เผี่ยวผับวารสาร
วารสารŠบับัจจุบัš
วารสารŠบับผ่อšๆ
ผองบรรณาธิผาร
คำแšะšำใšผารส่งž้šŠบับ
สมัครสมาชิผ
อีเมล์เžือš
สมาคมจิžแžฅย์
žิดž่อ
ค้šหาบฅความใšวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand

Reliability and validity of the Thai version of the General Health Questionaire

Tana Nilchaikovit M.D. , Chakkrit Sukying M.D. , Chatchawan Silpakit M.D.

Abstract The General Health Questionaire (GHQ, Goldberg 1972) was translated into Thai and administered to a sample of 100 people visiting a mobile primary health care unit in Nongchok district, Bangkok. Clinical psychiatry health care unit in Nongchok district, Bangkok. Clinical psychiatric interview by psychiatrists was used as a gold standard. Sensitivity, specificity and area under the receiver operating characteristic curve (ROC), as well as the internal consistencies of items were calculated. The result of the study showed that all versions of the Thai GHQ (Thai GHQ-60, Thai GHQ-30, Thai GHQ-28, and Thai GHQ-12) had good reliability and validity, with the range of Cronbach’s alpha coefficients from 0.86 to 0.95, and the range of sensitivity and specificity from 78.1 % to 85.3 % and 84.4 % to 89.7 % respectively. In conclusion, the Thai versions of General Health Questionaire developed can be used as a self-administrative screening instrument to detect psychiatric disorder in Thai population.

J Psychiatr Assoc Thailand 1996 ; 41(1) :  2-17.

Key words : GHQ, Thailand, psychiatric measurement

ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย

ธนา นิลชัยโกวิทย์ พ.บ., จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง พ.บ., ชัชวาลย์ ศิลปกิจ พ.บ.

คณะผู้ศึกษาได้นำ General Health Questionnaire (Goldberg 1972) มาแปลเป็นภาษาไทย และทำการศึกษาในประชาชนในเขตหนองจอกที่มารับบริการจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 100 ราย เพื่อทดสอบความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของเครื่องมือในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนเมื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ) ทุกฉบับ ทั้งฉบับเต็มคือ Thai GHQ-60 และฉบับอื่นๆที่ตัดตอนมาจากฉบับเต็มคือ Thai GHQ-30, Thai GHQ-28 และ Thai GHQ-12 มีค่าความเชื่อถือได้และความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ความสอดคล้องภายใน (internal consistencies) ของข้อคำถาม มีค่า Cronbach’s alpha coefficients ตั้งแต่ 0.86 ถึง 0.95 และมีค่าความไว (sensitivity) ตั้งแต่ร้อยละ 78.1 ถึง 85.3 และความจำเพาะ (specificity) ตั้งแต่ร้อยละ 84.4 ถึง 89.7 และสมควรนำมาใช้เป็นแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในประชากรไทยได้

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539 ; 41(1) : 2-17.

คำสำคัญ : GHQ, แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต

บทนำ ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง จากการสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชากรในชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่ามีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตสูงถึงร้อยละ 28.65 ถึง 30.01-3

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางระบาดวิทยาทางจิตเวชในประเทศไทยยังมีค่อนข้างน้อย อุปสรรคที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการศึกษาทางระบาดวิทยาทางสุขภาพจิตในประเทศไทย คือ การขาดเครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน ในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาแต่ละเรื่องจะใช้เครื่องมือในการวิจัยที่แตกต่างกันไปและยังไม่มีมาตรฐานสำหรับคนไทย ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในแต่ละเรื่องขาดความหนักแน่นและไม่สามารถนำมา

* ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามหก ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันได้ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน จึงเป็น สิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตฉบับภาษาไทยขึ้น โดยพัฒนาจาก General Health Questionaire (GHQ) ของ Goldberg4 ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบตอบด้วยตัวเองเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของประชากรในชุมชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีผู้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 36 ภาษา5 และสามารถใช้ได้ในการสำรวจชุมชนทั่วไป และสถานบริการสาธารณสุข หรือคลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไป

