เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal  of the Psychiatric association of Thailand

แนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ในผู้ป่วยไทยช่วง 10 ปี

ดวงใจ กสานติกุล พ.บ.*

เดชา ลิลิตอนันต์พงศ์ พ.บ.*

 บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ (major affective disorders, MAD) ในช่วง 10 ปี โดยเปรียบเทียบสถิติของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่มีหอผู้ป่วยจิตเวช ขนาด 14 เตียง กับโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา และจำนวนผู้ป่วยทางจิตเวชทั้งประเทศ

วิธีการศึกษา ได้รวบรวมสถิติผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์แปรปรวน, ในปี 2530, 2536, และ 2540 โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง และจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งประเทศ จากรายงานของศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต

ผลการศึกษา พบว่าในช่วง พ.ศ. 2530 - 2540 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีผู้ป่วยจิตเภทในอัตราสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ป่วยโรคทางอารมณ์มีอัตราสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แนวโน้มแบบเดียวกันนี้ก็พบในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและโรงพยาบาลศรีธัญญา

สรุป แนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ ในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับต่างประเทศ กล่าวคือ อัตราการวินิจฉัยโรคทางอารมณ์มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่โรคจิตเภทเองมีแนวโน้มการวินิจฉัยคงที่ หรือค่อนไปทางลดลง การวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีการรักษาและพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542;44(2): 90-98.

คำสำคัญ โรคจิตเภท โรคทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน โรคทางจิตเวช

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Trends of diagnosis of Schizophrenia and Major Affective Disorders among Thai patients from 1987 to 1997

Duangjai Kasantikul, M.D.*

Decha Lalitanantpong, M.D.*

Abstract

Objectives To study trends of diagnosis of schizophrenia and mojor affective disorders (MAD) among Thai patients between 1987 and 1997 in various psychiatric institutions.

Method Comparing the numbers of patients with schizophrenia as opposed to major affective disorder attending the Department of Psychiatry, Chulalongkorn University Hospital, as well as two state mental hospitals, Somdet Chaophraya and Srithunya, in Bangkok, with nation-wide reports issued by the information center, Institute of Mental Health (IC/IMH) between 1987 and 1997

Results The findings obtained from Chulalongkorn University Hospital and two state mental hospitals, in the course of the 10-years period, revealed the numbers of patients at present diagnosed with MAD, particularly those with major depression, had undergone a two - to three - fold rise. However, IC/IMH reported only slightly higher numbers in either category of patients alike.

Conclusion Differential diagnosis between schizophrenia and MAD is essential as either affiction requires a specific therapeutic approach and also implies a clearly defined prognosis. This study has shown the present patterns of psychiatric disorder to be similar to those observed in western countries in that MAD is diagnosed much more frequently than in the recent past, whereas schizophrenia has undergone only a slight increase.

JPsychiatr Assoc Thailand 1999;44(2): 90-98.

Key words : schizophrenia, mojor affective disorders, major depression, bipolar disorder, psychiatric disorder

*Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330.

 บทนำ

เป็นที่ยอมรับกันว่าโรคซึมเศร้ามีอัตราสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปีนี้ นันทิกา ทวิชาชาติ และคณะ1 ได้ศึกษาประชากรเขตกรุงเทพฯ 2,948 ราย อายุเฉลี่ย 32.3 ปี พบว่ามีโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 19.9 ขณะที่พบโรคจิตเภทเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น เช่นเดียวกับ Stoll และคณะ2 ซึ่งวิจัยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีของโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ (major affective disorders, MAD) ในสถาบันใหญ่ ๆ 6 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ในโรงเรียนแพทย์ อัตราของโรคจิตเภทลดลงถึง 3 เท่า (จากร้อยละ 27 ในปี ค.ศ.1976 เป็นร้อยละ 9 ในปี ค.ศ.1989) ขณะที่ MAD กลับเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า (จากร้อยละ 10 ในปี ค.ศ.1972 เป็นร้อยละ 49 ในปี ค.ศ.1990) อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ. 1975-1990 นั้นอัตราของโรคจิตเภทที่ Clarke Institute ซึ่งเป็นสถาบันของรัฐบาลค่อนข้างคงที่ตลอด Stoll อธิบายว่าน่าจะมาจากการวินิจฉัยของแพทย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพทย์ต่างชาติ และไม่มีวุฒิบัตรเชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ Kessler และคณะ3 รายงานความชุกของโรคจิตเวช ในประชากรทั่วไปในช่วง 1 ปี และชั่วชีวิต พบว่าโรคทางอารมณ์ (affective disorders) มีความชุกค่อนข้างสูงกว่าโรคจิต โดยความชุกชั่วฃีวิต (lifetime prevalence) ของโรคทางอารมณ์เท่ากับร้อยละ 24.9 ขณะที่ของโรคจิตเท่ากับร้อยละ 0.7 และจากรายงานขององค์การอนามัยโลก4 เน้นว่าในปี ค.ศ. 2020 โรคซึมเศร้าจะสร้างความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตได้สูงสุดกว่าโรคอื่น ๆ และสูงพอ ๆ กับโรคหัวใจขาดเลือด คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาดูแนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ในผู้ป่วยไทยดูบ้างว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ ในช่วง 10 ปี โดยใช้สถิติของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่มีหอผู้ป่วยจิตเวชขนาด 14 เตียงเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชขนาดใหญ่ และเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยจิตเวชทั้งประเทศ

