เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


ผลของโครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย :

เปรียบเทียบหนึ่งปีก่อนและหลังเริ่มโครงการ@

ธีระ ลีลานันทกิจ, พ.บ.*
พิเชฐ อุดมรัตน์, พ.บ.**
ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ, กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ)*

 The results of PRELAPSE Program in Thailand : Comparison One Year Before and After

Teera Leelanuntakit, M.D.*
Pichet Udomratn, M.D.**
Chusri Kerdpongbunchote, M.Ed. (Developmental Psychology).*

 บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าโครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภท (PRELAPSE = Preventing relapse in schizophrenia) ในประเทศไทย สามารถลดการกำเริบของโรคได้หรือไม่

วิธีการศึกษา ได้จัดอบรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มแก่ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทที่จิตแพทย์วินิจฉัยโดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคตาม DSM-IV หรือ ICD-10 ในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเป็นแกนกลาง แล้วศึกษาถึงการกำเริบของโรคจิตเภท (การที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนแพทย์ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล) โดยติดตามการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยทุกคน (54 คน) ที่ญาติเข้าร่วมโครงการในระยะ 1 ปี หลังจากญาติเข้ารับการอบรมแล้วนำไปเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่ญาติจะมาเข้าอบรม

ผลการศึกษา พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเลยในช่วง 1 ปีถัดมา หรือมีจำนวนวันของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง (ในจำนวนนี้แบ่งเป็นร้อยละ 81.5 ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และร้อยละ 18.5 มีจำนวนวันของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง) เมื่อพิจารณาถึงจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาลพบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดมีจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาลเท่าเดิม (กล่าวคือเมื่อเปรียบเทียบ 1 ปี ก่อนและหลังที่ญาติมาเข้าอบรม ในจำนวนนี้ร้อยละ 85.2 ก็ยังไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเหมือนเดิม ร้อยละ 11.1 รับไว้ 1 ครั้ง เหมือนกันทั้งช่วงก่อนและหลัง และร้อยละ 3.7 รับไว้ 2 ครั้ง เหมือนกันทั้งช่วงก่อนและหลัง) ขณะที่ร้อยละ 44.4 ของผู้ป่วยทั้งหมดมีจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง (ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 91.7 และอยู่โรงพยาบาลน้อยลง 1 ครั้ง ร้อยละ 8.3) และมีเพียงร้อยละ 5.6 ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้นที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลบ่อยขึ้น (มากกว่า 1 ครั้ง)

สรุป โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการนำร่องนี้สามารถลดการกำเริบของโรคจิตเภทลงได้ โดยพบอัตราการกำเริบของโรคจิตเภทเพียงร้อยละ 16.67 เท่านั้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลลงได้และยังเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติอีกด้วย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542;44(1): 3-11.

 คำสำคัญ โรคจิตเภท การกำเริบ สุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่ม

  @ นำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 26 ของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2541 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี กรุงเทพฯ

* โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

** ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

 Abstract

Objective To find out whether PRELAPSE (Preventing relapse in schizophrenia) program in Thailand can reduce the relapse rate.

Methods Group psychoeducation for relatives of schizophrenic patients, diagnosed by DSM-IV or ICD-10, were organized in five mental hospitals. The readmission rate and the length of hospitalization of 54 schizophrenic patients were compared between one year before and after the program.

Results Since Department of Mental Health in Thailand accepted the PRELAPSE program, it was first implemented as a pilot study in five mental hospitals i.e. Somdet Chaopraya Hospital, Srithunya Hospital, Saun-Prung Hospital, Khon-Kaen Psychiatric Hospital, and Suansaranrom Psychiatric Hospital. Of the 54 schizophrenic patients, the readmission rate decreased 44.4 %, with 50% readmitted the same number of times as last year. Length of hospital stay decreased for 50% of these patients while 42.59% remained the same as last year.

Conclusion The pilot PRELAPSE program reduced the relapse rate of schizophrenic patients in Thailand. Based on the results of this pilot study, we recommend extending the PRELAPSE program.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(1): 3-11.

Key words: Prelapse, relapse, schizophrenia, group psychoeducation

 * Somdet Chaopraya Hospital, Bangkok 10600, Thailand.

** Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand.

 บทนำ

โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทหรือ “Preventing Relapse in Schizophrenia” นั้น มีชื่อย่อที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Prelapse เป็นโครงการที่ให้สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducation) แก่ญาติและผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรคจิตเภท จนนำไปสู่ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าผลของความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถลดอัตราการกำเริบของผู้ป่วยโรคจิตเภทลงได้1, 2

โครงการ Prelapse นี้ริเริ่มขึ้นโดยมูลนิธิ Lundbeck แห่งประเทศเดนมาร์ค โดยเริ่มจากบางประเทศในยุโรปก่อน ได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ต่อมาจึงขยายผลออกมาทางกลุ่มประเทศในซีกโลกตะวันออก เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย3, 4

สำหรับประเทศไทย Prelapse ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2538 โดยคณะ Advisory Board ของโครงการ Prelapse ได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง และมีการตั้งคณะทำงานเพื่อนิพนธ์และผลิตหนังสือ คู่มือ เอกสาร วิดิทัศน์ ในภาคภาษาไทย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานจริงของ Prelapse ทั้งนี้เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้เสร็จสมบูรณ์ประมาณกลางปี 25392, 3

จากนั้นโครงการ Prelapse จึงได้ถูกเรียนเสนออธิบดีกรมสุขภาพจิตในขณะนั้นคือ นายแพทย์ชูทิตย์ ปานปรีชา ซึ่งท่านได้บรรจุโครงการเข้าเป็นนโยบายของกรมสุขภาพจิต และได้มอบหมายให้โรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต 5 แห่ง นำโครงการ Prelapse ไปปฏิบัติเป็นการนำร่องก่อนได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาว่าโครงการ Prelapse สามารถลดการกำเริบของโรคจิตเภทได้หรือไม่

 วัสดุและวิธีการ

ได้จัดอบรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่ม (group psychoeducation) แก่ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทที่จิตแพทย์วินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV หรือ ICD-10 ในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 5 แห่ง คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเป็นแกนกลาง สำหรับรูปแบบการให้สุขภาพจิตศึกษานั้น ได้ใช้ model ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มีรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกา ทวิชาชาติ และคณะ พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมแล้วดำเนินการในโรงพยาบาลดังกล่าวข้างต้นทั้ง 5 แห่ง ทำการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือประกอบด้วยแบบประเมิน 4 ชุด คือ แบบทดสอบชุดที่ 1 เป็นแบบประเมินความรู้เรื่องโรคจิตเภท ทำการประเมินญาติทั้งก่อนและหลังการอบรม แบบทดสอบชุดที่ 2 เป็นแบบประเมินเจตคติและบรรยากาศในครอบครัว แบบทดสอบชุดที่ 3 เป็นแบบประเมินความคิดเห็นของญาติที่มีต่อการเข้าอบรม แบบประเมินชุดที่ 4 เป็นแบบฟอร์ม PL-1 สำหรับจิตแพทย์เพื่อกรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ส่วนการประเมินผลได้ทำการประเมินผลทั้งระยะสั้น และระยะยาว คือ ระยะสั้นได้ประเมินจากแบบทดสอบชุดที่ 1 และ 3 เพื่อดูความรู้ของญาติในเรื่องโรคจิตเภทก่อนและหลังการฝึกอบรม รวมทั้งความคิดเห็นและความพึงพอใจของญาติต่อการเข้าอบรม ส่วนการประเมินผลระยะยาวเป็นการเก็บข้อมูลผู้ป่วยก่อนที่ญาติจะเข้าร่วมโครงการ 1 ปี แล้วติดตามดูการกำเริบของผู้ป่วยภายหลังจากที่ญาติเข้ารับการอบรมจากโครงการไปแล้วอีก 1 ปี การกำเริบนั้นหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องมีอาการรุนแรงของโรคจิตเภทขึ้นอีก จนแพทย์ต้องรับตัวไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาล เปรียบเทียบดูจำนวนวันเฉลี่ยรวมที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล ในช่วง 1 ปีก่อนและหลังจากญาติเข้าร่วมโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการรายงานผลในที่นี้จะรายงานเฉพาะส่วนของการประเมินผลระยะยาวคือ การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

 ผล

ญาติที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 67 คน โดยมาจากครอบครัวของผู้ป่วย 54 คน เนื่องจากบางครอบครัวมีญาติเข้ารับการอบรมพร้อมกัน 2 คน (ตารางที่ 1)

