เผี่ยวผับวารสาร
วารสารŠบับัจจุบัš
วารสารŠบับผ่อšๆ
ผองบรรณาธิผาร
คำแšะšำใšผารส่งž้šŠบับ
สมัครสมาชิผ
อีเมล์เžือš
สมาคมจิžแžฅย์
žิดž่อ
ค้šหาบฅความใšวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985
บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(1):2-13.

รายงานผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย 485 คนของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ พ.บ.*
อัปษรศรี ธนไพศาล วท.บ. (จิตวิทยาคลินิก)*
สุพรรณี เกกินะ วท.บ. (จิตวิทยาคลินิก)*

 บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย วิธีศึกษา ศึกษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนมกราคม 2537 ถึงมิถุนายน 2540 ผู้ป่วยทุกคนได้รับการสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลและให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา เพื่อศึกษาความแตกต่างของตัวแปร 20 ตัวด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา มีผู้ป่วยรวม 485 คน เป็นหญิง 250 คน เป็นชาย 235 คน คิดเป็นอัตราส่วนหญิงต่อชายเท่ากับ 1.06:1 ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกเพศชายและหญิง มี 11 ตัว คือ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ โรคทางกายที่เป็นอยู่ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีพยายามฆ่าตัวตาย ชนิดของยาที่กินเพื่อฆ่าตัวตาย การวินิจฉัยทางจิตเวช และการส่งปรึกษาจิตแพทย์; ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกกลุ่มอายุเป็น1.เด็กและวัยรุ่น 2.วัยผู้ใหญ่ 3.วัยชรา มี 12 ตัว คือ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส ลำดับที่ในพี่น้อง อาชีพ โรคทางกายที่เป็นอยู่ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ ประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาเมื่อผู้ป่วยอายุไม่เกิน 10 ปี เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีพยายามฆ่าตัวตาย การวินิจฉัยทางจิตเวช และการส่งปรึกษาจิตแพทย์; ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกกลุ่มการวินิจฉัยทางจิตเวชเป็น adjustment disorder และ .non-adjustment มี 7 ตัว คือ เพศ อายุ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ จำนวนครั้งที่พยายามฆ่าตัวตาย เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีพยายามฆ่าตัวตาย และการส่งปรึกษาจิตแพทย์ สรุป มีความแตกต่างในพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายระหว่างเพศ กลุ่มอายุ และในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย adjustment disorder กับ non-adjustment group

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(1):

 คำสำคัญ การพยายามฆ่าตัวตาย เพศ เด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยชรา การวินิจฉัยทางจิตเวช

* กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 73000

 บทนำ

ปัจจัยเสี่ยงของการฆ่าตัวตายมี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เรียกว่า distal factor เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขีดความอดทนก่อนที่จะเกิดการฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย ภาวะซึมเศร้า ความก้าวร้าว การใช้สารเสพติด ประวัติครอบครัวมีโรคซึมเศร้าหรือการฆ่าตัวตายหรือการใช้สารเสพติดหรือการทารุณเด็ก และระดับที่ต่ำกว่าปกติของ serotonin หรือ 5-HIAA ใน brainstem หรือระดับที่ต่ำกว่าปกติของ 5-HIAA ในน้ำไขสันหลัง กลุ่มที่ 2 เรียกว่า proximal factor เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร ความเครียดในชีวิตประจำวัน การมีอาวุธในครอบครอง การมียารักษาโรคในครอบครอง การมีโรคทางร่างกายและการเบี่ยงเบนทางเพศ

รายงานนี้เป็นการรายงานข้อมูลประชากรของผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายฯ ซึ่งเป็น proximal factor ตัวหนึ่งของท้องถิ่น

สุวัทนา อารีพรรค ศึกษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 ราย ปีพ.ศ. 2522 พบว่าเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 1.86:1 อายุ 17-53 ปี ปัจจัยเสี่ยงสูง คือ เพศหญิง อายุน้อย การศึกษาสูง ระดับเศรษฐกิจสูง คนโสด หม้าย แยก หรือหย่าร้างมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนที่มีชีวิตสมรสราบรื่น การกินยาหรือสารพิษเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในการเลือกวิธีรุนแรง เช่น การแทง การยิง การกระโดดจากที่สูง การกระโดดน้ำหรือการแขวนคอ

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศึกษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 59 ราย ปีพ.ศ.2529-2530 พบว่าเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 3:1 อายุ 15-50 ปี การกินยาหรือสารพิษเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด สาเหตุกระตุ้นได้แก่ความขัดแย้งในชีวิตสมรส ปัญหาครอบครัวและเศรษฐกิจ มี 6 รายเป็นผู้ป่วยจิตเวช

ขุนแผน ศรีกุลวงศ์ และคณะ ศึกษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองคาย จำนวน 120 ราย ปีพ.ศ. 2531-2533 พบว่าเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 2:1 ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี มีอาชีพเกษตรกรรม ใช้วิธีกินยาหรือสารพิษร้อยละ95

อุมาพร ตรังคสมบัติ ศึกษาผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่ถูกส่งมาหน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยปัญหาพฤติกรรมฆ่าตัวตาย จำนวน 43 ราย ปี พ.ศ. 2528-2534 พบว่าเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 2.6:1 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบุตรคนกลางหรือคนสุดท้อง มาจากเศรษฐานะต่ำ ใช้วิธีกินยาเกินขนาดบ่อยที่สุดโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เหตุการณ์กระตุ้นคือการถูกอบรมสั่งสอนและการลงโทษ พบอารมณ์เศร้าร้อยละ 87.5 การวินิจฉัยที่พบบ่อยที่สุดคือ ความผิดปกติในการปรับตัว เปรียบเทียบผู้ป่วยที่เคยพยายามฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยที่ไม่เคยมี พบว่ากลุ่มแรกอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยและความผิดปกติทางจิตในบิดามารดาสูงกว่ากลุ่มหลัง

