เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand

 Development of Thai version of Hospital Anxiety and Depression Scale in cancer patients

Tana Nilchaikovit, M.D. *,
Manote Lortrakul, M.D. *,
Umaphorn Phisansuthideth, B.Sc. (Nursing) **

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Rama VI Road, Bangkok 10400

** Devision of disease prevention and health promotion, Ramathibodi Hospital.

Abstract The Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) was translated into Thai and administered to a sample of 60 in-patients with cancer to test the validity and reliability of the Thai version of HADS (Thai HADS). Semistructured clinical psychiatric interview was used as a gold standard. The result of the study showed that the Thai HADS had good reliability and validity for both anxiety and depression sub-scales. At the cut-off point of > 11, which was the best cut-off point, the sensitivity of anxiety and depression sub-scales of Thai HADS were 100% and 85.71% respectively, while the specificity were 86.0% for anxiety and 91.3% for depression. Both sub-scales also showed good internal consistencies with Cronbach’s alpha coefficient of 0.8551 for anxiety sub-scale and 0.8259 for depression sub-scale. In conclusion, the study showed that Thai HADS is a reliable and valid instrument for the screening of anxiety and depression in Thai patients, and especially in in-patients with cancer.

J Psychiatr Assoc Thailand 1996; 41(1):18-30.

Key words : HADS, Thailand, psychiatric measurement

การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ธนา นิลชัยโกวิทย์ พ.บ.*,
มาโนช หล่อตระกูล พ.บ.*,
อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช วทบ. (พยาบาลศาสตร์) **

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400

** แผนกป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ได้ทำการศึกษาความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของแบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย(Thai HADS) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งในโรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 60 ราย โดยเครื่องมือในการวัดความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยเมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ ผลการศึกษา พบว่า Thai HADS สามารถใช้วัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ศึกษาได้ดี โดยมีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สำหรับอาการวิตกกังวล เท่ากับร้อยละ 100 และ 86.0 ตามลำดับ และมีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สำหรับอาการซึมเศร้า เท่ากับร้อยละ 85.71 และร้อยละ 91.3 ตามลำดับ เมื่อใช้ cut-off point ที่คะแนน >11 คะแนนเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิตเวช โดย Thai HADS มีความเห็นพ้องกับการวินิจฉัยทางคลินิกคิดเป็นร้อยละ 88.33 สำหรับอาการวิตกกังวล (P < 0.0001, kappa = 0.67) และร้อยละ 90 สำหรับอาการซึมเศร้า (P<0.0001, kappa = 0.73) ส่วนค่าความเชื่อถือได้ พบว่าค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ของทั้ง 2 sub-scale อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยมีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.8551 สำหรับ anxiety sub-scale และ 0.8259 สำหรับ depression sub-scale ผลการศึกษาแสดงว่าสมควรนำ Thai HADS มาใช้เป็นแบบคัดกรองอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยไทยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สั้น กระทัดรัด และมีค่าความแม่นตรง และความเชื่อถือได้อยู่ในเกณฑ์ดี

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41(1) :18-30.

คำสำคัญ : HADS, แบบคัดกรองอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า

บทนำ

อาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง การศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง 215 ราย พบว่ามีถึงร้อยละ 47 ที่มีปัญหาทางจิตเวช1 โดยอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาการซึมเศร้า Bukberg และคณะ2 พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีถึงร้อยละ 24 ที่มีอาการซึมเศร้าในขั้นรุนแรง ร้อยละ 18 มีอาการซึมเศร้าในระดับปานกลาง และอีกร้อยละ 14 มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่รุนแรง Plumb และ Holland3 พบว่าร้อยละ 23 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอาการซึมเศร้าอย่างชัดเจน

และมีถึงร้อยละ 12 ที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ส่วนผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาล ที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ พบว่ามีอาการซึมเศร้าประมาณร้อยละ 22-244,5 และมีอาการวิตกกังวล ประมาณร้อยละ 4-14 6-8 แต่ปรากฏว่า ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยทั้งในผู้ป่วยทั่วไป9-13 และผู้ป่วยโรคมะเร็ง14 มักถูกละเลย และไม่ได้รับการช่วยเหลือมากเท่าที่ควร

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเครื่องมือคัดกรองอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทยที่มีความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือได้ขึ้น สำหรับใช้ในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคทางกายโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถคัดกรองผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าวออกมาได้ในขั้นต้น โดยแปลจาก Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาอังกฤษของ Zigmond และ Snaith15 ซึ่งเป็นแบบคัดกรองปัญหาอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดฉบับหนึ่ง และแม้ว่าจะเริ่มพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในผู้ป่วยทั่วไปในโรงพยาบาล ต่อมาพบอีกว่าสามารถใช้ในการสำรวจปัญหาอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ในกลุ่มประชากรทั่วไป16 และผู้ป่วยจิตเวช17-19 ได้ดีเช่นกัน