ญาติที่เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70.15 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.34 รองลงมาคืออายุ 61-70 ปี ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.88 และ 22.39 ตามลำดับ ญาติส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษามากที่สุด รองลงมาคือชั้นมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 50.75 และ 25.37 ตามลำดับ ผู้ที่จบปริญญาโทหรือสูงกว่า มีจำนวนใกล้เคียงกับผู้ไม่ได้เรียนและจำนวนผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาใกล้เคียงกับระดับอุดมศึกษา (ตารางที่ 2)

เมื่อติดตามดูการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทเปรียบเทียบเมื่อ 1 ปีก่อนที่ญาติจะเข้าร่วมโครงการ กับ 1 ปีภายหลังที่ญาติเข้าร่วมโครงการแล้วรวมทั้ง 5 โรงพยาบาล พบว่า จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล จากเดิม 43 ครั้ง ลดลงเหลือเพียง 12 ครั้ง คือ ลดไป 31 ครั้งหรือร้อยละ 72.1 ส่วนจำนวนวันที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลจากเดิม 1,934 วัน ลดลงเหลือ 520 วัน คือลดไปถึง 1,414 วัน หรือร้อยละ 73.1

(ตารางที่ 3)

เมื่อแบ่งจำนวนครั้งและจำนวนวันออกเป็น 3 กลุ่ม ในช่วง 1 ปีหลังจากญาติเข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบกับ 1 ปีก่อน โดยแบ่งเป็นมากขึ้นกว่าเดิม เท่าเดิม และน้อยลงกว่าเดิม ปรากฎว่าได้ผลดังนี้คือ

จำนวนครั้งของการเข้าอยู่โรงพยาบาลนั้น พบว่าผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่คือร้อยละ 50

ยังคงมีอาการเหมือนเดิม ในจำนวนนี้ร้อยละ 85 ยังรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกเหมือนเช่น 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือได้ถูกรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในเพียง 1 ครั้งและ 2 ครั้งเท่ากับเมื่อ 1 ปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และ 3.7 ตามลำดับ แต่ที่พบรองลงมาอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ พบว่าผู้ป่วยที่ญาติเข้าร่วมโครงการ Prelapse นั้น มีการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลลดลงถึงร้อยละ 44.44 โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 91.67 พบว่าไม่ต้องถูก รับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในเลย และร้อยละ 8.33 พบว่าถูกรับตัวไว้รักษาน้อยลง 1 ครั้ง เมื่อเทียบกับช่วง 1 ปีก่อนที่ญาติจะเข้าโครงการ คงเหลือผู้ป่วยเพียง 3 คนหรือร้อยละ 5.56 เท่านั้น ที่ถึงแม้ญาติจะเข้าโครงการ Prelapse แล้ว ผู้ป่วยก็ต้องถูกรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในมากกว่าเดิมอีก 1 ครั้ง (ตารางที่ 4)

เมื่อดูจำนวนผู้ป่วยจิตเภทที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล พบว่าเมื่อ 1 ปีก่อนที่ญาติจะเข้าร่วมโครงการนั้น ผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มนี้มีอาการรุนแรงจนต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลจำนวน 31 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 54 คน คิดเป็นร้อยละ 48.44 แต่เมื่อญาติมาเข้าอบรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มแล้วพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเหลือเพียง 9 คน จาก 54 คน หรือร้อยละ 16.67 เท่านั้น

เมื่อพิจารณาดูจำนวนวันที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล พบว่าร้อยละ 50 มีจำนวนวันของการอยู่

โรงพยาบาลน้อยลง ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเลยถึงร้อยละ 81.48 และมีจำนวนวันของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง 81-105 วัน และ 26-28 วัน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และ 7.41 ตามลำดับ รองลงมากลุ่มหนึ่งคือร้อยละ 42.59 ยังคงรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกเหมือน 1 ปีที่ผ่านมา คงมีผู้ป่วยเพียง 4 คน หรือร้อยละ 7.41 เท่านั้นที่เมื่อญาติเข้าร่วมโครงการ Prelapse แล้วพบว่าผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้นกว่าเดิม 6-13 วันและ 81-105 วัน (ตารางที่ 5)

