วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist
Association of Thailand
ISSN: 0125-6985
บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote
Lotrakul, M.D.
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatric association of Thailand
ความก้าวหน้าของโครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย
บทคัดย่อ
โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2538 หลังจากที่คณะทำงานได้ผลิตหนังสือ คู่มือ เอกสาร วิดิทัศน์
เป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานแล้ว กรมสุขภาพจิตจึงได้นำโครงการนี้ไปปฏิบัติเป็นการนำร่องในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต
5 แห่งก่อน ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาสวนปรุง
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ผลการศึกษานำร่องพบว่า
ผู้ป่วย 54 รายที่ญาติเข้าร่วมโครงการนั้นมีจำนวนครั้งของการเข้าอยู่โรงพยาบาลลดลงถึงร้อยละ
44.4 และจำนวนวันในการอยู่โรงพยาบาลลดลงถึงร้อยละ 50 กรมสุขภาพจิตจึงได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาสุขภาพจิตพัฒนาโครงการนี้ไปเป็นเทคโนโลยีการดูแลญาติผู้ป่วยจิตเภท
โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานทางสุขภาพจิตได้นำเทคโนโลยีนี้สอดแทรกไปกับการให้บริการดูแลรักษาทางจิตเวชตามปกติต่อไป
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
2542;44(2):171-179.
คำสำคัญ โรคจิตเภท การกำเริบ
สุขภาพจิต ญาติ ประเทศไทย
*
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา 90110
The
Progress of the PRELAPSE Program in Thailand
Pichet Udomratn, M.D.
Abstract
The PRELAPSE (Preventing Relapse
in Schizophrenia) Program was introduced in Thailand in January
1995. At the beginning all educational materials were prepared in
the Thai language, and the workshop Training PRELAPSE to the Trainers
was held in September 1996. After the Department of Mental Health
of Thailand accepted the PRELAPSE program, it was implemented as
a pilot study in five mental hospitals, i.e., Somdet Chaopraya Hospital,
Srithunya Hospital, Saun Prung Hospital, Khon Kaen Psychiatric Hospital,
and Suansaranrom Psychiatric Hospital. Of the 54 schizophrenic patients
whose families joined the PRELAPSE program, the readmission rate
decreased 44.4%, and the length of hospital stay decreased for 50%
of these patients. Because the pilot PRELAPSE program has shown
its ability to reduce the relapse rate of schizophrenic patients,
the Department of Mental Health has transformed the PRELAPSE program
in to the Technology for Caring Relatives of Schizophrenic Patients
and aims to integrate this program within routine services in all
mental hospitals.
J Psychiatr Assoc Thailand
1999;44(2): 171-179.
Key words : Prelapse,
relapse, schizophrenia, relatives Thailand
* Department of Psychiatry,
Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla
90110, Thailand.
บทนำ
โครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทที่เรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษเหมือน
ๆ กันทั่วโลกว่า Prelapse (มาจากคำเต็มว่า Prevening relapse in schizophrenia)
นั้น ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2538 ซึ่งนับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา
4 ปีแล้ว ผู้นิพนธ์ในฐานะที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
จึงเห็นว่าควรจะได้สรุปเล่าสู่กันฟังถึงความเป็นมาและกิจกรรมการดำเนินงานต่าง
ๆ ที่ได้กระทำไปแล้วในโครงการ Prelapse เพื่อให้สมาชิกของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยได้ทราบและหรือเกิดความสนใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการนี้
ซึ่งปัจจุบันได้กลายรูปมาเป็นเทคโนโลยีในการดูแลญาติผู้ป่วยจิตเภท
สอดแทรกเข้าไปในการให้บริการทางจิตเวชตามปกติต่อไป
ประวัติความเป็นมา
Prelapse เป็นโครงการที่ให้สุขภาพจิตศึกษา
(psychoeducation) แก่ญาติและผู้ป่วยจิตเภท เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรคจิตเภท
จนนำไปสู่ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ผู้ป่วยมาตรวจและได้ยาฉีดรักษาโรคจิตชนิดออกฤทธิ์ระยะยาวตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งเชื่อว่าผลของความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถลดอัตราการกำเริบของผู้ป่วยจิตเภทลงจากร้อยละ