GHQ ได้รับการออกแบบมาสำหรับคัดกรองปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือการไม่สามารถดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ได้อย่างปกติสุขตามที่ควรจะเป็น และการมีปัญหาที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ โดยเน้นถึงปัญหาที่ผิดไปจากสภาวะปกติของบุคคลนั้นๆ มากกว่าลักษณะที่เป็นลักษณะประจำของบุคคลนั้นๆ เช่นปัญหาบุคลิกภาพ ข้อคำถามของ GHQ จะครอบคลุมปัญหาใหญ่ๆ 4 ด้าน คือ ความรู้สึกไม่เป็นสุข (unhappiness) ความวิตกกังวล (anxiety) ความบกพร่องเชิงสังคม (social impairment) และ hypochondriasis

GHQ ฉบับเต็ม (GHQ-60) ประกอบด้วยคำถาม 60 ข้อ และมีฉบับย่ออื่นๆ อีก (GHQ-30, GHQ-20, GHQ-12) ซึ่งมีข้อคำถาม 30, 20 และ 12 ข้อตามลำดับ นอกจากนี้ยังมี GHQ-28 ซึ่งเป็น scaled GHQ คือแบ่งคะแนน เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ อาการทางกาย (somatic symptoms) อาการวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ (anxiety and insomnia) ความบกพร่องทางสังคม (social dysfunction) และอาการซึมเศร้าที่รุนแรง (severe depression) ในการคิดคะแนนของ GHQ Goldberg แนะนำให้ใช้การคิดแบบ GHQ score (0-0-1-1) ซึ่งสะดวกและได้ผลไม่แตกต่างจากการคิดคะแนนแบบ Likert score (0-1-2-3) โดยพบว่า correlation ระหว่างวิธีทั้งสองนี้ อยู่ระหว่าง 0.92-0.94 ส่วนเกณฑ์ในการตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิตเวชของ GHQ ฉบับต่างๆมีดังนี้คือ GHQ-60 ใช้จุดตัดคะแนนที่ 11/12 GHQ-28 ใช้จุดตัดคะแนนที่ 4/5 GHQ 30 ใช้จุดตัดคะแนนที่ 3/4 และ GHQ-12 ใช้จุดตัดคะแนนที่ 1/2

อย่างไรก็ตาม GHQ เป็นเพียงแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต และบอกเพียงว่าน่าจะมีความผิดปกติทางจิตเวชเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีความผิดปกติทางจิตเวชชนิดใด

วัสดุและวิธีการ

ประชากรที่ทำการศึกษาเป็นประชากรในเขตหนองจอก กรุงเทพฯ ที่มารับบริการจากหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่จำนวน 100 ราย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ General Health Questionaire ฉบับภาษาไทยฉบับเต็ม (Thai GHQ-60) ซึ่งแปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดยจิตแพทย์ผู้ทำการศึกษา และนำไปแปลกลับโดยจิตแพทย์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษดีและไม่คุ้นเคยกับ GHQ ฉบับภาษาอังกฤษมาก่อน หลังจากนั้นจึงนำฉบับแปลกลับมาเปรียบเทียบกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ และปรับปรุงฉบับภาษาไทยให้มีความเหมาะสมที่สุด แล้วนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 200 คน เพื่อทดสอบความเข้าใจแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย

วิธีการศึกษาทำโดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม Thai GHQ-60 ด้วยตนเองโดยมีเจ้าหน้าที่พยาบาลคอยช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหา หลังจากผู้ป่วยตอบแบบสอบถามแล้ว จิตแพทย์ผู้ทำการศึกษาจะสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยใช้ semistructure psychiatric interview ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยดัดแปลงจาก clinical interview schedule (CIS)6 และ DSM-III-R โดยไม่ทราบผล GHQ หลังการสัมภาษณ์ จิตแพทย์จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตเวช (non-cases) กลุ่มที่อาจมีความผิดปกติทางจิตเวชแต่ยังไม่ชัดเจน (borderline-cases) หรือกลุ่มที่มีความผิดปกติทางจิตเวช (cases) ในการสัมภาษณ์นี้จิตแพทย์ผู้สัมภาษณ์ทั้ง 3 รายได้ฝึกทำการสัมภาษณ์ร่วมกัน และทดสอบ interrater reliability ในผู้ป่วย 10 ราย

ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคิดคะแนนแบบ GHQ scoring (0-0-1-1) เพื่อคิดคะแนนรวมและนำมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ โดยถือว่ากลุ่มที่อาจมีความผิดปกติทางจิตเวช (borderline-case) อยู่ในกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตเวช (non-cases) เพื่อวิเคราะห์หาค่าความแม่นตรงโดยการคำนวณหาความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (specificity) misclasssification rate, positive predictive value และ negative predictive value ส่วนการหาจุดตัดคะแนนที่เหมาะสมในการคัดกรองความผิดปกติทางจิตเวชทำโดยใช้ receiver operating characteristic (ROC) curve analysis

ส่วนค่าความเชื่อถือได้ทดสอบโดยคำนวณหาค่า internal consistencies โดยใช้ Cronbach’s alpha colfficients และหาค่า split-half coefficients

การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับ Thai GHQ ฉบับอื่นๆ คือ Thai GHQ-28 และ Thai GHQ-12 ทำโดยคัดข้อคำถามออกมาจากคำตอบของ Thai GHQ-60 และนำมาวิเคราะห์โดยวิธีตามที่กล่าวข้างต้นทั้งหมด

ผลการวิจัย

1. interrater reliability มีค่า agreement coefficient, generalized kappa เป็น 0.83 (SE = 0.29, Z = 2.80, P=0.0003)

2. ลักษณะประชากร ประกอบด้วยชาย 44 คน หญิง 56 คน อายุเฉลี่ยของชายเป็น 47.7 ปี (SD=17.1) และหญิง 38.3 ปี (SD = 12.6) ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว (82 คน, โสด 15, หย่า/หม้าย 3) ศาสนาอิสลาม 73 คน และพุทธ 26 คน คริสต์ 1 คน ส่วนใหญ่มีงานทำ (75 คน)

จากประชากรที่ทำการศึกษา 100 ราย ได้รับการวินิจฉัย โดยจิตแพทย์ว่ามีความผิดปกติทางจิตเวช 32 ราย การวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-III-R7 พบว่ามี 12 รายเป็นโรควิตกกังวล และ 10 รายเป็นโรคซึมเศร้า 4 รายมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ 3 รายมีความผิดปกติในกลุ่มโรคจิตสรีรวิทยา 2 รายมี somatization disorder และ 1 รายมีปัญหาที่เกิดจากการปรับตัว (adjustment disorder)

3.ความเชื่อถือได้ ค่า internal consistencies ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ Cronbach’s alpha coefficients มีค่าตั้งแต่ 0.86 สำหรับ GHQ-12 จนถึง 0.95 สำหรับ GHQ-60 และค่า split-half reliability coefficients มีค่าตั้งแต่ 0.84 สำหรับ GHQ-12 จนถึง 0.91 สำหรับ GHQ-8 (ตารางที่ 1)

4. ความแม่นตรง ในการคำนวณพื้นที่ใต้ ROC curve เพื่อเปรียบเทียบอำนาจในการจำแนกของ Thai GHQ แต่ละฉบับ พบว่า Thai GHQ-30 มีพื้นที่ใต้ ROC curve มากที่สุดคือ 0.92 และ Thai GHQ-12 มีพื้นที่ใต้ ROC curve น้อยที่สุดคือ 0.89 อย่างไรก็ตาม พบว่าความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 1.13, P = 0.26)8 จุดตัดคะแนนที่เหมาะสมที่สุด และค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นตรงต่างๆ ของ Thai GHQ แต่ละฉบับได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 และจุดตัดคะแนนของ Thai GHQ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ส่วนใหญ่ตรงกับจุดตัดคะแนนที่แนะนำสำหรับ GHQ ฉบับภาษาอังกฤษ8 ยกเว้น Thai GHQ-30 เพียงฉบับเดียวที่มีจุดตัดคะแนนสูงกว่า (ตารางที่3)

นอกจากนี้พบว่าค่าความไว และความจำเพาะของ Thai GHQ ทุกฉบับ มีแนวโน้มจะมีค่าต่ำกว่าในประชากรที่เป็นชายเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่เป็นหญิง แต่ความแตกต่างทั้งหมดไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 4)

สรุป

ผลการศึกษาที่ได้พบว่า Thai GHQ ทุกฉบับที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมีความแม่นตรงและความเชื่อถือได้อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าความไวและความจำเพาะตลอดจนสัมประสิทธิ์ความแม่นตรงอื่นๆ ในระดับที่ค่อนข้างสูง และสมควรจะนำไปใช้เป็นแบบคัดกรองความผิดปกติทางจิตเวช ทั้งในชุมชนและในสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ ได้ดี

