เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


ประสิทธิภาพของยา Ethyl Loflazepate ในการรักษา ผู้ป่วยโรคแพนิค*

 ศิริรัตน์ สุขวัลย์, พบ.**

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิค ตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันฉบับที่ 4 (DSM-IV) จำนวน 21 ราย ได้รับการสุ่มเข้ารับการรักษาแบบ double-blind placebo controlled with cross-over design ด้วยยา ethyl loflazepate หรือ placebo เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และเปลี่ยนกลุ่มให้รับยาสลับกันอีก 4 สัปดาห์ ประสิทธิภาพของยาถูกประเมินโดย panic score, Hamilton Anxiety Rating Scale และ Hamilton Depression Rating Scale ผลการศึกษาพบว่า ethyl loflazepate มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคแพนิคมากกว่า placebo อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เนื่องจากยานี้ออกฤทธิ์ได้เร็วและมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย จึงเป็นยาอีกขนานหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้ในการรักษาโรคแพนิค

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(4): 336-44.

 คำสำคัญ ethyl loflazepate, โรคแพนิค, panic score

Ethyl Loflazepate in the Treatment of Panic Disorder*

 Siriratana Sukhawana, M.D.**

 Abstract

The purpose of this study is to compare the effectiveness between ethyl loflazepate and placebo on patient who had a DSM-IV diagnosis of panic disorder. Twenty-one patients were randomly selected to enter a 4-week double-blind placebo controlled crossover trial. The efficacy of drug was assessed by panic score, Hamilton Anxiety Rating Scale, and Hamilton Depression Rating Scale. The evaluation was done by both the patient and the doctor. Analysis of the results showed statistically significant effectiveness of ethyl loflazepate against panic disorder compare to placebo (p < 0.05). Because this drug has rapid onset and minimal side effect, it can be another drug of choice in the treatment of panic disorder.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(4): 336-44.

 Key words : ethyl loflazepate, panic disorder, panic score

  * Presented at the Mental Health Meeting 1988, Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Bangkok, September 7-9, 1988.

**Devision of Psychiatry, Saraburee Hospital, Saraburee. 

บทนำ

โรคแพนิคเป็น anxiety disorder ที่พบได้บ่อย จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามี lifetime prevalence ร้อยละ 1.4 และมี six month prevalence เท่ากับร้อยละ 0.6-11 สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาที่คลินิคจิตเวชของโรงพยาบาลรามาธิบดี มีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิคร้อยละ 4.09 ขณะที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์พบสูงถึงร้อยละ 12.42 โดยพบว่ามีทั้งเพศหญิงและชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดยอัตราส่วนระหว่างหญิงต่อชายมีตั้งแต่ 0.67 : 1 จนถึง 1.31 : 12

โรคแพนิคก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมาก Siegel และคณะได้วิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคแพนิคมาใช้บริการทางการแพทย์มากเป็น 7 เท่าของประชากรทั่วไป และสูญเสียวันทำงานมากเป็น 2 เท่าของประชากรปกติ3 ส่วน Edlund และ Swann ได้วิเคราะห์ความรุนแรงของการสูญเสียสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคแพนิค 30 ราย ในระยะเวลา 4 เดือน พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสิ้นเชิงเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนถึงร้อยละ 43 ของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่ร้อยละ 37 ของผู้ป่วยถูกให้ออกหรือลาออกจากงานเนื่องจากการเจ็บป่วย4 ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโรคแพนิคให้มีอาการดีขึ้นโดยเร็ว จึงมีความสำคัญทั้งต่อผู้ป่วยและสังคมส่วนรวมเป็นอย่างมาก

ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิคโดยลดความรุนแรงและจำนวนครั้งของอาการแพนิคเรียกรวมกันว่า antipanic drugs ซึ่งได้แก่ยาแก้เศร้า, benzodiazepines และ MAOI ยาแก้เศร้ากลุ่ม tricyclic ที่มีรายงานว่าใช้รักษาโรคแพนิคได้คือ imipramine, clomipramine และ desipramine5 ส่วนในรายงานการศึกษาระยะหลัง เมื่อค้นพบยาแก้เศร้ากลุ่มใหม่คือ seleclive serotonin reuptake inhibitors (SSRI) พบว่า fluvoxamine และ fluoxetine ให้ผลดีในการรักษาโรคแพนิคเช่นกัน6,7 นอกจากนั้น Oehrberg และคณะ ได้ศึกษาการรักษาโรคแพนิคของยา paroxetine แบบ randomised, double-blind, placebo-controlled พบว่า paroxetine ร่วมกับ cognitive therapy ให้ผลดีในการรักษาโรคแพนิคมากกว่าการให้ placebo ร่วมกับ cognitive therapy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ8

จากการศึกษาหลายแห่งรายงานว่า high potency benzodiazepines คือ alprazolam และ clonazepam ให้ผลดีในการรักษาโรคแพนิค9,10,11 ส่วน MAOI เช่น moclobemide ก็มีรายงานว่ามีผลในการรักษาโรคแพนิคได้12

ยาแต่ละกลุ่มที่กล่าวมานี้มีข้อดีและข้อเสียในการใช้รักษาโรคแพนิคแตกต่างกันไป ยาแก้เศร้ากลุ่ม tricyclic มีฤทธิ์ข้างเคียง anticholinergic และเริ่มให้ผลในการรักษาช้า ส่วน SSRI และ MAOI ก็มีราคาแพง สำหรับ benzodiazepines มีปัญหาที่พบบ่อยคืออาการง่วงซึม และ alprazloam ออกฤทธิ์สั้นจึงมี interdose rebound ด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการหยุดยาเพราะพบว่ามี withdrawal symptoms ได้

สำหรับยา ethyl loflazepate เป็น long acting benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์เร็วโดยให้ผลเต็มที่ (full effect) ใน 1 ถึง 2 ชั่วโมงหลังจากให้ยาครั้งแรก และส่วนใหญ่ให้ผลการรักษา (therapeutic effect) อยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง จึงสามารถให้ยาเพียงวันละครั้งได้ นอกจากนี้ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมจากยาก็มีเพียงเล็กน้อย และมักเกิดขึ้นชั่วคราวในระยะ 3 วันแรกของการรักษา จึงไม่มีผลรบกวนต่อการปฏิบัติงานของผู้ป่วยมากนัก มีรายงานว่า ethyl loflazepate (ชื่อทางการค้าว่า Victan) สามารถรักษาอาการ panic attack ได้13 แต่เท่าที่ผู้รายงานทราบยังไม่มีผู้ใดได้ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของ

ethyl loflazepate ในการรักษาโรคแพนิค แบบ double blind placebo controlled มาก่อน

 วัสดุและวิธีการ

ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 25 ราย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิคตามเกณฑ์ของ DSM-IV14 และผ่านการคัดกรองโรคทั่วไปทางจิตเวชและอายุรกรรม หากพบว่าป่วยเป็นโรคทางอายุรกรรมหรือตั้งครรภ์ก็จะถูกคัดออก

ยาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนเข้าร่วมการศึกษานี้คือ lorazepam หรือ diazepam และยาแก้เศร้ากลุ่ม tricyclic ก่อนศึกษาจะให้ผู้ป่วยหยุดยาทั้งหมดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วจึงเริ่มให้ placebo ทุกคน 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นจึงแบ่งผู้ป่วยโดยการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยเลือกผู้ป่วยสลับกันเรียงตามเลขประจำตัวผู้ป่วย ให้รับยา ethyl loflazepate และ placebo กลุ่มละ 4 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนกลุ่มให้รับยาสลับกันอีก 4 สัปดาห์ placebo ที่ใช้คือวิตามินซีบดเป็นผงใส่แคปซูล เรียกว่า ยา A ส่วน ethyl loflazepate ก็บดเป็นผงใส่แคปซูล สีและขนาดเดียวกันเรียกว่า ยา B ให้พยาบาลจิตเวชหนึ่งคนเป็นผู้จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ขนาดยาที่ใช้คือ ethyl loflazepate (2 มก.) หรือ placebo 1-2 แคปซูล ตลอดการศึกษาช่วงละ 4 สัปดาห์ โดยจะปรับยาตามอาการของผู้ป่วยตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของแต่ละกลุ่ม ครั้งแรกให้ยาคนละ 1 แคปซูลวันละ 1 ครั้งก่อนนอน หากผู้ป่วยรายงานว่ามีอาการมากขึ้นก็จะเพิ่มขนาดยา A หรือยา B เป็น 2 แคปซูลก่อนนอน

