เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


เจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์โรงพยาบาลชุมชน *

สมบัติ ศาสตร์รุ่งภัค พ.บ. **,
รัตนา สายพานิชย์ พ.บ. **,
ชัชวาลย์ ศิลปกิจ พ.บ.**

 วัตถุประสงค์ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนและศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลกับความแตกต่างของเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ วิธีการศึกษา ส่งแบบสอบถามเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยคำถามที่ประเมินเจตคติ 4 ด้าน (ต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวช, ต่อทักษะการรักษาโรค, ต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และต่อวิชาจิตเวชศาสตร์) จำนวน 15 ข้อ ให้กับแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 1,500 คน ได้รับตอบแบบสอบถามกลับทั้งสิ้นจำนวน 617 ฉบับ (ร้อยละ 41.1) จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้าน และคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติแต่ละด้าน กับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง สถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต และจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน ผลการศึกษา คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านแตกต่างกันตามสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต (p < 0.05) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวช และคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรคแตกต่างกันตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต (p < 0.05) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์แตกต่างกันตามสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต (p < 0.05) สรุป ผลการศึกษานี้อาจบ่งถึงความแตกต่างของประสบการณ์การเรียนรู้ที่แพทย์แต่ละคนได้รับในช่วงที่ผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์จากแต่ละสถาบัน และแสดงถึงความต้องการได้รับการฝึกอบรมต่อเนื่องด้านทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งควรจะมีการศึกษาต่อว่าประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นใดบ้างที่มีผลกับเจตคติของแพทย์ต่อจิตเวชศาสตร์ และทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชด้านใดบ้างที่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนต้องการ

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42(4) :197-211.

 คำสำคั­ เจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ แพทย์โรงพยาบาลชุมชน

 * รายงานในการประชุมวิชาการราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยประจำปี 2540 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร วันที่ 20-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540.

** ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ 10400

Primary care physicians’ attitudes towards psychiatry *

 Sombat Zartrungpak, M.D.**,
Rattana Saipanish, M.D.**,
Chatchawan Silpakit, M.D.**

 Objectives The primary care physicians’ attitudes toward psychiatry and factor influencing the attitudes were investigated. Methods A questionnaire comprising fifteen 4-point scale items was sent to 1,500 primary care physcians. Four aspect of attitudes towards psychiatry included in the questionnaire were: psychiatric patients and psychiatric illness (5 items), needs about psychiatric treatment skills (3 items), attitudes to psychiatric treatments (5 items) and attitudes to psychiatry as a medical subject (2 items). Factors influence the attitudes such as number of practice experience years, specialty, the school of graduation and number of out patients per day were explored by mean of one-way ANOVA. Results Six hundred and seventeen physicians (41.1%), covering all medical schools and geographic regions, returned the questionnaire. The mean scores of all aspects of attitudes towards psychiatry were found to be different among the schools (p<0.05). The mean scores of attitudes toward patients and psychiatric illness and needs for psychiatric treatment skills were associated with number of graduate years and the school of graduation ( p<0.05). Total scores of attitudes to psychitry as a medical subject was associated with medical school. ( p<0.05) Conclusions There are differences in attitudes toward psychiatry among primary care physicians graduating from different medical schools. This can be explained by the differences in training methods and contents of undergraduate psychiatric training of each medical school. The factors influencing attitudes towards psychiatry and primary care physicians’ need of psychiatric skills are interesting aspects of future research in the field of psychiatric education for medicial students

J Psychiatr Assoc Thailand 1997 ; 42(4) : 197-211.

Key words: attitude towards psychiatry, primary care physicians

 * Presented at the Annual Meeting of The Royal College of Psychiatrists of Thailand 1997, Royal Golden Jubilee building, Soi Sunevichai ,Petchaburi Road, Bangkok. November 20-21, 1997.

