วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatric Association of Thailand
Volume 46 Number 4 October-December 2001
(J Psychiatr Assoc Thailand) is the official journal published quarterlyby The Psychiatric Association of Thailand.
ISSN: 0125-6985
Editor: Manote Lotrakul, M.D.

ระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทย

อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ พ.บ.*
พนมศรี เสาร์สาร ป.พย.บ (พยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์), วท.ม (วิทยาการระบาด)*
ภัคนพิน กิตติรักษนนท์ วท.บ (การพยาบาลและผดุงครรภ์), กศ.ม (จิตวิทยาพัฒนาการ)**
วรวรรณ จุฑา ป.พย.บ (พยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์), กศ.ม (จิตวิทยาการแนะแนว)**

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกชั่วชีวิต (life-time prevalence) ของความผิดปกติทางจิตในประเทศไทย

วิธีการศึกษา สุ่มตัวอย่างประชากรทั่วประเทศ อายุ 15-60 ปี ด้วยวิธี multistage random sampling technique จำนวน 7,157 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ โดยคัดกรองผู้ที่คาดว่าน่าจะมีปัญหาทางจิต และนำมายืนยันการวินิจฉัยโรคโดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงจาก DSM-IV และ CIDI

ผลการศึกษา พบความชุกชั่วชีวิตของปัญหาสุขภาพจิตดังนี้ mental retardation 1.3%, panic disorder 1.0%, hypochondriasis 0.5%, agoraphobia 0.8%, generalized anxiety disorder 0.7%, social phobia 0.3%, simple phobia 0.3%, obsessive compulsive disorder 0.3%, somatization 0.2%, mood disorder 1.8%, schizophrenia 0.17%, epilepsy 0.7%, alcohol abuse 6.0%, alcohol dependence 4.2%, amphetamine abuse 0.3%, amphetamine dependence 0.18%, cannabis abuse 0.22%, cannabis dependence 0.19%, opioid abuse 0.07%, opioid dependence 0.04%, volatile oil abuse 0.1%, volatile oil dependence 0.03%, tobacco dependence 3.4% suicidal attempt 1.0%

สรุป ข้อมูลระบาดวิทยาที่ศึกษานี้มีประโยชน์ในการวางแผนนโยบายในการปฏิบัติงานต่างๆ ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช รวมทั้งการอ้างอิงเชิงวิชาการ วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544; 46(4): 335-343.

 

คำสำคัญ ระบาดวิทยา ความชุก ความผิดปกติทางจิต

*โรงพยาบาลศรีธัญญา ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
**กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

 

บทนำ

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จะเห็นว่าแนวโน้มของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทรวงสาธารณสุข โดยกองสถิติสาธารณสุข ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขกลาง ได้รายงานอัตราป่วยของโรคทางจิตเวชเป็นกลุ่มโรคจิต และภาวะแปรปรวนทางจิต โดยรวบรวมจากโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทั่วประเทศ พบว่า จำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจาก 3.6 ต่อประชากร 1,000 คน ในปี พ.ศ.2522 เพิ่มเป็น 21.0 ต่อประชากร 1,000 คน ในปี พ.ศ.25291 และจากสถิติของหน่วยงานแผนงานสุขภาพจิต สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการก็เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยนอกของหน่วยงานแผนงานสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มจากปีละประมาณ 350,000 คน ในปี พ.ศ.2525 เป็น 410,000 คน ในปี พ.ศ.2529 และผู้ป่วยในเพิ่มจาก 17,000 เป็น 20,000 คน ในปี พ.ศ. 2525 และ พ.ศ.2529 ตามลำดับ2 พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาผู้ป่วยจิตเวชได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ.2536 พบว่าจำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 700,000 คน3 ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขในระบบรายงานของกระทรวงสาธารณสุข จากผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐบาล ไม่ใช่จำนวนผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่มีอาการแต่ไม่ได้มารับบริการ ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน ผู้ป่วยเหล่านี้สมควรได้รับการค้นหาและช่วยเหลือตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้อาการดีขึ้น และลดภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังลง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางระบาดวิทยาของประชาชนไทยยังมีการศึกษาน้อยมาก และมักเป็นการศึกษาเฉพาะจังหวัดเมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมา4-6 ทำให้ต้องอ้างอิงข้อมูลทางระบาดวิทยาจากต่างประเทศซึ่งอาจจะไม่ตรงกับปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้จะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ทันสมัย สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเชิงวิชาการ และเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินงานทางสาธารณสุข

วัสดุและวิธีการ

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรศึกษา (population) ได้แก่ ประชากรไทยที่มีอายุ 15-60 ปีในส่วนภูมิภาค 13 จังหวัด ที่ให้ความร่วมมือในการถูกสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ใช้สัดส่วนตามประชากร ภาคเหนือ : ภาคกลาง : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ภาคใต้ = 3 : 4 : 4: 2 โดยภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง อุทัยธานี, ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ราชบุรี สระบุรี สระแก้ว, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุดรธานี นครพนม และภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช

1.2 การเลือกตัวอย่าง (sample selection) เลือกจากประชากรในหมู่บ้านทั่วประเทศ 13 จังหวัด โดยวิธี multistage random sampling แบ่งประชากรที่ศึกษาแต่ละจังหวัดออกเป็นเขตพื้นที่รอบใน (อำเภอเมือง) รอบกลาง (เขตสุขาภิบาลและชนบท) และรอบนอก (เขตสุขาภิบาลและชนบท) จำนวน 7,157 ราย โดยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เลือกจังหวัดตามสัดส่วนแต่ละภาคที่เลือกไว้ 13 จังหวัด แบ่งจังหวัดออกเป็นเขตพื้นที่รอบใน(อำเภอเมือง) รอบกลาง (เขตสุขาภิบาลและชนบท) และรอบนอก (เขตสุขาภิบาลและชนบท)

ขั้นตอนที่ 2 เลือกอำเภอในจังหวัด 3 อำเภอ (เขตพื้นที่ละ 1 อำเภอ ) เลือกตำบลหมู่บ้านในแต่ละอำเภอโดยพื้นที่จังหวัดรอบใน สุ่ม 1 ตำบล อยู่ในเขตเทศบาล 3 ชุมชน พื้นที่จังหวัดรอบกลาง สุ่ม 6 ตำบล อยู่ในเขตสุขาภิบาล 3 ตำบล เขตชนบท 3 ตำบล แต่ละตำบลสุ่ม 3 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดรอบนอก สุ่ม 6 ตำบล อยู่ในเขตสุขาภิบาล 3 ตำบล เขตชนบท 3 ตำบล แต่ละตำบลสุ่ม 3 หมู่บ้าน

ขั้นตอนที่ 3 เลือกจำนวนหลังคาเรือนโดยให้ได้จำนวนตัวอย่างเขตจังหวัดรอบใน จำนวนร้อยละ 10 เขตจังหวัดรอบกลางในเขตสุขาภิบาลร้อยละ 35 ในเขตชนบทร้อยละ 55 เขตจังหวัดรอบนอกในเขตสุขาภิบาลร้อยละ 35 ในเขตชนบทร้อยละ 55 โดยสัมภาษณ์ทุกคนในบ้านที่อายุ 15-60 ปี โดยการเลือกบ้านด้วยวิธี systematic sampling

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงจาก DSM-IV และ CIDI

2.1 ข้อมูล
2.1.1 ข้อมูลด้านประชากร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา สภาพสมรส ศาสนา สภาพเศรษฐกิจ และอาชีพ เป็นต้น
2.1.2 แบบสอบถามเพื่อค้นหาความผิดปกติทางจิต (screening test) เพื่อค้นหาอาการ neuroses, psychoses, manic symptoms และ obsessive-compulsive symptoms และแบบสอบถามเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (diagnostic test)
ข้อมูลความชุกในการศึกษานี้ เป็นการหาความชุกชั่วชีวิต (life-time prevalence)
2.1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มิถุนายน 2541

3. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป (ตารางที่ 1) จำนวนประชากรตัวอย่าง 7,517 ราย กระจายไปทั้ง 4 ภูมิภาค เป็น ภาคเหนือ 1,699 ราย ภาคกลาง 2,182 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,175 ราย ภาคใต้ 1,101 ราย ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (15-44 ปี) คิดเป็นร้อยละ 72.6, วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (45-59 ปี) ร้อยละ 26.2, โสดร้อยละ 21.5, นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 96.8, ไม่มีรายได้ร้อยละ 29.8, มีรายได้ไม่ถึง 4,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 46.8 สัดส่วนของผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2 เท่า