ผู้ป่วยทุกรายได้รับทราบว่ากำลังเข้าร่วมการศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาในโรคแพนิค ได้ฝึกให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และฝึกหายใจเพื่อคลายเครียด แล้วให้นำมาปฏิบัติวันละ 10 นาทีทุกวัน และปฏิบัติเพิ่มเวลาเกิดอาการแพนิค

ผู้รายงานได้จัดสมุดบันทึกอาการประจำวันเพื่อให้ผู้ป่วยจดบันทึกการเกิดอาการแพนิค (panic attack) จำนวนอาการตาม DSM-IV ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง และความรุนแรงของอาการตามที่ผู้ป่วยรู้สึกต่อครั้ง (ให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 10; 0 = ไม่รู้สึกเลย; 10 = รุนแรงมากที่สุด) โดยแพทย์เป็นผู้ประเมินผลตามบันทึกของผู้ป่วยสัปดาห์ละครั้ง และตรวจประเมินผู้ป่วยโดยใช้ Hamilton Anxiety Rating Scale และ Hamilton Depression Rating Scale ด้วย

panic score คำนวณได้จากการนำค่ากลาง (mean) ของการประเมินความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นตามที่ผู้ป่วยรู้สึกต่อครั้ง (คะแนน 0-10) รวมกับค่ากลางของจำนวนอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง คูณด้วยจำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคในสัปดาห์นั้น ๆ 15

ค่า baseline วัดจากผลที่ได้เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรก ซึ่งให้ placebo แก่ผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากไม่ได้มีระยะที่ให้ผู้ป่วยหยุดยาทุกชนิด (washout phase) ระหว่างที่สลับกลุ่มทดลองและ placebo จึงใช้ค่ากลาง (mean) เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 ของทั้งสองกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบผลของ ethyl loflazepate และ placebo

ผู้รายงานได้นัดพบผู้ป่วยแต่ละราย สัปดาห์ละครั้ง ตลอดเวลาที่ทำการศึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ซ้อมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและฝึกการหายใจ เพื่อนำไปใช้เมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้น

 4ผลการศึกษา

จากกลุ่มตัวอย่าง 25 ราย มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจนเสร็จสิ้น 21 ราย ผู้ป่วย 2 รายออกจากการศึกษาในระหว่างที่ให้หยุดยาทุกชนิดก่อนเริ่มศึกษา (washout period) อีก 1 รายรับยา ethyl loflazepate ครบ 4 สัปดาห์และมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเปลี่ยนให้ placebo ได้ 1 สัปดาห์ก็ขอออกจากการศึกษา ส่วนผู้ป่วยรายที่ 4 เริ่มต้นใช้ placebo ได้ 3 สัปดาห์ แล้วมีอาการรุนแรงมากจึงต้องหยุดการศึกษาและให้การรักษาด้วยยา ethyl loflazepate จนอาการดีขึ้น