ได้มีการแปล และทำการศึกษาความแม่นตรงของ HADS ในภาษาต่างๆ หลายภาษา เช่น ภาษาจีน20 อราบิค21,22 เออร์ดู23 อิสราเอล ญี่ปุ่น และชาติต่างๆในยุโรปหลายชาติ16,24 และได้มีการศึกษาความแม่นตรงในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยเวชปฏิบัติทั่วไป25,26 ผู้ป่วยโรคหัวใจ27 ผู้ป่วยโรคผิวหนัง28 ผู้ป่วยจิตเวช17-19 ผู้ป่วยโรคระบบสืบพันธ์และทางเดินปัสสาวะ29 และผู้ป่วยโรคมะเร็ง30-33 และผู้ป่วยทันตกรรม34

HADS เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ป่วยตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยคำถามรวม 14 ข้อ แบ่งเป็นคำถามสำหรับอาการวิตกกังวล 7 ข้อ คือข้อที่เป็นเลขคี่ทั้งหมด และสำหรับอาการซึมเศร้าอีก 7 ข้อ คือข้อที่เป็นเลขคู่ทั้งหมด การให้คะแนนคำตอบแต่ละข้อเป็นแบบ Likert scale มีคะแนนข้อละตั้งแต่ 0-3 คะแนน การคิดคะแนนแยกเป็นส่วนของอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า มีพิสัยของคะแนนในแต่ละส่วนได้ตั้งแต่ 0-21 คะแนน คะแนน 0-7 เป็นกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตเวช คะแนน 8-10 เป็นกลุ่มที่มีอาการวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้าสูง แต่ยังไม่ผิดปกติชัดเจน (doubtful cases) และคะแนน 11-21 เป็นกลุ่มที่มีอาการวิตกกังวล หรืออาการซึมเศร้าในขั้นที่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตเวช (cases)

วัสดุและวิธีการ

กลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรามาธิบดี ของภาควิชาศัลยศาสตร์ และภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์ จำนวน 60 ราย ที่สามารถอ่านและเข้าใจภาษาไทยดีพอที่จะเข้าใจแบบสอบถามได้ และยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและการให้สัมภาษณ์

เครื่องมือที่ใช้คือ HADS ฉบับภาษาไทย ซึ่งผู้รายงานได้แปลจากภาษาอังกฤษ แล้วนำไปให้จิตแพทย์อีกท่านหนึ่งซึ่งมีความชำนาญภาษาอังกฤษดีเท่าเทียมกับภาษาไทย และไม่เคยเห็นต้นฉบับ HADS ฉบับภาษาอังกฤษมาก่อน แปลกลับเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำมาตรวจสอบว่าการแปลเป็นไทยทำให้ความหมายผิดไปจากต้นฉบับภาษาอังกฤษหรือไม่ และนำแบบสอบถามภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย และบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน เพื่อทดสอบปัญหาในการเข้าใจแบบสอบถาม แล้วนำมาขัดเกลาสำนวนภาษาในขั้นสุดท้ายโดยพยายามให้คงความหมายเดิมไว้ให้มากที่สุด จนได้ HADS ฉบับภาษาไทยที่นำมาใช้ (ดูภาคผนวก)

วิธีการศึกษาทำโดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม HADS ฉบับภาษาไทย และนำมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ผู้ทำการศึกษา ซึ่งสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยใช้ semistructure psychiatric interview สำหรับวินิจฉัยอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะผู้ทำการศึกษาตามแนวทางเกณฑ์การวินิจฉัยโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าของ DSM-III-R35 โดยไม่ทราบผล HADS

จากการสัมภาษณ์ จิตแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าหรือไม่ โดยให้คะแนนเป็น 5 ระดับคือ คะแนน 0 = ไม่มีอาการ 1 = มีอาการเล็กน้อย (mild) 2 = มีอาการน้อยกว่าระดับปานกลาง (less than moderate) 3 = มีอาการในระดับปานกลางถึงค่อนข้างรุนแรง (moderate to severe) และ 4 = มีอาการรุนแรง (severe) ผู้ที่ได้คะแนน 0 และ 1 ถือเป็นกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตเวช (non-cases) ผู้ที่ได้คะแนน 2 เป็นกลุ่มที่อาจมีความผิดปกติทางจิตเวชแต่ยังไม่ชัดเจน (doubtful cases) และผู้ที่ได้คะแนน 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่มีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าอยู่ในขั้นที่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตเวช (cases) โดยจิตแพทย์ผู้สัมภาษณ์ทั้งสองราย ได้ฝึกทำการสัมภาษณ์ร่วมกัน และทำการทดสอบ interrater reliability ในการให้การวินิจฉัยอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย 10 ราย ได้ค่า interrater reliability สำหรับอาการวิตกกังวล kappa = 1 คือมีความเห็นตรงกันทั้งหมด และสำหรับอาการซึมเศร้า kappa = 0.64

