เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


การศึกษาเปรียบเทียบระดับ vigilance ของพยาบาล ที่ขึ้นปฏิบัติงานในผลัดต่างๆ ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์ พ.บ.*
วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ พ.บ.*

 The Comparison of Level of the Vigilance among Rotating Shift Working Nurses at Songklanagarind Hospital

Jarurin Pitanupong, M.D.*
Waran Tanchaiswat, M.D.

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับ vigilance ในพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในการปฏิบัติงานผลัดเช้า บ่าย และดึก ในช่วงเดือนตุลาคม 2539 จำนวน 16 คน โดยใช้เครื่องมือ Gordon Diagnostic System (GDS) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อวัดหาระดับการควบคุมความต้องการของตนเอง (impulse control) และสมาธิ (attention) ในผู้ป่วย Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) พบว่าพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 28.5 ปี อายุงานการพยาบาลเฉลี่ย 5.68 ปี เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ paired-t-test พบว่ามีเพียงผลัดดึกเท่านั้นที่มีความแตกต่างของระดับ vigilance ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงาน แต่เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance หลังปฏิบัติงานในผลัดต่างๆ โดยใช้ repeated measure ANOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนอายุและอายุงานการพยาบาลนั้นไม่สัมพันธ์กับระดับ vigilance

การศึกษาในระยะต่อไปควรมุ่งเน้นที่จะเปรียบเทียบถึงความแตกต่างในลักษณะการหมุนเวียนผลัดในแต่ละแบบ หรือการปฏิบัติงานในวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการปฏิบัติงานในแต่ละผลัด รวมทั้งศึกษาในกลุ่มงานการพยาบาลหอผู้ป่วยอื่นๆ ต่อไป

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(1): 12-8.

 คำสำคัญ vigilance การทำงานเป็นผลัด พยาบาล

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ สงขลา 90112

 Abstract

Objective To compare the level of the vigilance task among rotating shift working nurses that work in the male-medical ward.

Method The Gordon Diagnostic System (GDS) was used to  measure the vigilance task in all 16 nurses in October 1996.

Result All 16 nurses were female, their mean age was 28.5 years old and the mean duration of work experience was 5.68 years. When comparing the level of the vigilance task between beginning and finishing each rotation of shift work, it was found that only the night-shift work showed difference. The level of the vigilance task after each   rotation of shift work was not different. Age and duration of work experience had no effect on the level of vigilance.

Conclusion There are differences in the level of the vigilance task in medical nurses between beginning and finishing night shift work.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(1): 12-8.

 Key words : vigilance, rotation shift work, nurse

 * Department of Psychiatry, Songklanagarind hospital, Hadyai, Songkla, 90112

 บทนำ

จากข้อมูลการสำรวจคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 326 คน ในปี พ.ศ.2538 ด้วยแบบสอบถาม Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) ฉบับภาษาไทย พบว่าร้อยละ 73 ของพยาบาลประจำการมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนที่ไม่ดีในช่วง 1 เดือน สูงที่สุดคือ การทำงานเป็นผลัด และการมีเหตุการณ์ที่เป็นความเครียด โดยพยาบาลที่ทำงานในลักษณะเปลี่ยนผลัดไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มจะมีคุณภาพการนอนไม่ดี สูงกว่าพยาบาลที่ทำงานผลัดเช้าอย่างเดียวถึง 3.05 เท่า1 เช่นเดียวกับการศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่า พยาบาลที่ทำงานในลักษณะเปลี่ยนผลัดไปเรื่อยๆ หรือทำงานผลัดกลางคืนจะมีคุณภาพการนอนแย่กว่าพยาบาลที่ทำงานเฉพาะผลัดเช้าหรือผลัดบ่าย2,3,4 นอกจากนี้ยังพบว่าการทำงานเป็นผลัดมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวภาพ (circadian rhythm) และระบบสมดุลเลือด (hemostatic) ส่งผลให้เกิดภาวะง่วงนอน (sleepiness) ในช่วงระหว่างการทำงาน โดยพบว่าผู้ที่ทำงานเป็นผลัด โดยเฉพาะในผลัดกลางคืน อย่างน้อยร้อยละ 75 จะรู้สึกง่วงนอน และร้อยละ 15 นั้นมีอาการรุนแรงถึงขั้นงีบหลับในระหว่างการทำงาน5 เช่นเดียวกับการศึกษาในพนักงานอิเลคโทรนิค จำนวน 593 คน ที่พบว่าสัดส่วนของการงีบหลับมีมากที่สุดในพนักงานที่ทำงานในลักษณะเปลี่ยนผลัดไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงผลัดกลางคืน6 ซึ่งภาวะดังกล่าว เป็นผลให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อความผิดพลาด และเกิดอุบัติเหตุในการทำงานมากขึ้น5,7