 วัตถุประสงค์

เพื่อหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย ของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

วัสดุและวิธีการ

โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์เป็นโรงพยาบาลของรัฐแห่งเดียวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีจำนวนเตียง 750 เตียงโดยมีอัตราการครองเตียงร้อยละ 100-120 นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลเอกชนขนาด 100 เตียงอีก 2 แห่ง ตามระเบียบของโรงพยาบาลฯ ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายทุกรายต้องผ่านการรักษาที่ห้องฉุกเฉินและทุกรายต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในเพราะไม่มีห้องสังเกตอาการ จำนวนผู้ป่วยในการศึกษานี้จึงเป็นจำนวนสูงสุดเท่าที่เก็บรวบรวมได้

1. ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนมกราคม 2537 ถึง มิถุนายน 2540

2. มีวิธีการเก็บข้อมูลดังนี้

2.1 ตรวจยอดผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ที่ห้องฉุกเฉินทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ตอนเช้า (ยอดผู้ป่วยในวันจันทร์ตอนเช้าจะรวมถึงผู้ป่วยที่รับไว้ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ด้วย)

2.2 นักจิตวิทยาติดตามผู้ป่วยเพื่อเก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึก ในทันทีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและให้สัมภาษณ์ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ข้อมูลได้จึงเก็บข้อมูลจากญาติ

2.3 นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาผู้ป่วยทุกรายก่อนที่แพทย์เจ้าของไข้จำหน่าย

2.4 นักจิตวิทยาส่งปรึกษาจิตแพทย์เมื่อมีความเห็นว่าผู้ป่วยควรได้รับยาทางจิตเวชร่วมด้วย

2.5) ผู้ป่วยที่ถูกคัดออกจากการศึกษา คือ ผู้ป่วยที่แพทย์เจ้าของไข้จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วก่อนที่จะได้พบนักจิตวิทยา และผู้ป่วยถึงแก่กรรม

3. ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วยตัวแปร 20 ตัวคือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา อาชีพ ลำดับที่ในพี่น้อง โรคทางกายที่เป็นอยู่ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ ประวัติการพยายามฆ่าตัวตายในครอบครัว ประวัติการฆ่าตัวตายสำเร็จในครอบครัว ประวัติโรคจิตเวชในครอบครัว ประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาเมื่อผู้ป่วยอายุไม่เกิน 10 ปี จำนวนครั้งที่พยายามฆ่าตัวตาย เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีที่พยายามฆ่าตัวตาย ชนิดของยาที่กิน การวินิจฉัยทางจิตเวช และการส่งปรึกษาจิตแพทย์

4. แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ตอน ได้แก่

ตอนที่ 1 แยกตามเพศ เป็นเพศหญิงและชาย

ตอนที่ 2 แยกตามช่วงอายุ เป็นเด็กและวัยรุ่น 1-20 ปี วัยผู้ใหญ่ 21-60 ปี วัยชรา 61 ปีขึ้นไป

ตอนที่ 3 แยกตามการวินิจฉัย เป็นกลุ่ม adjustment disorder และกลุ่ม non-adjustment

เกณฑ์ที่กำหนดผู้รายงานได้กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น การกำหนดอายุวัยรุ่นให้ถึง 20 ปี แทนที่จะเป็น 18 ปีเพราะวัยรุ่นในชนบทจำนวนมากจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเมื่ออายุประมาณ 20 ปี การกำหนดอายุวัยชราที่อายุ 61 ปีขึ้นไปแทนที่จะเป็น 65 ปีเพราะเป็นระยะเวลาหลังเกษียณอายุราชการของประเทศไทย การกำหนดกลุ่มการวินิจฉัยเป็น adjustment disorder และกลุ่ม non-adjustment เป็นความพยายามที่จะหาเกณฑ์ในการจ่ายผู้ป่วยให้พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ดูแล โดยเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย

5. ศึกษาตัวแปรทั้ง 20 ตัว ด้วยการทดสอบไคสแควร์ กำหนดให้ตัวแปรมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p<0.05

 ผลการศึกษา

ตอนที่ 1 แยกตามเพศ

มีผู้ป่วยรวม 485 คน เป็นหญิง 250 คน ชาย 235 คน คิดเป็นหญิงต่อชาย เท่ากับ 1.06:1

ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกเพศชายและหญิงมี 11 ตัว คือ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ โรคทางกายที่เป็นอยู่ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีที่พยายามฆ่าตัวตาย ชนิดของยาที่กิน การวินิจฉัยทางจิตเวช และการส่งปรึกษาจิตแพทย์

ภาพรวมของผู้ป่วยหญิงคือเป็นเด็กและวัยรุ่นร้อยละ 51.6 เป็นวัยผู้ใหญ่ร้อยละ 43.2, แต่งงานแล้วร้อยละ 50.4 เป็นโสดร้อยละ 40.8, จบประถมศึกษาร้อยละ 42.4 เป็นนักเรียน นักศึกษาร้อยละ 24, รับจ้างร้อยละ 23.6, มีโรคทางกายที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 23.2, มีโรคทางจิตเวชกลุ่ม anxiety ร้อยละ 3.6 depression ร้อยละ 2.8, เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตายเพราะขัดแย้งกับคู่สมรสร้อยละ 33.2 ขัดแย้งกับญาติร้อยละ 26.8, ใช้วิธีกินสารพิษร้อยละ 62 กินยาเกินขนาดร้อยละ 29.6 และใช้วิธีอื่นๆ ร้อยละ 6.8, ใช้ยาเบื่อหนูร้อยละ 39.6 ยากล่อมประสาทร้อยละ 13.6, การวินิจฉัย adjustment disorder ร้อยละ 83.6 non-adjustment ร้อยละ 7.6, ต้องส่งปรึกษาจิตแพทย์ร่วมรักษาร้อยละ 21.6