จากผลการศึกษาพบว่าค่าความไวของ Thai GHQ ในผู้ชายต่ำกว่าผู้หญิงค่อนข้างชัดเจน ในขณะที่ค่าความจำเพาะไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ Hobb และคณะ9 และ Araya และคณะ10 ที่รายงานว่าค่าความไวของGHQ ในผู้ชายต่ำกว่าผู้หญิงชัดเจน และ Mari และ Williams11 ซึ่งวิจารณ์ว่าผู้ชายมักจะมีผลลบปลอม (false negative) สูงกว่าผู้หญิง

ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าจุดตัดคะแนนที่เหมาะสมของ Thai GHQ ส่วนใหญ่ตรงกับฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในทวีปอเมริกาใต้ ที่พบว่ามีแนวโน้มที่จะใช้จุดตัดคะแนนที่สูงกว่าฉบับภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะสำหรับ GHQ-1212 การศึกษาในเอเชียจำนวนหนึ่ง ก็มีแนวโน้มทำนองเดียวกัน เช่น Kitamura และคณะ13 ใช้จุดตัดคะแนน 7/8 สำหรับ GHQ-30 ฉบับภาษาญี่ปุ่น และ 14/15 สำหรับ GHQ-60 ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษใช้คะแนน 4/5 และ 11/12 ตามลำดับ และ Chan และ Chan14 ใช้จุดตัดคะแนนที่ 5/6 สำหรับ GHQ-30 ฉบับภาษาจีน แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีบางการศึกษาที่ได้จุดตัดคะแนนที่เหมาะสมต่ำกว่าฉบับภาษาอังกฤษ เช่นใน GHQ-28 ฉบับภาษากัมพูชาที่ใช้จุดตัดคะแนน 3/415 ขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษใช้คะแนน 4/5 ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าฉบับที่มีจุดตัดคะแนนแตกต่างจากฉบับภาษาอังกฤษมีเพียงฉบับเดียวคือ Thai GHQ-30 ซึ่งใช้จุดตัดคะแนน 5/6

จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ Thai GHQ ฉบับต่างๆ พบว่า Thai GHQ-30 เป็นฉบับที่มีพื้นที่ใต้ ROC curve สูงที่สุด และมีค่าความจำเพาะ และค่า positive predictive value ดีที่สุด รวมทั้งมีค่า misclassification rate ต่ำที่สุดด้วย ส่วน Thai GHQ-60 นั้น แม้จะมีค่าความแม่นตรงดีใกล้เคียงกับ Thai GHQ-30 และมีค่าความเชื่อถือได้ดีที่สุดแต่มีความยาวมากกว่า

ดังนั้นในทางปฏิบัติ Thai GHQ-30 จึงน่าจะเป็นฉบับที่เหมาะสมที่สุด ส่วน Thai GHQ-28 นั้นมีความเหมาะสมในกรณีที่ต้องการคะแนนของ sub-scale ต่างๆ เพื่อดูรายละเอียดของอาการ และ Thai GHQ-12 แม้จะมีค่าความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ต่ำกว่าฉบับอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และมีข้อดีที่มีขนาดสั้น กระทัดรัด โดยรวมจึงอาจกล่าวได้ว่า แม้ Thai GHQ-30 น่าจะดีที่สุด ก็อาจจะเลือกใช้ฉบับอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

1. อัมพร โอตระกูล, เจตน์สันติ์ แตงสุวรรณ, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม. ปัญหาสุขภาพจิตในเขตเมือง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2525; 27: 121-33.

2. ส่งศรี จัยสิน, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, เรไร ทีวะทัศน์, สุภาภรณ์ ทองดารา, ฉันทนา ชูบุญราษร์. การสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนจังหวัดชลบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2531; 33: 119-27.

3. ธรณินทร์ กองสุข และคณะ. การสำรวจทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชในจังหวัดเลย. (ผลงานไม่ได้ตีพิมพ์)

4. Goldberg DP. The detection of psychiatric illness by questionaire. Maudsley Monograph No 21. London: Oxford University Press, 1972.

5. Goldberg DP, William P. A user’s guide to the General Health Questionaire. Berkshire: NFER- NELSON Publishing, 1988.

6. Goldberg DP, Cooper B, Eastwood MR, Kedward HB, Shepherd M. A standardised psychiatric interview for use in community surveys. Br J Prevent Soc Med 1970; 24: 18-23.

