เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand

การนำผู้ป่วยจิตเภทไปรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านก่อนมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น*

พินลดา มุลาลี ป. ผดุงครรภ์และอนามัย**
เสงี่ยม สารบัณฑิตกุล ศศ.บ. (พยาบาล)**
ทัศนีย์ ศิริมุกดากุล ป.สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช**
ธนาพร อรุณเกียรติกุล ป. พยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง**
นเรศร์ มุลาลี วท.ม.***

Traditional Treatment Experienced by Schizophrenic Patients and Relatives Prior to Medical Treatment in Khon Kaen Neuropsychiatric Hospital

Pinlada Mularlee, P.N.*
Sangiam Sarapanditkul, R.N. *
Tassanee Sirimukdakul, R.N. *
Thanaporn Arunkiatkul, R.N. *
Nareit Mularlee, M.Sc. **

Abstract

Four hundred newly-treated schizophrenic patients were studied at Khon Kaen Neuropsychiatric Hospital in the 1995 fiscal year. Based on the obtained results, demographic data were similar to those of other studies, Three hundred and thirty cases (82.50 %) had been previously treated by superstitious healing. Other factors discussed were the delay prior to medical treatment, the outcome of healings and other costs.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999;44(2): 80-89.

Key words : help seeking, traditional healing, schizophrenia, culure

Khon Kaen Neuropsychiatric Hospital, Khon Kaen 40000

** Department of Biology, Faculty of Science, Khon Kaen University, Khon Kaen 40000

บทคัดย่อ

ได้ศึกษาผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 400 ราย ที่มารับการรักษาครั้งแรกที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2538 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรของผู้ป่วยไม่แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทในการศึกษาอื่นๆ ผู้ป่วย 330 ราย (ร้อยละ 82.50) เคยไปรับการรักษาทางไสยศาสตร์มาก่อน คณะผู้วิจัยได้นำเสนอถึงความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ค่าดำเนินการรักษาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนถึงผลของการรักษาโดยวิธีพื้นบ้าน

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542;44(2): 80-89.

คำสำคัญ การแสวงหาการรักษา การรักษาโดยวิธีพื้นบ้าน โรคจิตเภท วัฒนธรรม

* ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประเภททั่วไป ปีงบประมาณ 2538 จากสภาวิจัยแห่งชาติ

** โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ถ.ชาตะผดุง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

*** ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

บทนำ

โรคจิตเภทเป็นโรคที่พบได้ในทุกสังคม และวัฒนธรรม1 สำหรับที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นพบว่า ในปีงบประมาณ 2536 นั้น มีผู้ป่วยจิตเภทมารับบริการ 22,081 ราย จากจำนวนผู้ป่วยนอก 87,957 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 25.1 ของจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด การเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทแต่ละครั้งมักทำให้สมรรถภาพในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเสื่อมลง (deterioration of function)2 ดังนั้นโรคจิตเภทจึงเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก การวินิจฉัยโรคให้ได้เร็วที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ช่วยลดช่วงเวลาของการเป็นโรคจิต ป้องกันการเสื่อมลงของบุคลิกภาพ และไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น3

ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนอีสานเปลี่ยนแปลงไปมาก สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกิดภาวะแล้งซ้ำซากประกอบกับความยากจนทำให้ประชากรในวัยทำงานทิ้งถิ่นไปรับจ้างในที่อื่น โครงสร้างของครอบครัวก็เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้บทบาทและความสำคัญของระบบเครือญาติลดลง การอบรมเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งมากขึ้น4 ยาเสพย์ติดแพร่เข้ามาสู่วัยรุ่นมากขึ้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วน ทำให้เกิดความเครียด และอาจมีผลต่อการแสดงออก และความรุนแรงของโรคจิตเภท