ภาพรวมของผู้ป่วยชาย เมื่อเทียบกับผู้ป่วยหญิง เป็นวัยผู้ใหญ่มากกว่าคือร้อยละ 61.7 เป็นโสดมากกว่าคือร้อยละ 50.6 มีการหย่าร้างมากกว่าคือร้อยละ 7.7, จบประถมศึกษาร้อยละ 56.2 อาชีพรับจ้างมากกว่าคือร้อยละ 31.9 รองลงมาเป็นเกษตรกรร้อยละ 25.9 เป็นนักเรียนนักศึกษาเพียงร้อยละ 8.9, มีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อเอดส์มากกว่าคือร้อยละ 13.2, มีโรคทางจิตเวชกลุ่ม psychosis มากกว่าคือร้อยละ 5.1 anxiety ร้อยละ2.9, เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตายเพราะขัดแย้งกับญาติร้อยละ 21.7 ขัดแย้งกับคู่สมรสร้อยละ 11.9, และด้วยสาเหตุต่อไปนี้มากกว่าเพศหญิง คือ ปัญหาการเงิน การติดเชื้อเอดส์ มีโรคทางกาย หรือมีโรคทางจิตเวช, ใช้วิธีกินสารพิษร้อยละ 65.1 แต่ใช้วิธีอื่นๆ มากกว่าคือร้อยละ 21.7 และกินยาเกินขนาดน้อยกว่าคือร้อยละ 11.1, ใช้ยาเบื่อหนูร้อยละ 40 ยาฆ่าแมลงร้อยละ 16.6, วินิจฉัย adjustment disorder ร้อยละ 62.9 แต่วินิจฉัย non-adjustment มากกว่าคือร้อยละ 18.3, ส่งปรึกษาจิตแพทย์ร่วมรักษามากกว่าคือ ร้อยละ 38.3
รายละเอียด ตามตารางที่ 1

 ตอนที่ 2 แยกตามช่วงอายุ

ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกกลุ่มอายุเป็น 1) เด็กและ วัยรุ่น 2) วัยผู้ใหญ่ 3) วัยชรา มี 12 ตัว คือ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ ลำดับที่ในพี่น้อง โรคทางกายที่เป็นอยู่ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ ประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาเมื่อผู้ป่วยอายุไม่เกิน 10 ปี เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีที่พยายามฆ่าตัวตาย การวินิจฉัยทางจิตเวช และการส่งปรึกษาจิตแพทย์

มีผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น 194 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของทั้งหมด ภาพรวมของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นคือเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 2:1, การศึกษาระดับมัธยมร้อยละ 58.2, เป็นบุตรคนสุดท้องร้อยละ 34.5 เป็นบุตรคนแรกร้อยละ 28.4, เป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 40.2, มีโรคทางกายร่วมด้วยร้อยละ 19.1 โรคทางจิตเวชร้อยละ 3.1, พยายามฆ่าตัวตายเพราะขัดแย้งกับญาติร้อยละ 43.8, กินสารพิษร้อยละ 66.5 กินยาเกินขนาดร้อยละ 28.9, วินิจฉัย adjustment disorder ร้อยละ86.6 non-adjustment ร้อยละ 7.7, ส่งปรึกษาจิตแพทย์ร้อยละ 20.6

มีผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ 270 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7 ของทั้งหมด ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น พบว่า เป็นหญิงน้อยกว่าชาย คือ 0.71:1, แต่งงานแล้วร้อยละ 60.7, จบประถมศึกษาร้อยละ 60.4, เป็นบุตรคนกลางร้อยละ 41.1 เป็นบุตรคนเดียวเพียงร้อยละ2.9 (เมื่อเทียบกับวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นบุตรคนเดียวร้อยละ 13.4), อาชีพรับจ้างร้อยละ 32.6 เกษตรกรร้อยละ 29.3, มีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อเอดส์มากกว่าคือร้อยละ 14.1, มีโรคทางจิตเวชมากกว่าคือร้อยละ 12.9, ก่อนที่ผู้ป่วยจะอายุ 10 ปีมีประวัติบิดาถึงแก่กรรมร้อยละ 7.8 มารดาถึงแก่กรรมร้อยละ4.1 และทั้งคู่ถึงแก่กรรมร้อยละ 1.1, พยายามฆ่าตัวตายเพราะขัดแย้งกับคู่สมรสร้อยละ 28.9, ใช้วิธีอื่นๆที่ไม่ใช่การกินยามากกว่าเด็กและวัยรุ่นคือร้อยละ 20.7, วินิจฉัย non-adjustment มากกว่าเด็กและวัยรุ่นคือร้อยละ 15.9 และส่งปรึกษาจิตแพทย์ร้อยละ 35.9