วิจารณ์

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการนำเอา family interventions หรือ psychoeducational family treatments ต่าง ๆ มาใช้ในการรักษาโรคจิตเภท โดยมีเป้าหมายที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยลดลง (symptom reduction) และเพื่อช่วยลดปฏิกิริยาของครอบครัวที่ตอบสนองต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีก ได้แก่ เพิ่มความเข้าใจและการยอมรับของญาติ ปรับการแสดงออกของญาติจาก high เป็น low expressed emotion (EE) เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่ใช้ใน family intervention นั้นมีหลายวิธีและหลายลักษณะ เช่น individual family unit (Goldstein et al5; Falloon et al6; Hogarty et al7; Tarrier et al8; Randolph et al9), individual family plus relatives’ groups (Leff et al10), relatives-only groups (Leff et al11), multiple family groups (McFarlane et al12), parallel patient and relatives’s group (Kissling13) เป็นต้น แต่ทุกวิธีต่างก็มีจุดเน้นที่เหมือนกันคือ การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภท และการช่วยครอบครัวของผู้ป่วยในการแก้ไขปัญหาประจำวันที่เกิดขึ้นจากโรคจิตเภท

จากการศึกษาในต่างประเทศที่เป็น controlled clinical trial เป็นระยะเวลา 2 ปี เปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ family intervention กับกลุ่มที่รับการรักษาตามปกติ พบว่ามีอัตราการกำเริบ (relapse rate) ที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้รับ family intervention มีอัตราการกำเริบตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 335-8, 11 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ family intervention จะมีอัตราการกำเริบตั้งแต่ร้อยละ 49 จนถึงร้อยละ 835-8, 11

สำหรับโครงการ Prelapse ในประเทศไทย ได้ใช้ psychoeducational family treatment ชนิด multiple family groups ตามแนวคิดของ McFarlane และคณะ12 ซึ่งจากการติดตามผู้ป่วยมาเป็นเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบจนต้องรับตัวไว้รักษาซ้ำในโรงพยาบาลนั้นมีเพียง 9 คน จาก 54 คนเท่านั้น หรือคิดเป็นอัตราการกำเริบร้อยละ 16.67 ซึ่งใกล้เคียงกับที่ Falloon และคณะ6 กับ Leff และคณะ10 ศึกษาไว้ในปีค.ศ. 1982 ที่มีอัตราการกำเริบ ร้อยละ 17 และ 14 ตามลำดับ

นอกจากนี้เมื่อดูจำนวนวันรวมของผู้ป่วยทั้งหมดที่ต้องรักษาอยู่โรงพยาบาล พบว่าจำนวนวันรวมใน 1 ปีหลังลดลงกว่า 1 ปีก่อน ถึง 1,414 วัน ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและ ค่าใช้จ่ายทางอ้อมลดลงไปได้มาก

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการ ได้แก่

1. ญาติที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ มักเป็นญาติที่มีความสนใจ มีเวลา มีแรงจูงใจ และมีเจตคติที่ดีที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยอยู่แล้ว จึงอาจส่งผลให้การกำเริบและการกลับเข้ามารักษาซ้ำลดลง

2. รูปแบบของการให้สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducation) นั้น แม้จะใช้รูปแบบเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงบางโรงพยาบาลก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากคู่มือบ้าง เช่น ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ในการจัดให้กับญาติรุ่นที่ 2 ได้รวมเอา session 4 และ 5 เข้าด้วยกัน หรือที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ก็ได้ตัดบทบาทสมมุติออก อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสำคัญของแต่ละ session ยังคงไว้เหมือนเดิมทุก ๆ โรงพยาบาล

3. ระยะเวลาในการติดตามผู้ป่วยอาจยังน้อยไป เพราะเพิ่งติดตามไปได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจยังไม่ปรากฎอาการกำเริบในช่วงนี้ และจากรายงานที่ศึกษาในต่างประเทศส่วนใหญ่มักติดตามผู้ป่วยไปเป็นเวลา 2 ปี

4. การศึกษานี้ศึกษาเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาเพียงกลุ่มเดียว โดยที่ไม่มีกลุ่มควบคุม(controlled group) เปรียบเทียบด้วย

5. ไม่ได้เก็บข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น เรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการให้สุขภาพจิตศึกษา เพื่อหา cost-effectiveness ของการให้สุขภาพจิตศึกษา

