวัฒนา, จริยา โสรธรณ์, ชิดชนก โอภาสวัฒนา. รายงานการวิจัยเรื่องความคาดหวังของโรงพยาบาลชุมชนต่อศูนย์วิชาการสุขภาพจิต เขต 5. นครราชสีมา : โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา, 2539.
  14. ประณีตศิลป์ วงษ์ชมภู .ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในภาคเหนือของประเทศไทย .(วิทยานิพนธ์) วิทยาศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.
  15. ภัทรา ถิรลาภ,นิวัติ เอี่ยมทอง, อริสสา ฤทธิกาญจน์. รายงานการวิจัยเรื่องการให้บริการสุขภาพจิตของ รพศ./รพท./รพช. ในภาคกลางและภาคตะวันออก. นนทบุรี : ศูนย์สุขภาพจิต 1, 2540.
  16. ศิริพร ทองบ่อ, ศักดา กาญจนาวิโรจน์กุล. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการดำเนินงานสุขภาพจิตในหน่วยงานสาธารณสุข เขต 6. ขอนแก่น:โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น, 2541 .
  17. สมหมาย เลาหะจินดา, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ. รายงานการวิจัยเรื่องปัญหาอุปสรรค และความต้องการของแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขตการสาธารณสุขที่ 8 ,9,10 ต่อการให้บริการสุขภาพจิต . เชียงใหม่:โรงพยาบาลสวนปรุง, 2539 .

 ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n=413)

ร้อยละ

เพศ

ชาย

หญิง

อายุ

21-30 ปี

31-40 ปี

41 ปีขึ้นไป

ระดับการศึกษา

ต่ำกว่าปริญญาตรี

ปริญญาตรี

สูงกว่าปริญญาตรี

สถาบันที่จบการศึกษา

สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

ระยะเวลาในการรับราชการ

0-10 ปี

11-20 ปี

21 ปีขึ้นไป

ขนาดโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน

10 เตียง11

30 เตียง31

60 เตียง61

90 เตียง91

120 เตียง

28

385

73

294

46

2

394

17

320

93

142

236

35

43

262

67

32

4

6.8

93.2

17.7

71.2

11.1

0.5

95.4

4.1

77.5

22.5

34.4

57.1

8.5

11.6

63.4

16.2

7.7

1.0

ประสบการณ์ในการทำงานด้านสุขภาพจิต

ไม่มีประสบการณ์

1-5 ปี

6-10 ปี

12 ปีขึ้นไป

การได้รับการอบรมความรู้สุขภาพจิตและจิตเวช

ไม่เคย

เคย

จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน

ไม่มีผู้ป่วย

1-5 คน

6-10 คน

11 คนขึ้นไป

จำนวนผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน

ไม่มีผู้ป่วย

1-50 คน

51-100 คน

101 คนขึ้นไป

95

223

62

32

153

260

117

227

8

31

71

149

75

118

23.0

54.0

15.0

7.7

37.0

63.0

28.3

55.0

9.2

7.5

17.2

36.0

18.2

28.6

 

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชโดยรวม และรายด้านของพยาบาลวิชาชีพ

เจตคติต่อการพยาบาลจิตเวช

X

SD

 

โดยรวม

ด้านผู้ป่วยจิตเวช

ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช

ด้านวิชาการพยาบาลจิตเวช

3.13

2.97

3.19

3.24

0.26

0.29

0.30

0.36

 

 

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชรายด้านของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไปที่ต่างกัน

ด้านผู้ป่วยจิตเวช

ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช

ด้านวิชาการพยาบาลจิตเวช

X

SD

t

X

SD

t

X

SD

t

เพศ

ชาย

หญิง

สถาบันที่จบการศึกษา

กระทรวงสาธารณสุข

ทบวงมหาวิทยาลัย

การได้รับการอบรม

เคย

ไม่เคย

2.95

2.97

2.96

3.01

2.96

2.97

0.29

0.29

0.30

0.28

0.29

0.30

0.34

 

-1.52

 

1.24

3.06

3.20

3.18

3.25

3.21

3.17

0.29

0.30

0.30

0.31

0.31

0.28

2.26*

 

-2.11*

 

0.83

3.24

3.24

3.23

3.26

3.25

3.22

0.38

0.36

0.35

0.41

0.35

0.37

-0.53

 

-0.84

 

0.63

* P < 0.05

ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการพยาบาลจิตเวชรายด้านของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไปที่ต่างกัน

ด้านผู้ป่วยจิตเวช

ด้านการปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช

ด้านวิชาการพยาบาลจิตเวช

X

SD

F

X

SD

F

X

SD

F

ขนาดโรงพยาบาล

10 เตียง

30 เตียง

60 เตียง

90 – 120 เตียง

ระยะเวลาในการรับราชการ

0 – 5 ปี

6 – 10 ปี

11 – 15 ปี

16 – 20 ปี

21 ปีขึ้นไป

3.06

2.98

2.91

2.88

3.01

2.99

2.97

2.92

2.93

0.32

0.28

0.29

0.30

0.28

0.31

0.30

0.24

0.27

3.575*

 

 

 

1.086

3.25

3.19

3.19

3.13

3.23

3.19

3.21

3.13

3.21

0.30

0.28

0.34

0.33

0.31

0.29

0.32

0.28

0.28

1.160

 

 

 

0.976

3.29

3.23

3.26

3.17

3.31

3.23

3.23

3.22

3.21

0.41

0.35

0.35

0.36

0.41

0.38

0.36

0.32

0.34

0.819

 

 

 

0.422

ประสบการณ์ด้านสุขภาพจิต

ไม่มีประสบการณ์

1 – 5 ปี

6 – 10 ปี

11 ปีขึ้นไป

จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน

ไม่มีผู้ป่วย

1 – 5 คน

6 – 10 คน

11 คนขึ้นไป

จำนวนผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ให้บริการเฉลี่ยต่อวัน

ไม่มีผู้ป่วย

1 – 50 คน

51 – 100 คน

101 คนขึ้นไป

2.29

2.98

2.97

3.04

 

2.92

2.99

2.98

2.98

 

2.93

2.95

3.06

2.97

0.31

0.28

0.29

0.29

 

0.30

0.29

0.27

0.27

 

0.31

02.9

02.8

0.29

1.804

 

 

 

 

1.572

 

 

 

 

2.879*

3.16

3.21

3.19

3.19

 

3.14

3.21

3.22

3.20

 

3.22

3.19

3.22

3.17

0.29

0.31

0.30

0.27

 

0.26

0.31

0.30

0.36

 

0.30

0.29

0.34

0.29

0.580

 

 

 

 

1.496

 

 

 

 

0.657

3.22

3.23

3.25

3.23

 

3.20

3.25

3.27

3.25

 

3.26

3.23

3.22

3.24

0.37

0.36

0.38

0.27

 

0.35

0.35

0.42

0.37

 

0.39

0.35

0.39

0.34

0.086

 

 

 

 

0.548

 

 

 

 

0.157

* P < 0.05

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us