** Department of Psychiatry, Ramathibodi Hospital, Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok 10400

 บทนำ ในปีพ.ศ. 2539 ประเทศไทยมีจิตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในหน่วยราชการจำนวนทั้งสิ้น 207 คน 1 จากจำนวนแพทย์ทั้งหมด 21,105 คน หรือเท่ากับอัตราส่วนจิตแพทย์ 1 คนต่อประชากร 289,855 คน นอกจากนี้จิตแพทย์ส่วนให­่ยังอยู่ในเมืองให­่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทางตะวันตก อัตราส่วนจิตแพทย์ 1 คนต่อประชากร 6,667 คน 2 ซึ่งถ้าหากจะผลิตจิตแพทย์ให้ได้ในอัตรานี้เพื่อให้มีคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ดีจะต้องผลิตจิตแพทย์เพิ่มอีก 8,792 คน หรือถ้าหากจะผลิตให้ได้ภายใน 10 ปีก็จะต้องมีแพทย์ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นจิตแพทย์จำนวน 879 คนต่อปี แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแพทย์ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นจิตแพทย์มีจำนวนลดลงอย่างน่าเป็นห่วงซึ่งสวนทางกับปั­หาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น

การเพิ่มจำนวนจิตแพทย์แม้จะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปั­หา แต่ก็ไม่น่าจะเป็นวิธีการแก้ไขปั­หาสุขภาพจิตที่ได้ผลเต็มที่ และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประชาชนส่วนให­่ในประเทศได้รับการดูแลรักษาโรคจากแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จากรายงานล่าสุดในประเทศไทยของชัชวาลย์ ศิลปกิจ และรัตนา สายพานิชย์ พบผู้ป่วยโรคจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชนถึงร้อยละ 45 3 อีกทั้งประชากรส่วนให­่ก็ยังไม่มีแนวคิดที่ว่าปั­หาทางจิตใจบางประการเป็นโรคทางจิตเวช และบางส่วนที่ทราบว่าเป็นโรคทางจิตเวชก็ยังต้องการไปรักษากับแพทย์ทั่วไปมากกว่าจิตแพทย์เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นมลทิน ดังนั้นแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสำคั­ยิ่งที่จะช่วยวินิจฉัยและรักษาปั­หาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชของประชากรในชุมชน เจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจึงมีความสำคั­ยิ่งต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 4 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานจิตเวชในระดับโรงพยาบาลชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

วัสดุและวิธีการ คณะผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามเพื่อประเมินเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์โดยใช้แนวคำถามจากแบบประเมิน Attitude Towards Psychiatry 30 (ATP 30) 5 นำมาตัดทอนแก้ไขและเพิ่มคำถามที่คณะผู้วิจัยต้องการทราบ ซึ่งแบบประเมินฉบับนี้เป็นคำถามที่ประเมินเจตคติ 4 ด้าน คือ

1. เจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวช จำนวน 5 ข้อ

2. เจตคติต่อทักษะการรักษาโรค จำนวน 3 ข้อ

3. เจตคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 5 ข้อ

4. เจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ จำนวน 2 ข้อ

รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 ข้อ (ดูในภาคผนวก 1) ซึ่งในแต่ละข้อได้กำหนดระดับการประเมินโดยให้ผู้ประเมินเลือกเป็น 4 ระดับ คือ

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 1 คะแนน

ค่อนข้างไม่เห็นด้วย = 2 คะแนน

ค่อนข้างเห็นด้วย = 3 คะแนน

เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 4 คะแนน

แบบสอบถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบสอบถามทั้งหมดที่ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพศ จำนวนปีที่จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต การศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง สถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต และข้อมูลการปฏิบัติงาน คือ จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน แบบสอบถามจำนวน 1,500 ฉบับถูกส่งไปยังโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้รับตอบแบบสอบถามกลับทั้งสิ้นจำนวน 617 ฉบับ (ร้อยละ 41.1) การวิเคราะห์ทางสถิติ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS ด้วยวิธี oneway ANOVA เพื่อหาความแตกต่างระหว่างคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้าน และคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติแต่ละด้านกับปัจจัยต่างๆเหล่านี้ คือ

1. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยคำนวณจากจำนวนปีที่จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี, 4-8 ปี และมากกว่า 8 ปี

2. การศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง แบ่งเป็น 2 กลุ่มให­่ คือ กลุ่มแพทย์ทั่วไป และกลุ่มแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งกลุ่มแพทย์เฉพาะทางได้จำแนกเป็น อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์และศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กุมารแพทย์ สูตินรีแพทย์ และกลุ่มอื่นๆ

3. จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องดูแลผู้ป่วยนอกจำนวน น้อยกว่า 20, 20-30, 31-40, 41-50, 51-60, 61-70 และมากกว่า 70 คนต่อวัน

4. สถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต แบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์อื่นๆ

ผลการศึกษา แบบสอบถามเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ที่ได้รับการตอบกลับทั้งหมดได้นำมาวิเคราะห์หาความเชื่อถือได้ พบว่าค่า Cronbach’s coefficient alpha เท่ากับ 0.6973 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ และจากการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) พบว่าข้อคำถามทั้งหมดสามารถจัดกลุ่มของเจตคติได้เป็น 4 ด้าน (ภาคผนวก 2) ซึ่งแสดงว่า แบบสอบถามนี้สามารถวัดเจตคติทั้ง 4 ด้านได้ตรงตามที่คาดหวังไว้

กลุ่มตัวอย่าง 617 ราย เป็นชาย 448 ราย ห­ิง 169 ราย ร้อยละ 55.9 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี ร้อยละ 85.9 เป็นแพทย์ทั่วไป ร้อยละ 68.1 ต้องดูแลผู้ป่วยนอกจำนวนมากกว่า 51 คนต่อวัน สถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต 3 อันดับแรก คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ร้อยละ 24.3) คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ร้อยละ 17.8) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (ร้อยละ 16.4) (ตารางที่ 1) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สอดคล้องกันจำนวนแพทย์ที่สำเร็จไปจากแต่ละสถาบัน

การวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า

1. คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 3.08 (SD =0.33)

2. คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านกับปัจจัยต่างๆ พบว่า

2.1 คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านกับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านกับการศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง ทั้งระหว่างกลุ่มแพทย์ทั่วไปและกลุ่มแพทย์เฉพาะทาง และในแต่ละสาขาแพทย์เฉพาะทาง และ

คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านกับจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน

ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติ กับทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว (ตารางที่ 2)

2.2 คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านกับสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิต พบว่าคะแนนรวมเฉลี่ยของทุกสถาบันอยู่ในเกณฑ์ดี (3.005-3.153) แต่แพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (mean = 3.153) และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (mean = 3.104) มากกว่าคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mean = 3.005) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 (ตารางที่ 3)

3. ในด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวชพบว่า

3.1 คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวชของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกิน 8 ปี (mean = 2.865) มากกว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี (mean = 2.754 ) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

3.2 คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวชของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (mean = 2.921) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mean = 2.691) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (mean = 2.760) และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (mean = 2.765) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 และ

คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวชของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (mean = 2.921) คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (mean = 2.869) และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (mean = 2.857) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mean = 2.691) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 (ตารางที่ 4)

3.3 ปัจจัยด้านการศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน ไม่มีผลต่อความแตกต่างของคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวชอย่างมีนัยสำคั­

    1. ในด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรค พบว่า

4.1 คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรคของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี (mean = 3.268) มากกว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 4-8 ปี (mean = 3.138) และเกินกว่า 8 ปี (mean = 3.146) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

4.2 คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรคของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (mean = 3.343) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ (mean = 3.115) และแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (mean = 3.129) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 (ตารางที่ 5)

4.3 ปัจจัยด้านการศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน ไม่มีผลต่อความแตกต่างของคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรคอย่างมีนัยสำคั­

5. คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติในทุกๆปัจจัย

6. ในด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ พบว่า

6.1 คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (mean = 3.010) คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (mean = 3.153) และแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์อื่นๆ (mean = 3.206) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mean = 2.849) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 และ

คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (mean = 3.153) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mean = 2.849) คณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ (mean = 2.918) และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (mean = 2.944) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05

คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์อื่นๆ (mean = 3.206) มากกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ (mean = 2.918) อย่างมีนัยสำคั­ทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 (ตารางที่ 6)

6.2 ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง และจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน ไม่มีผลต่อความแตกต่างของคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์อย่างมีนัยสำคั­

 วิจารณ์ คะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Baptista ที่ทำการศึกษาในเวเนซูเอลา 6 ในส่วนของคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทาง

จิตเวชของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานนานกว่า 8 ปีมากกว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี แม้ว่าจะขัดแย้งกับบางรายงานที่พบว่าจำนวนปีที่ปฏิบัติงานของแพทย์ไม่ทำให้เจตคติต่อ