เนื่องจากผู้ป่วยจิตเภทมักจะเสียความสามารถในการรู้จักตนเอง (insight) ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจก็คือก่อนที่ญาติจะพามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยได้ไปรักษาที่ใดมาก่อนหรือมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง คณะผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของญาติในการนำผู้ป่วยโรคจิตมารักษา พบว่า บางครั้งผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลก็ต่อเมื่ออาการค่อนข้างรุนแรงแล้ว และบางครั้งทั้ง ๆ ที่ยากจน แต่กลับมีเพื่อนบ้านและญาติตามผู้ป่วยมาเป็นจำนวนมาก เมื่อสอบถามดูได้รับคำตอบว่าเป็นจารีตประเพณีท้องถิ่น เมื่อมีความเจ็บป่วยญาติ ๆ ต้องมาให้กำลังใจและครอบครัวของผู้ป่วยจะต้องจัดหาอาหารมาเลี้ยงดู

จากการศึกษาวิจัยกลุ่มญาติผู้ป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผู้ป่วยโรคจิตที่มีอาการรุนแรงร้อยละ 40 นั้นมักจะถูกพาไปรักษาทางไสยศาสตร์มาก่อนที่จะมารักษาที่โรงพยาบาล5 ซึ่งเป็นความเชื่อถือสืบเนื่องมา จนกลายเป็นวัฒนธรรมของคนอีสาน ทำให้ สิ้นเปลืองเงินทอง และอาจทำให้อาการทางจิตกำเริบมากยิ่งขึ้น

คณะผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาบ้างว่าผู้ป่วยจิตเภทที่มารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นนั้นได้เคยไปรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านมาก่อนมากน้อยเพียงใด และต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เท่าใด

วัสดุและวิธีการ

กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภท ที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538 ถึง 30 กันยายน 2539 จากจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการตรวจครั้งแรกทั้งสิ้น 13,587 ราย แพทย์วินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคจิตเภท 1,380 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างมาจำนวน 400 ราย (ร้อยละ 28.98) โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้ป่วยสามารถตอบคำถามได้เอง 5 ราย และญาติเป็นผู้ตอบ 395 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์

ผลการศึกษา

ผู้ป่วย 400 ราย เป็นชาย 310 ราย และหญิง 90 ราย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพสมรสเป็นโสด 255 ราย การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 281 ราย อาชีพทำนา และรับจ้างใกล้เคียงกันคือ 172 ราย และ 157 ราย ภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น 258 ราย ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ลักษณะประชากร (Demographic data) ของผู้ป่วย

ลักษณะ

จำนวน

ร้อยละ

หมายเหตุ

เพศ

ชาย

310

77.50

 
 

หญิง

90

22.50

 

อายุ

10-19

67

16.75

X = 27.38 ปี, sx = 9.33 ปี

 

20-29

217

54.25

 
 

30-39

75

18.75

 
 

40-49

28

7.00

 
 

50-59

9

2.25

 
 

60-69

4

1.00

 

สถานภาพสมรส

     
 

โสด

255

63.75

 
 

คู่

108

27.00

 
 

หม้าย,หย่า,ร้าง

37

9.25

 

การศึกษา

     
 

ประถมศึกษา

281

70.25

 
 

มัธยมศึกษา

100

25.00

 
 

วิชาชีพ

13

3.25

 
 

อุดมศึกษา

6

1.50

 

อาชีพ

ทำนา

172

43.00

รายได้/ปี
 

ค้าขาย

15

3.75

10,188,980 บาท/ 400 ราย
 

รับจ้าง

157

39.25

เฉลี่ยรายละ 25,472.45 บาท/ปี
 

ข้าราชการ

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

2

0.50

 
 

นักเรียน นักศึกษา,

นักบวชอื่น ๆ

26

6.50

 
 

ทำงานบ้าน ว่างงาน

28

7.00

 

ภูมิลำเนา

    เขตรับผิดชอบของ
 

ในเขตรับผิดชอบ

258

64.50

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
 

นอกเขตรับผิดชอบ

142

35.50

มี 7 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี

กาฬสินธุ์ หนองคาย เลย สกลนคร และหนองบัวลำภู

พบว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคตาม ICD 10 อยู่ในรหัส F 20.9 มากที่สุด 7291 ราย (ร้อยละ 72.75) รองลงมาอยู่ในรหัส F 20.0 จำนวน 84 ราย (ร้อยละ 21.00) และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง กลุ่มผู้ป่วยเพศหญิงและเพศชายเมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโรคตาม ICD 10 ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามการวินิจฉัยโรคตาม ICD 10 และเพศ

รหัสโรค

ชื่อโรค

เพศ

รวม

ร้อยละ

หมายเหตุ

   