วัสดุและวิธีการ ได้รวบรวมสถิติจำนวนผู้ป่วยในของโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ (major affective disorders, MAD) ซึ่งรวมโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์แปรปรวนของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 - 2540 เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา และจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งประเทศที่ได้จากศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต

 

 

 ภาพที่ 1 กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในช่วงปี 2530-2541 ของ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญาและทั่วประเทศ

ผลการศึกษา

พบว่าในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์นั้น สถิติของโรคทางอารมณ์เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมในช่วง พ.ศ. 2530-2540 ประมาณ 3-4 เท่า และมีแนวโน้มแบบเดียวกันในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและศรีธัญญา (ตารางที่ 1, 2 และภาพที่ 1) แม้ว่าสถิติของจำนวนโรคจิตของผู้ป่วยทั้งประเทศ (ยกเว้น เขตกรุงเทพฯ) จะเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งนี้เพราะมีการรวมผู้ป่วยโรคจิตทางอารมณ์เข้าไปด้วย โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยโรคทางอารมณ์จะมีอาการของโรคจิตได้ถึงร้อยละ 305,6 เมื่อถูกจัดรวมเข้าในกลุ่มโรคจิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภท โรคจิตหลงผิด (delusional disorders) และโรคจิตอื่น ๆ ทำให้ได้สถิติที่แตกต่างไปมากจากสถาบันอื่น ๆ

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ของ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และโรงพยาบาลศรีธัญญา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวนผู้ป่วยใน (ราย)
โรค/ปี

2530

2532

2534

2536

2538

2540

โรคจิตเภท

117

121

117

95

91

101

โรคทางอารมณ์

18

40

58

67

84

69

โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จำนวนผู้ป่วยนอก (ราย)
โรค/ปี

2531

2532

2533

2534

2535

2536

2537

2538

2538

2540

โรคจิตเภท

45,419

50,305

54,038

53,762

54,352

55,548

54,728

55,402

50,034

47,737

โรคทางอารมณ์

5,337

5,910

5,744

5,699

5,957

5,623

7,869

8,710

13,151

14,068

โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวนผู้ป่วยนอก ใหม่ (ราย)
โรค/ปี

2535

2536

2537

2538

2539

2540

โรคจิตเภท

4,430

3,477

2,318

1,707

1,665

1,626

โรคทางอารมณ์

195

194

46

439

443

519

 ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยนอก (ราย) ของโรคจิต โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าทั้งประเทศ

ยกเว้น กรุงเทพฯ

ปี

โรคจิต *

โรควิตกกังวล

โรคซึมเศร้า

2537

134,257

440,955

17,812

2538

207,641

105,979

18,924

2539

162,555

84,798

24,415

2540

180,614

95,775

22,450

* โรคจิตหมายถึง ผู้ป่วยโรคจิตทุกประเภท เช่น โรคจิตเภท โรคจิตหลงผิดและโรคจิตทางอารมณ์

วิจารณ์

โรคจิตเภทเป็นโรคที่มีอาการและการดำเนินโรคได้หลายรูปแบบ ไม่มีอาการที่ pathognomonic5 Tsuang7 เรียกความเกี่ยวโยงของโรคจิตเภท และ bipolar ว่ามี “overlapping pathophysiology”

นอกจากนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าอาการของโรคจิตเภทมีความสลับซับซ้อนและเหมือน ๆ กันในประชากรทั่วโลก5,6 แม้ว่าการวินิจฉัยทั้งโรคจิตเภทและ MAD จะค่อนข้างคงที่ (ร้อยละ 61.5 ถึงร้อยละ 85.7)8 แต่พบว่ามีผู้ป่วยอยู่มากกว่า 1 ใน 3 ที่แพทย์จะไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เมื่อประเมินซ้ำที่ 6 เดือน เนื่องจากลักษณะอาการเปลี่ยนไป มีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมและการแปลความใหม่จากข้อมูลเดิมเป็นต้น อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยโรคจิตเภทถือว่าไม่คงที่9 ต้องอาศัยการติดตามระยะยาว เช่นที่ Andreasen10 เปรียบเทียบให้เห็นว่าอาการของโรคจิตเภท โรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์แปรปรวน ก้ำกึ่งกันได้มาก (ตารางที่ 3) และทั้ง 3 โรคต่างมีโอกาสร้อยละ 20 ที่จะมีการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง และให้ผลการรักษาไม่ดีโดยที่ไม่แตกต่างกันนัก11-15

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบอาการของโรคจิตและโรคทางอารมณ์ The Symptom Spectrum

(ปรับปรุงจาก Andreasen)10

อาการ

SC

SCF

SCT

SA

MA

DE

Delusions

X

X

 

X

X

X

Hallucinations

X

X

 

X

X

X

Disorganized speech

X

X

 

X

X

 
Disorganized behavior

X

X

 

X

X

 
Inappropriate affect

X

X

 

X

   
Attention

X

X

 

X

X

X

Alogia

X

?

X

X

 

X

Affective blunting

X

?

X

   

X

Anhedonia

X

?

X

   

X

Avolition

X

?

X

   

X

SC - schizophrenia, SCF - schizophreniform disorder, MA - mania,

SCT - schizotypal personality, SA - schizoaffective disorder, DE - depression.

ภาวะอารมณ์เศร้าเป็น nonspecific symptoms ที่พบได้ในโรคทางจิตเวชเกือบทุกโรค การจำแนกโรคในผู้ป่วยบางราย จึงทำไม่ได้ง่ายนัก ดังที่ ณรงค์ สุภัทรพันธ์ และ โกวิทย์ นพพร16 ได้รายงานถึงผู้ป่วยอาการคล้ายโรคจิตเภทชนิดระแวงที่ตอบสนองการรักษาด้วยยาแก้เศร้า ผู้ป่วยจิตเภทสามารถมีภาวะอารมณ์เศร้าได้ในทุกระยะของการดำเนินโรค16 หรืออาจเข้าใจได้ง่ายขึ้นถ้าอธิบายตามแนวคิดของ Foulds และ Bedford (อ้างใน Leff, 1990)17 ว่าอาการทางจิตจะแสดงออกเป็นขั้นตอน (ภาพที่ 2) ตั้งแต่ nonspecific symptoms ซึ่งเป็นอาการพื้นฐาน เช่น คิดมาก วิตกกังวล หงุดหงิด หรือปวดศีรษะไปจนถึงขั้นมีอาการของโรคจิต (psychoses) ผู้ป่วยจิตเภทจึงอาจมีอาการของโรคจิตทางอารมณ์ (affective psychoses) เช่น grandiose delusion รวมทั้ง neurotic symptoms ได้ Leff ประมาณว่าร้อยละ 75-96 ของผู้ป่วยทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังแสดงอาการเป็นขั้นตอนดังกล่าว

 

 

Symptoms

of organic

brain disease

Symptoms specific

to Schizophrenia

Symptoms of affective

psychoses

Symptoms of neurotic disorders

Nonspecific psychological symptoms

 ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอน (hierarchical schema) ของอาการทางจิตเวชที่ปรับปรุงมาจากแนวคิดของ

Foulds และ Bedford (อ้างถึงใน Leff17)

ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอารมณ์เศร้ารุนแรง ในช่วง residual phase ถูกจัดไว้ในส่วน appendix ของ DSM-IV18 เรียกว่า postpsychotic depressive disorder of schizophrenia พบได้ประมาณร้อยละ 25 (ระหว่างร้อยละ 10-70) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีญาติชั้นแรกป่วยด้วยโรคทางอารมณ์, มีการปรับตัวก่อนป่วยที่ไม่ดีมาก่อน, มีอาการป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไป (insidious onset) และมี personality trait แบบ schizoid นอกจากนี้อาจจะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก มีอัตราการกำเริบสูง และมีการพยายามฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 25-50 ทั้งพบมีความผิดปกติของ DST, TRH test และ MAO activity ในอัตราสูงกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่มีภาวะอารมณ์เศร้า บ่งชี้ว่าโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าพบร่วมกันได้ และน่าจะมี common pathophysiology19 ใน ICD-10 ใช้คำว่า postschizophrenic depression คือผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าในระดับไม่รุนแรง (ซึ่งต่างจากใน DSM-IV) หลังจากป่วยเป็นโรคจิตเภทและมักจะแยกได้ยากว่าเป็น depression หรือ neuroleptic effect หรือเป็น negative deficit symptoms ที่มีอาการขาดความกระตือรือร้น และอารมณ์เฉื่อยชาของโรคจิตเภท อย่างไรก็ตามผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย ทั้งที่เคยเชื่อว่าผู้ป่วยจิตเภทที่มีอารมณ์เศร้าจะมีการทำนายโรคดี แต่จากการติดตามพบว่า ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่า ดังนั้นการมองหาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งต่างจากกลุ่ม deficit schizophrenia ที่ไม่มีการฆ่าตัวตาย Selten และคณะ20 อธิบายว่า ผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มหลังนี้ไม่ใคร่รับรู้ถึงการเจ็บป่วย ไม่ใคร่เป็นกังวลกับการป่วยของตนต่างจากกลุ่มที่มีอารมณ์ซึมเศร้า และน่าสนใจที่ผู้ป่วย depressive (dysphoric) mania ถึงร้อยละ 54.5 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ในขณะที่ pure mania เพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ พยายามฆ่าตัวตาย21

Stahl19 อธิบายว่า ภาวะวิตกกังวล, ภาวะซึมเศร้า และความคิดที่ผิดปกตินั้นเกี่ยวข้องกับความแปรปรวน (destabilized) ของสารสื่อนำประสาทชนิด norepinephrine, dopamine, และ GABA ซึ่งสัมพันธ์กับ serotonin function ด้วย นอกจากนี้ทั้งสองโรคยังพบในเครือญาติของผู้ป่วยได้คละ ๆ กัน นั่นคือ พ่อแม่ที่ป่วยด้วยโรคจิตทางอารมณ์มีโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคจิตเภทในอัตราสูงกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป (ร้อยละ 2.3 กับร้อยละ 0.8 ตามลำดับ)22 Crow23 เชื่อว่าน่าจะมี genetic continuum ระหว่างโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ มากกว่าที่จะแบ่งเป็นสองโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกัน คือมีสมมติฐานว่าความผิดปกติทั้งสองอย่างนี้เป็นโรคที่ต่อเนื่องกัน (continuum of psychosis หรือ unitary psychosis) หรือ spectrum concept โดยเริ่มจาก mild to severe นั่นคือ จาก unipolar < bipolar < schizoaffective < schizophrenia โดยอธิบายว่า psychosis gene มีอัตราของการผ่าเหล่า (mutation) สูง

ดังนั้นการจำแนกแยกโรค6 จึงควรดูว่าอาการทางความคิด หรืออาการทางอารมณ์อย่างไหนที่ผิดปกติเด่น (prominent) กว่ากัน คงนาน (persistent) กว่ากัน อะไรเป็นอาการหลักหรืออาการนำ (primary) อาการทางอารมณ์และอาการของโรคจิตสอดคล้องกันหรือไม่ ประวัติการป่วยทางจิตในอดีต และการดำเนินโรคเป็นอย่างไร อุปนิสัยก่อนป่วยเป็นแบบไหน มีประวัติสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคจิตเวชประเภทใด (โรคจิตเภท หรือโรคทางอารมณ์) ซึ่งจะต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด ที่บางครั้งก็ทำได้ยากเพราะผู้ป่วยและครอบครัวอาจไม่สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องนัก คำพูด ที่ว่า “เมื่อป่วยเป็นโรคจิตเภทแล้วจะเป็นโรคจิตเภทเสมอ” (Once a schizophrenic always a schizo-phrenic) จึงไม่ถูกต้องเสมอไป

การที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งนั้นอาจอธิบายได้ดังนี้

1. วินิจฉัยผิดตั้งแต่แรก เนื่องจากยังไม่มี “gold standard” ของการวินิจฉัยทางจิตเวช24 ทั้งที่โอกาสจะป่วยเป็นโรคทางอารมณ์มีมากกว่า เพราะมีความชุกสูงถึงร้อยละ 5-20 ในขณะที่โรคจิตเภทมีเพียงร้อยละ 1