การพยายามฆ่าตัวตายในวัยชรามีกลุ่มตัวอย่างเพียง 13 คนคิดเป็นร้อยละ 2.7 ของทั้งหมด เป็นหญิงน้อยกว่าชายมาก คือ 0.44:1, ขณะพยายามฆ่าตัวตายมีคู่สมรสอยู่ร้อยละ 46.2 เป็นหม้ายร้อยละ 30.8, จบประถมศึกษาร้อยละ 30.8 ไม่ได้เรียนร้อยละ 23.1, ไม่มีงานร้อยละ 30.8, มีโรคทางกายร้อยละ 23.1 มีโรคทางจิตเวชร้อยละ 15.4, มีประวัติบิดาถึงแก่กรรมเมื่อผู้ป่วยอายุไม่เกิน 10 ปีร้อยละ 23.1, พยายามฆ่าตัวตายเพราะขัดแย้งกับคู่สมรสร้อยละ 38.5 เพราะมีโรคทางกายร้อยละ 7.7, ใช้วิธีกินสารพิษร้อยละ 76.9, วินิจฉัย non-adjustment ร้อยละ15.4, ส่งปรึกษาจิตแพทย์ร้อยละ 23.1

สังเกตว่าผู้หญิงพยายามฆ่าตัวตายน้อยลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น
รายละเอียด ตามตารางที่ 2

 ตอนที่ 3 แยกตามการวินิจฉัย

ตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อศึกษาแยกกลุ่มการวินิจฉัยเป็น 1) adjustment disorder 2) non-adjustment มี 7 ตัว คือ เพศ อายุ โรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ จำนวนครั้งที่พยายามฆ่าตัวตาย เหตุผลที่พยายามฆ่าตัวตาย วิธีที่พยายามฆ่าตัวตาย และการส่งปรึกษาจิตแพทย์

ภาพรวมของผู้ป่วยที่ให้การวินิจฉัย non-adjustment คือ เป็นชายร้อยละ 69.4 เป็นหญิงร้อยละ 30.6 (เทียบกับกลุ่มadjustment disorder เป็นหญิงร้อยละ 58.5 เป็นชายร้อยละ 41.5), เป็นวัยผู้ใหญ่มากที่สุดคือร้อยละ 64.5, มี psychosis ร้อยละ17.7 anxiety ร้อยละ14.5 depression ร้อยละ 6.5, มีความพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าหนึ่งครั้งร้อยละ 30.6 (เทียบกับกลุ่ม adjustment disorder ร้อยละ 10.6), เหตุผลเพราะมีโรคทางจิตเวชร้อยละ 22.6 (เทียบกับกลุ่ม adjustment disorder ร้อยละ2.8), ใช้วิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกินยาร้อยละ 35.5 (เทียบกับกลุ่ม adjustment disorder ร้อยละ 7.6), ส่งปรึกษาจิตแพทย์ร้อยละ 96.8
รายละเอียด ตามตารางที่ 3

 วิจารณ์

ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้ในโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ มีอัตราส่วนหญิง:ชาย เท่ากับ 2:1 เมื่อเป็นเด็กและวัยรุ่น ลดลงเป็น 0.71:1 เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และ 0.44:1 เมื่อเข้าสู่วัยชรา คิดรวมทุกอายุอัตราส่วนหญิงต่อชายนี้เท่ากับ 1.06:1 หรือหญิงประมาณเท่ากับชาย

ในเขตภาคเหนือตอนบน ผู้หญิงอาจจะมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายน้อยกว่าเขตอื่น หรือผู้ชายอาจจะมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายมากกว่าเขตอื่น เนื่องจากบทบาททางสังคมและวัฒนธรรมต่างกัน ผู้หญิงทำหน้าที่เป็นแกนกลางของครอบครัว และมีบทบาททางเศรษฐกิจของครอบครัวอย่างเด่นชัด ในขณะที่ผู้ชายมีบทบาทสำคัญในบริเวณนอกครอบครัวและหมู่บ้าน ความมั่นคงทางจิตใจและความรับผิดชอบต่อครอบครัวของหญิงจึงมีมากกว่าชาย

อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่ผู้หญิงจะพยายามฆ่าตัวตายเท่ากับผู้ชายมีปรากฏในประเทศอื่นด้วย Hassan (1989) รายงานถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในออสเตรเลียว่าการที่ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น บวกกับการพัฒนาชนบทเป็นเขตเมืองทำให้อัตราการพยายามฆ่าตัวตายของผู้หญิงลดลง Bille-Brahe (1993) รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้อัตราการพยายามฆ่าตัวตายของหญิงชายเท่ากันในเดนมาร์ก

ในรายงานของเชียงรายนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้ผู้ชายมีการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าอัตราปกติ ได้แก่ เป็นโสดมากกว่า หย่าร้างมากกว่า มีปัญหาเรื่องการเงินมากกว่า มีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อเอดส์ และมีโรคทางจิตเวชที่รุนแรงกว่า

เหตุผลของการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ชายก็ต่างจากผู้หญิง คือ เกิดจากการขัดแย้งกับญาติมากกว่าจากการขัดแย้งกับคู่สมรสหรือคู่รักดังที่พบในผู้หญิง โดยเฉพาะการมีปากเสียงกับบิดามารดาในเรื่องการเงินหรือการงาน มักใช้วิธีที่รุนแรงกว่าการกินยา ถ้ากินยาก็เลือกสารที่เป็นพิษมากกว่าที่ผู้หญิงเลือก

เหตุผลเหล่านี้สอดคล้องกับรายงานของ Hattori (1995) ซึ่งรายงานเหตุผลของการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ชายเกิดจากความเหงาที่ต้องอยู่คนเดียวของหญิงเกิดจากความขัดแย้งในครอบครัวหรือการสูญเสียคู่สมรส

อัตราการพยายามฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นตามรายงานนี้เท่ากับร้อยละ 40 เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาคือร้อยละ 40.2 หรือมีการศึกษาจบชั้นมัธยมร้อยละ 58.2 เหตุผลเพราะขัดแย้งกับญาติโดยเฉพาะกับบิดามารดา รองลงมาเป็นเป็นความขัดแย้งกับคู่สมรสหรือกับคู่รักหรือกับเพื่อน ซึ่งล้วนเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ใช้วิธีกินสารพิษมากที่สุดแต่ให้สังเกตว่าใช้วิธีกินยาเกินขนาดมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ

Safer (1996) รายงานวัยรุ่นพยายามฆ่าตัวตายในอเมริกาเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 2.5:1 ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นตอนกลาง ในขณะที่ของยุโรปตะวันตกเป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 1:1.2 ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นตอนปลาย Andrews (1992) รายงานการพยายามฆ่าตัวตายในวัยรุ่นมักพบร่วมกับภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติดและพฤติกรรมก้าวร้าว ปัจจัยเสี่ยง คือ เป็นผู้หญิง อยู่บ้านที่ไม่มีบิดา บิดามีการศึกษาน้อย เคยพยายามฆ่าตัวตาย และมีความผิดปกติทางจิตเวช

Zlotnick (1997) รายงานการพยายามฆ่าตัวตายในวัยรุ่นพบร่วมกับภาวะสับสนทางอารมณ์และมีประวัติการทำร้ายตนเองในรูปแบบต่างๆมาก่อน Pfeffer (1995) รายงานพยาธิสภาพของวัยรุ่นที่พยายามฆ่าตัวตายได้แก่ impulsivity, poor reality testing, projection, regression, compensation และ reaction formation ในเด็กก่อนวัยเรียน Reinherz (1995) รายงานปัจจัยเสี่ยงต่อการมีความคิดฆ่าตัวตายในเพศหญิงได้แก่ disruptive behavior และในเพศชายได้แก่ dependency need

การพยายามฆ่าตัวตายในวัยผู้ใหญ่ เป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 0.71:1 แสดงถึงอัตราส่วนที่ผิดจากความรู้ที่เคยอ้างอิงกันมาอย่างมาก นอกจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นแล้วยังมีปัจจัยที่น่าสนใจคือประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาก่อนผู้ป่วยอายุ 10 ปีพบว่ามีมากกว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่จะมีมากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไปหรือไม่ยังไม่ได้ศึกษา ปัจจัยอื่นอีกได้แก่การมีโรคทางกายและปัญหาการติดเชื้อเอดส์ วิธีการที่ใช้รุนแรงกว่ากลุ่มอายุอื่นและวินิจฉัย non-adjustment มากกว่ากลุ่มอายุอื่น แสดงถึงความรุนแรงของปัญหาที่จิตแพทย์ควรได้เข้ามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

ตามผลการศึกษาของ John Bowlby ประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาก่อนผู้ป่วยอายุ 10 ปี น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้าและนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในอลาสกาตะวันตก Gregory (1994) รายงานผู้ป่วยเอสกิโมที่พยายามฆ่าตัวตาย 53 คนพบว่ามี 32 คนหรือร้อยละ 60 สูญเสียบิดาหรือมารดาไปเมื่ออายุ 1-18 ปี ร้อยละ 66 ของ 32 คนนี้เป็นการสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยอายุ 4-12 ปี แยกเป็นการสูญเสียเนื่องจากบิดามารดาถึงแก่กรรม 19 ราย และเนื่องจากบิดามารดาย้ายที่อยู่แล้วไม่ติดต่อผู้ป่วยอีก 26 ราย

Gupta (1997) ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกินยาเกินขนาด 207 คน กับวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกินยา 53 คน พบว่ากลุ่มแรกเป็นผู้หญิงมากกว่า กลุ่มหลังเป็นผู้ชายมากกว่า ไม่มีความแตกต่างในการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของการปรับตัว หรือการใช้สารเสพติด แต่พบบุคลิกภาพผิดปกติแบบ borderline ในกลุ่มแรกมากกว่า Johansson (1997) รายงานปัจจัยเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตายที่สำคัญคือโรคทางกายและการว่างงาน Dannenberg (1996) พบว่าการติดเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการไม่เพิ่มอัตราเสี่ยงการฆ่าตัวตาย แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการเนื่องจากการติดเชื้อเอดส์แล้ว

อัตราการพยายามฆ่าตัวตายในวัยชราตามรายงานนี้เท่ากับร้อยละ 2.7 เป็นชายมากกว่าหญิงประมาณ 2 เท่า ข้อมูลที่ได้ค่อนข้างน้อย จำเป็นต้องมีกลุ่มประชากรที่ใหญ่กว่านี้และศึกษาเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป

กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย non-adjustment มักมีโรคทางจิตเวชที่ควรได้รับยาทางจิตเวชร่วมด้วย ได้แก่ schizophrenia, major depression, bipolar disorder, organic mental disorder, panic disorder และอื่นๆ จิตแพทย์ควรทราบถึงภาพรวมของผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อที่จะเข้ารักษาอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที และไม่ควรปล่อยผู้ป่วยกลับบ้านโดยไม่มีการช่วยเหลือใดๆ กล่าวคือ เป็นชายมากกว่าหญิง วัยผู้ใหญ่ มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าหนึ่งครั้งและใช้วิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกินยา

Beautrais (1996) เปรียบเทียบผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายด้วยวิธีรุนแรง 302 คนกับประชากรปกติ พบว่าร้อยละ 90.1 มีความผิดปกติทางจิตเวชในขณะที่ลงมือ ได้แก่ mood disorder, substance use disorder, conduct or antisocial disorder และ nonaffective psychosis