7. American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. 3rd ed, revised. Washington, DC: American Psychiatric Association, 1987.

8. Hanley JA, McNeil BJ. A method of comparing the areas under receiver operating characteristic curves derived from the same cases. Radiology 1983; 148: 839-43.

9. Hobbs P, Ballinger CB, Greenwood C, Martin B, McClure A. Factor analysis and validation of General Health Questionaire in men: A general practice survey. Br J Psychiatry 1984; 144: 270-5.

10. Araya R, Wynn R, Lewis G. Comparison of two self-administered psychiatric questionaires (GHQ-12 and SRQ-20) in primary care in Chile. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 1992; 27: 168-73.

11. Mari JJ, Williams P. Misclassification by psychiatric screening questionaires. J Chron Dis 1986; 39: 371-8.

12. Lewis G, Araya RI. Is the General Health Questionaire(12 item) a culturally biased measure of psychiatric disorders? Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 1995; 30: 20-5.

13. Kitamura T, Sugarawa M, Aoki M, Shima S. Validity of the Japanese version of the GHQ among antenatal clinic attendants. Psychol Med 1989; 19: 507-11.

14. Chan DW, Chan TSC. Reliability, validity and the structure of the General Health Questionaire in a Chinese context. Psychol Med 1983; 13: 363-71.

15. Cheung P, Spears G. Reliability and validity of the Cambodian version of the 28-item General Health Questionaire. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 1994; 29: 95-9.

ตารางที่ 1 : ความเชื่อถือได้ (reliability) ของ Thai GHQ ฉบับต่างๆ

 

Internal consistencies

(Cronbach’s alpha)

Split-half coefficient

Thai GHQ-60

0.96

0.90

Thai GHQ-30

0.92

0.86

Thai GHQ-28

0.91

0.91

Thai GHQ-12

0.84

0.85

ตารางที่ 2 : ค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นตรงของ Thai GHQ ฉบับต่างๆ

 

Thai

GHQ-12

Thai

GHQ-28

Thai

GHQ-30

Thai

GHQ-60

Area under ROC curve

(S.E)

Best threshold score #

Specificity (%)

Sensitivity (%)

Misclassification Rate (%)

Positive Predictive Value (%)

Negative Predictive Value (%)

0.888

(0.038)

1/2

85.3

78.1

17

71.4

89.2

0.905

(0.036)

5/6

88.2

81.3

14

76.5

90.9

70.920

(0.029)

3/4

89.7

81.8

13

78.8

91.0

0.915

(0.028)

11/12

84.4

85.3

15

73.0

92.1

# prevalence given by GHQ-12 = 35%, GHQ-28 = 34%, GHQ-30 = 33 %,

GHQ-60 = 37 %

ตารางที่ 3 : จุดตัดคะแนนที่ดีที่สุดของ Thai GHQ เทียบกับ GHQ ฉบับต่าง ๆ

 

Thai GHQ

GHQ (Goldberg)

GHQ-12

1/2

1/2

GHQ-28

3/4

3/4

GHQ-30

5/6

4/5

GHQ-60

11/12

11/12

ตารางที่ 4 ค่าความไว (sensitivity)และความจำเพาะ (specificity) เปรียบเทียบระหว่างเพศ

 

Sensitivity

Specificity

 

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

GHQ-12

66.7*

85.0*

90.6#

80.6#

GHQ-28

75.0

85.0

90.6

86.1

GHQ-30

75.0

85.0

90.6

88.9

GHQ-60

83.3

85.0

84.4

86.1

* NS Z = 1.16, p=0.25 #NS Z=1.20, p=0.21

ภาคผนวก

หากประสงค์จะนำ Thai-GHQ ใน 4 ฉบับนี ไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัย โปรดติดต่อที่ ผศ. นพ. ธนา นิลชัยโกวิทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ 10400

Thai GHQ-60

สุขภาพโดยทั่วไปของท่านในระยะสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้โดยขีดเครื่องหมายถูกหน้าคำตอบที่ใกล้เคียงกับสภาพของท่านในปัจจุบันหรือในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมามากที่สุด โดยไม่รวมถึงปัญหาที่ท่านเคยมีในอดีต และกรุณาตอบคำถามทุกข้อ

ในระยะที่ผ่านมานี้ท่าน

1) รู้สึกสบายและมีสุขภาพดี

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? แย่กว่าปกติ ? แย่กว่าปกติมาก