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความแม่นตรงของ Thai HADS ทำโดยหาค่าความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ของ HADS ฉบับภาษาไทย ในการวินิจฉัยอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า เมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ ที่จุดตัดคะแนน (cut-off point) ต่างๆ และทดสอบความเห็นพ้องระหว่างคะแนนของ Thai HADS กับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ โดยใช้ค่า kappa และการทดสอบไคสแควร์ และหาค่าสหสัมพันธ์ (correlations) ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการจากการวินิจฉัยของจิตแพทย์ กับคะแนนรวมของแต่ละ sub-scale โดยใช้ Spearman’s correlations และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal components) เพื่อตรวจสอบ construct validity ส่วนการทดสอบความน่าเชื่อถือได้ (reliability) ทำโดยหาค่า Cronbach’s alpha coefficients ของ sub-scale ทั้งสอง และหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของ sub-scale แต่ละ sub-scale (item-total correlation) โดยใช้ Pearson product moment correlations

ผลการวิจัย

ทำการศึกษาในผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 60 คน อายุตั้งแต่ 20-76 ปี อายุเฉลี่ย 46 ปี เป็นชาย 27 คน หญิง 33 คน ผู้ป่วยทั้งหมดป่วยเป็นโรคมะเร็งในระบบต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่ คะแนนของ Thai HADS สำหรับ anxiety sub-scale มีค่าเฉลี่ย 4.98 คะแนน โดยคะแนนต่ำสุดคือ 0 และคะแนนสูงสุดคือ 18 ส่วน depression sub-scale มีคะแนนเฉลี่ย 5.23 โดยคะแนนต่ำสุดคือ 0 และคะแนนสูงสุดคือ 21

การตรวจสอบความแม่นตรงของการคัดกรองความผิดปกติโดย Thai HADS เมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ พบว่าถ้าใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามที่ Zigmond และ Snaith กำหนดไว้ใน HADS ฉบับภาษาอังกฤษคือ คะแนน 0-7 เป็นกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตเวช(non-cases) คะแนน 8-10 เป็นกลุ่มที่อาจมีความผิดปกติทางจิตเวช (doubtful cases) และคะแนน 11-21 เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติทางจิตเวช (cases) สำหรับอาการวิตกกังวลจะมี false positive rate เท่ากับ ร้อยละ 2.5 และไม่มี false negative case เลย ส่วนอาการซึมเศร้ามี false positive rate เท่ากับ ร้อยละ 5.4 และ false negative rate เท่ากับ ร้อยละ 7.14 (ตารางที่ 1)

ในการคำนวณหาค่าความไว และความจำเพาะของ Thai HADS ในแต่ละ sub-scale เมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์พบว่า จุดตัดคะแนนที่คะแนน >11 เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด (ตารางที่ 2) โดยมีความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 100 และความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 86 สำหรับอาการวิตกกังวล และมีความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 85.71 และความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 91.3 สำหรับอาการซึมเศร้า

และที่คะแนน > 11 นี้ Thai HADS มีความเห็นพ้องกับการวินิจฉัยทางคลินิกคิดเป็นร้อยละ 88.33 สำหรับอาการวิตกกังวล และร้อยละ 90 สำหรับอาการซึมเศร้า โดยเกิดนอกเหนือความบังเอิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.0001, kappa = 0.67 สำหรับอาการวิตกกังวล และ P<0.0001, kappa = 0.73 สำหรับอาการซึมเศร้า) ค่าต่างๆของ Thai HADS ที่จุดตัดคะแนน > 11 แสดงไว้ในตารางที่ 3 นอกจากนี้คะแนนรวมของแต่ละ sub-scale กับคะแนนที่จิตแพทย์ให้ตามระดับความรุนแรงของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในการวินิจฉัยทางคลินิก จากการวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ (correlations) โดยใช้ Spearman’s correlations ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญด้วย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.78 , P < .0001 สำหรับอาการวิตกกังวล และ r = 0.68, P < .0001 สำหรับอาการซึมเศร้า

ในการตรวจสอบความเชื่อถือได้ พบว่าค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency) สำหรับทั้ง 2 sub-scale ของ Thai HADS จากการวิเคราะห์โดยใช้วิธีของ Cronbach อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยมีค่า alpha coefficients เท่ากับ 0.8551 สำหรับ anxiety sub-scale และ 0.8259 สำหรับ depression sub-scale และในการวิเคราะห์ item-subscale correlations ก็พบว่าคำถามทุกข้อในทั้ง 2 sub-scale มีค่าสหสัมพันธ์กับคะแนนรวมของคำถามข้ออื่นอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) ตั้งแต่ +0.47 ถึง +0.63 (P < 0.001) สำหรับ anxiety sub-scale และมีค่าสหสัมพันธ์ (r) ตั้งแต่ +0.31 ถึง +0.67 (P < 0.001) สำหรับ depression sub-scale (ตารางที่ 4)

ในการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบหลักของ Thai HADS โดยใช้วิธี Varimax rotation พบว่าตัวแปรหรือข้อคำถามทั้ง 14 ข้อ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย โดยปัจจัยแรกมีค่า eigenvalue 6.514 ครอบคลุมตัวแปรร้อยละ 46.5 และปัจจัยที่ 2 มีค่า eigenvalue 1.235 ครอบคลุมตัวแปรร้อยละ 8.8

ปัจจัยแรกประกอบด้วยคำถามรวม 8 ข้อ คือข้อ 7, 13, 10, 5, 11, 1, 8, 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำถามใน anxiety sub-scale ยกเว้นข้อ 10 และ 8 ที่เป็นคำถามใน depression sub-scale ส่วนปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วยคำถามรวม 6 ข้อ คือข้อ 4, 2, 12, 6, 9, และ 14 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นข้อคำถามใน depression sub-scale ยกเว้นข้อ 9 เพียงข้อเดียว (ตารางที่ 5)

วิจารณ์

Thai HADS ที่ได้พัฒนาขึ้นมีค่าความแม่นตรงและความเชื่อถือได้อยู่ในเกณฑ์ดี จากการเปรียบเทียบความไว และความจำเพาะในการคัดกรองอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ที่จุดตัดคะแนนต่างๆ พบว่าจุดตัดคะแนนที่ คะแนน > 11 เป็นจุดตัดร่วมที่ดีที่สุดสำหรับทั้ง 2 sub-scale ในการศึกษานี้ไม่ได้ใช้ Receiver Operating Characteristic (R.O.C.) analysis ในการกำหนดจุดตัดคะแนน เพราะต้องการให้ทั้ง 2 sub-scale มีจุดตัดคะแนนที่จุดเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือ ส่วนการกำหนดเกณฑ์คะแนนในลักษณะที่แบ่งระดับการวินิจฉัยเป็น 3 ระดับ ได้เลือก กำหนดตามที่ Zigmond และ Snaith15 กำหนดไว้เดิม คือคะแนน 0-7 ไม่มีความผิดปกติ คะแนน 8-10 เป็นกลุ่มที่อาจมีความผิดปกติ และคะแนน 11-21 มีอาการวิตกกังวล หรืออาการซึมเศร้า ในระดับที่เป็นความผิดปกติทางจิตเวช

การใช้ HADS ในการศึกษาต่างๆ นั้น มีผู้ใช้จุดตัดคะแนนทั้งที่ คะแนน > 8 เช่นการศึกษาของ Andrews และคณะ36 , Wilkinson และ Barczak26, Hamer และคณะ19 และ Moorey และคณะ37 เป็นต้น และใช้จุดตัดที่คะแนน > 11 เช่น Lewis และ Wessely28 การศึกษาของ Carroll และคณะในผู้ป่วยโรคมะเร็ง38 ใช้จุดตัดคะแนนทั้งสองจุดเปรียบเทียบกัน และเสนอว่า จุดตัดคะแนนที่ > 11 คะแนน น่าจะบ่งถึงความผิดปกติทางจิตเวชตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-III-R ได้ดีกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในครั้งนี้ และในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า นอกจากจะใช้ในการคัดกรองความผิดปกติได้แล้ว Thai HADS ยังสามารถบ่งถึงระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลได้ด้วย เนื่องจากระดับคะแนนของ Thai HADS มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการตามการวินิจฉัยของจิตแพทย์

ในการทำการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) พบว่าคำถามทั้งหมดใน Thai HADS แบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกเกี่ยวกับอาการวิตกกังวล ประกอบด้วยคำถามรวม 8 ข้อ คือข้อ 7, 13, 5, 11, 1, และ 3 ซึ่งเป็นคำถามใน anxiety sub-scale และข้อ 10 และ 8 ซึ่งเป็นคำถามใน depression sub-scale ส่วนปัจจัยที่ 2 เกี่ยวกับอาการซึมเศร้า ประกอบด้วยคำถามรวม 6 ข้อ คือข้อ 4, 2, 12, 6, และ 14 ซึ่งเป็นคำถามใน depression sub-scale และข้อ 9 จาก depression sub-scale การที่พบคำถามข้อ 10 และข้อ 8 รวมอยู่ในปัจจัยที่เกี่ยวกับความวิตกกังวลนั้น อาจเกิดจากลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มที่ทำการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ป่วยในที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และมีอาการค่อนข้างมาก