รายงานนี้ไม่พบว่าประวัติการพยายามฆ่าตัวตายในครอบครัว การฆ่าตัวตายสำเร็จในครอบครัวหรือประวัติโรคทางจิตเวชในครอบครัวมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแยกกลุ่มผู้ป่วยตามเพศ อายุ หรือการวินิจฉัย ควรศึกษาตัวแปรทั้ง 3 ตัวอีกครั้งโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป นอกจากนี้ควรศึกษาตัวแปรทั้งหมดนี้อีกครั้งเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปอีกด้วย

การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ทำควบคู่กับงานบริการประจำวัน ดังนั้นการให้คำปรึกษาผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายจึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง การเก็บข้อมูลในบางรายและบางเรื่องอาจจะไม่ครบถ้วนเนื่องจากต้องคอยประคับประคองสภาพจิตของผู้ป่วยไปด้วยกัน รวมทั้งในบางกรณีแพทย์เจ้าของไข้มีความจำเป็นรีบด่วนต้องใช้เตียงผู้ป่วยที่มีอยู่จำกัดในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคทำให้แพทย์เจ้าของไข้จำหน่ายผู้ป่วยก่อนที่จะเก็บข้อมูลได้ครบ

สรุป

จากการศึกษาผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 485 คน พบว่ามีความแตกต่างในข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยและแบบแผนของพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เมื่อแยกกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นเพศชายและเพศหญิง หรือแยกตามกลุ่มอายุเป็นเด็กและวัยรุ่นอายุ 1-20 ปี วัยผู้ใหญ่21-60 ปี วัยชรา อายุ 61 ปีขึ้นไป หรือแยกตามกลุ่มการวินิจฉัยเป็นกลุ่ม adjustment disorder และกลุ่ม non-adjustment ข้อมูลที่ได้นำมาวางแผนการศึกษาต่อไปในแนวลึก และใช้ปรับปรุงการบริหารจัดการเรื่องผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์

 กิตติกรรมประกาศ

ผู้รายงานขอขอบพระคุณแพทย์หญิงเรณู ศรีสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ ที่ได้สนับสนุนการศึกษาและการรายงานผลการศึกษานี้จนกระทั่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี

 เอกสารอ้างอิง

  1. Moscicki EK. Identification of suicide risk factors using epidemiologic studies. Psychiatr Clin North Am1997;20(3):499-517.
  2. สุวัทนา อารีพรรค. การพยายามฆ่าตัวตายของคนไทย.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2522;24:261-82.
  3. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายที่มารักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2530;5:275-80.
  4. ขุนแผน ศรีกุลวงศ์, เกียรติชัย สารเศวต, ชวารัตน์ วันทะนิตย์. ผู้ป่วยพยายามอัตวินิบาตกรรมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองคาย พ.ศ.2531-2533. วารสารจิตเวชขอนแก่น2533;4:31-7.
  5. อุมาพร ตรังคสมบัติ. พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็ก. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2536;37:87-96.
  6. นิธิ เอียวศรีวงศ์.พะเยา ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม.ใน:สุจิตต์ วงษ์เทศ,บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา.กรุงเทพฯ:มติชน,2538:505.
  7. นิธิ เอียวศรีวงศ์ และมรว อคิน รพีพัฒน์.ศิลปวัฒนธรรม2533;ปีที่12,ธันวาคม.
  8. นิธิ เอียวศรีวงศ์.ศิลปวัฒนธรรม2535;ปีที่13,มีนาคม.
  9. Hassan R, Tan G .Suicide trends in Australia, 1901-1985: An analysis of sex differentials. Suicide Life Threat Behav 1989;19(4):362-80.
  10. Bille-Brahe U .The role of sex and age in suicidal behavior. Acta Psychiatr Scand 1993;371(suppl):21-7.
  11. Kaplan HI, Sadock BJ, Grebb JA. Kaplan and Sadock’s Synopsis of Psychiatry: behavioral sciences clinical psychiatry. 7th ed. Baltimore: Williams&Wilkins,1994,809.
  12. Hattori T, Taketani K, Ogasawara Y. Suicide and suicide attempts in general hospital psychiatry: clinical and statistical study. Psychiatry Clin Neurosci 1995;49(1):43-8.
  13. Safer DJ. A comparison of studies from the United States and western Europe on psychiatric hospitalization referrals for youths exhibiting suicidal behavior. Ann Clin Psychiatry 1996 ;8(3):161-8.
  14. Andrews JA, Lewinsohn RR. Suicidal attempts among older adolescents: prevalence and co-occurrence with psychiatric disorders. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1992 ;31(4):655-62.
  15. Zlotnick C, Donaldson D, Spirito A, Pearlstein T. Affect regulation and suicide attempts in adolescent inpatients. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1997;36(6):793-8.
  16. Pfeffer CR, Hurt SW, Peskin JR, Siefker CA. Suicidal children grow up: Ego functions associated with suicide attempts. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1995;34(10):1318-25.
  17. Reinherz HZ, Giaconia RM, Silverman AB, Friedman A, Pakiz B, Frost AK, Cohen E. Early psychosocial risks for adolescent suicidal ideation and attempts. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1995;34(5):599-611.
  18. Kaplan HI, Sadock BJ, eds. Comprehensive Textbook of Psychiatry volume1. 5th ed. Baltimore: Williams&Wilkins, 1989:392.
  19. Gregory RJ. Grief and loss among Eskimos attempting suicide in Western Alaska. American J Psychiatry1994;151(12)1815-6.
  20. Gupta B, Trzepacz PT. Serious overdosers admitted to a general hospital: Comparison with nonoverdose self-injuries and medically ill patients with suicidal ideation. Gen Hosp Psychiatry 1997;19(3):209-15.
  21. Johansson SE, Sundquist J. Unemployment is an important risk factor for suicide in contemporary Sweden: an 11-year follow-up study of a cross-sectional sample of 37,789 people. Public Health 1997;111(1):41-5.
  22. Dannenberg AL, McNeil JG, Brundage JF, Brookmeyer R. Suicide and HIV infection. Mortality follow-up of 4147 HIV-seropositive military service applicants. JAMA 1996;276(21):1743-6.
  23. Beautrais AL, Joyce PR, Mulder RT, Fergusson DM, Deavoll BJ, Nightingale SK. Prevalence and comorbidity of mental disorders in persons making serious suicide attempts: a case-control study. American J Psychiatry 1996;153(8):1009-14.

