เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand 

Demographic and psychosocial factors correlated with psychiatric illness in a Thai community in Bangkok.

 

Tana Nilchaikovit, M.D.*, Chakkrit Sukying, M.D.*, Chatchawan Silpakit, M.D.*

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Rama 6 Road, Bangkok 10400

Abstract The associations of demographic characteristics and psychosocial factors with psychiatric illness were assessed in a random sample of 826 adults in Nonchok district, Bangkok, Thailand. Multi logistic regression analyses showed that psychiatric illness was correlated most strongly with income, family relationship and serious illness in family members. The group with no income or income less than 2,000 bath per month were 3.67 times more likely to have psychiatric illness, while the group with distant or severely conflicted family relationship and the group with serious illness in family members during the past year were 2.93 and 2.47 times more likely to have psychiatric illness. Other factors that were found to be correlated with psychiatric illness were health status, psychiatric disorders in family members, problems concerning work or school, low education, and Bhudists in comparison with Islamics. The implications of the findings are discussed.

J Psychiatr Assoc Thailand 1996 ; 41(3) : 191-202.

Key words : GHQ, psychiatric illness, epidemiology, Thailand

 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

ธนา นิลชัยโกวิทย์, พ.บ., จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, พ.บ., ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, พ.บ.

คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์หาปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของประชากรในชุมชน จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จำนวน 826 คน ด้วยแบบสอบถาม GHQ-60 ฉบับภาษาไทย

โดยใช้วิธี multi logistic regression ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 1 เดือนสูงที่สุด ได้แก่ ระดับรายได้ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง ตามลำดับ โดยกลุ่มที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปถึง 3.67 เท่า ส่วนกลุ่มที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวห่างเหินหรือขัดแย้งกันมาก และกลุ่มที่มีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเป็น 2.93 และ 2.47 เท่า ตามลำดับ ปัจจัยอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงรองลงไปได้แก่ ปัญหาสุขภาพ การมีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานหรือการเรียน การมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว ระดับการศึกษาต่ำ และศาสนาพุทธหรือคริสต์ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาในประชากรกลุ่มอื่นๆ และการวางแผนการป้องกันปํญหา และส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนได้ต่อไป  

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539 ; 41(3) : 191-202.

คำสำคัญ : ปัญหาสุขภาพจิต, กรุงเทพมหานคร, GHQ ฉบับภาษาไทย

บทนำ

งานส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เป็นงานทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้บ่อยในชุมชน จากการสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชากรในชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่า

มีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตสูงถึงร้อยละ 19 ถึงร้อยละ 30 1-4

ในการวางแผนงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันความผิดปกติทางจิตเวช เราจำเป็นต้องมีข้อมูลทางระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิต และมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต เพราะจะช่วยให้สามารถวางแผนงานได้โดยสอดคล้องกับความเป็นจริง และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาด้านระบาดวิทยาทางจิตเวช และการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพจิตของประชากร จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย

จากการศึกษาที่ใช้แบบสอบถาม GHQ เป็นเครื่องมือในการสำรวจสภาวะสุขภาพจิตที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อคะแนน GHQ ได้แก่ เพศุ6-10 อายุ7,9-11 สถานภาพสมรส6-12 การแบ่งชั้นทางสังคม6,7,9-11การมีงานทำ6,9-11 ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท11,13 การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่สมรส7 การเจ็บป่วยทางกาย9, 14,15 และบุคลิกภาพ16 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่าปัจจัยต่างๆ ทั้งลักษณะทางประชากร และปัจจัยด้านอื่นๆ โดยเฉพาะปัจจัยด้านจิตสังคมต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ประวัติครอบครัวในวัยเด็ก การใช้เหล้าและบุหรี่ ปัญหาสุขภาพ และเหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในทางลบ เช่นการสูญเสีย การมีบุคคลในครอบครัวป่วย การตกงาน จะมีผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของประชากรในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานครอย่างไรบ้าง