ผู้ป่วยที่นำมาศึกษาเป็นชาย 12 ราย หญิง 9 ราย มีระยะเวลาเจ็บป่วยเฉลี่ย 3.5 ปี ผู้ป่วยถูกแบ่งอย่าง random ให้ได้รับ placebo ก่อน 10 ราย และได้รับ ethyl loflazepate ก่อน 11 ราย ปรากฎว่าผู้ป่วยที่ได้รับ ethyl loflazepate มีอาการดีขึ้นจากผลการตรวจวัดทุกวิธี จำนวนครั้งของการเกิด panic attack แสดงผลดังตารางที่ 1 ส่วนการประเมินความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นตามที่ผู้ป่วยรู้สึกต่อครั้ง (คะแนน 0-10) และค่ากลางของจำนวนอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งวัดที่ baseline และเมื่อให้ placebo แสดงผลตามตารางที่ 2 ส่วนค่าที่วัดได้ระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับ ethyl loflazepate แสดงผลตามตารางที่ 3 ค่ากลางของการเกิดอาการแพนิคและ panic score แสดงผลตามตารางที่ 4 เมื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกันพบว่า จำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิค และ panic score ที่ได้ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1 และตารางที่ 4) ส่วนการวัดโดยใช้ Hamilton Anxiety Rating Scale และ Hamilton Depression Rating Scale ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงไม่ได้แสดงผลเป็นตาราง

สำหรับขนาดยาที่ใช้ผู้ป่วยทุกรายเริ่มต้นได้รับ ethyl loflazepate (2 มก.) หรือ placebo 1 แคปซูลก่อนนอน เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 2 ผู้ป่วยหมายเลข 3, 6 และ 14-17 รายงานว่ายังมีอาการมากจึงเพิ่มยาให้เป็น 2 แคปซูลก่อนนอน หลังจากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเมื่อครบสัปดาห์ที่ 3 ผู้ป่วยรายที่ 3, 6, 15 และ 16 ลดยาเองลงเป็น 1 แคปซูลก่อนนอน จึงเกิดอาการแพนิค มากครั้งกว่าในสัปดาห์ที่ 3

ผู้ป่วยทุกราย รายงานว่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการหายใจเพื่อคลายเครียดช่วยลดความรุนแรงของอาการแพนิคลงได้

ตารางที่ 1 จำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคที่ baseline ระหว่างการให้ placebo และระหว่างการให้ยา ethyl loflazepate ในผู้ป่วยโรคแพนิค 21 ราย

 

จำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์

  baseline

ระยะที่ให้ placebo

ระยะที่ให้ ethyl loftazepate

ผู้ป่วย สัปดาห์ที่ 0 สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

0

10

6

6

6

6

6

0

1

0

3

2

5

56

21

14

49

7

3

3

0

0

6

6

4

1

1

1

0

2

1

0

1

6

67

6

17

48

2

3

2

0

0

8

7

5

0

1

4

0

5

0

1

2

5

32

10

23

32

4

4

3

0

1

6

10

1

2

0

0

0

2

1

0

3

4

15

13

28

30

6

3

3

1

1

4

10

4

0

3

0

2

4

0

0

4

5

32

10

14

26

7

2

4

0

0

4

10

4

2

1

3

0

0

0

0

3

8

35

4

10

7

8

3

3

0

0

5

8

3

1

4

4

0

2

0

1

2

3

24

3

13

0

6

3

2

5

0

4

5

2

1

0

3

0

0

1

2

1

2

21

0

8

0

4

4

1

3

1

2

8

4

1

7

4

0

1

2

0

1

2

12

8

14

0

3

4

1

3

หมายเหตุ รายที่ 1-10 ให้ placebo ก่อน ; รายที่ 11-21 ให้ ethyl loflazepate ก่อน

 ตารางที่ 2 ค่ากลาง (mean) ของการประเมินความรุนแรงของอาการแพนิคที่เกิดขึ้นตามที่ผู้ป่วยรู้สึกต่อครั้ง (S) และค่ากลาง (mean) ของจำนวนอาการผิดปกติที่ เกิดขึ้น เมื่อมีอาการแพนิคแต่ละครั้ง (A) ระหว่างสัปดาห์ที่ 1 - 4 ของการให้ placebo ในผู้ป่วยโรคแพนิค 21 ราย 

 

baseline

ระหว่างที่ให้ placebo

 

สัปดาห์ที่ 0

สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 4

ผู้ป่วย

S

A

S

A

S

A

S

A

S

A

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

 