จิตเวชศาสตร์ดีขึ้น 6 แต่ก็สอดคล้องกับผลการศึกษาอีกหลายรายงานที่พบว่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานมานานกว่าจะมีเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ดีกว่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานมานานน้อยกว่า 7-8 ซึ่งผลที่ได้เช่นนี้อาจเป็นจากประสบ การณ์การดูแลผู้ป่วยในชุมชนที่ยาวนานกว่าทำให้แพทย์กลุ่มแรกเห็นความสำคั­ของโรคทางจิตเวชว่า

เป็นปั­หาทางเวชปฏิบัติที่พบได้บ่อยไม่น้อยไปกว่าโรคทางกาย อีกทั้งแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลานานเช่นนี้มักจะต้องทำงานในบทบาทของผู้บริหารโรงพยาบาลร่วมไปด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นๆมากมาย เป็นไปได้ว่าแพทย์เหล่านี้มีความสนใจในเรื่องของจิตใจ จึงสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีสามารถในสร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจให้กับทั้งบุคลากรรอบข้างและผู้ป่วยในความดูแล และคุณลักษณะนี้ยังช่วยให้แพทย์มีขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชมากขึ้น 9,10

คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรคของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ปี มากกว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานนานกว่า 3 ปี ในประเด็นนี้อาจเป็นไปได้ว่าแพทย์กลุ่มแรกมีความต้องการที่จะเพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีอยู่เดิมให้มากยิ่งขึ้น หรืออาจมองในอีกมุมหนึ่งได้ว่าแพทย์กลุ่มนี้ไม่มั่นใจในทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีอยู่ ซึ่งการศึกษาในประเด็นนี้ยังไม่พบว่ามีผู้ใดศึกษามาก่อนทั้งในและต่างประเทศ

ในส่วนของคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้าน คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวช คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อทักษะการรักษาโรค และคะแนนรวมเแลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์แตกต่างกันตามสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตนั้น แม้ว่าการศึกษานี้จะมีข้อจำกัดที่ว่าไม่ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์โรงพยาบาลชุมชน จึงทำให้ยังไม่สามารถอธิบายผลการศึกษาที่ได้ทั้งหมดจากข้อมูลเท่าที่มีในขณะนี้ แต่ก็มีบางประเด็นที่น่าสนใจ คือ การที่นักศึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการเรียนนานกว่าน่าจะมีเจตคติโดยรวมต่อจิตเวชศาสตร์ดีกว่า หรืออย่างน้อยก็ไม่ควรต่ำกว่านักศึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการเรียนสั้นกว่า แต่ผลการศึกษากลับพบว่านักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์นานกว่ากลับมีเจตคติโดยรวมต่อจิตเวชศาสตร์น้อยกว่า ดังจะเห็นได้จากคะแนนรวมเฉลี่ยเจตคติทุกด้าน คะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อผู้ป่วยและโรคทางจิตเวช และคะแนนรวมเฉลี่ยด้านเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์ ของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีน้อยกว่าคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (นักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์ในชั้นปีที่ 4 นาน 4 สัปดาห์, ชั้นปีที่ 5 นาน 4 สัปดาห์ และชั้นปีที่ 6 นาน 2 สัปดาห์ ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ ส่วนนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์เฉพาะในชั้นปีที่ 5 ระยะเวลารวม 4 สัปดาห์) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในช่วงที่ผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์มีค่อนข้างน้อยกว่าแพทย์ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องจากขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ทางโรงพยาบาลรามาธิบดียังไม่เปิดหอผู้ป่วยในจิตเวช และตารางการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์ได้ถูกจัดให้เรียนเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่องกันไปตลอด 10 สัปดาห์ หรืออาจเป็นไปได้ว่ามีปัจจัยอื่นๆอีกที่มีผลต่อเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์นอกเหนือไปจากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เช่น บรรยากาศในการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาแพทย์กับแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์และอาจารย์จิตแพทย์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์มากยิ่งไปกว่าประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชก็ได้