ชาย

หญิง

     

F 20.0

Paranoid schizophrenia

75

9

84

21.00

รับไว้รักษาใน

F20.1

Hebephrenic schizophrenia

12

3

15

3.75

โรงพยาบาล

F20.2

Catatonic schizophrenia

3

4

7

1.75

61 ราย

F20.3

Undifferentiated schizophrenia

1

1

2

0.50

(ร้อยละ 15.25)

F20.5

Residual schizophrenia

1

-

1

0.25

 

F20.9

Schizophrenia , unspecified

218

73

291

72.75

 

รวม

 

310

90

400

100

 

c 2 = 13.81* , df = 5,1 0.05 < p < 0.01

ตารางที่ 3 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตาม ผู้สังเกตพบอาการทางจิตครั้งแรก

ลำดับที่

ผู้พบผู้ป่วยมีอาการทางจิตครั้งแรก

จำนวน

ร้อยละ

1

ผู้ป่วยเอง

18

4.50

2

สามี / ภรรยา / บุตร

72

18.00

3

บิดา / มารดา / พี่ / น้อง

236

59.00

4

ปู่ย่า / ตายาย / ลุงป้า / น้าอา

27

6.75

5

บุคคลอื่น ๆ

47

11.75

 

รวม

400

100.00

 

จากตารางที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยที่ศึกษาจำนวน 400 ราย มีบิดา / มารดา /พี่ / น้อง เป็นบุคคลแรกที่สังเกตพบว่า ผู้ป่วยมีอาการทางจิต 236 ราย (ร้อยละ 59) รองลงมา เป็นสามี / ภรรยา / บุตร 72 ราย (ร้อยละ 18)

ตารางที่ 4 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามระยะเวลาในการตัดสินใจรักษาเป็นครั้งแรกที่พบว่า

ผู้ป่วยเป็นโรคจิต สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยรับการรักษามาก่อน

 

ระยะเวลาตัดสินใจ

   

ประเภทของการรักษา

ภายใน 30 วัน

มากกว่า 30 วัน

รวม

หมายเหตุ

1. แพทย์แผนปัจจุบัน

10

6

16

มีผู้ป่วยที่ไม่เคย

2. ทางไสยศาสตร์

154

199

353

รับการรักษาที่อื่นมาก่อน

ร้อยละ

44.44

55.56

100

เลยจำนวน 31 ราย

รวม

164

205

369

 
c 2 = 2.218ns. , df 1,1 0.25 < p < 0.05

จากตารางที่ 4 พบว่า ระยะเวลาที่ญาติตัดสินใจพาผู้ป่วยรักษาเกินกว่า 1 เดือน มีจำนวน 205 ราย (ร้อยละ 55.56) ภายใน 1 เดือน จำนวน 164 ราย (ร้อยละ 44.44) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างการตัดสินใจดำเนินการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันกับทางไสยศาสตร์

ตารางที่ 5 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามเพศและพฤติกรรมของการรักษาครั้งแรก เมื่อรู้ว่าป่วย

เป็นโรคจิตเภท

จำแนกการรักษา

เพศ

รวม

ร้อยละ

หมายเหตุ

 

ชาย

ร้อยละ

หญิง

ร้อยละ

     

แพทย์แผนปัจจุบัน

           

(1) ผู้ป่วยที่ไม่เคยรักษา

1) โรงพยาบาลจิตเวช

6

1.50

1

0.25

7

1.75

มาเลย มีจำนวน 31 ราย

2) โรงพยาบาลทั่วไป

3

0.75

1

0.25

4

1.00

(ร้อยละ 7.75)

3) แพทย์คลินิก

3

0.75

-

-

3

0.75

(2) ผู้ป่วยที่เคยรักษามา

4) สถานีอนามัย/กอง

ทุนยา

2

0.50

-

-

2

0.50

1 แห่ง จำนวน 91 ราย (ร้อยละ 22.75)

5) อื่น ๆ

-

-

-

-

-

-

(3) ผู้ป่วยที่เคยรักษามา

รวม

14

3.50

2

0.50

16

4.00

มากกว่า 1 แห่ง จำนวน

ทางไสยศาสตร์

           

278 ราย (ร้อยละ 69.50)