วัสดุและวิธีการ

กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี multi stage random sampling จากประชากรที่อายุมากกว่า 20 ปี ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากการสุ่มเลือกหมู่บ้านจากตำบลต่างๆทั้ง 8 ตำบลในเขตหนองจอกมาตำบลละ 2 หมู่บ้านก่อน แล้วสุ่มเลือกกลุ่มประชากรที่จะทำการศึกษาจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมา 1 ใน 6 ของประชากรในแต่ละหมู่บ้าน ได้กลุ่มตัวอย่างรวม 1,356 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามเพื่อสำรวจสภาวะสุขภาพจิต ซึ่งประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ และข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ประวัติครอบครัวในวัยเด็ก การใช้เหล้าและบุหรี่ ปัญหาสุขภาพ เหตุการณ์ชีวิตในช่วง1ปีที่ผ่านมา และปัญหาด้านจิตสังคม และแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต GHQ-60 ฉบับภาษาไทย17

วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาแบบ cross-sectional โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลส่งแบบสอบถามสำรวจสภาวะสุขภาพจิตให้กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาแล้วตอบ จากแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมดมีผู้ตอบกลับมา 924 ราย หรือร้อยละ 68.1 จากจำนวนนี้มีแบบสอบถามที่มีข้อมูลครบถ้วนพอที่จะทำการศึกษาได้รวม 826 ราย หรือร้อยละ 60.9 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป

การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากร และปัจจัยด้านจิตสังคม กับปัญหาสุขภาพจิต โดยทำการวิเคราะห์ 2 ขั้นคือ ขั้นแรกใช้การทดสอบไคสแควร์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละตัวกับปัญหาสุขภาพจิตก่อน แล้วจึงนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญจากการทดสอบไคสแควร และปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญเช่นเพศและอายุ มาเข้าสมการทำการวิเคราะห์โดยวิธี multi logistic regression เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุดและหาค่า odd ratios

ผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่ามีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 1 เดือนรวมร้อยละ 19.1 โดยประชากรชายมีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็นร้อยละ 17.7 และประชากรหญิงมีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็นร้อยละ 20.2 จากการทดสอบไคสแควร์ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ความสัมพันธ์ในครอบครัว เหตุการณ์ในช่วง5ปีแรกของชีวิต ปัญหาสุขภาพ การดื่มสุรา เหตุการณ์ชีวิตในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คือ การมีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต การมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง การมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต การตกงาน และปัญหาด้านจิตสังคมต่างๆคือ ปัญหากับคู่สมรส ปัญหากับสมาชิกในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหากับเพื่อน และจำนวนปัญหา หรือเหตุการณ์ต่างๆที่มีผลกระทบทางลบกับชีวิต ตามรายละเอียดในตารางที่ 1 ถึงตารางที่ 4

กลุ่มที่พบว่ามีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงได้แก่ กลุ่มที่มีอายุสูงกว่า 65 ปีขึ้นไป(39.7%) กลุ่มที่เป็นหม้ายหรือหย่าร้าง(37.9%) กลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา(35.6%) กลุ่มว่างงาน(32.5%) กลุ่มที่ไม่มีรายได้(29.1%)และมีรายได้ต่ำกว่า 2000 บาทต่อเดือน(22.0%) กลุ่มที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวขัดแย้งกันมาก(66.7%)หรือมีลักษณะต่างคนต่างอยู่(44.1%) กลุ่มที่บิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต(34.5%) กลุ่มที่ป่วยเรื้อรัง(63.6%) และกลุ่มที่ป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล(47.8%) กลุ่มที่ดื่มสุราบ่อย(43.5%) การมีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต(46.9%) การมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง(50.8%) การมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต(29.3%) การตกงาน(31.3%) การมีปัญหาด้านจิตสังคมต่างๆคือ ปัญหากับคู่สมรส(31.4%) ปัญหากับสมาชิกในครอบครัว(47.1%) ปัญหาเศรษฐกิจ(28.5%) ปัญหาคดีความ(38.5%) และปัญหากับเพื่อน(36.0%) และกลุ่มที่มีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชีวิตมากกว่า 1 เหตุการณ์ขึ้นไป(48.6%) หรือมีปัญหาด้านจิตสังคมหลายๆด้านพร้อมกัน(36.5-45.7%)

ในการวิเคราะห์โดยใช้ multi logistic regression มีตัวอย่างที่มีข้อมูลครบทุกข้อที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้รวม 569 ราย ผลการวิเคราะห์ (ตารางที่ 5) ได้ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตรวม 9 ตัวได้แก่ ศาสนา รายได้ ระดับการศึกษา ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การมีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต การมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง ปัญหากับสมาชิกในครอบครัว และปัญหาเกี่ยวกับการทำงานหรือการเรียน โดยปัจจัยที่มี odd ratio สูงที่สุดได้แก่ ระดับรายได้ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรงตามลำดับ โดยกลุ่มที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปถึง 3.67 เท่า ส่วนกลุ่มที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวห่างเหินหรือขัดแย้งกันมาก และกลุ่มที่มีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเป็น 2.93 และ 2.47 เท่า ตามลำดับ

ปัจจัยอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงรองลงไปได้แก่ ปัญหาสุขภาพ การมีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานหรือการเรียน การมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว ระดับการศึกษาต่ำ และศาสนาพุทธหรือคริสต์

ตารางที่1: ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตแยกตามลักษณะประชากร และปัญหาด้านจิตสังคม

ตัวแปร จำนวนร้อยละ สุขภาพจิตปกติ มีปัญหาสุขภาพจิต P Values
เพศ (n=826) not significant
ชาย(n=396) 47.9 82.3% (326) 17.7% (70)
หญิง(n=430) 52.1 79.8% (343) 20.2% (87)
อายุ (n=766) .00001
20-34 (n=341) 44.5 86.5% (295) 13.5% (46)
35-49 (n=237) 30.9 78.9% (187) 21.1% (50)
50-64 (n=125) 16.3 81.6% (102) 18.4% (23)
>65 (n=63) 8.2 60.3% (38) 39.7% (25)
ศาสนา (n=825) .06350
พุทธ,คริสต์ (n=264) 32.0 77.3% (204) 22.7% (60)
อิสลาม (n=561) 68.0 82.7% (464) 17.3% (97)
สถานภาพสมรส (n=823) .00044
โสด (n=179) 21.8 87.2% (156) 12.8% (23)
แต่งงาน (n=586) 71.2 80.9% (474) 19.1% (112)
หม้าย (n=38) 4.6 60.5% (23) 39.5% (15)
หย่าร้าง (n=20) 2.4 65.0% (13) 35.0% (7)
การศึกษา (n=809) .00001
ต่ำกว่าประถมศึกษา (n=118) 14.6 64.4% (76) 35.6% (42)
ประถมศึกษา (n=518) 64.0 83.0% (430) 17.0% (88)
มัธยมศึกษา (n=93) 11.5 81.7% (76) 18.3% (17)
อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (n=80) 9.9 88.8% (71) 11.3% (9)
อาชีพ (n=788) .01374
เกษตรกรรม/เลี้ยงสัตว์/ประมง (n=124) 15.6 71.8% (89) 28.2% (35)
รับจ้าง (n=350) 44.4 83.1% (291) 16.9% (59)
รับราชการ (n=57) 7.2 87.7% (50) 12.3% (7)
ประกอบธุรกิจส่วนตัว (n=28) 3.6 89.3% (25) 10.7% (3)
กรรมกร (n=21) 2.7 81.0% (17) 19.0% (4)
ประกอบอาชีพอิสระ (n=70) 8.9 88.6% (62) 11.4% (8)
แม่บ้าน (n=84) 10.7 76.2% (64) 23.8% (20)
นักเรียน,นักศึกษา,นักบวช (n=14) 1.8 78.6% (11) 21.4% (3)
ว่างงาน (n=40) 5.1 67.5% (27) 32.5% (13)
รายได้ต่อเดือน (n=743) .00017
ไม่มีรายได้ (n=110) 14.8 70.9% (78) 29.1% (32)
< 2,000 บาท (n=247) 33.2 77.3% (191) 22.0% (56)
2,000-4,999 บาท (n=274) 36.9 88.3% (242) 11.7% (32)
5,000-9,999 บาท (n=82) 11.0 81.7% (67) 18.3% (15)
ตั้งแต่10,000 บาทขึ้นไป (n=30) 4.1 93.3% (28) 6.7% (2)
ความสัมพันธ์ในครอบครัว (n=804) .00000
รักใคร่ปรองดอง (n=587) 73.0 86.4% (507) 13.6% (80)
ขัดแย้งกันบ้าง (n=177) 22.0 68.9% (122) 31.1% (55)
ต่างคนต่างอยู่ (n=34) 4.2 55.9% (19) 44.1% (15)
ขัดแย้งกันมาก (n=6) 0.8 33.3% (2) 66.7% (4)
เหตุการณ์ในช่วง5ปีแรกของชีวิต (n=802) .05078
บิดามารดาอยู่ร่วมกัน (n=737) 91.9 81.1% (598) 18.9% (139)
บิดามารดาแยกกันอยู่ (n=29) 3.6 65.5% (19) 34.5% (10)
บิดา/มารดา หรือทั้งคู่ เสียชีวิต (n=36) 4.5 88.9% (32) 11.1% (4)
สุขภาพ (n=819) .00000
แข็งแรงดี (n=507) 61.9 91.7% (465) 8.3% (42)
ไม่ค่อยแข็งแรงนัก (n=267) 32.2 66.7% (178) 33.3% (89)
เป็นโรคเรื้อรัง (n=22) 2.7 36.4% (8) 63.6% (14)
ป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาล (n=23) 2.8 52.2% (12) 47.8% (11)
การดื่มสุรา (n=806) .00220
ไม่ดื่มเลย (n=612) 75.9 81.4% (498) 18.6% (114)
ดื่มนานๆครั้ง (n=171) 21.2 83.6% (143) 16.4% (28)
ดื่มบ่อยๆ (n=23) 2.9 56.5% (13) 43.5% (10)