คำอธิบายถึงผลการศึกษาที่ว่าเจตคติต่อวิชาจิตเวชศาสตร์แตกต่างกันตามสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตอีกประเด็นหนึ่ง คือ ความแตกต่างของประสบการณ์การเรียนรู้ที่แพทย์แต่ละคนได้รับในช่วงที่ผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์จากแต่ละสถาบัน ซึ่งผลการศึกษาในต่างประเทศหลายรายงานที่ศึกษาในนักศึกษาแพทย์พบว่ามีหลายปัจจัยมีส่วนเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ เช่น

1. หลักสูตรวิชาจิตเวชศาสตร์ แม้ว่าจะมีบางรายงานไม่พบว่าหลักสูตรวิชาจิตเวชศาสตร์มีส่วนเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ 11 แต่การศึกษาส่วนให­่พบว่าหลักสูตรวิชาจิตเวชศาสตร์มีส่วนเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ 5,12,13 โดยเฉพาะประสบการณ์การเรียนรู้ในลักษณะที่ส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์ได้มีส่วนรับผิดชอบการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง การได้ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ตอบสนองดีต่อการรักษา 14,15 การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม (holistic approach) 16-18 จะเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ให้ดีขึ้น

2. ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาแพทย์กับแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์และอาจารย์จิตแพทย์ การที่อาจารย์จิตแพทย์ 15,19 และแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ 19 ให้การดูแลเอาใจใส่นักศึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดจะช่วยให้เจตคติของนักศึกษาแพทย์ต่อจิตเวชศาสตร์ดีขึ้น

3. ภาพลักษณ์ของจิตแพทย์ในมุมมองของนักศึกษาแพทย์ ทั้งในแง่ลบ ( จิตแพทย์มีรูปแบบความคิดที่สับสนและอารมณ์ไม่คงเส้นคงวา 20) และในแง่บวก (จิตแพทย์มีความสนใจอย่างลึกซึ้งต่อปั­หาด้านความคิดของคนและต้องการรักษาคนทั้งคน 20,21) ล้วนมีผลต่อเจตคติของนักศึกษาแพทย์ ต่อจิตเวชศาสตร์และการเลือกศึกษาต่อเป็นจิตแพทย์ 20,21

4. หลักสูตรวิชาพื้นฐานปรีคลินิก ถ้าได้มีการกำหนดให้หลักสูตรวิชาพฤติกรรมศาสตร์มีความสำคั­เท่าเทียมกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานอื่นๆ เน้นเนื้อหาในแนว biopsychosocial model ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยในชั้นคลินิกต่อไป และผู้สอนมีความสามารถในการรวบรวมเนื้อหาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างเจตคติของนักศึกษาแพทย์ต่อจิตเวชศาสตร์ให้ดีขึ้นได้ 14,19

5. เจตคติของแพทย์สาขาอื่นๆที่มีต่อจิตแพทย์ทั้งในแง่ลบ (จิตแพทย์ไม่เป็นแพทย์อย่างแท้จริง จิตแพทย์มีศักดิ์ศรีน้อยที่สุดในบรรดาแพทย์ด้วยกัน เป็นแพทย์สาขาที่มีรายได้น้อย 22,23 ความเห็นทางวิชาการของจิตแพทย์มักถูกละเลยจากแพทย์สาขาอื่น 24-26 ) และในแง่บวก (จิตแพทย์เป็นคนที่มีความคิดใคร่ครว­มากกว่าคนอื่น ไฝ่รู้ และง่ายที่จะคบหาด้วย จิตแพทย์เป็นแพทย์ที่พร้อมที่จะช่วยให้คำปรึกษาในการดูแลผู้ป่วย ช่วยในการแยกแยะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชว่ามีสาเหตุจากโรคทางกายหรือโรคทางจิตเวช ช่วยในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีปั­หาด้านจิตใจและในผู้ป่วยที่มีโรคซับซ้อนทั้งโรคทางกายและโรคทางจิตเวช 27 ) ล้วนเป็นแบบอย่างที่มีผลต่อเจตคติของนักศึกษาแพทย์ต่อจิตเวชศาสตร์และการเลือกศึกษาต่อเป็นจิตแพทย์ 28

