เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 217-25.

สภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย

Family Status and Child Rearing in Adolescent Delinquency

 ปัทมา ศิริเวช พ.บ. *
สมบูรณ์ อินทรกำเนิด ป.พส.*
อาภา กฤตยานวัช ป.พส. *
เพ็­ศรี ไชยุ ป.พส.*
เนาวรัตน์ อุบลสถิตย์ ป.พส.*
รักษิณา กลับรินทร์ ป.พส.*
จรั­ สุภัทรากุล บธ.บ.*
รักชนก ประสิทธิวงษ์ คศ.บ.*

 * โรงพยาบาลสวนสรา­รม­์ อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี 84130

 บทนำ

การกระทำผิดกฎหมาย คือ การไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่สังคมกำหนดไว้ 1 ทำให้สู­เสียทั้งทรัพย์สินเงินทอง ชีวิตและร่างกาย และความสงบสุขของบุคคล รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลความปลอดภัยของประชาชน แล้วยังต้องมีภาระดูแลผู้กระทำผิดด้วย การกระทำผิดกฎหมายของเด็กไม่ถือว่าเป็นอาช­ากรรมเหมือนผู้ให­่ แต่เรียกว่า การกระทำผิด (delinquency) 2 เนื่องจากเด็กขาดความรู้ผิดรู้ชอบ เช่น ทำด้วยความคึกคะนอง และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เด็กที่กระทำผิดเหล่านี้จะถูกสอบสวนและควบคุมความประพฤติในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งสถานพินิจฯ มีหน้าที่อบรมผู้กระทำผิดที่มีอายุตั้งแต่ 7-18 ปี

สถิติของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ในระยะเวลา 4 ปี ( พ.ศ.2536 - 39) มีจำนวนผู้กระทำผิดดังนี้ พ.ศ.2536 จำนวน 361 คน3 พ.ศ.2537 จำนวน 545 คน พ.ศ.2538 จำนวน 749 คน และ พ.ศ.2539 จำนวน 860 คน4 รวมผู้กระทำผิด 2,515 คน เป็นชาย 2,344 คน และห­ิง 171 คน สัดส่วนชายต่อห­ิงประมาณ 13 เท่า และผู้กระทำผิด จำนวน 2,124 คน มีอายุ 15-18 ปี ซึ่งจัดอยู่ในช่วงหนึ่งของวัยรุ่น ส่วนประเภทของการกระทำผิดมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ คดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และใช้สารเสพย์ติด เป็นที่น่าสังเกตว่าการกระทำผิดของวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปั­­า ตลอดจนการปรับตัวในสังคม 5-9 วัยรุ่นที่แก้ไขปั­หา และปรับตัวเข้าสู่ความเป็นผู้ให­่รับผิดชอบตนเองได้ ส่วนมากมีครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น ผูกพันซึ่งกันและกัน 10 บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ เข้าใจ ยอมรับความคิดเห็นของวัยรุ่นอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย 11 ในทางตรงกันข้ามวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายส่วนให­่มาจากครอบครัวแตกแยก 12 คือ บิดามารดาทะเลาะกัน ขัดแย้งอย่างรุนแรง 13-14 จนในที่สุดต้องแยกทางหรือหย่าร้าง อีกทั้งบิดามารดา อบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 11-12,15 ไม่เอาใจใส่ ไม่มีระเบียบ 16-17 ลงโทษโดยขาดเหตุผล ขาดการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ทำให้วัยรุ่นขาดที่พึ่ง มีปั­หาในการปรับตัว 11,14 แสดงออกทางด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ รวมถึงการเกเร หนีโรงเรียน มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร บางครั้งก่อปั­หารุนแรงจนถึงขั้น ทำผิดกฎหมาย 11-14,16 ทำให้วัยรุ่นเสียโอกาสในการศึกษา เสียอนาคต ทำให้ชาติสู­เสียทรัพยากร ที่สำคั­ไปด้วย

วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายทุกรายที่ถูกสอบสวนและควบคุมความประพฤติในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และส่งมาตรวจสุขภาพกายและจิต ที่โรงพยาบาลสวนสรา­รมย์นั้น หากพบความผิดปกติจะได้รับการรักษา จากการสุ่มสัมภาษณ์วัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวจำนวน 20 คนพบว่ามีประวัติครอบครัวแตกแยก 10 คน ถูกเพื่อนชักชวน 5 คน และมีภาวะปั­­าอ่อน 1 คนจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุสำคั­ที่ทำให้วัยรุ่นทำผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด จึงได้สำรวจเพื่อศึกษาสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น และคาดว่าวัยรุ่นทำผิดกฎหมายเนื่องจากบิดามารดาอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย หรือสมาชิกในครอบครัวมีความรักความผูกพันต่อกันน้อย การวิจัยครั้งนี้พบว่า วัยรุ่นทำผิดกฎหมายมาจากครอบครัวแตกแยก และไม่ได้รับความเอาใจใส่ในเรื่องการคบเพื่อน ดังนั้นควรวางแผนให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ปรับตัวอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่นได้

 วิธีการศึกษา

การวิจัยนี้เป็นการสำรวจสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มวัยรุ่น จำนวน 86 คน ที่ทำผิดกฎหมาย มีภูมิลำเนาจังหวัดสุราษฏร์ธานี และได้รับการดูแลอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2540 ขั้นแรก คณะผู้วิจัยได้มีหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และสอบถาม แบบสัมภาษณ์ มีข้อคำถามซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไป มีจำนวน 17 ข้อ เช่น เพศ อายุ การศึกษา รวมถึงประวัติการใช้สารเสพย์ติด และการกระทำผิดกฎหมายของสมาชิกในครอบครัว ส่วนที่ 2 มีจำนวน 3 ข้อ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีจำนวน 8 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับสภาพครอบครัว เช่น สถานภาพสมรสของบิดามารดา ความรักความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อทราบลักษณะครอบครัวของวัยรุ่น และส่วนที่ 2 มีจำนวน 16 ข้อ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูว่าใช้วิธีประชาธิปไตย หรือวิธีปล่อยปละละเลย เพื่อทราบพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูวัยรุ่น ซึ่งคณะผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของ อัจฉรา ทองตัน12มาปรับให้เหมาะสม

แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามดังกล่าวนำไปทดสอบกับวัยรุ่นจำนวน 24 คน ที่ผู้ปกครองได้ประกันตัวจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และมาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสวนสรา­รมย์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2540 หลังจากทดสอบนำเครื่องมือมาปรับปรุงแก้ไข หาค่าความเชื่อถือ และทำความเข้าใจให้ตรงกัน แล้วจึงนำแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดในกลุ่มวัยรุ่นทุกคนที่กำหนดไว้ หลังการสัมภาษณ์ได้ขอความร่วมมือจากวัยรุ่นเหล่านี้ให้ตอบแบบสอบถาม โดยได้อธิบายคำชี้แจงในแบบสอบถามให้วัยรุ่นเข้าใจและให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมด มาตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสตามคู่มือลงรหัส และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับสภาพครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น