อาการในข้อ 8 คือคิดอะไรทำอะไรเชื่องช้าลงกว่าเดิม เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยอาการหนักอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจตนเอง ในการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามใน sub-scale ก็พบว่า ข้อ 8 และข้อ 10 นี้เป็นคำถามที่มีค่า item-total correlations ต่ำที่สุดใน depression sub-scale (ตารางที่ 4) ด้วยเช่นกัน ส่วนการที่คำถามทั้งสองข้อมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวกับอาการวิตกกังวลมากกว่านั้น อาจเป็นเพราะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น เพิ่งทราบการวินิจฉัย หรือมีการกลับเป็นมะเร็งขึ้นใหม่ หลังจากอาการสงบไปแล้ว มักจะมีอาการวิตกกังวลสูงร่วมด้วย จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างอาการดังกล่าวกับความวิตกกังวลมากกว่าอาการซึมเศร้า

ส่วนการที่คำถามข้อ 9 กลับไปอยู่ในปัจจัยที่เกี่ยวกับอาการซึมเศร้านั้น อาจเป็นปัญหาที่เป็นจุดอ่อนของข้อคำถาม เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้มีปัญหาในการแปล คือ คำถามเดิมใช้สำนวน butterflies in the stomach ซึ่งไม่มีสำนวนที่ตรงหรือมีความหมายใกล้เคียงกันในสังคมไทย การแปลเป็นภาษาไทย ได้ใช้ข้อความว่า “ฉันรู้สึกไม่สบายใจจนทำให้รู้สึกปั่นป่วนในท้อง” ซึ่งมีความชัดเจนน้อยกว่าความหมายเดิมที่ใช้ในวัฒนธรรมตะวันตก และปัญหาที่พบเกี่ยวกับคำถามข้อ 9 นี้เป็นปัญหาที่ El-Rufaie และ Absood21 ประสบในการแปล HADS เป็นภาษาอราบิคเช่นกัน

อย่างไรก็ตามผลการศึกษาโดยรวมก็แสดงให้เห็นว่า HADS เป็นเครื่องมือที่แยกออกเป็นสองปัจจัยอย่างค่อนข้างเด่นชัด และสามารถแยกอาการวิตกกังวล กับอาการซึมเศร้าออกจากกันได้ชัดเจน

ผลการศึกษาแสดงว่า Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ สมควรจะนำมาใช้เป็นแบบคัดกรองอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยไทยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ดี เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สั้น กระทัดรัด และมีค่าความแม่นตรง และความเชื่อถือได้อยู่ในเกณฑ์ดี และควรส่งเสริมให้ทำการศึกษาหาความแม่นตรง และความเชื่อถือได้ ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลทั่วไปในชุมชน ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยโรคอื่นๆ รวมทั้งในการใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. Deratogis LR, Morrow GR, Fetting J, et al. The prevalence of psychiatric disorders among cancer patients. JAMA 1983; 249: 751-7.

2. Bukburg JB, Penman DT, Holland JC. Depression in hospitalized cancer patients. Psychosom Med 1984; 46: 199-212.

3. Plumb MM, Holland JC. Comparative studies of psychological function in patients with advanced cancer, 1: Self reported depressive symptoms. Psychosom Med 1977; 39: 264-76.

4. Schwab JJ, Bialon M, Brown JM, et al. Diagnosing depression in medical inpatients. Ann Intern Med 1967; 67: 695-707.

5. Moffic H, Paykel ES. Depression in medical inpatients. Br J Psychiatry 1975; 126: 346-53.

6. Strain JJ, Liebowitz MR, Klein DF. Anxiety and panic attacks in the medically ill. Psychiatr Clin North Am 1981; 4: 333-50.

7. Barrett JE, Barrett JA, Oxman TE, et al. The prevalence of psychiatric disorder in a primary practice. Arch Gen Psychiatry 1988; 45: 1100-6.

8. Wells KB, Golding JM, Burnam MA. Affective, substance use, and anxiety disorders in persons with arthritis, diabetes, heart disease, high blood pressure, or chronic lung conditions. Gen Hosp Psychiatry 1989; 11: 320-7.

9. Knights E, Folstein M. Unsuspected emotional and cognitive disturbance in medical patients. Ann Intern Med 1977; 87: 723-4.

10. Thompson TL, Stoudemire A, Mitchell WE. Under-recognition of patient’s psychosocial distress in a university hospital medical clinic. Am J Psychiatry 1983; 140: 158-61.

11. Linn LS, Yager J. Recognition of depression and anxiety by primary physicians. Psychosomatics 1984; 25: 593-600.

12. Schulberg HC, Saul M, McClelland MN, et al. Assessing depression in primary medical and psychiatric practices. Arch Gen Psychiatry 1985; 42: 1164-70.

13. Wells KB, Stewart A, Hays R, et al. Detection of depressive disorders for patients receiving prepaid or fee-for-service care. JAMA 1989; 262: 3298-302.

14. Deratogis LR, Abeloff MD, McBeth CD. Cancer patients and their physicians in the perception of psychological symptoms. Psychosomatics 1976; 17: 197-201.