 


 ตารางที่ 1 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแยกผู้ป่วยตามเพศ

ตัวแปร

หญิง n=250(%)

ชาย n=235(%)

อายุ(p<0.0001) เด็กและวัยรุ่น

วัยผู้ใหญ่

วัยชรา

สถานภาพสมรส โสด

(p=0.0417) คู่

หม้าย

หย่า/ร้าง

การศึกษา(p=0.0002) ไม่ได้เรียน

ประถม

มัธยม

อุดมศึกษา

อาชีพ(p<0.0001) รับจ้าง

เกษตรกรรม

นักเรียน

แม่บ้านพ่อบ้าน

ค้าขาย

ไม่มีงาน

โรคทางกาย non HIV-related

(p=0.0027) HIV-related

ไม่มีโรคทางกาย

โรคทางจิตเวช anxiety

(p=0.0048) depression

psychosis

อื่นๆ

ไม่มีโรคทางจิตเวช

เหตุผล ขัดแย้งกับญาติ

(p<0.0001) ขัดแย้งกับคู่สมรส

ขัดแย้งกับคนรัก

ขัดแย้งกับเพื่อน

ปัญหาการเงิน

มีโรคทางกาย

มีโรคทางจิตเวช

ติดเชื้อเอดส์

หลายสาเหตุ

129(51.6)

108(43.2)

8(3.2)

102(40.8)

126(50.4)

3(1.2)

12(4.8)

18(7.2)

106(42.4)

99(39.6)

5(2.0)

59(23.6)

46(18.4)

60(24.0)

35(14.0)

14(5.6)

5(2.0)

58(23.2)

9(3.6)

110(44)

9(3.6)

7(2.8)

1(0.4)

2(0.8)

123(49.2)

67(26.8)

83(33.2)

18(7.2)

5(2.0)

8(3.2)

3(1.2)

8(3.2)

0

17(6.8)

65(27.7)

145(61.7)

22(9.4)

119(50.6)

87(37.0)

3(1.3)

18(7.7)

12(5.1)

132(56.2)

55(23.4)

0

75(31.9)

61(25.9)

21(8.9)

1(0.4)

10(4.0)

17(7.2)

50(21.3)

31(13.2)

116(49.4)

7(2.9)

1(0.4)

12(5.1)

5(2.1)

132(56.2)

51(21.7)

28(11.9)

8(3.4)

5(2.1)

19(8.1)

6(2.6)

17(7.2)

19(8.1)

125(53.2)

วิธี(p<0.0001) กินสารพิษ

กินยาเกินขนาด

วิธีอื่นๆ

หลายวิธี

ชนิดของยา ยาเบื่อหนู

(p=0.0001) ยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าหญ้า

ยากล่อมประสาท

ยาแก้ปวด

สารเคมีในบ้าน

สารหลายชนิด

อื่นๆ

การวินิจฉัย adjustment

(p<0.0001) non-adjustment

การส่งปรึกษาจิตแพทย์ ส่ง

(p<0.0001) ไม่ส่ง

155(62.0)

74(29.6)

17(6.8)

2(0.8)

99(39.6)

26(10.4)

10(4.0)

34(13.6)

13(5.2)

9(3.6)

18(7.2)

17(6.8)

209(83.6)

19(7.6)

54(21.6)

196(78.4)

153(65.1)

26(11.1)

51(21.7)

4(1.7)

94(40.0)

39(16.6)

12(5.1)

8(3.4)

7(2.9)

0

9(3.8)

8(3.4)

148(62.9)

43(18.3)

90(38.3)

145(61.7)

 ตารางที่ 2 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแยกผู้ป่วยตามช่วงอายุ

ตัวแปร

เด็กและวัยรุ่น n=194(%)

วัยผู้ใหญ่n=270(%)

วัยชรา n=13(%)

เพศ(p<0.0001) หญิง

ชาย

สถานภาพสมรส โสด

(p<0.0001) คู่

หม้าย

หย่า/ร้าง

การศึกษา ไม่ได้เรียน

(p<0.0001) ประถม

มัธยม

อุดมศึกษา

129(66.5)

65(33.5)

144(74.2)

41(21.1)

0

3(1.5)

4(2.1)

66(34.0)

113(58.2)

1(0.5)

112(41.5)

158(58.5)

73(27.0)

164(60.7)

2(0.7)

26(9.6)

23(8.5)

163(60.4)

40(14.8)

3(1.1)

4(30.8)

9(69.2)

0

6(46.1)

4(30.8)

0

3(23.1)

4(30.8)