2. ข้อมูลเฉพาะ จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบคัดกรอง พบผู้ที่คาดว่าอาจมีปัญหาทางจิต จำนวน 512 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 พบว่ามีภาวะปัญญาอ่อนร้อยละ 1.3, โรคประสาทร้อยละ 3.4, โรคจิตชนิดต่าง ๆ (รวมจิตเภท ความผิดปกติของอารมณ์ พฤติกรรมที่มีอาการของโรคจิตร่วมด้วย) ร้อยละ 2.0, มีอาการของอารมณ์ครื้นเครงผิดปกติร้อยละ 0.6, มีอาการย้ำคิดย้ำทำร้อยละ 1.3, มีความคิดและกระทำการฆ่าตัวตายร้อยละ 3.1, โรคลมชักร้อยละ 0.7, ใช้ยา-สารเสพติดชนิดต่าง ๆ ร้อยละ 23.7 (โดยใช้เกิน 5 ครั้ง), ในจำนวนนี้ใช้เพื่อช่วยให้สบายใจ คลายเครียด ทำให้สดชื่นร้อยละ 16.6, ดื่มสุราร้อยละ 53 โดยดื่มเป็นครั้งคราวร้อยละ 91.9, ดื่มเป็นประจำสม่ำเสมอร้อยละ 8.1, ในจำนวนผู้ที่ดื่มสุราพบว่าดื่มบ่อย ๆ ติดต่อกันนานกว่า 1 ปี ร้อยละ 16.3

จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ใช้วินิจฉัยโรค ถามผู้ที่ถูกคัดกรอง จำนวน 521 ราย พบความชุกของความผิดปกติทางจิตที่วินิจฉัยได้ดังตารางที่ 2 ประวัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดและความชุกแสดงในตารางที่ 3-4

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของประชากรที่ศึกษา

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (N = 7,157)

ร้อยละ

อายุ (ปี)

15-29

2,503

35.0

30-44

2,692

37.6

45-59

1,873

26.2

=60

89

1.2

เพศ ชาย

2,238

31.3

หญิง

4,919

68.7

ศาสนา

พุทธ

6,926

96.8

คริสต์

52

0.7

อิสลาม

179

2.5

อาชีพ

รับราชการ

187

2.6

ค้าขาย ธุรกิจ

1,033

14.4

ลูกจ้าง/ รัฐวิสาหกิจ

184

2.6

รับจ้างกรรมกร

1,237

17.3

เกษตรกร

2,567

35.9

ไม่ได้ประกอบอาชีพ

1,266

17.7

อื่นๆ

683

9.5

การศึกษา

ไม่เคยเข้าเรียน

272

3.8

กำลังศึกษา

683

9.5

สำเร็จการศึกษา

6,202

86.7

จำนวนปีที่เข้าเรียน (ปี)

(N = 6,885)

1-4

2,999

43.6

5-9

2,453

35.6

10-12

876

12.7

>12

557

8.1

ตารางที่ 2 ความชุกความผิดปกติทางจิตชนิดต่าง ๆ

ชนิด

ความชุก

กลาง

(N = 2,180)

เหนือ

(N = 1,695)

ตะวันออกเฉียงเหนือ (N = 2,173)

ใต้

(N = 1,101)

รวม

(N = 7,149)

MR

1.1

1.5

1.6

1.0

1.3

Alcohol abused

9.2

3.1

5.3

5.4

6.0

Alcohol dependence

5.8

2.6

4.1

3.5

4.2

Schizophrenia

0.18

-

0.37

-

0.17

Hypochondriasis

0.4

1.0

1.5

0.2

0.8

Somatization

0.1

0.2

0.2

-

0.2

Panic disorder

0.5

1.1

1.7

0.4

1.0

GAD

0.6

0.5

1.2

0.5

0.7

Agoraphobia

0.5

0.9

1.2

0.4

0.8

Social phobia

0.1

0.4

0.4

0.4

0.3

Simple phobia

0.2

0.4

0.6

0.2

0.3

OCD

0.1

0.4

0.4

0.2

0.3

MD episode

1.2

1.4

1.9

0.8

1.4

Dysthymia

0.1

-

0.1

-

0.1

Manic episode

0.2

0.5

0.3

0.2

0.3

Key to abbreviations : MR= Mental retardation; GAD=Generalized anxiety disorder; OCD = Obsessive-compulsive disorder; MD episode = Major depressive episode

ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของผู้ที่เคยใช้สารหรือยาเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่า 5 ครั้ง ในชีวิต

สารหรือยาเสพติด

กลาง

เหนือ

ตะวันออกเฉียงเหนือ

ใต้

รวม

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

(N=487)

(N=377)

(N=539)

(N=293)

(N=1,696)

กัญชา

16

3.3

12

3.2

26

4.8

4

1.4

58

3.4

ยาบ้า ยาขยัน

12

2.5

13

3.4

24

4.5

-

-

49

2.9

ใบกระท่อม

6

1.2

3

0.8

5

0.9

5

1.7

19

1.1

เฮโรอีน ฝิ่น ผงขาว

1

0.2

3

0.8

3

0.6

1

0.3

8

0.5

กาวทินเนอร์

เบนซิน สารระเหย

3

0.6

3

0.8

5

0.9

-

-

11

0.6

ยานอนหลับ

ยากล่อมประสาท

13

2.7

30

8.0

34

6.3

1

0.3

78

4.6

บุหรี่ หรือยาเส้น

435

89.3

328

87.0

372

69.0

240

81.9

1,375

81.1

หมาก

38

7.8

25

6.6

155

28.8

67

22.9

285

16.8

อื่นๆ

-

-

-

-

3

0.6

-

-

3

0.2

 

ตารางที่ 4 ความชุกของการใช้ยาและสารเสพติดที่เป็น abused และ dependence

การวินิจฉัย

กลาง

(N = 2,180)

เหนือ

(N = 1,695)

ตะวันออกเฉียงเหนือ

(N = 2,173)

ใต้

(N = 1,101)

รวม

(N = 7,149)