ผลการศึกษา

วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย และเป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยนี้คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในการดูแลของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงกรกฎาคม 2540 จำนวน 86 คน เป็นชาย 81 คน ห­ิง 5 คน สัดส่วนชายต่อห­ิง 16:1 อายุเฉลี่ย 17 ปี ส่วนให­่นับถือศาสนาพุทธ ผู้กระทำผิดมาจากอำเภอเมือง มากที่สุด ร้อยละ 23.3 และอำเภอพุนพิน ร้อยละ 17.4 มีที่พักอาศัยอยู่ตามเรือกสวนไร่นา ร้อยละ 67.4 รองลงมาคืออาศัยอยู่ในตลาดหรือย่านการค้าธุรกิจ ร้อยละ 16.3. วัยรุ่นส่วนให­่ จบชั้นประถมศึกษา รองลงมาคือจบมัธยมศึกษาตอนต้น. วัยรุ่นเหล่านี้ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยวันละ 124 บาท รองลงมาเป็นอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ย วันละ 146 บาท. วัยรุ่นที่ไม่ได้ทำงานได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองเฉลี่ยวันละ 81 บาท และเป็นนักเรียนได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองเฉลี่ยวันละ 54 บาท

วัยรุ่นกระทำผิดกฎหมายเรียงประเภทคดีตามลำดับความถี่คือลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ใช้สารเสพย์ติด และพกพาอาวุธปืน ( ตารางที่ 1 ) สาเหตุที่วัยรุ่นทำผิดคือ ถูกเพื่อนชักชวน จำนวน 22 คน ต้องการเงินหรือทรัพย์หรือถูกจ้างวาน จำนวน 18 คน ใช้สารเสพย์ติด 15 คน ทะเลาะวิวาท แก้แค้น โมโห โกรธ 12 คน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ 8 คน นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น คึกคะนอง ป้องกันตัว มั่วสุมกลุ่มเพื่อนเกเร จำนวน 11 คน วัยรุ่นเหล่านี้กระทำผิดครั้งแรก 61 คน ( ร้อยละ 70.9 ) กระทำผิดซ้ำครั้งที่ 2 จำนวน 21 คน ( ร้อยละ 24.4 ) และครั้งที่ 3 จำนวน 4 คน ( ร้อยละ 4.7 ) จากการสอบถามว่าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติทำผิดกฎหมายหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า กระทำผิด 27 คน ( ร้อยละ 31.3 ) มีบิดาและพี่ชายกระทำผิดกฎหมาย จำนวนเท่ากัน คือ 10 คน มารดาทำผิดกฎหมาย จำนวน 2 คน และบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวทำความผิด เช่น น้าชาย ปู่ ลุง จำนวน 5 คน

จากการสัมภาษณ์วัยรุ่นพบว่า บิดามารดาส่วนให­่จบชั้นประถมศึกษา รองลงมาคือ ไม่ทราบระดับการศึกษาของบิดามารดา ส่วนการประกอบอาชีพของบิดามารดาพบว่า ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ รับจ้างและค้าขาย จำนวนพี่น้องในครอบครัวของวัยรุ่นที่ มากที่สุดคือ 12 คน เป็นลูกคนเดียว 7 คน โดยเฉลี่ยมีพี่น้องครอบครัวละ 4 คน ความผูกพันระหว่างพี่น้องพบว่า รักใคร่ปรองดองกัน ร้อยละ 57 และขัดแย้งกันเป็นครั้งคราว ร้อยละ 33.7 ส่วนความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ( ร้อยละ 62.8 )

ก่อนทำผิดกฎหมายวัยรุ่นส่วนให­่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา รองลงมาคือ ผู้ปกครอง เช่น น้า ลุง พี่ สถานภาพสมรสของบิดามารดาคือ ส่วนให­่อยู่ด้วยกัน แต่มีอัตราการแยกทาง หย่าร้าง และบิดาหรือมารดาเสียชีวิตค่อนข้างมาก ส่วนความรักความผูกพันของบิดามารดา พบว่ารักใคร่กันดี รองลงมาคือ ทะเลาะกันเป็นครั้งคราว ( ตารางที่ 2 )

การสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ซึ่งแบ่งเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย กล่าวคือ ไม่สนใจ หรือใช้อารมณ์ ลงโทษดุด่าอย่างรุนแรงโดยขาดเหตุผล และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยคือ เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น มีเหตุผลและยุติธรรม ผลปรากฏว่าคะแนนการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับพอใช้ (ตารางที่ 3) ส่วนคะแนนการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยอยู่ในระดับ ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม พบว่าวัยรุ่นเหล่านี้ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ปกครองเท่าที่ควรในเรื่อง การคบเพื่อนและการเที่ยวเตร่ (ตารางที่ 4)

สมาชิกในครอบครัวของวัยรุ่นกลุ่มเป้าหมาย ใช้สารเสพย์ติดสูงถึง 60 ครอบครัว ไม่ใช้ 25 ครอบครัว และไม่ทราบว่าใช้หรือไม่ 1 ครอบครัว ผู้ที่ใช้มากที่สุดคือ บิดาจำนวน 47 คน รองลงมาคือ พี่ 24 คน สารเสพย์ติดที่ใช้มากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นคือ บุหรี่ 82 คน รองลงมาคือ ดื่มสุรา 67 คน ดมกาว 41 คน สูบกั­ชา 38 คน สูบผงขาว 18 คน กินยาบ้า 14 คน และใช้สารเสพย์ติดอื่น ๆ เช่น ยาอี พืชกระท่อม ยากล่อมประสาท 12 คน วัยรุ่นกลุ่มนี้ ใช้สารเสพย์ติด 3 ชนิดขึ้นไปมีจำนวนมากถึง 51 คน ( ร้อยละ 59.3 )

วิจารณ์

การศึกษาวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย เฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 86 คน พบว่าชายทำผิดกฎหมายมากกว่าห­ิง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พบว่าใกล้เคียงกัน 14,18-19 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชายมีฮอร์โมน Testosterone ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าว 20 คือ ระดับ testosterone สูงขึ้นในบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และการศึกษาของ ศิริบูรณ์ สายโกสุม 15 ยืนยันว่าเพศชายมีความก้าวร้าวมากกว่าเพศห­ิง ความก้าวร้าวนี้ทำให้ วัยรุ่นขาดการควบคุมตนเอง อีกทั้งบิดามารดาดูแลเข้มงวดวัยรุ่นชายน้อยกว่าห­ิง ทำให้มีโอกาสออกไปเที่ยวนอกบ้าน พบกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายได้ เช่น เที่ยวสถานเริงรมย์ และคบเพื่อนเกเร

ผลการศึกษาที่พบว่า ก่อนที่วัยรุ่นจะทำผิดกฎหมายไม่ได้อยู่กับบิดามารดา บิดามารดาแยกทางหรือหย่าร้างทำให้ครอบครัวแตกแยกนี้เหมือนกับการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน12 ที่ศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ครอบครัวแตกแยกเป็นเหตุให้บทบาทของบิดามารดาในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป อาจสลับบทบาทหรือบทบาทที่ทำอยู่บกพร่อง เช่น มารดาต้องมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวรวมทั้งดูแลบุตร ทำให้ไม่มีเวลาส่งเสริมเด็กให้พัฒนาตามขั้นตอนที่เหมาะสม 21 เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไร จึงหันไปพึ่งพาเพื่อน ถ้าคบเพื่อนไม่ดีจะก่อให้เกิดผลเสีย ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของบิดามารดาพบว่า บิดามารดาทะเลาะเบาะแว้ง หรือขัดแย้งรุนแรงจนถึงขั้นต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจกัน ผลการศึกษาคล้ายคลึงกับการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน 12 และการศึกษาของ Sorensen และ Johnson 19 ในรัฐ Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกา ปั­หาจากบิดามารดาดังกล่าวอาจทำให้วัยรุ่นแสดงพฤติกรรมเกเรจนถึงขั้นทำผิดกฎหมาย โดยยอมเป็นแพะรับบาปหรือตัวปั­หา เพื่อให้บิดามารดามาร่วมกันดูแลตน ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องจัดการกับความขัดแย้งที่มีต่อกัน 21 แต่มาจัดการกับปั­หาของบุตรแทน

การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความรักความผูกพันในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งต่างจากการศึกษาของ Hoge และคณะ 14 ที่ศึกษาวัยรุ่นทำผิดกฎหมายในประเทศแคนาดา พบว่าความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น ทั้งนี้ อาจเนื่องจากวัยรุ่นที่คณะผู้วิจัยศึกษาส่วนให­่มีที่พักอาศัยอยู่ตามเรือกสวนไร่นา ซึ่งเป็นสภาพสังคมเกษตรกรรม และสภาพครอบครัวในสังคมเกษตรกรรมเป็นครอบครัวขยาย 22 กล่าวคือ นอกจากบิดามารดา และบุตรแล้ว ยังมี ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา เป็นต้น อยู่ร่วมกัน ถึงแม้ว่าบิดามารดาขัดแย้งกัน ก็ยังมีบุคคลในครอบครัวที่เข้ามาช่วยดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักความผูกพันแก่วัยรุ่นได้

ผลการศึกษาเรื่องการอบรมเลี้ยงดูนั้นพบว่า ส่วนให­่บิดามารดาเอาใจใส่วัยรุ่น แต่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควร และเป็นที่น่าสังเกตว่าบิดามารดาไม่ค่อยสนใจว่าวัยรุ่นจะคบเพื่อนแบบใด หรือเที่ยวเตร่อย่างไร รายงานวิจัยของ Cashwell และ Vacc 23 พบว่า ถ้าวัยรุ่นคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น อันธพาลหรือต่อต้านสังคม ก็จะเป็นตัวทำนายที่สำคั­ว่าวัยรุ่นนั้นมักกระทำผิดกฎหมาย นอกจากนั้น Berk 13 ได้ศึกษาพัฒนาการของผู้กระทำผิดกฎหมาย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กตอนต้น ถ้าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างไม่มีระเบียบและไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งครอบครัวมีความขัดแย้ง เด็กเหล่านี้จะมีปั­หาพฤติกรรมเกเร กลุ่มเพื่อนปกติไม่ยอมรับหรือกีดกัน แต่ได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมเกเรเหมือนกัน ผลสุดท้ายเด็กเหล่านี้มีโอกาสทำผิดกฎหมาย ดังนั้น บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรเอาใจใส่ ให้เวลาแก่เด็ก แสดงความรักความห่วงใย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้สึกกับเด็กเพื่อให้เข้าใจกัน ตลอดจนผู้ปกครองต้องฝึกทักษะวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เช่น ว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษบุตรอย่างเหมาะสมเมื่อทำผิด ยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมของผู้ปกครองจะต้องคงที่สม่ำเสมอ เพื่อบุตรจะได้ปรับตัวและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ในสังคมเช่นกัน

ประเด็นหนึ่งที่สำคั­คือ ประเภทคดีที่วัยรุ่นทำผิดมากที่สุดคือ คดีลักทรัพย์ เป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุส่วนให­่มาจากการถูกเพื่อนชักชวน อาจเป็นเพราะวัยรุ่นต้องการให้กลุ่มเพื่อนยอมรับ และเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองเป็นคนเก่ง จึงยอมทำตามเพื่อนโดยไม่คำนึงว่าถูกต้องหรือไม่ ผลส่วนนี้แตกต่างจากการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน12 ที่พบว่าสาเหตุคือต้องการเงินหรือทรัพย์สิน ทั้งนี้อาจเนื่องจากรายได้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ วัยรุ่นกลุ่มนี้ได้รับเงินเฉลี่ยถึงวันละ 99 บาทต่อคน ในขณะที่ครอบครัวของวัยรุ่นกลุ่มที่ อัจฉรา ทองตัน12 ศึกษามีรายได้เพียงวันละประมาณ 68 บาทต่อครอบครัว ส่วนคดีทำร้ายร่างกายพบว่า สาเหตุส่วนให­่คือ ความโกรธ ซึ่งอาจอธิบายว่า เป็นเพราะอารมณ์ของวัยรุ่นไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงง่าย วู่วาม หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด นอกจากนั้นลักษณะอื่นๆ ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นทำผิดกฎหมาย ได้แก่ ประวัติสมาชิกในครอบครัว ทำผิดกฎหมาย และใช้สารเสพย์ติด ซึ่งผลใกล้เคียงกับการศึกษาของ Sorensen และ Johnson 19 อีกทั้งวัยรุ่นที่คณะผู้วิจัยศึกษานั้นเกือบทุกคนใช้สารเสพย์ติดอย่างน้อย 1 ชนิด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะวัยรุ่นเหล่านี้พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับการตักเตือนว่าเป็นสิ่งที่ผิด จึงยึดถือเป็นแบบอย่าง ดังนั้น บิดามารดาควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำแนะนำวัยรุ่นในเรื่องการคบเพื่อน การควบคุมตนเอง และสอนวิธีระบายอารมณ์โกรธไปในทางสร้างสรรค์ เช่น การเล่นกีฬา การปลูกต้นไม้ การวาดรูป รวมทั้งการสอนให้เคารพกฎระเบียบของสังคม

การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการกระทำผิดซ้ำของวัยรุ่น ที่พบถึงร้อยละ 29.1 ว่านอกจากศึกษาสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูแล้ว ยังควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลิกภาพและพฤติกรรมของวัยรุ่นเอง หนังสือพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์ที่ยั่วยุ เป็นต้น

การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายมาจากครอบครัวแตกแยก ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งสมาชิกในครอบครัวมีประวัติทำผิดกฎหมาย และใช้สารเสพย์ติดค่อนข้างมาก สำหรับการอบรมเลี้ยงดูบิดามารดาเอาใจใส่วัยรุ่นค่อนข้างมาก แต่วัยรุ่นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในเรื่องการคบเพื่อนและการเที่ยวเตร่ ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสคบเพื่อนเกเร และถูกชักชวนไปกระทำผิดได้ง่าย ดังนั้น ควรให้ความรู้แก่บิดามารดาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นได้ถูกต้อง และให้คำแนะนำแก่วัยรุ่นในเรื่องการเลือกคบเพื่อน และการเคารพกฎระเบียบของสังคม ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันและลดการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่นได้

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ คณะวิทยากรหลักสูตร"นักวิจัยสาธาณสุขมือทอง" ศ.ดร. เวคิน นพนิตย์ ดร.อนุชิต ล้ำยอดมรรคผลดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล พ.อ. ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู และนางวนัสรา เชาวน์นิยม ที่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้ ตลอดจน รศ.พ­.อลิสา วัชรสินธุ ที่ช่วยตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาในแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม

เอกสารอ้างอิง

1. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายเกี่ยวกับนิติจิตเวชศาสตร์. วารสารโรงพยาบาลนิติจิตเวช 2536; 2(1): 9-21.

2. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. กฎหมายเกี่ยวกับนิติจิตเวชเด็ก. วารสารโรงพยาบาลนิติจิตเวช 2535; 1(2): 20-5.

3. สถิติการรับตัวเด็กและเยาวชนระหว่าง สอบสวน พิจารณาและฝึกอบรม. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2536.

4. สถิติการรับเด็กและเยาวชนระหว่าง สอบสวน พิจารณาและฝึกอบรม. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2537 - 2539.

5. ศรีธรรม ธนะภูมิ. พัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์การพิมพ์, 2535: 74-83.

6. ดวงใจ กสานติกุล. วัยรุ่น. ใน : เกษม ตันติผลาชีวะ , บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536: 818-51.

7. ดวงใจ กสานติกุล. วัยรุ่น. ใน : วันเพ็­ บุ­ประกอบ , อัมพล สูอำพัน, นงพงา ลิ้มสุวรรณ, บรรณาธิการ. จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์การพิมพ์, 2538: 40-51.