0

5

5

4

2

4

6

0

4

0

4

3

2

4

5

3

4

1

2

3

0

0

2

4

3

4

5

2

0

3

0

3

3

3

4

3

3

4

2

3

2

0

0

4

4

4

2

3

5

0

3

3

0

2

3

4

4

4

4

2

2

2

0

0

2

4

2

3

4

2

0

3

3

0

3

4

4

3

4

4

3

3

2

0

0

4

4

3

0

2

4

0

3

0

1

2

3

1

3

3

2

2

2

2

0

0

2

3

2

0

2

2

0

3

0

2

3

3

2

3

3

2

3

2

2

0

2

2

3

1

2

0

0

0

1

2

0

2

2

1

2

2

1

2

1

1

1

2

2

3

2

3

0

0

0

2

2

0

3

2

1

2

3

2

3

2

2

1

2

2

4

3

0

3

0

2

2

0

0

3

3

3

3

2

2

2

1

2

0

 

2

2

4

3

0

3

0

2

3

0

0

3

3

2

2

2

2

3

2

2

0

 ตารางที่ 3 แสดงค่ากลาง (mean) ของการประเมินความรุนแรงของอาการแพนิคที่เกิดขึ้นตามที่ ผู้ป่วยรู้สึกต่อครั้ง (S) และค่ากลาง (mean) ของจำนวนอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เมื่อมีอาการแพนิคแต่ละครั้ง (A) ระหว่างสัปดาห์ที่ 1 - 4 ของการให้ยา ethyl loflazepate ในผู้ป่วยโรคแพนิค 21 ราย 

 

ระหว่างที่ให้ยา ethyl loflazepate

 

สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 4

ผู้ป่วย

S

A

S

A

S

A

S

A

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

 

0

2

4

2

2

3

3

0

0

0

0

3

4

3

2

2

1

2

2

2

0

0

2

3

3

3

2

4

0

0

0

0

3

3

3

2

2

2

3

2

2

0

0

3

2

2

2

3

4

0

1

0

1

2

2

2

1

2

0

2

2

2

3

0

2

2

2

2

3

4

0

2

0

2

3

2

2

2

2

0

1

2

1

2

0

2

1

2

2

0

3

0

0

2

2

2

2

1

0

2

0

2

2

2

2

 

0

2

2

1

1

0

3

0

0

2

2

2

1

2

0

1

0

1

2

1

2

2

1

1

1

1

2

3

0

1

2

0

2

1

1

2

1

0

1

1

2

1

1

1

2

1

1

3

3

0

1

2

0

1

1

1

2

1

0

1

2

1

2

ตารางที่ 4 แสดงค่ากลาง (mean) ของจำนวนครั้งที่เกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์ และ panic score เปรียบเทียบที่ baseline กับในระยะที่ให้ placebo และในระยะที่ให้ ethyl loflazepate 

   

baseline

ระยะที่ให้ placebo

ระยะที่ให้ ethyl loftazepate

  สัปดาห์ที่ 0 สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4
  mean SD mean SD mean SD mean SD mean SD mean SD mean SD mean SD mean SD

จำนวนครั้งของการเกิด

                 

อาการแพนิค/สัปดาห์

panic score

 

9.71 15

72 140

8.29 17

63 160

6.95 10

33 50

6.14 9

24 31

6.29 9

31 50

5.0 8

27 49

4.23 6

18 19

2.95 5

10 11

3.71 4

11 11

ก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง placebo และ ethyl loflazepate ที่สัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 (F=4.9 ; df = 1, 19,

p = 0.04, repeated measures ANOVA)

  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง placebo และ ethyl loflazepate ที่สัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 (F=9.0, df=1, 19,

p = 0.007 ; repeated measures ANOVA

วิจารณ์

จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรงมากคือ มีจำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์สูง ในรายที่ 14-17 เมื่อให้ ethyl loflazepate จะมีอาการดีกว่าช่วงที่ได้ placebo มาก แสดงว่ายาจะได้ผลชัดเจนในผู้ป่วยที่มีอาการบ่อย ๆ