 

ตารางที่2: เหตุการณ์ชีวิตในช่วง1ปีที่ผ่านมาและปัญหาสุขภาพจิต

เหตุการณ์ชีวิต จำนวนร้อยละ สุขภาพจิตปกติ มีปัญหาสุขภาพจิต P values
บุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยทางจิต (n=751) .00000
ไม่มี (n=702) 93.5 82.8% (581) 17.2% (121)
มี (n=49) 6.5 53.1% (26) 46.9% (23)
บุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง (n=751) .00000
ไม่มี (n=690) 91.9 83.6% (577) 16.4% (113)
มี (n=61) 8.1 49.2% (30) 50.8% (31)
บุคคลในครอบครัวเสียชีวิต (n=750) .01271
ไม่มี (n=668) 89.1 82.2% (549) 17.8% (119)
มี (n=82) 10.9 70.7% (58) 29.3% (24)
การหย่าร้าง (n=750) not significant
ไม่มี (n=726) 96.8 81.3% (590) 18.7% (136)
มี (n=24) 3.2 70.8% (17) 29.2% (7)
ตกงาน (n=751) .00004
มี (n=607) 80.8 83.7% (508) 16.3% (99)
ไม่มี (n=144) 19.2 68.8% (99) 31.3% (45)

 

ตารางที่3: ปัญหาในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาและปัญหาสุขภาพจิต

ปัญหา จำนวนร้อยละ สุขภาพจิตปกติ มีปัญหาสุขภาพจิต P values
ปํญหากับคู่สมรส (n=744) .00456
ไม่มี (n=674) 90.6 82.5% (556) 17.5% (118)
มี (n=70) 9.4 68.6% (48) 31.4% (22)
ปัญหากับสมาชิกในครอบครัว (n=744) .00000
ไม่มี (n=657) 88.3 84.9% (558) 15.1% (99)
มี (n=87) 11.7 52.9% (46) 47.1% (41)
ปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน/การเรียน (n=743) .00079
ไม่มี (n=629) 84.7 83.5% (525) 16.5% (104)
มี (n=114) 15.3 70.2% (80) 29.8% (34)
ปัญหาเศรษฐกิจ (n=745) .00002
ไม่มี (n=531) 71.3 85.1% (452) 14.9% (79)
มี (n=214) 28.7 71.5% (153) 28.5% (61)
ปัญหาคดีความ/กฏหมาย (n=742) not significant
ไม่มี (n=729) 98.2 81.6% (595) 18.4% (134)
มี (n=13) 1.8 61.5% (8) 38.5% (5)
ปัญหากับเพื่อนฝูง (n= 743) .00117
ไม่มี (n=693) 93.3 82.5% (572) 17.5% (121)
มี (n=50) 6.7 64.0% (32) 36.0% (18)

 

ตารางที่ 4: จำนวนเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชีวิตในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และจำนวนปัญหาจิตสังคม กับปัญหาสุขภาพจิต