8. วันเพ็­ บุ­ประกอบ. การพัฒนาบุคลิกภาพ. ใน : เกษม ตันติผลาชีวะ, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536:139-73.

9. Lewis M, Volkmar FR. Adolescence. In : Clinical aspects of child and adolescent development. 3 rd ed . London: Lea and Febiger, 1990:211-52.

10. กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. ครอบครัวที่มีคุณภาพ. กรมประชาสงเคราะห์ 2529; 29(6) : 26-30.

11. วราภรณ์ รักวิจัย. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แสงศิลป์การพิมพ์, 2533:11-52.

12. อัจฉรา ทองตัน. การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริ­­าสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอาช­าวิทยาและงานยุติธรรม. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536 : 146 หน้า.

13. Berk LE. Juvenile delinquency, moral development. In : Child development. 3rd ed . Boston : Allyn and Bacon , 1994 : 510-1.

14. Hoge RD, Andrews DA, Leschied AW. An investigation of risk and protective factors in a sample of youthful offenders. J Child Psychol Psychiary 1996; 37: 419-24.

15. ศิริบูรณ์ สายโกสุม. ความสัมพันธ์ในครอบครัวและความก้าวร้าวของวัยรุ่น. วารสารรามคำแหง ฉบับศึกษาศาสตร์ 2534; 14(3) : 108-17.

16. Sampson RJ, Laub JH. Urban poverty and the family context of delinquency : a new look at structure and process in a classic study. Child Dev 1994 ; 65: 523-40.

17. Spender Q, Scott S. Conduct disorder. Curr Opin Psychiatry 1996 ; 9: 273- 7.

18. ขัตติยา รัตนดิลก. ลักษณะทางสังคม จิตใจของเยาวชนผู้กระทำผิดซ้ำ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง : ศึกษากรณีบ้านกรุณาและบ้านปราณี. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2539 ; 27(2) : 50-60.

19. Sorensen E, Johnson E. Subtypes of incarcerated delinquents constructed via cluster analysis. J Child Psychol Psychiatry 1996; 37: 293-303.

20. Lion JR. Aggression. In : Kaplan, HI , Sadock, BJ, eds. Comprehensive textbook of psychiatry, 6 th ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1995: 310-7.

21. อุมาพร ตรังคสมบัติ. ครอบครัวบำบัด : ทางเลือกใหม่ในการแก้ปั­หาของเด็ก. กรมประชาสงเคราะห์ 2536 ; 36(2) : 36-44.

22. ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537: 95-120.

23. Cashwell CS ,Vacc NA : Family functioning and risk behaviors: influences on adolescent delinquency. J School Counselor 1996; 44: 105-14.


 ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของวัยรุ่นกระทำผิดกฎหมายจำแนกตามประเภทคดี

ประเภทของการกระทำผิดกฎหมาย จำนวน ( คน ) ร้อยละ

 

ลักทรัพย์

ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

การใช้สารเสพย์ติด

พกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ

รวม

50 58.1

18 20.9

17 19.8

1 1.2

86 100


ตารางที่ 2 จำนวน และร้อยละ ของสภาพครอบครัวของวัยรุ่น (จำนวน = 86 )
สภาพครอบครัว

จำนวน (คน)

ร้อยละ

บุคคลที่วัยรุ่นอาศัยอยู่ด้วยก่อนทำผิดกฎหมาย

บิดามารดา

ผู้ปกครอง

มารดา

เพื่อน

บิดา

อยู่คนเดียว

สถานภาพสมรสของบิดามารดา

อยู่ด้วยกัน

แยกทาง หย่าร้าง

เป็นหม้าย เช่น สามีหรือภรรยาเสียชีวิต

เสียชีวิตทั้งคู่

ความรักความผูกพันของบิดามารดา

รักใคร่กันดี

ทะเลาะกันเป็นครั้งคราว

ทะเลาะกันเป็นประจำ

ต่างคนต่างอยู่

อื่น ๆ เช่น บิดามารดาเสียชีวิตทั้งคู่

 

 

41

15

13

8

7

2

 

48

23

14

1

 

41

26

5

6

8

 

 

 

47.7

17.5

15.1

9.3

8.1

2.3

 

55.8

26.7

16.3

1.2

 

47.7

30.2

5.8

7.0

9.3

 


ตารางที่ 3 ค่าร้อยละ ( ความถี่ ) ของการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นแบบประชาธิปไตย ( จำนวน=86 )

ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู

 

ไม่เคย

% (N)

บางครั้ง % (N) ทุกครั้ง % (N)
 

1. ผู้ปกครองเฝ้าคอยด้วยความห่วงใยเมื่อกลับ

บ้านผิดเวลา

2. ผู้ปกครองให้กำลังใจเมื่อมีความผิดพลาดหรือ

ผิดหวัง

3. ผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนที่ชอบและถนัด

4. ผู้ปกครองให้คิดแก้ปั­หาด้วยตัวเองก่อน

แล้วช่วยเหลือเมื่อแก้ปั­หาไม่ได้

5. ผู้ปกครองถามเหตุผลเมื่อวัยรุ่นไม่ทำตาม

ความเห็นของผู้ปกครอง

6. ผู้ปกครองลงโทษลูกทุกคนเท่าเทียมกัน

เมื่อทำความผิด

7. ผู้ปกครองเป็นที่ปรึกษาเมื่อมีปั­หา

8. ผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

เรื่องต่าง ๆ

 


 

7.0 (6)

 

12.8 (11)

 

19.8 (17)

17.4 (15)

 

22.1 (19)

 

24.4 (21)

 

22.1 (19)

18.6 (16)

 

 

33.7 (29)

 

33.7 (29)

 

27.9 (24)

46.5 (40)

 

44.2 (38)

 

45.4 (39)

 

59.3 (51)

68.6 (59)

 

59.3 (51)

 

53.5 (46)

 

52.3 (45)

36.1 (31)

 

33.7 (29)

 

30.2 (26)

 

18.6 (16)

12.8 (11)

 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละ ( ความถี่ ) ของการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นแบบปล่อยปละละเลย (จำนวน=86)

ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู

 

ไม่เคย

% (N)

บางครั้ง

% (N)

ทุกครั้ง

% (N)

 

1. ผู้ปกครองไม่สนใจเรื่องการคบเพื่อน

2. ผู้ปกครองไม่ว่ากล่าวเรื่องการเที่ยวเตร่

3. ผู้ปกครองลงโทษหรือด่าว่าอย่างรุนแรง

เมื่อทำความผิด

4. ผู้ปกครองไม่ชมเชยเมื่อทำความดี

5. ผู้ปกครองไม่ให้เงินซื้อของที่จำเป็น

และยังดุว่ากล่าว

6. ผู้ปกครองมักเฉยเมยต่อการขอคำปรึกษา

7. เมื่อผู้ปกครองโกรธ จะระบายอารมณ์ด้วย

การทุบตี

8. ผู้ปกครองไม่ว่ากล่าวตักเตือนความประพฤติ

และการพูดจา

 


 

31.4 (27)

17.4 (15)

32.5 (28)

 

44.2 (38)

75.5 (65)

 

70.9 (61)

77.9 (67)

 

36.1 (31)

 

 

51.2 (44)

68.6 (59)

57.0 (49)

 

46.5 (40)

19.8 (17)

 

24.4 (21)

18.6 (16)

 

63.9 (55)

 

17.4 (15)

14.0 (12)

10.5 (9)

 

9.3 (8)

4.7 (4)

 

4.7 (4)

3.5 (3)

 

0 (0)

 

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(3): 217-25.

สภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย

Family Status and Child Rearing in Adolescent Delinquency

 ปัทมา ศิริเวช พ.บ. *
สมบูรณ์ อินทรกำเนิด ป.พส.*
อาภา กฤตยานวัช ป.พส. *
เพ็­ศรี ไชยุ ป.พส.*
เนาวรัตน์ อุบลสถิตย์ ป.พส.*
รักษิณา กลับรินทร์ ป.พส.*
จรั­ สุภัทรากุล บธ.บ.*
รักชนก ประสิทธิวงษ์ คศ.บ.*

 * โรงพยาบาลสวนสรา­รม­์ อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี 84130

 บทนำ

การกระทำผิดกฎหมาย คือ การไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่สังคมกำหนดไว้ 1 ทำให้สู­เสียทั้งทรัพย์สินเงินทอง ชีวิตและร่างกาย และความสงบสุขของบุคคล รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลความปลอดภัยของประชาชน แล้วยังต้องมีภาระดูแลผู้กระทำผิดด้วย การกระทำผิดกฎหมายของเด็กไม่ถือว่าเป็นอาช­ากรรมเหมือนผู้ให­่ แต่เรียกว่า การกระทำผิด (delinquency) 2 เนื่องจากเด็กขาดความรู้ผิดรู้ชอบ เช่น ทำด้วยความคึกคะนอง และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เด็กที่กระทำผิดเหล่านี้จะถูกสอบสวนและควบคุมความประพฤติในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งสถานพินิจฯ มีหน้าที่อบรมผู้กระทำผิดที่มีอายุตั้งแต่ 7-18 ปี

สถิติของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย ในระยะเวลา 4 ปี ( พ.ศ.2536 - 39) มีจำนวนผู้กระทำผิดดังนี้ พ.ศ.2536 จำนวน 361 คน3 พ.ศ.2537 จำนวน 545 คน พ.ศ.2538 จำนวน 749 คน และ พ.ศ.2539 จำนวน 860 คน4 รวมผู้กระทำผิด 2,515 คน เป็นชาย 2,344 คน และห­ิง 171 คน สัดส่วนชายต่อห­ิงประมาณ 13 เท่า และผู้กระทำผิด จำนวน 2,124 คน มีอายุ 15-18 ปี ซึ่งจัดอยู่ในช่วงหนึ่งของวัยรุ่น ส่วนประเภทของการกระทำผิดมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ คดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และใช้สารเสพย์ติด เป็นที่น่าสังเกตว่าการกระทำผิดของวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปั­­า ตลอดจนการปรับตัวในสังคม 5-9 วัยรุ่นที่แก้ไขปั­หา และปรับตัวเข้าสู่ความเป็นผู้ให­่รับผิดชอบตนเองได้ ส่วนมากมีครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น ผูกพันซึ่งกันและกัน 10 บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ เข้าใจ ยอมรับความคิดเห็นของวัยรุ่นอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย 11 ในทางตรงกันข้ามวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายส่วนให­่มาจากครอบครัวแตกแยก 12 คือ บิดามารดาทะเลาะกัน ขัดแย้งอย่างรุนแรง 13-14 จนในที่สุดต้องแยกทางหรือหย่าร้าง อีกทั้งบิดามารดา อบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 11-12,15 ไม่เอาใจใส่ ไม่มีระเบียบ 16-17 ลงโทษโดยขาดเหตุผล ขาดการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ทำให้วัยรุ่นขาดที่พึ่ง มีปั­หาในการปรับตัว 11,14 แสดงออกทางด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ รวมถึงการเกเร หนีโรงเรียน มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร บางครั้งก่อปั­หารุนแรงจนถึงขั้น ทำผิดกฎหมาย 11-14,16 ทำให้วัยรุ่นเสียโอกาสในการศึกษา เสียอนาคต ทำให้ชาติสู­เสียทรัพยากร ที่สำคั­ไปด้วย

วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายทุกรายที่ถูกสอบสวนและควบคุมความประพฤติในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และส่งมาตรวจสุขภาพกายและจิต ที่โรงพยาบาลสวนสรา­รมย์นั้น หากพบความผิดปกติจะได้รับการรักษา จากการสุ่มสัมภาษณ์วัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวจำนวน 20 คนพบว่ามีประวัติครอบครัวแตกแยก 10 คน ถูกเพื่อนชักชวน 5 คน และมีภาวะปั­­าอ่อน 1 คนจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุสำคั­ที่ทำให้วัยรุ่นทำผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด จึงได้สำรวจเพื่อศึกษาสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น และคาดว่าวัยรุ่นทำผิดกฎหมายเนื่องจากบิดามารดาอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย หรือสมาชิกในครอบครัวมีความรักความผูกพันต่อกันน้อย การวิจัยครั้งนี้พบว่า วัยรุ่นทำผิดกฎหมายมาจากครอบครัวแตกแยก และไม่ได้รับความเอาใจใส่ในเรื่องการคบเพื่อน ดังนั้นควรวางแผนให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ปรับตัวอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่นได้

 วิธีการศึกษา

การวิจัยนี้เป็นการสำรวจสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มวัยรุ่น จำนวน 86 คน ที่ทำผิดกฎหมาย มีภูมิลำเนาจังหวัดสุราษฏร์ธานี และได้รับการดูแลอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2540 ขั้นแรก คณะผู้วิจัยได้มีหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และสอบถาม แบบสัมภาษณ์ มีข้อคำถามซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไป มีจำนวน 17 ข้อ เช่น เพศ อายุ การศึกษา รวมถึงประวัติการใช้สารเสพย์ติด และการกระทำผิดกฎหมายของสมาชิกในครอบครัว ส่วนที่ 2 มีจำนวน 3 ข้อ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีจำนวน 8 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับสภาพครอบครัว เช่น สถานภาพสมรสของบิดามารดา ความรักความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อทราบลักษณะครอบครัวของวัยรุ่น และส่วนที่ 2 มีจำนวน 16 ข้อ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูว่าใช้วิธีประชาธิปไตย หรือวิธีปล่อยปละละเลย เพื่อทราบพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูวัยรุ่น ซึ่งคณะผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของ อัจฉรา ทองตัน12มาปรับให้เหมาะสม

แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามดังกล่าวนำไปทดสอบกับวัยรุ่นจำนวน 24 คน ที่ผู้ปกครองได้ประกันตัวจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และมาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสวนสรา­รมย์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2540 หลังจากทดสอบนำเครื่องมือมาปรับปรุงแก้ไข หาค่าความเชื่อถือ และทำความเข้าใจให้ตรงกัน แล้วจึงนำแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดในกลุ่มวัยรุ่นทุกคนที่กำหนดไว้ หลังการสัมภาษณ์ได้ขอความร่วมมือจากวัยรุ่นเหล่านี้ให้ตอบแบบสอบถาม โดยได้อธิบายคำชี้แจงในแบบสอบถามให้วัยรุ่นเข้าใจและให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมด มาตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสตามคู่มือลงรหัส และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับสภาพครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น

ผลการศึกษา

วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย และเป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยนี้คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในการดูแลของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงกรกฎาคม 2540 จำนวน 86 คน เป็นชาย 81 คน ห­ิง 5 คน สัดส่วนชายต่อห­ิง 16:1 อายุเฉลี่ย 17 ปี ส่วนให­่นับถือศาสนาพุทธ ผู้กระทำผิดมาจากอำเภอเมือง มากที่สุด ร้อยละ 23.3 และอำเภอพุนพิน ร้อยละ 17.4 มีที่พักอาศัยอยู่ตามเรือกสวนไร่นา ร้อยละ 67.4 รองลงมาคืออาศัยอยู่ในตลาดหรือย่านการค้าธุรกิจ ร้อยละ 16.3. วัยรุ่นส่วนให­่ จบชั้นประถมศึกษา รองลงมาคือจบมัธยมศึกษาตอนต้น. วัยรุ่นเหล่านี้ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยวันละ 124 บาท รองลงมาเป็นอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ย วันละ 146 บาท. วัยรุ่นที่ไม่ได้ทำงานได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองเฉลี่ยวันละ 81 บาท และเป็นนักเรียนได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองเฉลี่ยวันละ 54 บาท