ในตารางที่ 4 ค่า mean ของจำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคของสัปดาห์ที่ 4 เพิ่มมากกว่าสัปดาห์ที่ 3 ทั้งในกลุ่ม placebo และ ethyl loflazepate ในส่วนที่ได้รับ placebo จำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้รับยารักษาโรคแพนิคนานขึ้น เมื่อให้ยา ethyl lofazepate ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ค่ากลาง (mean) ของจำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผู้ป่วยรายที่ 3, 6, 15 และ 16 ลดยาเองจาก 2 แคปซูลในสัปดาห์ที่ 3 เป็น 1 แคปซูลในสัปดาห์ที่ 4 จึงอาจทำให้มีอาการแพนิคมากครั้งขึ้น

ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นผลของยา ethyl loflazepate ร่วมกับการฝึกให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และฝึกหายใจเพื่อคลายเครียด มิใช่ผลของยาอย่างเดียว

จากผลการศึกษาพบว่า จำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์ลดลงจาก 9.71 ครั้ง ในช่วง baseline เป็น 6.21 ครั้ง เมื่อให้ placebo แต่เมื่อให้ ethyl loflazepate เกิดอาการเพียง 3.33 ครั้งต่อสัปดาห์ (เทียบค่ากลาง (mean) ระหว่างสัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 ของทั้งสองระยะ) และเมื่อเทียบค่า mean panic score ที่ baseline กับค่าระหว่างสัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 ของการให้ placebo และ ethyl loflazepate พบว่าค่าลดลงจาก 72 เป็น 27.5 และ 10.5 ตามลำดับ เมื่อนำค่าความแตกต่างของจำนวนครั้งของการเกิดอาการแพนิคต่อสัปดาห์ และค่าเปรียบเทียบของ panic score มาคำนวณทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 4) แสดงว่า ethyl loflazepate ให้ผลการรักษาทางคลินิคจริง

เนื่องจาก ethyl loflazepate เป็น long acting benzodiazepine มีค่าครึ่งชีวิต 50 ชั่วโมง จึงสะดวกในการใช้ เพราะสามารถให้ยาเพียงวันละครั้งเดียวก็ให้ผลในการรักษาแล้ว ทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยานี้มีอาการสงบได้เร็วและราบรื่นกว่าการให้ยาที่มีฤทธิ์ครึ่งชีวิตสั้นซึ่งผู้ป่วยอาจลืมรับประทานยาบางมื้อ และกลับมีอาการกำเริบขึ้นได้ ดังผลการวิจัยของ Guillibert และ Fraud ที่ทำการศึกษาผลของ ethyl loflazepate ในการรักษา panic attacks โดยทำ open trial ในผู้ป่วย 1,857 รายเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าสามในสี่ของการเกิดอาการแพนิคในช่วงระหว่างที่ทำการศึกษาพบใน 2 สัปดาห์แรก และลดลงจนหมดไปเมื่อสิ้นสุดการทดลอง นอกจากนั้นคะแนนที่วัดจาก Hamilton Anxiety Scale ในผู้ป่วยก็ลดลงถึงร้อยละ 52.3 เมื่อให้แพทย์ผู้รักษาประเมินผู้ป่วยพบว่ามีอาการดีขึ้นและดีขึ้นมากรวมถึงร้อยละ 86.6 ของผู้ป่วย ฝ่ายผู้ป่วยได้ประเมินตนเองว่ามีอาการดีขึ้นและดีขึ้นมากรวมกันร้อยละ 82.313

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัยในการใช้ยา ethyl loflazepate กับผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย พบว่าอาการแพนิคของผู้ป่วยลดลงอย่างมากภายในเดือนแรกของการรักษาถึงประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย ส่วนฤทธิ์ข้างเคียงของยาพบอาการซวนเซล้มลงในผู้สูงอายุพบ 3 ราย และอาการง่วงซึมพบไม่ถึงร้อยละ 10

ดังนั้นจึงเห็นว่า ethyl loflazepate เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคแพนิค และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ยังมีข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่