0

0

ลำดับที่ในพี่น้อง บุตรคนแรก

(p<0.0001) บุตรคนสุดท้อง

บุตรคนกลาง

บุตรคนเดียว

อาชีพ รับจ้าง

(p=0.0001) เกษตรกรรม

นักเรียน

แม่บ้านพ่อบ้าน

ค้าขาย

ไม่มีงาน

โรคทางกาย non HIV-related

(p<0.0001) HIV-related

ไม่มีโรคทางกาย

โรคทางจิตเวช anxiety

(p=0.0018) depression

psychosis

อื่นๆ

ไม่มีโรคทางจิตเวช

ประวัติการถึงแก่กรรมของบิดาหรือมารดาเมื่อผู้ป่วยอายุไม่เกิน 10 ปี

(p=0.0018) บิดาถึงแก่กรรม

มารดาถึงแก่กรรม

ทั้งคู่ถึงแก่กรรม

ไม่มีใครถึงแก่กรรม

เหตุผล ขัดแย้งกับญาติ

(p<0.0001) ขัดแย้งกับคู่สมรส

ขัดแย้งกับคนรัก

ขัดแย้งกับเพื่อน

ปัญหาการเงิน

มีโรคทางกาย

มีโรคทางจิตเวช

ติดเชื้อเอดส์

หลายสาเหตุ

55(28.4)

67(34.5)

35(18.0)

26(13.4)

43(22.1)

26(13.4)

78(40.2)

14(7.2)

6(3.1)

7(3.6)

37(19.1)

0

97(50.0)

4(2.1)

1(0.5)

1(0.5)

0

107(55.2)

 

 

4(2.1)

2(1.0)

0

188(96.9)

85(43.8)

27(13.9)

18(9.3)

7(3.6)

2(1.0)

1(0.5)

7(3.6)

0

12(6.2)

48(17.8)

51(18.9)

111(41.1)

8(2.9)

88(32.6)

79(29.3)

2(0.7)

18(6.7)

17(6.3)

11(4.1)

68(25.2)

38(14.1)

117(43.3)

12(4.4)

6(2.2)

12(4.4)

5(1.9)

141(52.2)

 

 

21(7.8)

11(4.1)

3(1.1)

235(87.0)

31(11.4)

78(28.9)

7(2.6)

3(1.1)

25(9.3)

7(2.6)

18(6.7)

18(6.7)

17(6.3)

2(15.4)

1(7.7)

4(30.8)

0

2(15.4)

2(15.4)

0

2(15.4)

1(7.7)

4(30.8)

3(23.1)

0

9(69.2)

0

1(7.7)

0

1(7.7)

4(30.8)

 

 

3(23.1)

0

0

10(76.9)

0

5(38.5)

0

0

0

1(7.7)

0

0

1(7.7)

วิธี(p<0.0001) กินสารพิษ

กินยาเกินขนาด

วิธีอื่นๆ

หลายวิธี

การวินิจฉัย adjustment

(p=0.0035) non-adjustment

การส่งปรึกษาจิตแพทย์ ส่ง

(p<0.0015) ไม่ส่ง

129(66.5)

56(28.9)

9(4.6)

0

168(86.6)

15(7.7)

40(20.6)

154(79.4)

166(61.5)

41(15.2)

56(20.7)

5(1.9)

178(65.9)

43(15.9)

97(35.9)

173(64.1)

10(76.9)

1(7.7)

1(7.7)

0

5(38.5)

2(15.4)

3(23.1)

10(76.9)

 ตารางที่ 3 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อแยกผู้ป่วยตามการวินิจฉัย

ตัวแปร
adjustment dirorder n=357(%)
non-adjustment n=62(%)
เพศ (p<0.0001) หญิง

ชาย

อายุ (p=0.0018) เด็กและวัยรุ่น

วัยผู้ใหญ่

วัยชรา

โรคทางจิตเวช anxiety

(p<0.0001) depression

psychosis

อื่นๆ

ไม่มี

จำนวนครั้งที่พยายามฆ่าตัวตาย

(p<0.0001) 1 ครั้ง

2 ครั้ง

3 ครั้งขึ้นไป

เหตุผล ขัดแย้งกับญาติ

(p<0.0001) ขัดแย้งกับคู่สมรส

ขัดแย้งกับคนรัก

ขัดแย้งกับเพื่อน

ปัญหาการเงิน

มีโรคทางกาย

มีโรคทางจิตเวช

ติดเชื้อเอดส์

หลายสาเหตุ

อื่นๆ

วิธี(p<0.0001) กินสารพิษ

กินยาเกินขนาด

วิธีอื่นๆ

หลายวิธี

การส่งปรึกษาจิตแพทย์ ส่ง

(p<0.0001) ไม่ส่ง

209(58.5)

148(41.5)

168(47.1)

172(48.2)

11(3.1)

6(1.7)

2(0.6)

1(0.3)

3(0.8)

202(56.6)

 

319(89.4)

30(8.4)

8(2.2)

108(30.3)

95(26.6)

24(6.7)

9(2.5)

22(6.2)

7(1.9)

10(2.8)

14(3.9)

23(6.4)

13(3.6)

252(70.6)

73(20.4)

27(7.6)

5(1.4)

67(18.8)

290(81.2)

19(30.6)

43(69.4)

15(24.2)

40(64.5)

5(8.1)

9(14.5)

4(6.5)

11(17.7)

3(4.8)

26(41.9)

 

43(69.4)

10(16.1)

9(14.5)

8(12.9)

8(12.9)

2(3.2)

0

4(6.4)

1(1.6)

14(22.6)

3(4.8)

6(9.7)

6(9.7)

24(38.7)

15(24.2)

22(35.5)

1(1.6)

60(96.8)

2(3.2)

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us