15. Zigmond AS, Snaith RP. The hospital anxiety and depression scale. Acta Psychiatr Scand 1983; 67: 361-70.

16. Snaith RP. Availability of Hospital Anxiety and Depression (HAD) Scale. Br J Psychiatry 1992; 161: 422.

17. Bramley PN, Easton AME, Morley S, et al. The differentiation of anxiety and depression by rating scales. Acta Psychiatr Scand 1988; 77: 136-9.

18. Nayani S. The evaluation of psychiatric illness in Asian patients by the Hospital Anxiety and Depression Scale. Br J Psychiatry 1989; 155, 545-7.

19. Hamer D, Sanjeev D, Butterworth E, Barczak P. Using the Hospital Anxiety and Depression Scale to screen for psychiatric disorders in people presenting with deliberate self-harm. Br J Psychiatry 1991; 158: 782-4.

20. Leung CM, Ho S, Kan CS, Hung CH, Chen CN. Evaluation of the Chinese version of Hospital Anxiety and Depression Scale. A cross cultural perspective. Int J Psychosom 1993; 40: 29-34.

21. El-Rufaie OE, Absood G. The validity study of the Hospital Anxiety and Depression Scale among a group of Saudi patients. Br J Psychiatry 1987; 151: 687-8.

22. Malasi TH, Mersa IA, el Islam MF. Validation of the Hospital Anxiety and Depression Scale in Arab patients. Acta Psychiatr Scand 1991; 84: 323-6.

23. Mumford DB, Tareen IA, Bajwa MA, Bhatti MR, Karim R. The translation and evaluation of an Urdu version of the Hospital Anxiety and Depression Scale. Acta Psychiatr Scand 1991; 83: 81-5.

24. Herman C, Scholz KH, Kreuzer H. Psycholologisches Screening von Patienten einer kardiologischen Akutklinik mit einer deutschen Fassung der “Hospital Anxiety and Depression”(HAD)-skala. Psychother Psychosom Med Psychol 1991; 41: 83-92.

25. Aylard PR, Gooding JH, McKenna PJ, Snaith RP. A validation study of three anxiety and depression assessment scales. J Psychosom Res 1987; 31: 261-8.

26. Wilkinson MJB, Barzak P. Psychiatric screening in general practice: comparison of the general health questionaire and the Hospital Anxiety and Depression Scale. J Royal College Gen Practitioners 1988; 38: 311-3.

27. Elliot D. Comparison of three instruments for measuring patient’s anxiety in a coronary care unit. Intensive Crit Care Nurs 1993; 9: 195-200.

28. Lewis G, Wessely S. Comparison of the General Health Questionaire and the Hospital Anxiety and Depression Scale. Br J Psychiatry 1990; 157: 860-4.

29. Barzack P, Kane N, Andrews S, et al. Patterns of psychiatric morbidity in a genitourinary clinic: a validation of the Hospital Anxiety and Depression Scale. Br J Psychiatry1988; 152: 698-700.

30. Razavi D, Devalux N, Farvacques C, Robaye E. Screening for adjustment disorders and major depressive disorders in cancer in-patients. Br J Psychiatry 1990; 156: 79-83.

31. Hopwood P, Howell A, Maguire P. Screening for psychiatric morbidity in patients with advanced breast cancer: Validation of two self-report questionaires. Br J Cancer 1991; 64: 353-6.

32. Ravazi D, Devalux N, Bredart A, et al. Screening for psychiatric disorders in a lymphoma out-patient population. Eu J Cancer 1992; 28A: 1869-72.

33. Ibbotson T, Maguire P, Selby P, Priestman T, Wallace L. Screening for anxiety and depression in cancer patients: the effects of disease and treatment. Eur J Cancer 1994; 30A: 37-40.

34. Zakrzewska JM, Feinman C. A standard way to measure pain and psychological morbidity in dental practice. Br Dental J 1990; 169: 337-9.

35. American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. 3rd ed, revised). Washington, DC: American Psychiatric Association, 1987.

36. Andrews H, Barczak P, Allan RN. Psychiatric illness in patients with inflamatory bowel disease. Gut 1987; 28: 1600-4.

37. Moorey S, Greer S, Watson M, et al. The factor structure and factor stability of the Hospital Anxiety and Depression Scale. Br J Psychiatry 1991; 158: 255-9.

38.Carroll BT, Kathol RG, Noyes R Jr, Wald TG, Clamon GH. Screening for depression and anxiety in cancer patients using the Hospital Anxiety and Depression Scale. Gen Hosp Psychiatry 1993; 15: 69-73.