คณะผู้รายงานจึงเสนอแนะให้มีการทำวิจัยต่อไปดังนี้

1. น่าจะได้มีการติดตามกลุ่มผู้ป่วยนี้ต่อไปอีก รวมเวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อดูว่าอัตราการกำเริบ และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเป็นเช่นใด

2. ควรจะมีการศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ญาติไม่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา ว่ามีอัตราการกำเริบแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าต่างกันจะต่างกันมากน้อยอย่างไร

3. ควรมีการเก็บข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเพื่อหา cost-effectiveness ของการให้สุขภาพจิตศึกษา

4. ควรมีการศึกษาวิจัยดูว่ารูปแบบต่าง ๆ ของ psychoeducational family treatment นั้น แต่ละแบบจะมีผลหรือเหมาะสมต่อผู้ป่วยโรคจิตเภทต่างกันหรือไม่อย่างไร เช่น จากการทบทวนของ Goldstein13, 14 พบว่าถ้าให้เป็น individual family unit จะดีสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เป็น first หรือ recent onset ขณะที่การให้สุขภาพจิตศึกษาชนิด multiple family group จะเหมาะกับผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดเรื้อรัง และอยู่ในช่วง maintenance phase of treatment เป็นต้น

 สรุป

โครงการ Prelapse ในประเทศไทย มีญาติผู้ป่วยจิตเภทเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 67 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา และอายุอยู่ในช่วง 41-70 ปี เมื่อติดตามการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท 54 คน ที่ญาติเข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบ 1 ปีหลังกับ 1 ปีก่อนพบว่า จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยต้องเข้ารักษาซ้ำลดลงร้อยละ 44.4, เท่าเดิมร้อยละ 50 โดยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลลดลง จากร้อยละ 48.44 เหลือเพียงร้อยละ 16.67 ส่วนจำนวนวันที่อยู่โรงพยาบาลลดลงร้อยละ 50, เท่าเดิมร้อยละ 42.59 ทำให้ภาระต่าง ๆ ทั้งทางด้านเวลา เศรษฐกิจ ทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทางสุขภาพจิตลดลงได้เป็นอย่างมาก Prelapse จึงเป็นโครงการที่เป็นทั้งการรักษาและการป้องกันคือ ทำให้ญาติและผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในที่สุด คณะผู้รายงานจึงขอเสนอแนะให้ขยายผลของโครงการ Prelapse นี้ออกไปและพัฒนาทั้งรูปแบบและการบริหารจัดการให้เหมาะสม เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการทางจิตเวช รวมทั้งเสนอแนะให้มีการประเมินและติดตามผลอย่างต่อเนื่องด้วย.

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณกรมสุขภาพจิต คณะกรรมการ Prelapse ของทั้ง 5 โรงพยาบาล ที่ได้ให้

ความสนับสนุนและความร่วมมือในการวิจัยครั้งนี้ และขอขอบคุณ คุณสายใจ เพ็ชรรัตน์ ที่ช่วยพิมพ์ ต้นฉบับ

 เอกสารอ้างอิง

1. พิเชฐ อุดมรัตน์, ธีระ ลีลานันทกิจ, ธนู ชาติธนานนท์. โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภท

ในประเทศไทย. บทคัดย่อในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 25 ของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่ง

ประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2540

อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี กรุงเทพฯ.

2. พิเชฐ อุดมรัตน์. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต : กรณีศึกษาจาก

โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตปี 2541

วันที่ 7-9 กันยายน 2541 โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ (เอกสารอัดสำเนา).

3. Weait J. Prelapse well on the way in Asia. Prelapse Magazine 1996; 4:12-3.

4. Smith MR. Prelapse gains ground in Thailand. Prelapse Magazine 1997; 1:20

5. Goldstein MJ, Rodnick EH, Evans JR, May PRA, Steinberg MR. Drug and family therapy in the aftercare of acute schizophrenics. Arch Gen Psychiatry 1978; 35:1169-77.

6. Falloon IRH, Boyd JL, McGill CW. Family management in the prevention of exacerbations of

schizophrenia : a controlled study. N Engl J Med 1982; 306:1437-40.

7. Hogarty GE, Anderson CM, Reiss DJ, et al. Family education, social skills training, and

maintenance chemotherapy in the aftercare of schizophrenia. Arch Gen Psychiatry 1986; 43:633-42.