ปัญหา จำนวนร้อยละ สุขภาพจิตปกติ มีปัญหาสุขภาพจิต P values
เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชีวิตในช่วง1ปี (n=750) .00000
ไม่มี (n=474) 63.2 87.8% (416) 12.2% (58)
มี 1 เหตุการณ์ (n=204) 27.2 75.5% (154) 24.5% (50)
มีมากกว่า 1 เหตุการณ์ (n=72) 9.6 51.4% (37) 48.6% (35)
ปัญหาด้านจิตสังคมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา (n=740) .00000
ไม่มี (n=376) 50.8 89.9% (338) 10.1% (38)
มี 1 ปัญหา (n=244) 33.0 78.8% (192) 21.3% (52)
มี 2 ปัญหา (n=74) 10.0 63.5% (47) 36.5% (27)
มี 3 ปัญหาขึ้นไป (n=46) 6.2 54.3% (25) 45.7% (21)

 

ตารางที่ 5: ปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาสุขภาพจิตเมื่อวิเคราะห์โดย multi logistic regression

Variable B S.E. Wald df Sig R Exp(B)

odd ratio

95% confidence interval of odd ratio
ศาสนาพุทธ/ คริสต์ .3486 .1493 5.4489 1 .0196 .0803 1.4171 1.0576-1.8988
ศาสนาอิสลาม 1.00
รายได้ 17.0613 2 .0002 .1562
ไม่มีรายได้ หรือ < 2,000 บาท 1.3012 .4626 7.9120 1 .0049 .1051 3.6735 1.4836-9.0966
รายได้ 2,000 - 9,999 บาท .2374 .4726 .2524 1 .6154 .0000 1.2680 0.5021-3.2017
รายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป 1.00
การศึกษาน้อยกว่าชั้นประถมศึกษา .3450 .1672 4.2558 1 .0391 .0649 1.4120 1.0174-1.9595
การศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไป 1.00
สุขภาพไม่แข็งแรง, ป่วยเรื้อรัง, ป่วยหนัก ต้องเข้าโรงพยาบาล .7452 .1392 28.6677 1 .0000 .2232 2.1069 1.6037-2.7677
ความสัมพันธ์ในครอบครัว 12.2760 2 .0022 .1244
ตัวใครตัวมัน/ขัดแย้งกันมาก 1.0758 .4149 6.7221 1 .0095 .0939 2.9322 1.3003-6.6128
ขัดแย้งกันบ้าง -.2093 .2710 .5963 1 .4400 .0000 .8112 0.4769-1.3797
รักใคร่ปรองดอง 1.00
มีบุคคลในครอบครัวป่วยทางจิต .6467 .2212 8.5479 1 .0035 .1106 1.9093 1.2376-2.9454
มีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรง .9023 .2149 17.6359 1 .0000 .1709 2.4654 1.6178-3.7566
มีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว .4895 .1799 7.4075 1 .0065 .1005 1.6315 1.1467-2.3212
มีปัญหาการทำงานหรือการเรียน .5487 .1624 11.4169 1 .0007 .1327 1.7309 1.2591-2.3798
Constant .5732 .5517 1.0795 1 .2988

 

วิจารณ์

ในการศึกษานี้นอกจากจะศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของประชากรแล้วยังได้ศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิต เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาสุขภาพ เหตุการณ์ต่างๆในชีวิต และปัญหาด้านจิตสังคมอื่นๆ ทำให้สามารถเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ กับปัญหาสุขภาพจิตได้ดีขึ้น

ผลการศึกษาซึ่งพบว่ากลุ่มที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ต่ำ และมีระดับการศึกษาต่ำมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงนั้นตรงกับผลการศึกษาส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ 6,7,9-11,18-22 โดยเฉพาะปัญหาการว่างงานมีผลต่อสุขภาพจิตสูงมาก23,24

ประเด็นที่น่าสนใจมากประการหนึ่งจากการศึกษานี้คือการพบว่ากลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธมีแนวโน้มจะมีปัญหาจิตเวชสูงกว่าผู้นับถือศาสนาอิสลามในชุมชนที่ทำการศึกษา (OR = 1.471, 95% confidence interval = 1.0576-1.8988) ความแตกต่างด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิตจากการศึกษาจำนวนมาก18,19,21,25,26 ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาในสิงคโปร์26 ซึ่งพบว่ากลุ่มเชื้อสายมาเลย์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีอัตราการฆ่าตัวตาย และการพยายามฆ่าตัวตาย ต่ำกว่ากลุ่มเชื้อสายจีนและอินเดียอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างศาสนาอาจเป็นได้ทั้งจากผลของศาสนาโดยตรง หรือเป็นผลจากปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มศาสนาหรือเชื้อชาติแต่ละกลุ่มในชุมชนนั้นๆ เช่นฐานะทางเศรษฐกิจสังคมก็ได้ ในการศึกษาครั้งนี้ประเด็นที่พบว่าน่าจะเป็นผลจากศาสนาโดยตรงคือการดื่มสุรา โดยกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามไม่ดื่มเลยถึงร้อยละ 86.7 และดื่มบ่อยๆเพียงร้อยละ 0.7 ในขณะที่กลุ่มนับถือพุทธมีร้อยละ 53.1 ที่ไม่ดื่มเลย และดื่มบ่อยร้อยละ 7.4

