วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist
Association of Thailand
ISSN: 0125-6985
บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote
Lotrakul, M.D.

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatric Association of Thailand
Volume
43 Number 1 ......... January-March 1998
(Full
Text)
การศึกษาระบาดวิทยาของผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับบริการ
ในโรงพยาบาลของรัฐที่จังหวัดระยอง
ประยุกต์ เสรีเสถียร
พบ* วัชรีย์ อุจะรัตน พย.บ.* รัชวัลย์ บุญโฉม พย.บ., สส.ม.* กฤษณ์
ปาลสุทธิ์ พบ.**
บทคัดย่อ
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาระบาดวิทยาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย ที่มารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐที่จังหวัดระยอง
เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยกลุ่มศึกษาเป็นผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับบริการ
จำนวน 118 ราย และกลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานบริการแห่งเดียวกัน
เวลาใกล้เคียงกัน จำนวน 233 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือร้อยละ
ไควสแคว์ อัตราเสี่ยง (Odds Ratios) และ 95 % Confidence Interval
of Odds Ratio พบว่าผู้พยายามฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-45
ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าชาย 2.58 เท่า จบระดับประถมศึกษา สถานภาพคู่
อาชีพรับจ้างทั่วไป เวลาที่มาโรงพยาบาลเป็นเวลา 18.01-24.00 น. โดยมีคู่ครองเป็นผู้นำส่ง
ปัจจัยด้านประชากรที่สัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตายได้แก่ ระดับการศึกษา
รายได้ของครอบครัวและความเพียงพอของรายรับ ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตาย
แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคจิต
ประสาท การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และพฤติกรรมดื่มสุรา/สูบบุหรี่เมื่อมีความทุกข์ใจ
สำหรับปัจจัยด้านพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ พฤติกรรมการไม่ปรึกษาใครเมื่อมีความทุกข์ใจ
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
2541; 43(1): 14-21.
คำสำคัญ
ระบาดวิทยา ผู้พยายามฆ่าตัวตาย
* โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
คลองสาน กรุงเทพฯ 10600 ** สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง อ. เมือง
จ. ระยอง 21000
An Epidemiological
Study of Suicidal Attempt Patients in Governmental Hospitals at
Rayong Province
Prayook Serisathien,
M.D. M.P.H.* Wacharee Ucharatana, Dip.N.S.* Ratchawan Boonchome,
Dip.N.S.,M.S.W.*
Abstract
Method: An epidemiological study of attempted suicide in
all governmental hospitals at Rayong province during March-August
1997 was conducted using the case-control method. There were 118
suicide attempters and 223 cases in the control group. Data were
analyzed using percentage, Chi-square, Odds Ratio and 95 % Confidence
Interval of Odds Ratio. Results: Most of the attempters were
21-45 years olds, finished primary education, married, and were
employed. Females were more prevalent with female to male ratio
of 2.58:1. They were mostly brought to the hospitals by couples
during 6:01-12:00 p.m. The demographic factors related to attempted
suicide were educational levels, total family income and its sufficiency.
There were 2 statistical significant behavioral factors related
suicidal attempts: the individual-behavioral factors; psychiatric
illness, drinking, smoking and drinking/smoking when having distress,
and, secondly, the interpersonal-behavioral factor; the absence
of help-seeking behavior when having distress.
J Psychiatr
Assoc Thailand 1998; 43(1) : 14-21.
Key words:
epidemiology, attempted suicide
* Somdet Chaopraya
Hospital, Klongsan, Bangkok 10600
[main
page] [Rama Psychiatry Homepage]
|