ตารางที่ 1: เปรียบเทียบการวินิจฉัยโดย Thai HADS กับการวินิจฉัยของจิตแพทย์

Anxiety

Scale scores

Non-cases

Doubtful cases

Cases

Total

0-7

28

1

 

29

8-10

11

3

 

14

11-21

1

6

10

17

Total

40

10

10

60

Depression

Scale scores

Non-cases

Doubtful cases

Cases

Total

0-7

26

2

1

29

8-10

9

5

1

15

11-21

2

2

12

16

Total

37

9

14

60

 

ตารางที่ 2: ค่าความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ของ Thai HADS ที่จุดตัดคะแนนต่างๆ

Cut-off point

Anxiety

Depression

 

Sensitivity

Specificity

Sensitivity

Specificity

> 8 100% 58% 92.86% 60.87%
> 9 100% 70% 92.86% 67.39%
> 10 100% 82% 92.86% 84.78%
> 11 100% 86% 85.71% 91.3 %
> 12 100% 88% 71.43% 93.48%
> 13 100% 92% 64.29% 93.48%
         

 

ตารางที่ 3: ค่าต่างๆของ Thai HADS เมื่อใช้จุดตัดคะแนนที่ > 11

 

Anxiety

Depression

Sensitivity

100 %

85.71%

Specificity

86 %

91.3%

False positive rate

4 %

8.7%

False negative rate

-

16.29%

Misclassification rate

11.67%

6.67%

Positive predictive value

0.59

0.75

Negative predictive value

1

0.96

ตารางที่ 4: ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของ sub-scale

HADS item

r

P

Anxiety sub-scale

   
(5) ฉันมีความคิดวิตกกังวล

0.63

<.001

(3) ฉันมีความรู้สึกกลัวคล้ายกับว่ากำลังจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น

0.62

<.001

(9) ฉันรู้สึกไม่สบายใจ จนทำให้ปั่นป่วนในท้อง

0.60

<.001

(11) ฉันรู้สึกกระสับกระส่ายเหมือนกับจะอยู่นิ่งๆไม่ได้

0.56

<.001

(13) ฉันรู้สึกผวาหรือตกใจขึ้นมาอย่างกระทันหัน

0.55

<.001

(7) ฉันสามารถทำตัวตามสบายและรู้สึกผ่อนคลาย

0.51

<.001

(1) ฉันรู้สึกตึงเครียด

0.47

<.001

Depression sub-scale    
(4) ฉันสามารถหัวเราะและมีอารมณ์ขันในเรื่องต่างๆได้

0.67

<.001

(6) ฉันรู้สึกเบิกบานแจ่มใส

0.60

<.001

(14) ฉันรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ ฟังวิทยหรือดูโทรทัศน์ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เคยเพลิดเพลินได้

0.57

<.001

(2) ฉันรู้สึกเพลิดเพลินใจกับสิ่งต่างๆที่ฉันเคยชอบได้

0.56

<.001

(12) ฉันมองสิ่งต่างๆในอนาคตด้วยความเบิกบานใจ

0.47

<.001

(10) ฉันปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจตนเอง

0.46

<.001

(8) ฉันรู้สึกว่าตัวเองคิดอะไร ทำอะไร เชื่องช้าลงกว่าเดิม

0.31

<.001

     

 

ตารางที่ 5: Factor loading ของ HADS items

HADS item

Factor 1 (Anxiety)

Factor 2 (Depression)

Factor 1 (Anxiety)    
Item 7 ฉันสามารถทำตัวตามสบายและรู้สึกผ่อนคลาย

0.76

0.17

Item 13 ฉันรู้สึกผวาหรือตกใจขึ้นมาอย่างกระทันหัน

0.70

0.00

Item 10 ฉันปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจตนเอง

0.65

0.11

Item 5 ฉันมีความคิดวิตกกังวล

0.64

0.52

Item 11 ฉันรู้สึกกระสับกระส่ายเหมือนกับจะอยู่นิ่งๆไม่ได้

0.62

0.49

Item 1 ฉันรู้สึกตึงเครียด

0.62

0.50

Item 8 ฉันรู้สึกว่าตัวเองคิดอะไร ทำอะไร เชื่องช้าลงกว่าเดิม

0.54

0.46

Item 3 ฉันมีความรู้สึกกลัวคล้ายกับว่ากำลังจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น

0.49

0.48

Factor 2 (Depression)    
Item 4 ฉันสามารถหัวเราะและมีอารมณ์ขันในเรื่องต่างๆได้

0.21

0.76

Item 2 ฉันรู้สึกเพลิดเพลินใจกับสิ่งต่างๆที่ฉันเคยชอบได้

0.24

0.75

Item 12 ฉันมองสิ่งต่างๆในอนาคตด้วยความเบิกบานใจ

-0.09

0.73

Item 6 ฉันรู้สึกเบิกบานแจ่มใส

0.51

0.57

Item 9 ฉันรู้สึกไม่สบายใจ จนทำให้ปั่นป่วนในท้อง

0.31

0.57

Item 14 ฉันรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เคยเพลิดเพลิน ได้

0.51

0.53

     

 ภาคผนวก (Appendix)

แบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS)

อารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเจ็บป่วย ถ้าผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยเข้าใจสภาพอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ของท่าน ก็จะสามารถให้การช่วยเหลือ และดูแลท่านได้ดียิ่งขึ้น

แบบสอบถามชุดนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ดูแลรักษาท่าน เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของท่านในขณะเจ็บป่วยได้ดีขึ้น กรุณาอ่านข้อความแต่ละข้อ และทำเครื่องหมายถูก ในช่องคำตอบที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกของท่าน ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มากที่สุด และกรุณาตอบทุกข้อ

คะแนน

คะแนน

1. ฉันรู้สึกตึงเครียด 4. ฉันสามารถหัวเราะและมีอารมณ์ขันในเรื่องต่างๆได้
( ) เป็นส่วนใหญ่

3

( ) เหมือนเดิม

0

( ) บ่อยครั้ง

2

( ) ไม่มากนัก

1

( ) เป็นบางครั้ง

1

( ) มีน้อย

2

( ) ไม่เป็นเลย

0

( ) ไม่มีเลย

3

2. ฉันรู้สึกเพลิดเพลินใจกับสิ่งต่างๆ ที่ฉันเคยชอบได้ 5. ฉันมีความคิดวิตกกังวล
( ) เหมือนเดิม

0

( ) เป็นส่วนใหญ่

3

( ) ไม่มากเท่าแต่ก่อน

1

( ) บ่อยครั้ง

2

( ) มีเพียงเล็กน้อย

2

( ) เป็นบางครั้ง แต่ไม่บ่อย

1

( ) เกือบไม่มีเลย

3

( ) นานๆครั้ง

0

3. ฉันมีความรู้สึกกลัว คล้ายกับว่ากำลังจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น 6. ฉันรู้สึกแจ่มใสเบิกบาน
( ) มี และค่อนข้างรุนแรงด้วย

3

( ) ไม่มีเลย

3

( ) มี แต่ไม่มากนัก

2

( ) ไม่บ่อยนัก

2

( ) มีเพียงเล็กน้อย

และไม่ทำให้กังวลใจ

1

( ) เป็นบางครั้ง

1

( ) ไม่มีเลย

0

( ) เป็นส่วนใหญ่

0

7. ฉันสามารถทำตัวตามสบาย และรู้สึกผ่อนคลาย 11. ฉันรู้สึกกระสับกระส่าย เหมือนกับจะอยู่นิ่งๆ ไม่ได้
( ) ได้ดีมาก

0

( ) เป็นมากทีเดียว

3

( ) ได้โดยทั่วไป

1

( ) ค่อนข้างมาก

2

( ) ไม่บ่อยนัก

2

( ) ไม่มากนัก

1

( ) ไม่ได้เลย

3

( ) ไม่เป็นเลย

0

8. ฉันรู้สึกว่าตัวเองคิดอะไร ทำอะไร เชื่องช้าลงกว่าเดิม 12. ฉันมองสิ่งต่างๆในอนาคต ด้วยความเบิกบานใจ
( ) เกือบตลอดเวลา

3

( ) มากเท่าที่เคยเป็น

0

( ) บ่อยมาก

2

( ) ค่อนข้างน้อยกว่าที่เคยเป็น

1

( ) เป็นบางครั้ง

1

( ) น้อยกว่าที่เคยเป็น

2

( ) ไม่เป็นเลย

0

( ) เกือบจะไม่มีเลย

3

9. ฉันรู้สึกไม่สบายใจ จนทำให้ปั่นป่วนในท้อง 13. ฉันรู้สึกผวาหรือตกใจขึ้นมาอย่างกระทันหัน
( ) ไม่เป็นเลย

0

( ) บ่อยมาก

3

( ) เป็นบางครั้ง

1

( ) ค่อนข้างบ่อย

2

( ) ค่อนข้างบ่อย

2

( ) ไม่บ่อยนัก

1

( ) บ่อยมาก

3

( ) ไม่มีเลย

0

10. ฉันปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจตนเอง 14. ฉันรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เคยเพลิดเพลินได้
( ) ใช่

3

( ) เป็นส่วนใหญ่

0

( ) ไม่ค่อยใส่ใจเท่าที่ควร

2

( ) เป็นบางครั้ง

1

( ) ใส่ใจน้อยกว่าแต่ก่อน

1

( ) ไม่บ่อยนัก

2

( ) ยังใส่ใจตนเองเหมือนเดิม

0

( ) น้อยมาก

3

การคิดคะแนน

อาการวิตกกังวล คิดคะแนนข้อคี่ทั้งหมด (1, 3, 5, 7, 9, 11, 13) รวมกัน

อาการซึมเศร้า คิดคะแนนข้อคู่ทั้งหมด (2, 4, 6, 8, 10, 12, 14) รวมกัน

หมายเหตุ หากประสงค์จะนำ Thai HADS ไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัย โปรดติดต่อที่ ผศ. นพ. ธนา นิลชัยโกวิทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ 10400

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us