นอกจากการทำงานการเป็นผลัดจะมีผลต่อสุขภาพการนอนแล้วนั้น ยังพบว่ามีผลรบกวนต่อความสามารถที่จะคงความสนใจในการทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ามีผลรบกวนต่อ vigilance หรือสมาธิ โดยการทำงานเป็นผลัด มีผลทำให้สมาธิและความตื่นตัวในการทำงานลดลง5,8 โดยเฉพาะในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา (intellectual task) และความกระตือรือร้นในการทำงาน9,10 นอกจากนี้พบว่าในการทำงานผลัดกลางคืน จะมีผลกระทบต่อความหยั่งรู้ทางปัญญา (cognition) และระบบการเคลื่อนไหว (psychomotor) โดยเฉพาะในช่วงท้ายของเวรมากกว่าเวรผลัดอื่นๆ11

เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในลักษณะสำรวจถึงสมาธิหรือความตื่นตัวในการทำงานที่ลดลงดังกล่าวในลักษณะของแบบสอบถาม (questionnaire) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นในลักษณะคำบอกเล่าของบุคคลนั้นๆ และยังไม่มีการศึกษาใดยืนยันชัดเจนว่า สมาธิหรือความตื่นตัวในการทำงานที่ลดลงดังกล่าวนั้นมีระดับความรุนแรงมากน้อยเพียงใด การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับสมาธิ หรือ vigilance ในพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายที่ปฏิบัติงานในผลัดต่างๆ โดยตั้งสมมติฐานไว้คือ vigilance task ในการปฏิบัติงานในผลัดต่างๆ ของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายนั้นไม่แตกต่างกัน

 วัสดุและวิธีการ

กลุ่มตัวอย่าง

ประชากรในการศึกษา คือ พยาบาลประจำการทุกคนที่ทำงานเป็นผลัดประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีประวัติการทำงานการพยาบาลในหอผู้ป่วยดังกล่าวอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 16 คน โดยศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2539

ในการศึกษานี้ เลือกศึกษาในพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย เนื่องจากตามลักษณะงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย เป็นลักษณะงานที่ต้องใช้ความตื่นตัว และความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาทั้งในการปฏิบัติงานผลัดเช้า บ่าย และดึก

เครื่องมือ

1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวัดระดับ vigilance หรือสมาธิ คือ Gordon Diagnostic System (GDS) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประมวลข้อมูลชนิดพกพาที่ประกอบไปด้วยกล่องที่มีปุ่มไว้สำหรับกด และจอแสดงตัวเลข โดยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้สร้างขึ้นเพื่อวัดหาระดับการควบคุมความต้องการของตนเอง (impulse control) และสมาธิ (attention) ในผู้ป่วย Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) ซึ่งได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน12,13,14

GDS นี้จะแบ่งลักษณะการใช้งานออกได้เป็น 2 ส่วน คือ งานในส่วน delay task และ vigilance task โดย delay task นั้น ผู้ทดสอบจะต้องอาศัยความสามารถในด้านการยับยั้งที่จะไม่กดปุ่มเครื่องมือเป็นระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ (6 วินาที) ส่วน vigilance task นั้น ผู้ทดสอบจะต้องกดปุ่มเครื่องมือทุกครั้งที่มีตัวเลขที่กำหนดไว้ขึ้นต่อเนื่องกัน (sequence number) ตัวอย่างเช่น กำหนดให้กดปุ่มทุกครั้งที่มีตัวเลข 9 ปรากฏที่หน้าจอตามหลังตัวเลข 1 ในการศึกษานี้จะเลือกใช้เฉพาะงานในส่วน adult vigilance task12,13,14

2. แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีคำถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง การพักผ่อนการงีบหลับหรือภาวะง่วงนอนในระหว่างการทำงาน รวมทั้งอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดในการทำงานตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา

วิธีการศึกษา

ในการศึกษาวัดระดับคะแนน vigilance task ของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายทุกคน ในการปฏิบัติงานเป็นผลัดทุกผลัด ที่เป็นผลัดแรกของการทำงานในผลัดนั้นๆ กล่าวคือ จะวัดระดับคะแนน vigilance task ในการทำงานครั้งแรกของผลัดเช้า บ่าย และดึก โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นการปฏิบัติงานเป็นผลัดที่ไม่ต่อเนื่องกัน และทุกคนจะได้รับการวัดระดับคะแนน vigilance task จนครบทั้งสามผลัด รวมเป็นจำนวนประชากรที่ศึกษาในแต่ละผลัด 16 คน การวัดระดับคะแนน vigilance task จะทำการวัดในช่วงครึ่งชั่วโมงก่อนขึ้น และหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในการทำงานผลัดนั้นๆ โดยจะใช้เวลาในการวัดระดับคะแนน vigilance task แต่ละครั้งประมาณ 9 นาที มีคะแนนเต็มของ vigilance task เท่ากับ 30 คะแนน

การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนน vigilance task โดย paired-t-test สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังปฏิบัติงานในผลัดนั้นๆ และ repeated measure ANOVA สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในการปฏิบัติงานระหว่างผลัดเช้า บ่าย และดึก

ผลการศึกษา

1. ลักษณะทั่วไป

กลุ่มประชากรที่ศึกษาทั้งหมด 16 คน เป็นพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายที่เป็นเพศหญิงทั้งหมด โดยมีอายุอยู่ในช่วง 24-33 ปี อายุเฉลี่ย 28.5 ปี (SD = 3.25) และอายุงานการพยาบาล ตั้งแต่ 2-10 ปี ค่าเฉลี่ย 5.68 ปี (SD = 3.22)

นอกจากนี้ยังพบว่าพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายทุกคนได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ก่อน

ปฏิบัติงานในผลัดนั้นๆ อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง มีเพียง 1 คนที่มีความรู้สึกง่วงนอน จนถึงขั้นงีบหลับใน

ระหว่างการปฏิบัติงานในช่วงดึก แต่ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดความผิดพลาดในการทำงานในผลัด

ดังกล่าว ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา

2. ระดับคะแนน vigilance task ในการปฏิบัติงานผลัดต่างๆ

ระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดต่างๆ รวมทั้ง

ค่าเฉลี่ยของคะแนนดังกล่าว มีดังตารางที่ 1

 ตารางที่ 1 คะแนน vigilance task ในเวรผลัดต่างๆ

ผลัดการทำงาน

คะแนน vigilance task

   

ค่าเฉลี่ย (mean)

SD

ผลัดเช้า

 

ผลัดบ่าย

 

ผลัดดึก

ก่อนปฏิบัติงาน

หลังปฏิบัติงาน

ก่อนปฏิบัติงาน

หลังปฏิบัติงาน

ก่อนปฏิบัติงาน

หลังปฏิบัติงาน

29.69

29.88

29.81

29.81

29.25

28.81

0.70

0.34

0.40

0.40

1.24

0.40

 3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนน vigilance task

3.1 เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานแต่ละผลัด โดยใช้ paired-t-test พบว่า

ระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดเช้า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (t = -1.86, p = 0.08)

ระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดบ่ายนั้นไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ย (mean) ของระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานเท่ากันคือ 29.81, SD = 0.40

ระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดดึก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (t = -2.52, p = 0.02)

3.2 เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับ vigilance task ในการทำงานผลัดต่างๆ โดยใช้ repeated measure ANOVA

เนื่องจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดนั้นๆ โดยใช้ paired-t-test พบว่าระดับคะแนน vigilance task ในช่วงก่อนและหลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดดึกของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนน vigilance task ในการทำงานผลัดต่างๆ โดยใช้ repeated measure ANOVA จึงได้นำข้อมูลคะแนน vigilance task ในการปฏิบัติงานในการทำงานผลัดต่างๆ ในช่วงหลังปฏิบัติงานมาใช้ในการคำนวณ

เมื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนน vigilance task หลังปฏิบัติงานในการทำงานผลัดต่างๆ โดยใช้ repeated measure ANOVA นั้น พบว่าคะแนน vigilance task ในช่วงหลังปฏิบัติงานในผลัดเช้า บ่าย และดึก ไม่มีความแตกต่างกัน (f-test = 1.91, p = 0.16)

4. การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us