วัยรุ่นกระทำผิดกฎหมายเรียงประเภทคดีตามลำดับความถี่คือลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ใช้สารเสพย์ติด และพกพาอาวุธปืน ( ตารางที่ 1 ) สาเหตุที่วัยรุ่นทำผิดคือ ถูกเพื่อนชักชวน จำนวน 22 คน ต้องการเงินหรือทรัพย์หรือถูกจ้างวาน จำนวน 18 คน ใช้สารเสพย์ติด 15 คน ทะเลาะวิวาท แก้แค้น โมโห โกรธ 12 คน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ 8 คน นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น คึกคะนอง ป้องกันตัว มั่วสุมกลุ่มเพื่อนเกเร จำนวน 11 คน วัยรุ่นเหล่านี้กระทำผิดครั้งแรก 61 คน ( ร้อยละ 70.9 ) กระทำผิดซ้ำครั้งที่ 2 จำนวน 21 คน ( ร้อยละ 24.4 ) และครั้งที่ 3 จำนวน 4 คน ( ร้อยละ 4.7 ) จากการสอบถามว่าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติทำผิดกฎหมายหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า กระทำผิด 27 คน ( ร้อยละ 31.3 ) มีบิดาและพี่ชายกระทำผิดกฎหมาย จำนวนเท่ากัน คือ 10 คน มารดาทำผิดกฎหมาย จำนวน 2 คน และบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวทำความผิด เช่น น้าชาย ปู่ ลุง จำนวน 5 คน

จากการสัมภาษณ์วัยรุ่นพบว่า บิดามารดาส่วนให­่จบชั้นประถมศึกษา รองลงมาคือ ไม่ทราบระดับการศึกษาของบิดามารดา ส่วนการประกอบอาชีพของบิดามารดาพบว่า ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ รับจ้างและค้าขาย จำนวนพี่น้องในครอบครัวของวัยรุ่นที่ มากที่สุดคือ 12 คน เป็นลูกคนเดียว 7 คน โดยเฉลี่ยมีพี่น้องครอบครัวละ 4 คน ความผูกพันระหว่างพี่น้องพบว่า รักใคร่ปรองดองกัน ร้อยละ 57 และขัดแย้งกันเป็นครั้งคราว ร้อยละ 33.7 ส่วนความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ( ร้อยละ 62.8 )

ก่อนทำผิดกฎหมายวัยรุ่นส่วนให­่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา รองลงมาคือ ผู้ปกครอง เช่น น้า ลุง พี่ สถานภาพสมรสของบิดามารดาคือ ส่วนให­่อยู่ด้วยกัน แต่มีอัตราการแยกทาง หย่าร้าง และบิดาหรือมารดาเสียชีวิตค่อนข้างมาก ส่วนความรักความผูกพันของบิดามารดา พบว่ารักใคร่กันดี รองลงมาคือ ทะเลาะกันเป็นครั้งคราว ( ตารางที่ 2 )

การสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ซึ่งแบ่งเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย กล่าวคือ ไม่สนใจ หรือใช้อารมณ์ ลงโทษดุด่าอย่างรุนแรงโดยขาดเหตุผล และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยคือ เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น มีเหตุผลและยุติธรรม ผลปรากฏว่าคะแนนการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับพอใช้ (ตารางที่ 3) ส่วนคะแนนการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยอยู่ในระดับ ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม พบว่าวัยรุ่นเหล่านี้ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ปกครองเท่าที่ควรในเรื่อง การคบเพื่อนและการเที่ยวเตร่ (ตารางที่ 4)

สมาชิกในครอบครัวของวัยรุ่นกลุ่มเป้าหมาย ใช้สารเสพย์ติดสูงถึง 60 ครอบครัว ไม่ใช้ 25 ครอบครัว และไม่ทราบว่าใช้หรือไม่ 1 ครอบครัว ผู้ที่ใช้มากที่สุดคือ บิดาจำนวน 47 คน รองลงมาคือ พี่ 24 คน สารเสพย์ติดที่ใช้มากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นคือ บุหรี่ 82 คน รองลงมาคือ ดื่มสุรา 67 คน ดมกาว 41 คน สูบกั­ชา 38 คน สูบผงขาว 18 คน กินยาบ้า 14 คน และใช้สารเสพย์ติดอื่น ๆ เช่น ยาอี พืชกระท่อม ยากล่อมประสาท 12 คน วัยรุ่นกลุ่มนี้ ใช้สารเสพย์ติด 3 ชนิดขึ้นไปมีจำนวนมากถึง 51 คน ( ร้อยละ 59.3 )

วิจารณ์

การศึกษาวัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมาย เฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 86 คน พบว่าชายทำผิดกฎหมายมากกว่าห­ิง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พบว่าใกล้เคียงกัน 14,18-19 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชายมีฮอร์โมน Testosterone ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าว 20 คือ ระดับ testosterone สูงขึ้นในบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และการศึกษาของ ศิริบูรณ์ สายโกสุม 15 ยืนยันว่าเพศชายมีความก้าวร้าวมากกว่าเพศห­ิง ความก้าวร้าวนี้ทำให้ วัยรุ่นขาดการควบคุมตนเอง อีกทั้งบิดามารดาดูแลเข้มงวดวัยรุ่นชายน้อยกว่าห­ิง ทำให้มีโอกาสออกไปเที่ยวนอกบ้าน พบกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายได้ เช่น เที่ยวสถานเริงรมย์ และคบเพื่อนเกเร

ผลการศึกษาที่พบว่า ก่อนที่วัยรุ่นจะทำผิดกฎหมายไม่ได้อยู่กับบิดามารดา บิดามารดาแยกทางหรือหย่าร้างทำให้ครอบครัวแตกแยกนี้เหมือนกับการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน12 ที่ศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ครอบครัวแตกแยกเป็นเหตุให้บทบาทของบิดามารดาในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป อาจสลับบทบาทหรือบทบาทที่ทำอยู่บกพร่อง เช่น มารดาต้องมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวรวมทั้งดูแลบุตร ทำให้ไม่มีเวลาส่งเสริมเด็กให้พัฒนาตามขั้นตอนที่เหมาะสม 21 เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไร จึงหันไปพึ่งพาเพื่อน ถ้าคบเพื่อนไม่ดีจะก่อให้เกิดผลเสีย ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ของบิดามารดาพบว่า บิดามารดาทะเลาะเบาะแว้ง หรือขัดแย้งรุนแรงจนถึงขั้นต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจกัน ผลการศึกษาคล้ายคลึงกับการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน 12 และการศึกษาของ Sorensen และ Johnson 19 ในรัฐ Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกา ปั­หาจากบิดามารดาดังกล่าวอาจทำให้วัยรุ่นแสดงพฤติกรรมเกเรจนถึงขั้นทำผิดกฎหมาย โดยยอมเป็นแพะรับบาปหรือตัวปั­หา เพื่อให้บิดามารดามาร่วมกันดูแลตน ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องจัดการกับความขัดแย้งที่มีต่อกัน 21 แต่มาจัดการกับปั­หาของบุตรแทน

การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความรักความผูกพันในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งต่างจากการศึกษาของ Hoge และคณะ 14 ที่ศึกษาวัยรุ่นทำผิดกฎหมายในประเทศแคนาดา พบว่าความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น ทั้งนี้ อาจเนื่องจากวัยรุ่นที่คณะผู้วิจัยศึกษาส่วนให­่มีที่พักอาศัยอยู่ตามเรือกสวนไร่นา ซึ่งเป็นสภาพสังคมเกษตรกรรม และสภาพครอบครัวในสังคมเกษตรกรรมเป็นครอบครัวขยาย 22 กล่าวคือ นอกจากบิดามารดา และบุตรแล้ว ยังมี ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา เป็นต้น อยู่ร่วมกัน ถึงแม้ว่าบิดามารดาขัดแย้งกัน ก็ยังมีบุคคลในครอบครัวที่เข้ามาช่วยดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักความผูกพันแก่วัยรุ่นได้

ผลการศึกษาเรื่องการอบรมเลี้ยงดูนั้นพบว่า ส่วนให­่บิดามารดาเอาใจใส่วัยรุ่น แต่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควร และเป็นที่น่าสังเกตว่าบิดามารดาไม่ค่อยสนใจว่าวัยรุ่นจะคบเพื่อนแบบใด หรือเที่ยวเตร่อย่างไร รายงานวิจัยของ Cashwell และ Vacc 23 พบว่า ถ้าวัยรุ่นคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น อันธพาลหรือต่อต้านสังคม ก็จะเป็นตัวทำนายที่สำคั­ว่าวัยรุ่นนั้นมักกระทำผิดกฎหมาย นอกจากนั้น Berk 13 ได้ศึกษาพัฒนาการของผู้กระทำผิดกฎหมาย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กตอนต้น ถ้าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างไม่มีระเบียบและไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งครอบครัวมีความขัดแย้ง เด็กเหล่านี้จะมีปั­หาพฤติกรรมเกเร กลุ่มเพื่อนปกติไม่ยอมรับหรือกีดกัน แต่ได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมเกเรเหมือนกัน ผลสุดท้ายเด็กเหล่านี้มีโอกาสทำผิดกฎหมาย ดังนั้น บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรเอาใจใส่ ให้เวลาแก่เด็ก แสดงความรักความห่วงใย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้สึกกับเด็กเพื่อให้เข้าใจกัน ตลอดจนผู้ปกครองต้องฝึกทักษะวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เช่น ว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษบุตรอย่างเหมาะสมเมื่อทำผิด ยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมของผู้ปกครองจะต้องคงที่สม่ำเสมอ เพื่อบุตรจะได้ปรับตัวและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ในสังคมเช่นกัน

ประเด็นหนึ่งที่สำคั­คือ ประเภทคดีที่วัยรุ่นทำผิดมากที่สุดคือ คดีลักทรัพย์ เป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุส่วนให­่มาจากการถูกเพื่อนชักชวน อาจเป็นเพราะวัยรุ่นต้องการให้กลุ่มเพื่อนยอมรับ และเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองเป็นคนเก่ง จึงยอมทำตามเพื่อนโดยไม่คำนึงว่าถูกต้องหรือไม่ ผลส่วนนี้แตกต่างจากการศึกษาของ อัจฉรา ทองตัน12 ที่พบว่าสาเหตุคือต้องการเงินหรือทรัพย์สิน ทั้งนี้อาจเนื่องจากรายได้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ วัยรุ่นกลุ่มนี้ได้รับเงินเฉลี่ยถึงวันละ 99 บาทต่อคน ในขณะที่ครอบครัวของวัยรุ่นกลุ่มที่ อัจฉรา ทองตัน12 ศึกษามีรายได้เพียงวันละประมาณ 68 บาทต่อครอบครัว ส่วนคดีทำร้ายร่างกายพบว่า สาเหตุส่วนให­่คือ ความโกรธ ซึ่งอาจอธิบายว่า เป็นเพราะอารมณ์ของวัยรุ่นไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงง่าย วู่วาม หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด นอกจากนั้นลักษณะอื่นๆ ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นทำผิดกฎหมาย ได้แก่ ประวัติสมาชิกในครอบครัว ทำผิดกฎหมาย และใช้สารเสพย์ติด ซึ่งผลใกล้เคียงกับการศึกษาของ Sorensen และ Johnson 19 อีกทั้งวัยรุ่นที่คณะผู้วิจัยศึกษานั้นเกือบทุกคนใช้สารเสพย์ติดอย่างน้อย 1 ชนิด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะวัยรุ่นเหล่านี้พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับการตักเตือนว่าเป็นสิ่งที่ผิด จึงยึดถือเป็นแบบอย่าง ดังนั้น บิดามารดาควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำแนะนำวัยรุ่นในเรื่องการคบเพื่อน การควบคุมตนเอง และสอนวิธีระบายอารมณ์โกรธไปในทางสร้างสรรค์ เช่น การเล่นกีฬา การปลูกต้นไม้ การวาดรูป รวมทั้งการสอนให้เคารพกฎระเบียบของสังคม

การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการกระทำผิดซ้ำของวัยรุ่น ที่พบถึงร้อยละ 29.1 ว่านอกจากศึกษาสภาพครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูแล้ว ยังควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลิกภาพและพฤติกรรมของวัยรุ่นเอง หนังสือพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์ที่ยั่วยุ เป็นต้น

การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า วัยรุ่นที่ทำผิดกฎหมายมาจากครอบครัวแตกแยก ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งสมาชิกในครอบครัวมีประวัติทำผิดกฎหมาย และใช้สารเสพย์ติดค่อนข้างมาก สำหรับการอบรมเลี้ยงดูบิดามารดาเอาใจใส่วัยรุ่นค่อนข้างมาก แต่วัยรุ่นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในเรื่องการคบเพื่อนและการเที่ยวเตร่ ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสคบเพื่อนเกเร และถูกชักชวนไปกระทำผิดได้ง่าย ดังนั้น ควรให้ความรู้แก่บิดามารดาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นได้ถูกต้อง และให้คำแนะนำแก่วัยรุ่นในเรื่องการเลือกคบเพื่อน และการเคารพกฎระเบียบของสังคม ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันและลดการกระทำผิดกฎหมายของวัยรุ่นได้

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ คณะวิทยากรหลักสูตร"นักวิจัยสาธาณสุขมือทอง" ศ.ดร. เวคิน นพนิตย์ ดร.อนุชิต ล้ำยอดมรรคผลดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล พ.อ. ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู และนางวนัสรา เชาวน์นิยม ที่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้ ตลอดจน รศ.พ­.อลิสา วัชรสินธุ ที่ช่วยตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาในแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม

เอกสารอ้างอิง

1. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายเกี่ยวกับนิติจิตเวชศาสตร์. วารสารโรงพยาบาลนิติจิตเวช 2536; 2(1): 9-21.

2. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. กฎหมายเกี่ยวกับนิติจิตเวชเด็ก. วารสารโรงพยาบาลนิติจิตเวช 2535; 1(2): 20-5.

3. สถิติการรับตัวเด็กและเยาวชนระหว่าง สอบสวน พิจารณาและฝึกอบรม. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2536.

4. สถิติการรับเด็กและเยาวชนระหว่าง สอบสวน พิจารณาและฝึกอบรม. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2537 - 2539.

5. ศรีธรรม ธนะภูมิ. พัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์การพิมพ์, 2535: 74-83.

6. ดวงใจ กสานติกุล. วัยรุ่น. ใน : เกษม ตันติผลาชีวะ , บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536: 818-51.