1) หมอลำผีฟ้า

12

3.00

2

0.50

14

3.50

(4) เฉลี่ยจำนวนครั้งที่

2) คนทรงเจ้า

52

13.00

22

5.50

74

18.50

ไปรักษาจากข้อ 3 เท่ากับ 1.79 แห่ง/ราย

3) ทำพิธีสะเดาะเคราะห์

8

2.00

2

0.50

10

2.50

(497 แห่ง/278 ราย)

4) หมอผีเอาผีออก

5

1.25

2

0.50

7

1.75

 

5) หมอไสยศาสตร์

9

2.25

8

2.00

17

4.25

 

6) หมอพระ

73

18.25

20

5.00

93

23.25

 

7) พระภิกษุรดน้ำมนต์

38

9.50

12

3.00

50

12.50

 

8) หมอดู

15

3.75

3

0.75

18

4.50

 

9) หมอธรรม

29

7.25

16

4.00

45

11.25

 

10) อื่นๆ นั่งสมาธิ, ล้างบาป

2

0.50

-

-

2

0.50

 

รวม

243

60.75

87

21.75

330

82.50

 

โดยวิธีอื่น ๆ

             

1) หมอเถื่อน

5

1.25

-

-

5

1.25

 

2) ซื้อยาแผนปัจจุบัน

14

3.50

-

-

14

3.50

 

3) กินยาสมุนไพร

3

0.75

-

-

3

0.75

 
4) กินยาจิตเวชจากเพื่อนบ้าน

1

0.25

-

-

1

0.25

 

รวม

23

5.75

-

-

23

5.75

 

ไม่เคยไปรักษาเลย

30

7.50

1

0.25

31

7.75

 

รวมทั้งสิ้น

310

77.50

90

22.50

400

100

 

จากตารางที่ 5 แสดงพฤติกรรมของญาติในการนำผู้ป่วยไปรักษาครั้งแรก เมื่อรู้ว่าป่วยด้วยโรคจิต พบว่า รักษาทางไสยศาสตร์มากที่สุดจำนวน 330 ราย (ร้อยละ 82.50) ไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน 16 ราย (ร้อยละ 4.00) รักษาโดยวิธีอื่น ๆ 23 ราย (ร้อยละ 5.75) และไม่เคยรักษาที่อื่นมาก่อนเลย 31 ราย (ร้อยละ 7.75) เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินการรักษาแบบต่าง ๆ กับเพศของผู้ป่วย พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (c 2 = 16.90** , df 3,1 p < 0.001) แต่พฤติกรรมการรักษาทางไสยศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (c 2 = 10.24ns. ,df 9,1 0.50 < p < 0.30)

ตารางที่ 6 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยจำแนกตามความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาล

ประเภท

จำนวน

ร้อยละ

หมายเหตุ

1. มีปัญหาด้านการเงิน

56

14.00

มีปัญหาด้านการเงินในข้อ 1 นั้น
2. การคมนาคมไม่สะดวก

-

-

จำแนกได้ดังนี้
3. ต้องทำนา ทำไร่ ทำสวนก่อน

34

8.50

1)ยืมเงินดอกเบี้ย 41 ราย = 63,700 บาท
4. มีปัญหาด้านความรู้

13

3.25

เฉลี่ยต่อราย = 1,553.65 บาท
5. อื่น ๆ แบ่งเป็น

266

66.50

2)ขายบ้าน 3 ราย = 180,000 บาท
5.1 รอผลการรักษาจากแพทย์ทั่วไป

16

4.00

เฉลี่ยต่อราย = 60,000 บาท
5.2 รอผลรักษาทางไสยศาสตร์

128

32.00

3)ขายข้าว 3 ราย = 3,000 บาท
5.3 ญาติทิ้ง

76

19.00

เฉลี่ยต่อราย = 1,000 บาท
5.4 รอญาติพี่น้อง

21

5.25

4)ขายควาย 1 ราย = 8,000 บาท
5.5 รอผลการรักษาด้วยยาสมุนไพร

23

5.75

5)ขายทองและรถมอเตอร์ไซค์1 ราย = 12,000 บาท
5.6 รอผลจากการรักษาตนเองด้วย

พลังจิตและสมาธิ

2

0.50

6)ขายนา 1 ราย = 50,000 บาท
6. ไม่เคยรักษามาเลย

31

7.75

7)รอเงินค่าจ้าง 6 ราย = 9,000 บาท
เฉลี่ยต่อราย = 1,500 บาท

รวม

400

100

รวม 56 ราย = 325,700 บาท

เฉลี่ยต่อราย = 5,816.07 บาท

จากตารางที่ 6 พบว่า ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช มีสาเหตุมาจากรอผลการรักษาทางไสยศาสตร์มากที่สุด 128 ราย (ร้อยละ 32) รองลงมาคือ ถูกญาติทิ้งจำนวน 76 ราย (ร้อยละ 19) มีปัญหาทางด้านการเงิน 56 ราย (ร้อยละ 14) ต้องทำนา ทำไร่ ทำสวนก่อน 34 ราย (ร้อยละ 8.50) สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการเงินได้จำแนกไว้โดยละเอียด (ดูหมายเหตุตารางที่ 6) เช่น มีการยืมเงิน ขายบ้าน ขายนา ขายควาย เพื่อนำเงินมาใช้สอยในการนำผู้ป่วยมารับการรักษา โดยเฉลี่ยพบว่ามีปัญหาทางการเงินอยู่ เท่ากับ 5,816.07 บาทต่อราย

ตารางที่ 7 อาการของผู้ป่วยหลังการรักษาทางไสยศาสตร์หรือโดยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิธีการทางการ

แพทย์แผนปัจจุบัน

อาการหลังรักษา

จำนวน

(ราย)

ร้อยละ

หมายเหตุ

1. อาการของโรครุนแรงขึ้น

15

4.25

ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการรักษาจำแนกได้ดังนี้
2. ไม่ได้ผล

146

41.36

1) บาดเจ็บบริเวณศีรษะจากมีด 1 ราย
3. ดีขึ้นบ้าง

164

46.46

2) บาดเจ็บบริเวณลำตัวจากแส้ 1 ราย
4. ได้รับบาดเจ็บจากการรักษา

13

3.68

3) รอยช้ำจากแส้และรอยมีดจี้ 8 ราย
5. อื่น ๆ

15

4.25

4) รอยเขียวช้ำจากรอยหนีบด้วยคีมเหล็ก
รวม

353

100

3 ราย

จากตารางที่ 7 พบว่า หลังจากได้รับการรักษาทางไสยศาสตร์หรือโดยวิธีอื่น ๆ แล้ว ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นบ้าง กับไม่ได้ผลเลย สัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ 164 ราย (ร้อยละ 46.46) และ 146 ราย (ร้อยละ 41.36) และมีผู้ป่วยจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 3.68) ได้รับบาดเจ็บจากการรักษาดังกล่าว ซึ่งรายละเอียดได้จำแนกไว้ในหมายเหตุตารางที่ 7

ตารางที่ 8 จำแนกผู้ป่วยตามค่าใช้จ่าย และค่ารักษาตามวิธีการรักษาชนิดต่าง ๆ

ประเภทของการรักษาและค่าใช้จ่าย

จำนวน (ราย)

จำนวนเงิน

(บาท)

ร้อยละ

จำนวนครั้ง

ค่าเฉลี่ย

บาท/ครั้ง

1. แพทย์แผนปัจจุบัน

1) ค่ายา

2) ค่าเดินทางแยกเป็น

2.1 ค่าเหมารถ

2.2 ค่ารถประจำทาง

2.3 ค่ารถส่วนตัว

16

7

9

-

 

25,480

1,750

430

-

 

92.12

6.33

1.55

-

90

7

9

-

 

 

283.11

250.00

47.78

-

 
รวม

16

 

27,660

 

100

106

  1,728.75

บาท/ราย

2. ทางไสยศาสตร์

1) ค่ายา

2) ค่าเดินทางแยกเป็น

2.1 ค่าเหมารถ

2.2 ค่ารถประจำทาง

2.3 ค่ารถส่วนตัว

330

107

185

38

 

143,886

63,980

6,430

8,965

 

64.45

28.66

2.88

4.01

650

107

201

55

 

221.36

597.94

31.99

163.00

 
รวม

330

 

223,261

 