2. เกณฑ์การวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้องเปลี่ยนการวินิจฉัยโรคตามการทบทวน (revise) หลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันซึ่งทบทวนหลักเกณฑ์ใหม่ทุกๆ 5-10 ปี โดยประมาณ

3. โรคเดิมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกโรคหนึ่ง (natural progression)

4. มีโรคใหม่มาเพิ่ม (co-morbidity)

5. เป็นผลจากการรักษา (เมื่อควบคุมอาการหนึ่งได้ก็เปลี่ยนไปเป็นอีกอาการ)

6. บุคลิกภาพของผู้ป่วยทำให้อาการคลุมเครือไม่เด่นชัด

7. อาการเปลี่ยนแปลงไปจริง ๆ

8. แพทย์ผู้ให้การวินิจฉัยมีมุมมองต่างกัน จึงให้การวินิจฉัยที่แตกต่างกันไป

9. อิทธิพลจากวิธีการรักษา เช่น มียาขนานใหม่ ๆ มาใช้รักษา

10. ความชุก (prevalence) ของโรคจิตเภทลดลงจริงๆ25 จากการวิจัยในไอร์แลนด์ในช่วง 50 ปี พบว่า อัตราความชุกของโรคลดเหลือ 4.6 ต่อ 1,000 คน โดยลดร้อยละ 19 ในผู้ชาย (ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) แต่ลดถึงร้อยละ 56 ในผู้หญิง (p = 0.04) ในขณะเดียวกันอัตราของโรคทางอารมณ์ก็เพิ่มขึ้นจริง จากการศึกษาในอเมริกาพบว่า อายุที่เริ่มป่วยลดต่ำลง เด็กและวัยรุ่นมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้น26

11. อิทธิพลขององค์กรที่สาม เช่น บริษัทประกันสุขภาพที่อาจปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาหากวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท

อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ก็มีข้อจำกัดบางประการ เพราะไม่ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคของจิตแพทย์ในแต่ละสถาบัน รวมทั้งไม่ได้ติดตามรายละเอียดลงไปในผู้ป่วยแต่ละรายที่เคยได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นโรคจิตเภท หรือโรคทางอารมณ์ ว่าเมื่อเวลาผ่านไปจิตแพทย์ยังคงยืนยันการวินิจฉัยเดิมหรือเปลี่ยนการวินิจฉัยใหม่ จึงควรจะได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้กันต่อไป

สรุป

การวินิจฉัยแยกโรคจิตเภทกับโรคทางอารมณ์มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากมีการรักษาและการพยากรณ์โรคที่ต่างกัน จากการศึกษานี้ พบว่า แนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภท และโรคทางอารมณ์ในประเทศไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับต่างประเทศ กล่าวคือ อัตราการวินิจฉัยโรคทางอารมณ์ มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่โรคจิตเภทเองมีแนวโน้มการวินิจฉัยคงที่ หรือค่อนข้างไปทางลดลง ซึ่งน่าจะศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป โรคจิตเภท และโรคทางอารมณ์ มีลักษณะบางอย่างคล้าย กันมาก จึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะการวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน จิตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงควรตระหนักถึงความเป็นไปได้ว่า ในระยะยาวผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคทางอารมณ์ได้มากกว่าโรคจิตเภท อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยจิตเภท มีโรคซึมเศร้าร่วมด้วย จะมีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตาย จึงควรรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากการฆ่าตัวตายและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย และครอบครัวอีกด้วย

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณคุณจำนรรจา บำเน็จพันธ์ พยาบาลวิชาชีพ 7 งานการพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ที่ช่วยจัดหาข้อมูลของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา และจากศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 เอกสารอ้างอิง