จำนวน

จำนวน

จำนวน

จำนวน

รวม

ร้อยละ

Substance abused disorder

68

0.95

กัญชา

5

4

6

1

16

0.22

ยาบ้า ยาขยัน

2

5

16

-

23

0.32

ใบกระท่อม

2

-

3

1

6

0.08

เฮโรอีน ฝิ่น ผงขาว

1

2

2

-

5

0.07

กาวทินเนอร์ เบนซิน สารระเหย

3

2

2

-

7

0.1

ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท

1

2

6

-

9

0.13

บุหรี่ ยาเส้น

-

-

-

-

-

-

หมาก

-

-

-

-

-

-

อื่นๆ

-

-

2

-

2

0.03

Substance dependence

336

4.7

กัญชา

5

1

6

2

14

0.19

ยาบ้า ยาขยัน

5

1

7

-

13

0.18

ใบกระท่อม

2

-

1

-

3

0.04

เฮโรอีน ฝิ่น ผงขาว

1

2

-

-

3

0.04

กาวทินเนอร์ เบนซิน สารระเหย

2

-

-

-

2

0.03

ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท

-

1

5

-

6

0.08

บุหรี่ ยาเส้น

77

48

69

49

243

3.4

หมาก

4

4

34

7

49

0.68

อื่นๆ

-

-

3

-

3

0.04

วิจารณ์

ผลจากการสำรวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทยในครั้งนี้ พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตรวมปัญหาจากสุรา ยาเสพติด ยกเว้นบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 23.22 และพบว่ามีการติดบุหรี่ ร้อยละ 3.4 ตัวเลขความผิดปกตินี้ใกล้เคียงกับการศึกษาของ จักรกฤษณ์ สุขยิ่งและคณะ7 (ร้อยละ 19.0) วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ8 (ร้อยละ 24.6) อัมพร เบญจพลพิทักษ์9 (ร้อยละ 42.2) และของจุมพล สมประสงค์ (ร้อยละ 22.0)10 และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าความชุกของโรคทางจิตเวชมีความแตกต่างจากความชุกของรายงานอื่นที่ศึกษาในเมืองไทยโดยพบความชุกโรคจิตเภท (schizophrenia ) เพียงร้อยละ 0.17, Panic disorder ร้อยละ1.0, simple phobia ร้อยละ 0.3, social phobia ร้อยละ 0.3, agoraphobia ร้อยละ 0.8, generalized anxiety disorder ร้อยละ 0.7, obsessive-compulsive disorder ร้อยละ 0.3, hypochondriasis ร้อยละ 0.8, major depressive episode ร้อยละ 1.4, dysthymia ร้อยละ 0.1, bipolar disorder ร้อยละ 0.3, somatization ร้อยละ 0.2, mental retardation ร้อยละ 1.3, epilepsy ร้อยละ 0.7 ซึ่งต่ำกว่าที่ ธรณินทร์ กองสุขและคณะ (2534)11 ได้สำรวจทางระบาดวิทยาของโรคจิตเวชในประชาชนจังหวัดเลย พบความชุกของโรค psychological factor affecting physical condition ร้อยละ 17.8, generalized anxiety disorder ร้อยละ 7.9, panic disorder ร้อยละ 1.6, sleep disorder ร้อยละ 5.5, dysthymia ร้อยละ 3.0, major depressive episode ร้อยละ 0.4, adjustment disorder ร้อยละ 0.8, schizophrenia ร้อยละ 0.6 และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของกรมสุขภาพจิต (2540)12 ซึ่งสำรวจความชุกของความผิดปกติทางจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบความชุกของโรคจิตชนิดจิตเภทร้อยละ 0.2, ความผิดปกติของอารมณ์ชนิดอารมณ์คลุ้มคลั่งร้อยละ 1.42, ชนิดซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 3.05, ชนิดซึมเศร้าร้อยละ 0.14, hypochondriasis ร้อยละ 0.92, somatization ร้อยละ 0.1, panic disorder ร้อยละ 1.29, generalized anxiety disorder ร้อยละ 1.53, agoraphobia ร้อยละ 0.95, social phobia ร้อยละ 0.37, simple phobia ร้อยละ 0.54, obsessive-compulsive disorder ร้อยละ 0.54, ปัญญาอ่อนร้อยละ 1.84 และโรคลมชักร้อยละ 1.3

การศึกษานี้พบความชุกของความคิดฆ่าตัวตาย (suicide ideation) ร้อยละ 3.1 และพยายามฆ่าตัวตาย (suicidal attempt) มีความชุกร้อยละ 1.0 โดยร้อยละ 38.2 ใช้วิธีกินยา, ร้อยละ 29.4 ใช้วิธีแขวนคอ, ร้อยละ 20.6 กินยาฆ่าแมลง และร้อยละ 5.9 กระโดดจากที่สูง

ส่วนความชุกของ alcohol abused disorder พบร้อยละ 6.0, alcohol dependence disorder ร้อยละ 4.2, substance abused disorder ร้อยละ 0.95, substance dependence disorder ร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าการศึกษาในกรุงเทพมหานครของกรมสุขภาพจิต (2540)12 (alcohol abused disorder ร้อยละ 10.2 alcohol dependence disorder ร้อยละ 8.2 ติดยาและสารเสพติดต่าง ๆ ร้อยละ 11.2)

เมื่อเปรียบเทียบความชุกของไทยกับสหรัฐอเมริกา13 มีความแตกต่างกันดังตารางที่ 8

ตารางที่ 5 เปรียบเทียบความชุกของความผิดปกติทางจิตของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา

 

ECA Prevalence

NCS Prevalence

Best Estimate

Thailand

Any anxiety disorders

13.1

18.7

16.4

3.4

Simple phobia

8.3

8.6

8.3

0.3

Social phobia

2.0

7.4

2.0

0.3

Agoraphobia

4.9

3.7

4.9

0.8

GAD

1.5

3.4

3.4

0.7

Panic disorder

1.6

2.2

1.6

1.0

OCD

2.4

0.9

2.4

0.3

PTSD

1.9

3.6

3.6

-

Any mood disorders

7.1

11.1

7.1

1.8

MD episode

6.5

10.1

6.5

1.4

Unipolar MD

5.3

8.9

5.3

-

Dysthymia

1.6

2.5

1.6

0.1

Bipolar I

1.1

1.3

1.1

0.3*

Bipolar II

0.6

0.2

0.6

-

Schizophrenia

1.3

-

1.3

0.17

Nonaffective psychosis

-

0.2

0.2

-

Somatization

0.2

-

0.2

0.2

ASP

2.1

-

2.1

-

Anorexia nervosa

0.1

-

0.1

-

Severe cognitive impairment

1.2

-

1.2

1.3**

Any disorders

19.5

23.4

21.0

23.22

Key to abbreviations : ECA = Epidemiologic Catchment Area; NCS = National Comorbidity Study; GAD = generalized anxiety disorder; OCD = obsessive compulsive disorder; PTSD = post-traumatic stress disorder; ASP = antisocial personality disorder; MD = major depression
* bipolar disorder
**เฉพาะ mental retardation