และในส่วนของปัจจัยที่ไม่มีผลต่อความแตกต่างของทั้งคะแนนรวมเฉลี่ยของเจตคติทุกๆด้านและแต่ละด้าน คือ ปัจจัยในด้านการศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ที่แพทย์ได้รับจากการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขานั้นไม่ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ และปัจจัยด้านจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน ก็ได้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าภาระการดูแลผู้ป่วยในชุมชนจะมากน้อยเพียงใดก็ไม่มีผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์เช่นกัน จากผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ที่แพทย์ได้รับหลังจากสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตใน 2 ประเด็นนี้อาจไม่ใช่ปัจจัยสำคั­ที่จะมีผลกับเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ ซึ่งทำให้ยิ่งเกิดความน่าสนใจว่าประสบการณ์ที่แพทย์ได้รับขณะยังเป็นนักศึกษาแพทย์อาจจะเป็นปัจจัยสำคั­ที่มีผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์

อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัด คือ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นข้อมูลของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด เนื่องจากยังมีแพทย์โรงพยาบาลชุมชนอีกกว่าร้อยละ 58 ที่ไม่ได้ตอบแบบสอบถามกลับมา แต่แบบสอบถามที่ตอบกลับมาก็เป็นสัดส่วนตามจำนวนแพทย์ที่จบจากแต่ละสถาบันการศึกษา จึงอาจจะพออนุมานว่า สามารถสะท้อนภาพรวมของเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์โรงพยาบาลชุมชนทั้งหมดได้ในระดับหนึ่ง และการศึกษานี้ได้ศึกษาถึงประสบการณ์ที่แพทย์โรงพยาบาลชุมชนได้รับระหว่างปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจำกัดอยู่เฉพาะปัจจัยด้านจำนวนปีที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวันเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงอาจมีประสบการณ์อื่นๆอีกที่มีผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของแพทย์โรงพยาบาลชุมชน เช่น ลักษณะปั­หาของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องดูแล ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีปั­หาเฉพาะสาขา อาจมีเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ที่ต่างไปจากแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าผู้ป่วยจะมาตรวจด้วยอาการเฉพาะของสาขาเฉพาะทางใด

สรุป ผลการศึกษานี้แม้ว่าจะไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนทั้งหมดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นแพทย์โรงพยาบาลชุมชน แต่ก็พอจะแสดงให้เห็นได้ว่าปัจจัยในด้านสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตมีผลต่อเจตคติโดยรวมต่อจิตเวชศาสตร์ ปัจจัยในด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและสถาบันที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตมีผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์เฉพาะเจตคติในบางด้าน และปัจจัย 2 ด้านต่อไปนี้ คือ การศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง และจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวันไม่ได้มีผลต่อเจตคติโดยรวมต่อจิตเวชศาสตร์ การศึกษานี้จึงอาจจะบ่งถึงความแตกต่างของประสบการณ์การเรียนรู้ที่แพทย์แต่ละคนได้รับในช่วงที่ผ่านการเรียนวิชาจิตเวชศาสตร์จากแต่ละสถาบัน และข้อมูลอีกประเด็นหนึ่งที่ได้จากการศึกษานี้ คือ การแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องด้านทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน โดยเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่

คณะผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าผลการศึกษาที่ได้ทั้งหมดนี้น่าจะนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนางานบริการทางจิตเวชในระดับชุมชน และงานวิจัยด้านจิตเวชศาสตร์ชุมชนต่อไป และน่าจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในนักศึกษาแพทย์ต่อไปว่าประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นใด และในลักษณะใดบ้าง ที่จะมีผลกับเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ รวมทั้งทำการศึกษาในแพทย์โรงพยาบาลชุมชนเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์อื่นๆที่แพทย์โรงพยาบาลชุมชนได้รับระหว่างปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน (นอกเหนือไปจากประสบการณ์การศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง และจำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน) ที่อาจจะส่งผลต่อเจตคติต่อจิตเวชศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาในรายละเอียดด้านทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ว่าทักษะด้านใดบ้างที่ตรงกับความต้องการของแพทย์โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งผลการศีกษาเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านี้จะเป็นข้อมูลสำคั­ที่ช่วยในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันแพทยศาสตร์ต่างๆในการผลิตแพทย์ให้มีเจตคติที่ดีต่อจิตเวชศาสตร์ และมีทักษะทางจิตเวชที่จะนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีปั­หาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