8. Tarrier N, Barrowclough C, Porceddu K. The community management of schizophrenia: a

controlled trial of a behavioral intervention with families to reduce relapse. Br J Psychiatry 1988; 153:532-42.

9. Randolph ET, Eth S, Glynn SM, et al. Behavioral family management in schizophrenia: outcome of a clinic-based intervention. Br J Psychiatry 1994; 164:501-6.

10. Leff J, Kuipers L, Berkowitz R, Eberlein-Fries R, Sturgeon D. A controlled trial of social

intervention in the families of schizophrenia patients. Br J Psychiatry 1982; 141:121-34.

11. Leff J, Berkowitz R, Shavit N, Strahan A, Glass I, Vaughn C. A trial of family therapy versus a relative’s group for schizophrenia. Br J Psychiatry 1989; 154:58-66.

12. McFarlane WR, Lukens E, Link B, et al. Multiple-family groups and psychoeducation in the

treatment of schizophrenia. Arch Gen Psychiatry 1995; 52:679-87.

13. Kissling W. Compliance, quality assurance and standards for relapse prevention in schizophrenia. Acta Psychiatr Scand 1994; 89:16-24.

14. Goldstein MJ. Psychoeducation and relapse prevention. Int Clin Psychopharmacol 1995; 9:59-69.

15. Goldstein MJ. Psychoeducation and family treatment related to the phase of a psychotic disorder. Int Clin Psychopharmacol 1996; 11(suppl 2):77-83.

 ตารางที่ 1 จำนวนญาติและผู้ป่วยจิตเภท จำแนกตามรุ่นและโรงพยาบาล


โรงพยาบาล รุ่นที่

จำนวน (คน)

ญาติ ผู้ป่วยจิตเภท

สมเด็จเจ้าพระยา

 

ศรีธัญญา

 

สวนปรุง

จิตเวชขอนแก่น

สวนสราญรมย์

1

2

1

2

1

1

1

8

12

8

8

15

5

11

8

11

8

7

11

5

4

รวม

 

67

54

 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของญาติผู้เข้าร่วมโครงการ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและอายุ

ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาล (จำนวนคน)

รวม

 

สมเด็จเจ้าพระยา

ศรีธัญญา

สวนปรุง

ขอนแก่น

สวนสราญรมย์

คน (ร้อยละ)

เพศ

ชาย

หญิง

อายุ

20-30 ปี

31-40 ปี

41-50 ปี

51-60 ปี

61-70 ปี

70 ปีขึ้นไป

ระดับการศึกษา

ไม่ได้เรียน

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษา

อาชีวศึกษา

อุดมศึกษา

ปริญญาโท

หรือสูงกว่า

 

5

15

 

4

-

4

7

4

1

 

-

13

4

1

2

 

-

 

6

10

 

1

2

4

3

6

-

 

-

5

3

2

6

 

-

 

4

11

 

-

3

3

6

3

-

 

-

11

2

1

-

 

1

 

2

3

 

1

1

2

1

-

-

 

-

2

3

-

-

 

-

 

3

8

 

2

-

2

4

3

-

 

2

3

5

1

-

 

-

 

20(29.85)

47(70.15)

 

8(11.94)

6(8.96)

15(22.39)

21(31.34)

16(23.88)

1(1.49)

 

2(2.99)

34(50.75)

17(25.37)

5(7.46)

8(11.94)

 

1(1.49)

 ตารางที่ 3 จำนวนการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท เปรียบเทียบเมื่อ 1 ปีก่อนที่ญาติจะเข้าร่วม

โครงการกับ 1 ปี ภายหลังที่ญาติเข้าร่วมโครงการแล้ว *

เวลา

1 ปี ก่อน

1 ปี หลัง


โรงพยาบาล

จำนวนรุ่น/จำนวนราย

 

จำนวน

ครั้ง

จำนวน

วัน

จำนวนวัน

เฉลี่ย

จำนวน

ครั้ง

จำนวน

วัน

จำนวนวัน

เฉลี่ย

รพ.สมเด็จเจ้าพระยา

(2 / 19)

21

754

35.90

2

67

33.50

รพ.ศรีธัญญา

(2 / 15)

6

355

59.17

5

149

29.80

รพ.สวนปรุง

(1 / 11)

12

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us