นอกจากนั้นน่าจะเป็นผลจากปัจจัยอื่นๆที่เป็นลักษณะที่แตกต่างกันของกลุ่มศาสนาทั้งสองกลุ่มในชุมชนเขตหนองจอก ปัจจัยต่างๆที่น่าจะเกี่ยวข้องได้แก่ ระดับรายได้ ซึ่งกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธมีแนวโน้มที่จะมีรายได้ต่ำกว่า และมีจำนวนผู้ไม่มีรายได้สูงกว่า อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจมีผลมากคือการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งพบว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพจิตมาก27-30 โดยเฉพาะแรงสนับสนุนจากเครือญาติ30

การที่ประชากรส่วนใหญ่ในเขตหนองจอกนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้กลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามมีโอกาสที่จะมีเครือข่ายทางสังคมในชุมชนที่กว้างขวาง และมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกว่า ทำให้ได้รับแรงสนันสนุนทางสังคมสูงกว่า ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพจิตที่ดีกว่า นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ากลุ่มศาสนาอิสลามมีความสัมพันธ์ในครอบครัวดีกว่า แม้จะไม่ถึงขั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม

จากการวิเคราะห์โดยใช้ multi logistic regression ในการศึกษานี้ ไม่พบว่าอายุและสถานภาพสมรสมีผลต่อสภาวะสุขภาพจิตเมื่อวิเคราะห์รวมกับตัวแปรอื่นๆ ในขณะที่เคยพบว่าเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญเมื่อวิเคราะห์เฉพาะตัวแปรด้านลักษณะประชากร1 แสดงว่าตัวอายุและสถานภาพสมรสเองอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาสุขภาพจิต แต่เป็นผลจากปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นปัญหาสุขภาพ ระดับเศรษฐฐานะ และระดับการศึกษาในกลุ่มสูงอายุ โดยพบว่ากลุ่มที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีปัญหาสุขภาพสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (69.4%) และมีรายได้และระดับการศึกษาต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ

ส่วนด้านสถานภาพสมรส พบว่ากลุ่มที่เป็นหม้าย (คู่ครองเสียชีวิต) จะเป็นกลุ่มที่มีอายุสูงกว่ากลุ่มอื่น มีรายได้และระดับการศึกษาต่ำกว่ากลุ่มอื่น มีปัญหาสุขภาพสูง ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีปัญหามากกว่า และมีเหตุการณ์ด้านลบหรือปัญหาจิตสังคมสูงกว่า เช่นมีถึงร้อยละ 38.2 ที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่หย่าร้าง ไม่พบว่ามีความแตกต่างจากกลุ่มโสดและแต่งงานในด้านอายุ และระดับเศรษฐฐานะ แต่มีความรู้สึกว่าตนขัดสนมากกว่า และมีเหตุการณ์ด้านลบในชีวิต และปัญหาจิตสังคมต่างๆ

สูงกว่ากลุ่มอื่นๆทุกกลุ่ม เช่นร้อยละ 53.3 เพิ่งมีการหย่าร้างในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 33.3 มีปัญหากับคนในครอบครัว ร้อยละ 46.7 มีปัญหาจากการทำงานหรือการเรียน และร้อยละ 26.7 มีปัญหากับเพื่อนฝูง

ปัจจัยอื่นๆที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิตในการศึกษานี้คือ การมีปัญหาสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว เหตุการณ์ด้านลบในชีวิต และปัญหาจิตสังคม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาต่างๆที่ผ่านมาส่วนใหญ่

ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวที่พบว่าเป็นปัญหาในการศึกษานี้คือความสัมพันธ์ที่มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ และการมีความขัดแย้งกันในครอบครัวมาก แต่เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional จึงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นปัญหานั้นเป็นเหตุหรือเป็นผลของปัญหาสุขภาพจิต