100

1,013

  676.55

บาท/ราย

3. โดยวิธีอื่น ๆ

23

 

18,560

 

-

60

  806.96

บาท/ราย

4. ไม่เคยรักษาเลย

31

 

-

 

-

-

     
รวมทั้งหมด

400

               

จากตารางที่ 8 พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับแพทย์แผนปัจจุบันสูงที่สุดเฉลี่ยรายละ 1,728.75 บาท โดยวิธีอื่นๆ 806.96 บาทและทางไสยศาสตร์ถูกที่สุดคือรายละ 676.55 บาท ทั้งนี้รวมทั้งค่าเดินทางในการไปรักษาด้วย

ตารางที่ 9 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามสาเหตุที่นำผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

สาเหตุ

จำนวน

ร้อยละ

1) รักษาที่อื่นแล้วไม่ได้ผล

2) รู้ว่าถูกหลอก

3) ผู้ป่วยต้องการมาเอง

4) แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ส่งมา

5) ได้รับรู้ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์

6) มีผู้แนะนำมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช

101

6

10

16

2

265

25.25

1.50

2.50

4.00

0.50

66.25

รวม

400

100

จากตารางที่ 9 พบว่า สาเหตุที่นำผู้ป่วยมารักษา ที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นมากที่สุด คือ มีผู้แนะนำมาจำนวน 265 ราย (ร้อยละ 66.25) รักษาที่อื่นแล้วไม่ได้ผลจำนวน 101 ราย (ร้อยละ 25.25) และแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ส่งมา 16 ราย (ร้อยละ 4.00)

ตารางที่ 10 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามจำนวนญาติที่ตามผู้ป่วยมาโรงพยาบาล

 

จำนวนญาติที่มาด้วยและความถี่ในแต่ละราย

 
จำนวนญาติ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

รวม

ความถี่

2

71

91

50

55

57

31

18

11

6

4

-

1

-

2

-

-

-

-

1

400

 

sum = 1,861, mean = 4.65, SX = 2.42

 

จากตารางที่ 10 พบว่าญาติที่ตามผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น เฉลี่ย 4.65 คน

ต่อผู้ป่วยหนึ่งราย มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 2.42

ตารางที่ 11 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามจำนวนเพื่อนบ้านที่ตามผู้ป่วยมาโรงพยาบาล

 

จำนวนเพื่อนบ้านที่ตามผู้ป่วยมาด้วย และความถี่ในแต่ละราย

 
จำนวนเพื่อนบ้าน

1

2

3

4

5

6

7

8

9

รวม

ความถี่

59

46

29

17

10

3

3

-

1

168

 

sum = 404, mean = 2.40, SX = 1.53

 

จากตารางที่ 11 พบว่า นอกจากผู้ป่วยจะมีญาติตามมาด้วยแล้วยังมีเพื่อนบ้านตามมาด้วย 168 คน (ร้อยละ 42) มีจำนวนญาติที่ตามมา 1 ถึง 9 คน โดยมีค่าเฉลี่ย 2.40 คนต่อผู้ป่วยหนึ่งรายมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.53

ตารางที่ 12 กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย จำแนกตามค่าใช้จ่ายในการมาโรงพยาบาลครั้งนี้

ประเภทค่าใช้จ่าย จำนวน จำนวนเงิน ค่าเฉลี่ย

(ราย) (บาท) ครั้ง/บาท

1) ค่ายาค่ารักษาที่จ่ายให้โรงพยาบาล 364 62 ,129 170.68

2) โรงพยาบาลสงเคราะห์ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล 36 9,391 260.86

รวมค่ายา ค่ารักษาพยาบาล 400 71,520 178.80

3) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

(ค่าเช่าเหมารถ, อาหารให้ญาติและ

เพื่อนบ้าน) 400 226,435 566.09

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 400 297,955 744.89

จากตารางที่ 12 พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อรายในการรักษาพยาบาลครั้งนี้เท่ากับ 744.89 บาท จำแนกออกเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าเหมารถ ค่าอาหาร ฯลฯ 566.09 บาท (ร้อยละ 76) ส่วนที่เป็นค่ายา ค่าตรวจ ค่ารักษา ซึ่งทางโรงพยาบาลคิดเงิน เฉลี่ยเพียงรายละ 178.80 บาท (ร้อยละ 24) ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้ป่วยบางรายได้รับการสงเคราะห์จากโรงพยาบาล สัดส่วนของค่าใช้จ่าย ค่ายาต่อค่าใช้จ่ายอื่นเท่ากับ 1 : 4.17