7. ดวงใจ กสานติกุล. วัยรุ่น. ใน : วันเพ็­ บุ­ประกอบ , อัมพล สูอำพัน, นงพงา ลิ้มสุวรรณ, บรรณาธิการ. จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์การพิมพ์, 2538: 40-51.

8. วันเพ็­ บุ­ประกอบ. การพัฒนาบุคลิกภาพ. ใน : เกษม ตันติผลาชีวะ, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536:139-73.

9. Lewis M, Volkmar FR. Adolescence. In : Clinical aspects of child and adolescent development. 3 rd ed . London: Lea and Febiger, 1990:211-52.

10. กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. ครอบครัวที่มีคุณภาพ. กรมประชาสงเคราะห์ 2529; 29(6) : 26-30.

11. วราภรณ์ รักวิจัย. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แสงศิลป์การพิมพ์, 2533:11-52.

12. อัจฉรา ทองตัน. การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริ­­าสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอาช­าวิทยาและงานยุติธรรม. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536 : 146 หน้า.

13. Berk LE. Juvenile delinquency, moral development. In : Child development. 3rd ed . Boston : Allyn and Bacon , 1994 : 510-1.

14. Hoge RD, Andrews DA, Leschied AW. An investigation of risk and protective factors in a sample of youthful offenders. J Child Psychol Psychiary 1996; 37: 419-24.

15. ศิริบูรณ์ สายโกสุม. ความสัมพันธ์ในครอบครัวและความก้าวร้าวของวัยรุ่น. วารสารรามคำแหง ฉบับศึกษาศาสตร์ 2534; 14(3) : 108-17.

16. Sampson RJ, Laub JH. Urban poverty and the family context of delinquency : a new look at structure and process in a classic study. Child Dev 1994 ; 65: 523-40.

17. Spender Q, Scott S. Conduct disorder. Curr Opin Psychiatry 1996 ; 9: 273- 7.

18. ขัตติยา รัตนดิลก. ลักษณะทางสังคม จิตใจของเยาวชนผู้กระทำผิดซ้ำ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง : ศึกษากรณีบ้านกรุณาและบ้านปราณี. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2539 ; 27(2) : 50-60.

19. Sorensen E, Johnson E. Subtypes of incarcerated delinquents constructed via cluster analysis. J Child Psychol Psychiatry 1996; 37: 293-303.

20. Lion JR. Aggression. In : Kaplan, HI , Sadock, BJ, eds. Comprehensive textbook of psychiatry, 6 th ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1995: 310-7.

21. อุมาพร ตรังคสมบัติ. ครอบครัวบำบัด : ทางเลือกใหม่ในการแก้ปั­หาของเด็ก. กรมประชาสงเคราะห์ 2536 ; 36(2) : 36-44.

22. ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537: 95-120.

23. Cashwell CS ,Vacc NA : Family functioning and risk behaviors: influences on adolescent delinquency. J School Counselor 1996; 44: 105-14.


ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของวัยรุ่นกระทำผิดกฎหมายจำแนกตามประเภทคดี

ประเภทของการกระทำผิดกฎหมาย

 

จำนวน ( คน ) ร้อยละ

 

ลักทรัพย์

ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

การใช้สารเสพย์ติด

พกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ

รวม

50 58.1

18 20.9

17 19.8

1 1.2

86 100


ตารางที่ 2 จำนวน และร้อยละ ของสภาพครอบครัวของวัยรุ่น (จำนวน = 86 )

สภาพครอบครัว

จำนวน (คน)

ร้อยละ

บุคคลที่วัยรุ่นอาศัยอยู่ด้วยก่อนทำผิดกฎหมาย

บิดามารดา

ผู้ปกครอง

มารดา

เพื่อน

บิดา

อยู่คนเดียว

สถานภาพสมรสของบิดามารดา

อยู่ด้วยกัน

แยกทาง หย่าร้าง

เป็นหม้าย เช่น สามีหรือภรรยาเสียชีวิต

เสียชีวิตทั้งคู่

ความรักความผูกพันของบิดามารดา

รักใคร่กันดี

ทะเลาะกันเป็นครั้งคราว

ทะเลาะกันเป็นประจำ

ต่างคนต่างอยู่

อื่น ๆ เช่น บิดามารดาเสียชีวิตทั้งคู่

 

 

41

15

13

8

7

2

 

48

23

14

1

 

41

26

5

6

8

 

 

 

47.7

17.5

15.1

9.3

8.1

2.3

 

55.8

26.7

16.3

1.2

 

47.7

30.2

5.8

7.0

9.3

 

 


ตารางที่ 3 ค่าร้อยละ ( ความถี่ ) ของการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นแบบประชาธิปไตย ( จำนวน=86 )

ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู

 

ไม่เคย

% (N)

บางครั้ง % (N) ทุกครั้ง % (N)
 

1. ผู้ปกครองเฝ้าคอยด้วยความห่วงใยเมื่อกลับ

บ้านผิดเวลา

2. ผู้ปกครองให้กำลังใจเมื่อมีความผิดพลาดหรือ

ผิดหวัง

3. ผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนที่ชอบและถนัด

4. ผู้ปกครองให้คิดแก้ปั­หาด้วยตัวเองก่อน

แล้วช่วยเหลือเมื่อแก้ปั­หาไม่ได้

5. ผู้ปกครองถามเหตุผลเมื่อวัยรุ่นไม่ทำตาม

ความเห็นของผู้ปกครอง

6. ผู้ปกครองลงโทษลูกทุกคนเท่าเทียมกัน

เมื่อทำความผิด

7. ผู้ปกครองเป็นที่ปรึกษาเมื่อมีปั­หา

8. ผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

เรื่องต่าง ๆ

 


 

7.0 (6)

 

12.8 (11)

 

19.8 (17)

17.4 (15)

 

22.1 (19)

 

24.4 (21)

 

22.1 (19)

18.6 (16)

 

 

33.7 (29)

 

33.7 (29)

 

27.9 (24)

46.5 (40)

 

44.2 (38)

 

45.4 (39)

 

59.3 (51)

68.6 (59)

 

59.3 (51)

 

53.5 (46)

 

52.3 (45)

36.1 (31)

 

33.7 (29)

 

30.2 (26)

 

18.6 (16)

12.8 (11)

 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละ ( ความถี่ ) ของการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นแบบปล่อยปละละเลย (จำนวน=86)

ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู

 

ไม่เคย

% (N)

บางครั้ง

% (N)

ทุกครั้ง

% (N)

 

1. ผู้ปกครองไม่สนใจเรื่องการคบเพื่อน

2. ผู้ปกครองไม่ว่ากล่าวเรื่องการเที่ยวเตร่

3. ผู้ปกครองลงโทษหรือด่าว่าอย่างรุนแรง

เมื่อทำความผิด

4. ผู้ปกครองไม่ชมเชยเมื่อทำความดี

5. ผู้ปกครองไม่ให้เงินซื้อของที่จำเป็น

และยังดุว่ากล่าว

6. ผู้ปกครองมักเฉยเมยต่อการขอคำปรึกษา

7. เมื่อผู้ปกครองโกรธ จะระบายอารมณ์ด้วย

การทุบตี

8. ผู้ปกครองไม่ว่ากล่าวตักเตือนความประพฤติ

และการพูดจา


 

 

31.4 (27)

17.4 (15)

32.5 (28)

 

44.2 (38)

75.5 (65)

 

70.9 (61)

77.9 (67)

 

36.1 (31)

 

 

51.2 (44)

68.6 (59)

57.0 (49)

 

46.5 (40)

19.8 (17)

 

24.4 (21)

18.6 (16)

 

63.9 (55)

 

17.4 (15)

14.0 (12)

10.5 (9)

 

9.3 (8)

4.7 (4)

 

4.7 (4)

3.5 (3)

 

0 (0)

 

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us