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกา ทวิชาชาติ หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เป็นที่ปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือในการวิจัยอย่างดียิ่ง

เอกสารอ้างอิง

1. รายงานสถิติสาธารณสุข. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขกลาง. กองสถิติสาธารณสุข กระทรวง สาธารณสุข, 2527, 28, 29.
2. แผนงานสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2527, 28, 29.
3. แผนงานสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2538.
4. มาร์วิน ไฟร์สะโตน, ฝน แสงสิงแก้ว. การสำรวจคนไข้ที่แม่สะเรียง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2522; 24:225-59.
5.ส่งศรี จัยสิน, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, เรไร ทีวะทัศน์ สุภาภรณ์ ทองดารา, ฉันทนา ชูบุญราษฎร์.การสำรวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนจังหวัดชลบุรี.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2531; 33:119-27
6. วรัญ ตันชัยสวัสดิ์, บุญนำ วงศ์เชาวน์วัฒน์. รายงานเบื้องต้นการสำรวจทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับโรคจิตเวชในหมู่บ้านภาคใต้ของไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2526; 28:115-25.
7. Sukying C, Nilchaikovit T, Silpakit C. One month prevalence of psychiatric illness in Nongchok district, Bangkok. Rama Med J 1995; 18:253-60.
8. วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ. การสำรวจสุขภาพจิตของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42:88-100.
9. อัมพร เบญจพลพิทักษ์. ปัญหาสุขภาพจิตของแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41:87-98.
10. จุมพล สมประสงค์. การสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในเขตชุมชนแออัดของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 42:184-96.
11. ธรณินทร์ กองสุข, แก้วศรี จาตกานนท์ และคณะ. การสำรวจทางระบาดวิทยาของโรคจิตเวชในจังหวัดเลย. รายงานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย โรงแรมเซ็นทรัล พลาซ่า, กรุงเทพ, 2534.
12. กรมสุขภาพจิต : รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตและความรู้ เจตคติ ทักษะการปฎิบัติงานเกี่ยวกับสุขภาพจิตของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร, 2540.
13. Mental Health : The report of the surgeon general [online]. Available from URL: http://www.surgeongeneral.gov/Library/MentalHealth/home.html [accessed 2002 Jan 5].

 

Epidemiology of Mental Disorders Among Thai People

Anurak Bunditchate, M.D.*
Phanomsri Saosarn, B.Sc (Nursing and Midwifery), M.Sc (Epidemiology)*
Paknapin Kitiruksanon, B.Sc (Nursing and Midwifery), M.Ed (Developmental Psychology)**
Worawan Chutha, B.Sc (Nursing and Midwifery), M.Ed (Guidance and Counselling Psychology)**

Abstract

Objective To study the life-time prevalence of psychiatric problems in Thailand.

Method The multistage random sampling technique was used with 7,157 Thai people aged 15 to 60 years. Data were collected by means of in-depth interviews to screen the subjects who were likely to suffer from mental disorders. Diagnostic questionnaires were employed to confirm the screening results.

Results The findings revealed the life-time prevalence of mental disorders among Thai people are as follows: mental retardation (1.3%), panic disorder (1.0%), hypochondriasis (0.5%), agoraphobia (0.8%), generalized anxiety disorder (0.7%), social phobia (0.3%), simple phobia (0.3%), obsessive compulsive disorder (0.3%), somatization (0.2%), mood disorder (1.8%), schizophrenia (0.17%), epilepsy (0.7%), alcohol abuse (6.0%), alcohol dependence (4.2%), amphetamine abuse (0.3%), amphetamine dependence (0.18%), cannabis abuse (0.22%), cannabis dependence (0.19%), opioid abuse (0.07%), opioid dependence (0.04%), volatile oil abuse (0.1%), volatile oil dependence (0.03%), tobacco dependence (3.4%), and suicidal attempt (1.0%).

Conclusions The epidemiological data of psychiatric problems prevalent among the Thai population are applicable in policy planning for different mental health and psychiatric programs, as well as can be used as academic references for further studies. J Psychiatry Assoc Thailand 2001; 46(4): 335-343.

Key words : epidemiology, prevalence, psychiatric disorders

* Srithunya Hospital, Tiwanon Road, Nonthaburi 11000
**Planning Division, Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Nonthaburi 11000

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001