2) รู้สึกต้องการยาบำรุงให้มีกำลังวังชา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

3) รู้สึกทรุดโทรมและสุขภาพไม่ดี

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

4) รู้สึกไม่สบาย

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

5) เจ็บหรือปวดบริเวณศีรษะ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

6) รู้สึกตึงหรือคล้ายมีแรงกดที่ศีรษะ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

7) สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

8) รู้สึกกลัวว่าตนเองจะเป็นลมหมดสติไปในที่สาธารณะ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

9) มีอาการวูบร้อนหรือหนาว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

10) มีเหงื่อออกมาก

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

11) ตื่นเช้ากว่าปกติและหลับต่อไม่ได้

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

12) หลังจากตื่นนอนแล้ว รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

13) รู้สึกเพลียมาก และไม่มีแรงแม้แต่จะกินอาหาร

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

14) นอนไม่หลับเพราะกังวลใจ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

15) รู้สึกตื่นตัว และความคิดว่องไว

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

16) รู้สึกมีกำลังวังชา

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

17) เมื่อเข้านอนใช้เวลานานกว่าจะหลับได้

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

18) ไม่สามารถหลับได้สนิทหลังจากหลับแล้ว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

19) ฝันไม่ดีหรือน่ากลัว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

20) มีอาการกระสับกระส่าย หลับไม่สนิท

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

21) หาอะไรทำและทำให้ตัวเองไม่มีเวลาว่างได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ค่อนข้างน้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

22) ทำอะไรช้ากว่าปกติ

? เร็วกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ช้ากว่าปกติ ? ช้ากว่าปกติมาก

23) รู้สึกขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำตามปกติ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

24) ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจรูปร่างหน้าตาของตัวเอง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

25) พิถีพิถันกับการแต่งเนื้อแต่งตัวน้อยลง

? พิถีพิถันมากกว่าปกติ ? เท่าๆปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

26) ออกไปนอกบ้านบ่อยเท่าที่เคย

? มากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

27) จัดการกับสิ่งต่างๆได้ดีพอๆกับคนส่วนใหญ่ ที่อยู่ในสภาพเดียวกับท่าน

? ดีกว่ามาก ? ดีพอๆกัน ? ค่อนข้างน้อยกว่า ? น้อยกว่ามาก

28) รู้สึกว่าโดยทั่วไปแล้วทำอะไรๆได้ดี

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ดีน้อยกว่า ? ดีน้อยกว่าปกติมาก

29) ไปทำงานหรือทำงานบ้านสาย

? ไม่สายเลย ? ไม่สายกว่าปกติ ? ค่อนข้างสายกว่าปกติ ? สายกว่าปกติมาก

30) พอใจกับการที่ทำงานลุล่วงไป

? มากกว่าปกติ ? พอๆกับตามปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

31) สามารถมีความรู้สึกรักและอบอุ่นต่อคนใกล้ชิดได้

? ดีกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

32) รู้สึกว่าสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่าย

? ดีกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่ามาก

33) ใช้เวลาคุยเล่นกับคนอื่นมาก

? ใช้เวลามากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่ามาก

34) รู้สึกกลัวที่จะพูดอะไรออกไปต่อหน้าคนอื่น เพราะเกรงจะทำให้ตัวเองดูโง่

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

35) รู้สึกว่าได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

36) รู้สึกว่าสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

37) รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถที่จะเริ่มทำอะไรได้เลย

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

38) จะทำอะไรก็รู้สึกหวาดกลัวไปหมด

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

39) รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

40) รู้สึกว่าไม่สามารถที่จะเอาชนะความลำบากต่างๆได้

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

41) รู้สึกว่าชีวิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

42) สามารถมีความสุขกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

43) มองอะไรเคร่งเครียดไปหมด

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

44) รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

45) รู้สึกกลัวหรือตกใจโดยไม่มีเหตุผลสมควร

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

46) สามารถที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆของตัวเองได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

47) รู้สึกเรื่องต่างๆทับถมจนรับไม่ไหว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

48) มีความรู้สึกว่าคนรอบข้างจับตามองคุณอยู่

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

49) รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

50) รู้สึกเสียความมั่นใจในตัวเองไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

51) คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

52) รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดหวังโดยสิ้นเชิง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