    1. นันทิกา ทวิชาชาติ. กรมสุขภาพจิตและสำนักอนามัย กรุงเทพฯ รายงานการวิจัย เรื่องการสำรวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตและความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, 2540.
    2. Stoll AL, Tohen M, Baldessarini RJ, et al. Shift diagnostic frequencies of schizophrenia and major affective disorders at six north American psychiatric hospitals, 1972 - 1988. Am J Psychiatry 1993 ; 150 : 1668-73.
    3. Kessler RC, McGonagle KA, Nelson CB, et al. Lifetime and 12-month prevalence of DSM-III R psychiatric disorders in the United States. Arch Gen Psychiatry 1994 ; 51 : 8-19.
    4. The WHOQOL Group. The World Health Organization Quality of Life Assessment ( WHOQOL ): Position paper from the World Health Organization. Soc Sci Med 1995 ; 41 : 1403-9.
    5. Andreasen NC. Symptoms, signs, and diagnosis of schizophrenia. Lancet 1995, 346 : 477-81.
    6. Kaplan HI, Sadock BJ, Grebb JA, eds. Synopsis of psychiatry : behavioral sciences, clinical psychiatry. 8th ed. Baltimore : Williams & Wilkins, 1998:456-580.
    7. Tsuang MT, Farone SV. The case for heterogeneity in the etiology of schizophrenia. Schizophr Res 1995 ; 17 : 161-75.
    8. Chen RY, Swann AC, Burt DB. Stability of diagnosis in schizophrenia. Am J Psychiatry 1996 ; 153 : 682-6.
    9. Fennig S, Kovasznay B, Rich C, et al. Six-month stability of psychiatric diagnoses in first-admission patients with psychosis. Am J Psychiatry 1994;151 : 1200 - 8.
    10. Andreasen NC, Arndt S, Alliger R, et al. Symptoms of schizophrenia, methods, meanings and mechanisms. Arch Gen Psychiatry 1995 ; 52 : 341-51.
    11. Fenton WS, McGlashan TH. Antecedents, symptom progression, and long-term outcome of the deficit syndrome in schizophrenia. Am J Psychiatry 1994 ; 151: 351-6.
    12. Gitlin MJ, Swendsen J, Heller TL, et al. Relapse and impairment in bipolar disorder. Am J Psychiatry 1995 ; 152 : 1635-40.
    13. Honer WG , Smith GN , MacEwan GW, et al. Diagnostic reassesment and treatment response in schizophrenia. J Clin Psychiatry 1994 ; 55 : 528-32.
    14. Maziade M, Roy MA, Martinez M, et al. Negative, psychoticism, and disorganized dimensions in patients with familial schizophrenia or bipolar disorder : continuity and discontinuity between the major psychoses. Am J Psychiatry 1995 ; 152 : 1458-63.
    15. Vocisano C, Kien DN, Keefe RSE, et al. Demographics, family history, premorbid functioning, developmental characteristics and course of patients with deteriorated affective disorders. Am J Psychiatry 1996 ; 153 : 248-55.
    16. ณรงค์ สุภัทรพันธุ์, โกวิทย์ นพพร. รายงานผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคจิตเภทที่ตอบสนองการรักษาด้วยยาแก้เศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2528 ; 30 :5-12.
    17. Leff J. Depressive symptoms in the course of schizophrenia. In: Delisi LE, ed. Depression in schizophrenia. Washington,DC : American Psychiatric Press, 1990:179-87.
    18. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 4th ed. Washington, DC : American Psychiatric Association, 1994:273-392.
    19. Stahl SM. The neurotransmitter balance theory of biopsychopathology. J Clin Psychiatry 1996 ; 57 (suppl 8) : 15.
    20. Selten JP, Gernaat HB, Nolen WA, et al. Experiences of negative symptoms : comparison of schizophrenic patients with a depressive disorder and to normal subjects . Am J Psychiatry 1998 ; 155 : 350-4.
    21. Dilsaver SC, Chen YW, Swann AC, et al. Suicidality in patients with pure and depressive mania. Am J Psychiatry 1994 ; 151 : 1312-5.
    22. Taylor MA, Barenbaum SA, Jampala VC, et al. Are schizophrenia and affective disorder related? Preliminary data from a family study. Am J Psychiatry 1993 ; 150 : 278-85.
    23. Crow TJ. The question of a genetic continuum for schizophrenia and affective disorder. In : Delisi LE, ed. Depression in schizophrenia. Washington, DC : American Psychiatric Press, 1990:275-84.
    24. Faraone SV, Tsuang MT. Measuring diagnostic accuracy in the absence of a “gold standard”. Am J Psychiatry 1994 ; 151 : 650-7.
    25. Waddington JL, Youssef HA. Evidence for a gender specific decline in the rate of schizophrenia in rural Ireland over a 50-year period. Br J Psychiatry 1994 ; 164 : 171-6.
    26. Birmaher B, Ryan ND, Williamson DE, et al. Childhood and adolescent depression : a review of the past 10 years. Part I. J Am Acad Child Adolescenc Psychiatry 1996 ; 35, 1427-39.
    27. Kaplan HI, Sadock BJ. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed. Baltimore :Williams & Wilkins, 1995 ; 1430.
Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us