วิจารณ์

การวิจัยครั้งนี้ได้ผลสอดคล้องกับ Kleinman6 ซึ่งให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพของบุคคลในแต่ละสังคมวัฒนธรรมว่าเป็นแบบ medical pluralism คือมีทั้งดูแลตนเอง ซื้อยากินเอง ไปหาหมอพื้นบ้านรักษาทางไสยศาสตร์ และไปหาแพทย์ สำหรับความคิดเรื่องสาเหตุที่เกิดโรคและพฤติกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยก็สอดคล้องกับ Clement และ River (อ้างตาม สุพล รุจิระพิพัฒน์และคณะ5, Foster และ Anderson7, รัชนีกร เศรษโฐ8) ที่เชื่อว่าไสยศาสตร์มีคู่กันมานานแล้วกับสังคมมนุษย์ การเลือกใช้วิธีการรักษาแบบใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาของกลุ่มชน ซึ่งมีวิธีการที่จะเอาอำนาจเหนือธรรมชาติมาบำบัดรักษา วิศักดิ์ ศาสตรา9 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไปรักษาทางไสยศาสตร์เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุพบมากระหว่าง 15 - 34 ปี สถานภาพสมรส อาชีพและภูมิลำเนาเดิมไม่มีความสัมพันธ์กับการไปรักษาทางไสยศาสตร์

แต่จากการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยพบพฤติกรรมการรักษาแบบต่าง ๆ 4 แบบ คือไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน ไปรักษาทางไสยศาสตร์ ไปรักษาแบบอื่น ๆ กับไม่เคยไปรับการรักษามาก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับเพศแล้วมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พฤติกรรมการรักษาทางไสย-ศาสตร์แบบต่าง ๆ 10 แบบนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับเพศแล้วไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานซึ่งได้สั่งสมมาเป็นเวลานานในการรักษาอาการป่วยทางจิต จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันนั้น กำลังถึงจุดเบี่ยงเบนอย่างสำคัญด้วยเหตุผลดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งเดิมเรียกเอาเป็นค่ายกครู เป็นเงินและสิ่งของเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ขันดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าขาว เหล้า 1 ขวด เงิน 6 บาท กลายเป็นเงินและสิ่งของจำนวนมากและจะต้องมาหลายครั้ง เมื่อรักษาหายแล้วก็ยังถือเอาบุญคุณ ซึ่งจะต้องให้ทรัพย์สินต่อผู้รักษาอีก น่าจะขัดกับเจตนารมณ์ดั้งเดิมซึ่งต้องการเพียงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้รักษา และให้ความมั่นใจต่อผู้ป่วยว่าได้รักษากับหมอที่เป็นผู้สืบทอดวิธีการมาจากครูบาอาจารย์ ในขณะเดียวกันหมอผู้รักษาก็ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนในท้องถิ่น และได้ค่าตอบแทนบ้างเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหมอบางรายกลับมีพฤติกรรมหลอกหลวงเอาทรัพย์สินกับผู้ป่วย เช่น พฤติกรรมในการยืดเวลา หรือรับเอาผู้ป่วยมารักษาอยู่ด้วยเป็นเวลานาน

2. วิธีที่หมอไสยศาสตร์ให้การรักษานั้นมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยหลายรายได้รับบาดเจ็บ ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้วิจัยเคยเห็นพิธีกรรมในการรักษา เพื่อให้ผีออกจากร่าง ในรายนั้นผู้ป่วยเป็นเด็กหญิงอายุประมาณ 15 ปี พยายามที่จะโผเข้าหาและกอดขาผู้ปกครองไว้ แต่ผู้ปกครองกลับผลักออกไปให้หมอผู้รักษาใช้แส้ตีอีกและถูกตีรุนแรงขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะส่งเสริมให้ความเจ็บป่วยทางจิตใจเพิ่มขึ้น (อ้างตามนงเยาว์ จุลชาติ)10

จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าเมื่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจะมีญาติและเพื่อนบ้านตามไปด้วยเป็นจำนวนมาก อาจอธิบายได้ว่าเนื่องจากลักษณะคนอีสานแต่เดิมนั้น เมื่ออพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน หากพบที่ใดที่อุดมสมบูรณ์ก็จะชักชวนกันมาเป็นหมู่คณะ และการไปด้วยกันถือเป็นการร่วมกันไปเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้ในอนาคต คนอีสานจึงมักไปเผชิญกับเหตุการณ์ข้างหน้าที่ตนเองไม่รู้โดยไปเป็นกลุ่มใหญ่ จึงทำให้การนำผู้ป่วยมารักษาจะต้องเหมารถมา มีญาติ มีเพื่อนบ้านตามมาเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไม่มีเงิน แต่ก็ต้องขายทรัพย์สิน หรือยืมเงินมา ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดการ “รอ” หรืออาจจะไปรักษาทางไสยศาสตร์ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าหรืออาจจะรอเงินจากลูกที่ไปรับจ้างอยู่ การวิจัยครั้งนี้พบพฤติกรรมรอผลการรักษาทางไสยศาสตร์อยู่ถึงร้อยละ 32

อย่างไรก็ตาม ลักษณะของคนอีสานดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลดีต่อจิตใจของผู้ป่วยด้วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ อบอุ่น เช่นเดียวกับพิธีกรรมการรักษาทางไสยศาสตร์ ที่ผู้ป่วยมีส่วนร่วมด้วย เช่น หมอลำผีฟ้า11

จากผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้คณะผู้วิจัยมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

1. ผู้ทำงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตควรศึกษาเรื่องการรักษาแบบพื้นบ้านและนำมา

พิจารณาในการให้คำแนะนำกับประชาชนว่าการรักษาชนิดใดอาจมีประโยชน์กับผู้ป่วย และชนิดใดที่อาจมีโทษ

2. การไปห้ามประชาชนไม่ให้เชื่อในการรักษาแบบพื้นบ้านนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะชี้แจงให้ผู้ป่วยมารักษาแบบแผนปัจจุบันตั้งแต่เริ่มแรกเลยได้

3. ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันแก่หมอผู้รักษาแบบพื้นบ้าน

เพื่อจะได้ช่วยแนะนำให้ญาติผู้ป่วยนำผู้ป่วยมารักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้เร็วขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1. Jablensky A . Multicultural studies and the nature of schizophrenia : A review . J Roy Soc Med 1987:80: 162-7.

2. American Psychiatric Association. Diagnotic and statistical manual of mental disorders. 3rd ed. revised. Washington, DC: American Psychiatric Association, 1987 : 187-98.

3. Strauss J , Carpenter W. Schizophrenia. New York : Plenum Press , 1981 : 137-61.

4. อุดม ลักษณวิจารณ์. ปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตและการเตรียมรับสถานการณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2524 ; 36 : 240 - 4.

5. สุพล รุจิระพิพัฒน์, บุญชัย นวมงคลวัฒนา, พิมพ์ทอง เจ็กจันทึก, รัตติยา ทองแสง, อัญชลี ศิลาเกษ. อิทธิพลความเชื่อในท้องถิ่นที่มีต่อบริการสุขภาพจิต. รายงานการวิจัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี. 2533:24-47.

6. Kleinman A. Patient and healer in the context of culture. London : London University Press, 1980: หน้า 1-8.

7. Foster MG, Anderson BG. Medical anthropalogy. New York : John Wiley, 1978 : 244–7.

8. รัชนีกร เศรษโฐ. โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชย์.

9. วิศักดิ์ ศาสตรา. ผู้ป่วยจิตเวชกับการรักษาทางไสยศาตร์. รายงานการวิจัยโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา. 2524.

10. นงเยาว์ จุลชาติ. ลักษณะบางประการของครอบครัวที่มีผลต่อการเจ็บป่วยทางจิต. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา 2537; 2 (2): 36-7.

11. กฤตยา แสวงเจริญ. การรักษาด้วยหมอลำผีฟ้า : แนวทางเลือกรักษาตนเองของคนไข้โรคจิต. วารสารโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น 2533; 4 (13) : 29-36.

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us