75 เหลือประมาณร้อยละ 15 และจะทำให้ภาระต่าง ๆ ทั้งทางด้าน เวลา เศรษฐกิจ
จิตใจ ทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากรทางสุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวช
ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ลดลงไปเป็นอันมาก โครงการ Prelapse จึงเป็นทั้งการรักษาและการป้องกันคือ
ทำให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และจะป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในที่สุด1,
2
มูลนิธิ Lundbeck แห่งประเทศเดนมาร์ค
ได้ริเริ่มให้มีโครงการ Prelapse ขึ้น โดยเริ่มจากบางประเทศในยุโรปก่อน
เช่น เยอรมัน ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ แล้วจึงขยายผลมาทางกลุ่มประเทศในซีกโลกตะวันออก
เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย3, 4
โดยในปัจจุบันนี้โครงการ Prelapse ได้เริ่มดำเนินการในบางประเทศทางยุโรปตะวันออกและละตินอเมริกาด้วย
ซึ่งเชื่อว่า โครงการ Prelapse นี้คงจะขยายผลไปยังอีกหลายประเทศต่อไป
การดำเนินการโครงการ Prelapse
ในประเทศไทย
ในประเทศไทย Prelapse ได้เริ่มขึ้นครั้งแรก
เมื่อเดือนมกราคม 2538 โดยบริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด แผนกเวชภัณฑ์
Lundbeck ได้รับทราบแนวคิดเรื่อง Prelapse จากมูลนิธิ Lundbeck ประเทศเดนมาร์ค
คุณวิรัตน์ โพธิ์ทองคำพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของบริษัท
บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด ในขณะนั้น จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับสื่อการสอน
(educational materials) ที่เป็นภาษาอังกฤษของโครงการนี้ เข้าเรียนปรึกษาขอความคิดเห็นเป็นการส่วนตัวกับคณาจารย์จิตแพทย์หลายท่าน
ซึ่งรวมทั้งท่านอธิบดีกรมสุขภาพจิต และประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นคือ
อาจารย์นายแพทย์ชูทิตย์ ปานปรีชา, ประธานวิชาการของราชวิทยาลัยฯ คือ
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนงพงา ลิ้มสุวรรณ และคณาจารย์จิตแพทย์อีกหลายท่าน
ซึ่งรวมทั้งท่านประธานราชวิทยาลัยฯ คนปัจจุบันคือ อาจารย์พลโทนายแพทย์อรุณ
เชาวนาศัย ด้วย ปรากฎว่าคณาจารย์ทุกท่านได้ให้ความสนับสนุนเป็นอย่างดี
เพราะมองเห็นว่าโครงการนี้น่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยจิตเภทโดยตรง
จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งที่เรียกว่า คณะกรรมการ
advisory board ของโครงการ Prelapse ซึ่งมีรายนามดังปรากฎชื่ออยู่ในตารางที่
1
ตารางที่ 1 แสดงรายนาม
advisory board ของโครงการ Prelapse
ศ.นพ.จำลอง
รศ.พญ.นันทิกา
รศ.นพ.พิเชฐ
พอ.นพ.วีระ
นพ.ธีระ
นพ.วีระ
ผศ.นพ.สุรพล
นพ.เกียรติภูมิ
นพ.ชวนันท์
พ.ต.ญ.พญ.นวพร
นพ.ฐานันดร์
อ.นพ.อรรถพล
นพ.ไพฑูรย์
พญ.พันธุ์นภา
|
ดิษยวณิช
ทวิชาชาติ
อุดมรัตน์
เขื่องศิริกุล
ลีลานันทกิจ
ชูรุจิพร
วีระศิริ
วงศ์รจิต
ชาญศิลป์
หิรัญวิวัฒน์กุล
ปิยะศิริศิลป์
สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
สมุทรสินธุ์
หวังดี
|
ศ.พญ.นงพงา
รศ.พญ.อรพรรณ
รศ.นพ.ไพรัตน์
ผศ.พญ.รวิวรรณ
พญ.พัชรินทร์
ผศ.นพ.ธนา
อ.นพ.นิพัทธิ์
นพ.กิตติพงศ์
พญ.ดารเณศ
พ.ต.นพ.พงศธร
อ.นพ.สุขเจริญ
พญ.อำไพขนิษฐ์
นพ.พิชิตพงษ์
อ.สุชีรา
|
ลิ้มสุวรรณ
ทองแตง
พฤกษชาติคุณากร
นิวาตพันธุ์
วนิชานนท์
นิลชัยโกวิทย์
กาญจนธนาเลิศ
สานิชวรรณกุล
เกษไสว
เนตราคม
ตั้งวงษ์ไชย
สมานวงศ์ไทย
อริยะวงษ์
ภัทรายุตวรรตม์
|
ในเดือนมกราคม 2538 บริษัท บี
เอ็ล ฮั้ว จำกัด แผนกเวชภัณฑ์ Lundbeck จึงได้นำแบบสอบถามของ ศาสตราจารย์
Kissling ที่ได้ทำการสำรวจการใช้ยารักษาโรคจิตของจิตแพทย์ในประเทศเยอรมัน5
มาให้รองศาสตราจารย์นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์ เพื่อปรับปรุงแบบสอบถามดังกล่าวให้เหมาะกับสถานการณ์ในประเทศไทย
และได้ขอความร่วมมือจากจิตแพทย์ทุกท่านให้ช่วยกันตอบแบบสอบถามดังกล่าว
ซึ่งวิธีการนี้ได้ดำเนินการในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน
จากข้อมูลของแต่ละประเทศที่รวบรวมได้ จึงจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง
advisory board ของโครงการ Prelapse จากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย
โดยจัดการประชุมขึ้นที่โรงแรม Pan Pacific กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23
มิถุนายน 2538 โดยมีศาสตราจารย์ Wolfgang Fleischhacker จากมหาวิทยาลัย
Innsbruck ประเทศออสเตรียมาเป็นวิทยากร สำหรับข้อมูลการศึกษาในประเทศไทยนั้น