53) รู้สึกมีความหวังในอนาคตของตัวเอง

? มากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? มีความหวังน้อยมาก

54) รู้สึกมีความสุขดี ตามสมควร เมื่อดูโดยรวมๆ

? มากกว่าปกติ ? เท่าๆปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

55) รู้สึกกังวล กระวนกระวาย และเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

56) รู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

57) คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอยากจบชีวิตตัวเอง

? ไม่อย่างแน่นอน ? ไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น ? มีอยู่บ้างเหมือนกัน ? มีแน่ๆ

58) รู้สึกว่าบางครั้งทำอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียดมาก

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

59) พบว่าตนเองรู้สึกอยากตายไปให้พ้นๆ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

60) พบว่ามีความรู้สึกที่อยากจะทำลายชีวิตตัวเองเข้ามาอยู่ในความคิดเสมอๆ

? ไม่อย่างแน่นอน ? ไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น ? มีอยู่บ้างเหมือนกัน ? มีแน่ๆ

----------------------------

Thai GHQ-30

สุขภาพโดยทั่วไปของท่านในระยะสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้โดยขีดเครื่องหมายถูกหน้าคำตอบที่ใกล้เคียงกับสภาพของท่านในปัจจุบันหรือในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมามากที่สุด โดยไม่รวมถึงปัญหาที่ท่านเคยมีในอดีต และกรุณาตอบคำถามทุกข้อ

ในระยะที่ผ่านมานี้ท่าน

1) สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? แย่กว่าปกติ ? แย่กว่าปกติมาก

2) นอนไม่หลับเพราะกังวลใจ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

3) มีอาการกระสับกระส่าย หลับไม่สนิท

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

4) หาอะไรทำและทำให้ตัวเองไม่มีเวลาว่างได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ค่อนข้างน้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

5) ออกไปนอกบ้านบ่อยเท่าที่เคย

? มากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

6) จัดการกับสิ่งต่างๆได้ดีพอๆกับคนส่วนใหญ่ ที่อยู่ในสภาพเดียวกับท่าน

? ดีกว่ามาก ? ดีพอๆกัน ? ค่อนข้างน้อยกว่า ? น้อยกว่ามาก

7) รู้สึกว่าโดยทั่วไปแล้วทำอะไรๆได้ดี

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ดีน้อยกว่าปกติ ? ดีน้อยกว่าปกติมาก

8) พอใจกับการที่ทำงานลุล่วงไป

? มากกว่าปกติ ? พอๆกับตามปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

9) สามารถมีความรู้สึกรักและอบอุ่นต่อคนใกล้ชิดได้

? ดีกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

10) รู้สึกว่าสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่าย

? ดีกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

11) ใช้เวลาคุยเล่นกับคนอื่นมาก

? ใช้เวลามากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่ามาก

12) รู้สึกว่าได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

13) รู้สึกว่าสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

14) รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

15) รู้สึกว่าไม่สามารถที่จะเอาชนะความยากลำบากต่างๆได้

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

16) รู้สึกว่าชีวิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

17) สามารถมีความสุขกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

18) มองอะไรเคร่งเครียดไปหมด

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

19) รู้สึกกลัวหรือตกใจโดยไม่มีเหตุผลสมควร

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

20) สามารถที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆของตัวเองได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

21) รู้สึกเรื่องต่างๆทับถมจนรับไม่ไหว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

22) รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ช้ากว่าปกติ ? ช้ากว่าปกติมาก

23) รู้สึกเสียความมั่นใจในตัวเองไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

24) คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

25) รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดหวังโดยสิ้นเชิง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

26) รู้สึกมีความหวังในอนาคตของตัวเอง

? มากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? มีความหวังน้อยมาก

27) รู้สึกมีความสุขดี ตามสมควร เมื่อดูโดยรวมๆ

? มากกว่าปกติ ? เท่าปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

28) รู้สึกกังวล กระวนกระวาย และเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

29) รู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะมีชีวิตอยู่ไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

30) รู้สึกว่าบางครั้งทำอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียด

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

---------------------------------

Thai GHQ-28

สุขภาพโดยทั่วไปของท่านในระยะสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้โดยขีดเครื่องหมายถูกหน้าคำตอบที่ใกล้เคียงกับสภาพของท่านในปัจจุบันหรือในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมามากที่สุด โดยไม่รวมถึงปัญหาที่ท่านเคยมีในอดีต และกรุณาตอบคำถามทุกข้อ