1. ไม่ได้ดูเรื่อง scale ของ agoraphobic scale จึงไม่ทราบว่า ethyl loflazepate ให้ผลในการรักษา agoraphobia หรือไม่

2. ไม่ได้ศึกษาว่าผู้ป่วยโรคแพนิคที่มี Hamilton Depression Rating Scale คะแนนสูงกับคะแนนต่ำ จะตอบสนองต่อยา ethyl loflazepate ต่างกันหรือไม่

3. งานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนผู้ป่วยในการศึกษา 21 ราย ซึ่งยังไม่มากนัก และเป็นการศึกษาแค่ acute effect ในเวลา 4 สัปดาห์ จึงเป็นเพียงการศึกษาขั้นแรก

การศึกษาเพิ่มเติมที่ควรจะทำต่อไปคือ เปรียบเทียบผลของยา ethyl loflazepate กับ conventional benzodiazepine เช่น diazepam หรือกับยาที่มีการศึกษามาแล้วจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางตัวอื่น และศึกษาผลในระยะยาวของ ethyl loflazepate โดยติดตามผลการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

 กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำบางประการในการทำวิจัยและช่วยอ่านตรวจทานนิพนธ์ต้นฉบับเรื่องนี้

 เอกสารอ้างอิง

  1. Myers JK, Weissman MM, Tischer GL, et al. Six-month prevalence of psychiatric disorders in three communities. Arch Gen Psychiatry 1984; 41 : 959-67.
  2. พิเชฐ อุดมรัตน์. Panic Disorder. ตำราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536 : 465.
  3. Siedel L, Jones WC, Wilson JO. Economic and life consequences experiened by a group of individuals with panic disorder. J Anixiet Disord 1990 ; 4 : 201-11.
  4. Edlund MJ, Swann AC. The economic and social cost of panic disorders. Hosp Commun Psychiatry 1987 ; 38 : 1277-80.
  5. Johnson MR, Lydiard RB, Ballenger JC. Panic Disorder, Drugs 1995 ; 49: 328- 44.
  6. Black DW, Wesner R, Bowers W, et al. A comparison of fluvoxamine, cognitive therapy and placebo in the treatment of panic disorder. Arch Gen Psychiatry 1993 ; 50 : 44-50.
  7. Schneier FR, Leibowitz MR, Davies SO, et al. Fluoxetine in panic disorder. J Clin Psychopharmacol 1990 ; 10 : 119-21.
  8. 8. Oehrberg S, Christiansen PE, Behnke K, et al. Paroxetine in the treatment of panic disorder. Br J Psychiatry 1995 ; 167 : 374-9.

9. Rosenberg NK, Andersch S, Kullingsjo H, et al. Efficacy and safety of alprazolam, imipramine and placebo in treating panic disorder. Acta Psychiatr Scand 1991; 365(suppl): 18-27.

10. Ballenger J, Burrows G, Dupont R, et al. Alprazolam in panic disorder and agoraphobia: results from a multicenter trial. I. Efficacy in short-term treatment. Arch Gen Psychiatry 1988; 45 : 413-22.

11. Beauclair L, Fontaine R, Annale L, et al. Clonazepam in the treatment of panic disorder : a double-blind, placebo-controlled trial investigating the correlation between clonazepam concentrations in plasma and clinical response. J Cln Psychopharmacol 1994 ; 14: 111-8.

12. Johnson M, Lydiard R, Ballenger J. Monoamine oxidase inhibiors in panic disorder and agoraphobia. In: Kennedy S, Kennedy SS, editors. Clinical advances in MAOI therapies : progress in psychiatry series NO.43 : Washington, DC : American Psychiatric Press, 1994.

13. Guillibert E, Fraud JP. Study of victan in the treatment of panic attacks. J Int Med 1986; 15 : 113-8.

14.American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. 4th ed. Washington DC: American Psychiatric Press, 1994.

15. Benjamin J, Levine J, Fux M, Aviv A, Levy D, Belmaker RH. Double-blind, placebo-controlled, crossover trial of inositol treatment for panic disorder. Am J Psychiatry 1995 ; 152 : 1084-6.

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us