ผลการศึกษาที่น่าสนใจและน่าจะนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตได้มากคือการที่พบว่า การมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยทางจิตหรือเจ็บป่วยร้ายแรงมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาส่วนใหญ่ที่ผ่านมา31-34

การมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นทางจิตหรือทางกายนั้นส่งผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัวหลายประการทั้งในด้านค่ารักษาพยาบาล ความรู้สึกสูญเสีย การต้องรับภาระในการดูแล และผลกระทบต่อบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว35,36 โดยเฉพาะการป่วยทางจิตเวช สมาชิกในครอบครัวอาจไม่เข้าใจ รู้สึกอับอาย และมีปัญหาจากพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือเป็นอันตรายของผู้ป่วย34,37-39 บุคคลากรทางการแพทย์และด้านสุขภาพจิตจึงควรให้ความสนใจ และให้การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ครอบครัวของผู้ป่วยด้วย ทั้งในแต่ละครอบครัว และโดยการทำกลุ่มครอบครัว ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีมาก35,36,40

จากผลการศึกษาโดยรวมจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างมากคือเหตุการณ์ด้านลบในชีวิต และปัญหาด้านจิตสังคมต่างๆ และระดับเศรษฐฐานะ การวางแผนงานสุขภาพจิตจึงควรมุ่งไปที่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ คือกลุ่มที่มีปัญหาเศรษฐฐานะ มีปัญหาสุขภาพ และมีปัญหาต่างๆในชีวิตเช่นการมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยทั้งทางจิตและทางกาย รวมทั้งปัญหาด้านการงานและการเรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีปัญหาหลายๆด้านพร้อมกันซึ่งพบว่ามีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงมาก โดยกลุ่มที่มีเหตุการณ์ชีวิตด้านลบหรือปัญหาจิตสังคมตั้งแต่ 3 เรื่องขึ้นไปจะมีโอกาสที่จะมีปัญหาจิตเวชสูงถึง 3 เท่าของกลุ่มที่ไม่มีปัญหา ( OR = 3.0531, 95% confidence interval = 2.0416 - 4.5653)

เอกสารอ้างอิง

1. Sukying C, Nilchaikovit T, Silpakit C. One-month prevalence of psychiatric illness in Nongchok district, Bangkok. Ramathibodi Med J 1995; 18: 253-60.

2. อัมพร โอตระกูล, เจตน์สันติ์ แตงสุวรรณ, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม. ปัญหาสุขภาพจิตใน เขตเมือง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2525; 27: 121-33.

3. ส่งศรี จัยสิน, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, เรไร ทีวะทัศน์, สุภาภรณ์ ทองดารา, ฉันทนา ชูบุญราษฎร์. การสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนจังหวัดชลบุรี. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2531; 33: 119-27.

4. ธรณินทร์ กองสุข, ศรีสอางค์ ม่วงสะอาด, วนิภา ลัดดาวัลย์, แก้วศรี จาตกานนท์, ประไพ ศรีสวัสดิ์, สะอ้าน สอนสีดา. การสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนจังหวัดเลย. ราย งานการวิจัยเสนอในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า กรุงเทพมหานคร, กรกฎาคม 2535.

5. Goldberg D. The detection of psychiatric illness by questionaire. Maudsley Monograph No 21. London: Oxford University Press, 1972.

6. Finlay-Jones R, Burvill P. The prevalence of minor psychiatric morbidity in the community. Psychol Med 1977; 7: 475-89.

7. D’Arcy C. Prevalence and correlates of nonpsychotic psychiatric symptoms in the general population. Can J Psychiatry 1982; 27: 316-24.

8. Siciliani O, Bellantuono C, Williams P, Tansella M. Self-reported use of psychotropic drugs and alcohol abuse in South Verona. Psychol Med 1985; 15: 821-6.

9. Vazquez-Barquero J, Diez-Manrique J, Pena C, et al. A community mental health survey in Cantabria: a general description of Morbidity. Psychol Med 1987; 17: 227-41.

10. Cox B, Blaxter M, Buckle A, et al. The Health and Lifestyle Survey. Cambridge: Health Promotion Research Trust, 1987.

11. Hodiamont P, Peer N, Syben N. Epidemiological aspects of psychiatric disorder in a Dutch health area. Psychol Med 1987; 17: 495-505.

12. Henderson S, Duncan-Jones P, Byrne DG, Scott R, Adcock S. Psychiatric disorder in Canberra. Acta Psychiat Scand 1979; 60: 355-74.