ในระยะที่ผ่านมานี้ท่าน

1) รู้สึกสบายและมีสุขภาพดี

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? แย่กว่าปกติ ? แย่กว่าปกติมาก

2) รู้สึกต้องการยาบำรุงให้มีกำลังวังชา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

3) รู้สึกทรุดโทรมและสุขภาพไม่ดี

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

4) รู้สึกไม่สบาย

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

5) เจ็บหรือปวดบริเวณศีรษะ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

6) รู้สึกตึงหรือคล้ายมีแรงกดที่ศีรษะ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

7) มีอาการวูบร้อนหรือหนาว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

8) นอนไม่หลับเพราะกังวลใจ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

9) ไม่สามารถหลับได้สนิทหลังจากหลับแล้ว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

10) รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

11) รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

12) รู้สึกกลัวหรือตกใจโดยไม่มีเหตุผลสมควร

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

13) รู้สึกเรื่องต่างๆทับถมจนรับไม่ไหว

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

14) รู้สึกกังวล กระวนกระวาย และเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

15) หาอะไรทำให้ตัวเองไม่มีเวลาว่างได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ค่อนข้างน้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

16) ทำอะไรช้ากว่าปกติ

? เร็วกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ช้ากว่าปกติ ? ช้ากว่าปกติมาก

17) รู้สึกว่าโดยทั่วไปแล้วทำอะไรๆได้ดี

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? ดีน้อยกว่าปกติ ? ดีน้อยกว่าปกติมาก

18) พอใจกับการที่ทำงานลุล่วงไป

? มากกว่าปกติ ? พอๆกับตามปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

19) รู้สึกว่าได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

20) รู้สึกว่าสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

21) สามารถมีความสุขกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

22) คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

23) รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดหวังโดยสิ้นเชิง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

24) รู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

25) คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอยากจบชีวิตตัวเอง

? ไม่อย่างแน่นอน ? ไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น ? มีอยู่บ้างเหมือนกัน ? มีแน่ๆ

26) รู้สึกว่าบางครั้งทำอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียดมาก

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

27) พบว่าตัวเองรู้สึกอยากตายไปให้พ้นๆ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

28) พบว่ามีความรู้สึกที่อยากจะทำลายชีวิตตัวเองเข้ามาอยู่ในความคิดเสมอๆ

? ไม่อย่างแน่นอน ? ไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น ? มีอยู่บ้างเหมือนกัน ? มีแน่ๆ

หมายเหตุ

ข้อ 1-7 เป็น sub-scale อาการทางกาย

ข้อ 8-14 เป็น sub-scale อาการวิตกกังวล และการนอนไม่หลับ

ข้อ 15-21 เป็น sub-scale ความบกพร่องทางสังคม

ข้อ 22-28 เป็น sub-scale อาการซึมเศร้าที่รุนแรง

------------------------------

Thai GHQ-12

สุขภาพโดยทั่วไปของท่านในระยะสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้โดยขีดเครื่องหมายถูกหน้าคำตอบที่ใกล้เคียงกับสภาพของท่านในปัจจุบันหรือในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมามากที่สุด โดยไม่รวมถึงปัญหาที่ท่านเคยมีในอดีต และกรุณาตอบคำถามทุกข้อ

ในระยะที่ผ่านมานี้ท่าน

1) สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

2) นอนไม่หลับเพราะกังวลใจ

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

3) รู้สึกว่าได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

4) รู้สึกว่าสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

5) รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

6) รู้สึกว่าไม่สามารถที่จะเอาชนะความยากลำบากต่างๆได้

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

7) สามารถมีความสุขกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้

? มากกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

8) สามารถที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆของตัวเองได้

? ดีกว่าปกติ ? เหมือนปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

9) รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

10) รู้สึกเสียความมั่นใจในตัวเองไป

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

11) คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า

? ไม่เลย ? ไม่มากกว่าปกติ ? ค่อนข้างมากกว่าปกติ ? มากกว่าปกติมาก

12) รู้สึกมีความสุขดี ตามสมควร เมื่อดูโดยรวมๆ

? มากกว่าปกติ ? เท่าๆปกติ ? น้อยกว่าปกติ ? น้อยกว่าปกติมาก

--------------------------------

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us