 เอกสารอ้างอิง 

  1. เกษม ตันติผลาชีวะ. จิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย: รายงานประจำปี 2539. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42: 142-9.
  2. Johan V, Gary T. How many psychiatrists do we need. Acad Psy 1995; 19: 219-23.
  3. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, รัตนา สายพานิชย์. Psychiatric disorder in primary care setting ; an implication for undergraduate psychiatric education. รายงานการประชุมวิชาการรามาธิบดีประจำปี 2540 ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร 1-2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540.
  4. Buchanan A, Bhugra D. Attitude of the medical profession to psychiatry. Acta Psychiatr Scand 1992; 85: 1-5.
  5. Burra P, Kalin R, Leichner P, et al. The ATP 30 a scale for measuring medical students’ attitude to psychiatry. Med Educ 1982; 16: 31-8.
  6. Baptista T, Perez CS, Mendez L, Esqueda L. The attitudes towards psychiatry of physicians and medical students in Venezuela. Acta Psychiatr Scand 1993; 88: 53-9.
  7. Patel AR. Attitude towards self poisoning. Br Med J 1975; 2: 426-30.
  8. Goldney RD, Bottril A. Attitude to patients who attempt suicide. Med J Aust 1980; 2: 717-20.
  9. Neilsen AC, Eaton JS. Medical students’ attitudes about psychiatry. Arch Gen Psychiatry 1981; 38: 1144-54.
  10. Eaton JS, Goldstein LS. Psychiatry in crisis. Am J Psychiatry 1977; 134: 642-5.
  11. วรั­ ตันชัยสวัสดิ์, สุรชัย เกื้อศิริกุล. การเรียนจิตเวชศาสตร์กับทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ต่อจิตเวชศาสตร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2533; 35: 198-207.
  12. Wilkinson DG, Greer S, Toone BK. Medical students’ attitudes to psychiatry. Psychol Med 1983; 13: 185-92.
  13. Ghadirian AM, Engelsmann F. Medical students’ attitude towards psychiatry : a ten year comparison. Med Educ 1982; 16: 39-43.
  14. Creed F, Goldberg D. Students’ attitude towards psychiatry. Med Educ 1987; 21: 227-34.
  15. Yager J, Lamotte K, Nielsen A, et al. Medical students’ evaluation of psychiatry : a cross-country comparison. Am J Psychiatry 1982; 139: 1003-9.
  16. Arthur C, Nielsen III, James S, Eaton Jr. Medical students’ attitude about psychiatry : implications for psychiatric recruitment. Arch Gen Psychiatry 1981; 38: 1144-54.
  17. George H Zimmy, Lindbergh S Sata. Influence of factors before and during medical school on choice of psychiatry as a specialty. Am J Psychiatry 1896; 143: 77-80.
  18. Shelley RK, Webb MGT. Dose clinical clerkship alter students’ attitude to a career choice of psychiatry? Med Educ 1986; 20: 330-4.
  19. Singer P, Dornbush RL, Brownstein EJ, et al. Undergraduate psychiatric education and attitude of medical students towards psychiatry. Compr Psychiatry 1986; 27: 14-20.
  20. Harris CM. Medical stereotypes. Br Med J 1981; 283: 1676-7.
  21. Furnham AF. Medical students’ beliefs about nine-different specialties. Br Med J 1986; 293: 1607-10.
  22. Fink PJ. The enigma of stigma and its relation to psychiatric education. Psychiatr Ann 1983;13: 669-90.
  23. Scher ME, Carline JD, Mueear JA. Specialized in psychiatry : What determines the medical students’ choice Pro and Con? Comp Psychiatry 1983; 24: 459-68.
  24. Mackenzie TB, Popkin MK, Callies AL, et al. Consultation outcomes. Arch Gen Psychiatry 1983; 40: 1211-4.
  25. Popkin MK, Mackenzie TB, Hall R, et al. Consultee concordance with consultants’ psychotropic drug recommendations : related variables. Arch Gen Psychiatry 1980; 37: 1017-21.
  26. Popkin MK, Mackenzie TB, Callies AL. Consulation-liaison outcome evaluation system. Arch Gen Psychiatry 1983; 40: 215-9.
  27. Mantosh JD, Benjamin LF, Mary PD. A Positive view of psychiatrists and psychiatry. Comp Psychiatry 1988; 29: 523-31.
  28. Frederick SS, Michael AT. Decline of U.S. medical student career choice of psychiatry and what to do about it. Am J Psychiatry 1995; 152:1416-26.
Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us