13. Vazquez-Barquero J, Diez-Manrique J, Pena C, Quintanal R, Labrador Lopez M. Two stage design in a community survey. Br J Psychiatry 1986; 149: 88-97.

14. Andrews G, Schonell M, Tennant C. The relation between physical, psychological, and social morbidity in a surburban community. Am J Epidemiol 1977; 105: 324-9.

15. Corney R. The mental and physical health of clients referred to social workers in a local authority department and a general practice attachment scheme. Psychol Med 1984; 14:137-44.

16. Goldberg D, Williams P. A user’s guide to the General Health Questionnaire. Berkshire: NFER-NELSON Publishing Co Ltd, 1991: 78-80.

17. ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. ความเชื่อถือได้และความแม่น ตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง ประเทศไทย 2539; 41: 2-17.

18. Regier D, Farmer M, Rae D, et al. One-month prevalence of mental disorders in the United States and sociodemographic characteristics: The epidemiologic Catchment Area Study. Acta Psychiatr Scand 1993; 88: 35-47.

19. Kessler R, McGonagle K, Zhao S, et al. Lifetime and 12-month prevalence of DSM-3-R psychiatric disorders in the United States. Arch Gen Psychiatry 1994; 51: 8-19.

20. Holzer C, Shea Birthday, Swanson J, et al. The increased risk for specific psychiatric disorders among persons of low socioeconomic status. Am J Psychiatry 1986; 143: 259-71.

21. Myers J. Social factors related to psychiatric disorders. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 1984; 19: 53-61.

22. Lai G. Work and family roles and psychological well-being in urban China. J Health Soc Behav 1995; 36: 11-37.

23. Kessler R, House J, Turner JB. Unemployment and health in a community sample. J Health Soc Behav 1987; 28:51-9.

24. Homer M. Links between unemployment and mental health problems. Nurs Times 1994; 90: 42-4.

25. Meleis AI, Lipson J, Paul S. Ethnicity and health among five Middle Eastern immigrant groups. Nurs Res 1992; 41: 98-103.

26. Tsoi WP, Kok LP. Mental disorders in Singapore. In: Lin TY, Tseng WS, Yeh EK, eds. Chinese societies and mental health. Hong Kong: Oxford University Press, 1995: 266-78.

27. Broadhead W, Kaplan Birthday, James S, et al. The epidemiological evidence for a relationship between social support and health. Am J Epidemiol 1983; 117: 521-37.

28. Henderson A. Intepreting the evidence on social support. Soc Psychiatry 1984; 19: 49-52

29. George L, Blazer D, Hughes D, Fowler N. Social support in the outcome of major depression. Br J Psychiatry 1989; 154: 478-85.

30. Dressler W. Extended family relationships, social support, and mental in a Southern Black community. J Health Soc Behav 1985; 26: 39-48.

31. Gallagher D, Rose J, Rivera P, et al. Prevalence of depression in family caregivers. Gerontol Soc America 1989; 29: 449-56.

32. Rabins P, Fitting M, Eastham J, et al. The emotional impact of caring for the chronically ill. Psychosomatics 1990; 31: 331-5.

33. Patrick C, Padgett D, Schlesinger H, Cohen J, Burns B. Serious physical illness as a stressor: effects on family use of medical services. Gen Hosp Psychiatry 1992; 14: 219-27.

34. Loukissa D. Family burden in chronic mental illness: a review of research studies. J Adv Nurs 1995; 21:248-55.

35. Jacobs J. Family therapy in the context of chronic medical illness. In: Stoudemire A, Fogel B, eds. Psychiatric care of the medical patient. New York: Oxford University Press, 1993: 19-30.

36. Rait D, Lederberg M. The family of the cancer patient. In: Holland J, Rowland J, eds. Handbook of psychooncology. New York: Oxford University Press, 1989: 585-97.

37. Winefield H, Harvey E. Needs of family caregivers in chronic schizophrenia. Schizophr Bull 1994; 20: 557-66.

38. Winefield H, Harvey E. Determinants of psychological distress in relatives of people with chronic schizophrenia. Schizophr Bull 1993; 19:619-25.

39. Parker B. Living with mental illness: the family as caregiver. J Psychosoc Nurs Ment Health Serv 1993; 31: 19-21.

40. Peternelj-Taylor C, Hartley V. Living with mental illness: professional/family collaboration . J Psychosoc Nurs Ment Health Serv 1993; 31: 23-8.

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us