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้รายงานไว้แล้ว6
และโครงการ Prelapse ก็ได้พัฒนามาตั้งแต่บัดนั้น
ต่อมา Advisory board ของโครงการ
Prelapse ได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง และมีการตั้งคณะทำงานเพื่อนิพนธ์และผลิตหนังสือ
คู่มือ เอกสาร วิดิทัศน์ฯ ในภาคภาษาไทย ดังปรากฏรายชื่อในตารางที่
2 เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานจริงของ Prelapse ทั้งนี้เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้เสร็จสมบูรณ์ประมาณกลางปี
2539
ตารางที่ 2 รายนามผู้นิพนธ์หนังสือ
การป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภท : คู่มือสำหรับ
ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต
ความก้าวหน้าในการรักษาโรคจิตเภท
รศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์
การให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบกลุ่ม
รศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ
อาจารย์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์
ณ พัทลุง
อาจารย์ นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
อาจารย์วรพร อินทบุหรั่น
การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับญาติ
นพ.ธีระ ลีลานันทกิจ
ผศ.นพ.ธนา นิลชัยโกวิทย์
นพ.ฐานันดร์ ปิยะศิริศิลป์
พญ.พัชรินทร์ วนิชานนท์
พญ.ดารเณศ เกษไสว
การให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบกลุ่ม
รศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ
อาจารย์ นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์
ณ พัทลุง
อาจารย์ นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
อาจารย์วรพร อินทบุหรั่น
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท
นพ.ธีระ ลีลานันทกิจ
ผศ.นพ.ธนา นิลชัยโกวิทย์
นพ.ฐานันดร์ ปิยะศิริศิลป์
พญ.พัชรินทร์ วนิชานนท์
พญ.ดารเณศ เกษไสว
บทโทรทัศน์โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ผศ.นพ.สุรพล วีระศิริ
จากนั้นโครงการ Prelapse จึงได้ถูกเรียนเสนอท่านอธิบดีกรมสุขภาพจิตในขณะนั้น
คือ อาจารย์นายแพทย์ชูทิตย์ ปานปรีชา ซึ่งท่านได้กรุณาบรรจุโครงการเข้าเป็นนโยบายของกรมฯ
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 กรมสุขภาพจิตและราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
จึงได้จัดงานแถลงข่าวแก่สาธารณชนและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
การกำเริบของโรคจิตเภท ขึ้นที่โรงแรม Pan Pacific ซึ่งที่ประชุมได้สรุปให้โรงพยาบาลจิตเวชต่อไปนี้
5 แห่ง นำโครงการ Prelapse ไปปฏิบัติเป็นการนำร่องก่อน ได้แก่ โรงพยาบาลศรีธัญญา
โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซึ่งต่อมารองศาสตราจารย์นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์
ได้ชักชวนให้หน่วยงานในโรงพยาบาลอีก 3 แห่งเข้าร่วมในโครงการนี้ ได้แก่
1. โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์
คือ โรงพยาบาลประสาทสงขลา
2. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คือ ฝ่ายจิตเวช โรงพยาบาลยะลา และ
3. โรงพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
คือ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ในวันที่ 25 กันยายน 2539 นายแพทย์ธนู
ชาติธนานนท์ นายแพทย์ใหญ่กรมสุขภาพจิต ผู้ดูแลโครงการ Prelapse ของกรมฯ
ในขณะนั้น และอาจารย์นายแพทย์ธีระ ลีลานันทกิจ ประธานโครงการฯ ของ
5 โรงพยาบาลข้างต้น ได้จัดการประชุมTraining Prelapse to the Trainers
ขึ้น โดยมีรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกา ทวิชาชาติ และรองศาสตราจารย์นายแพทย์
พิเชฐ อุดมรัตน์ เป็นวิทยากร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม คือ คณะผู้ดำเนินโครงการ
Prelapse ของโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั้ง 5 แห่ง และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์อีก
1 แห่ง โดยประกอบไปด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์
วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในโครงการ ตลอดจนเข้าใจในเอกสาร
หนังสือ คู่มือ และวิดิทัศน์ฯ เพื่อสามารถนำไปดำเนินการในโรงพยาบาลของตัวเองต่อไป
โครงการ Prelapse ได้ดำเนินการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติผู้ป่วยชุดแรกในประเทศไทย
โดยใช้ model ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก่อน ต่อมาแต่ละโรงพยาบาลได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ซึ่งได้ดำเนินการให้สุขภาพจิตศึกษาในโรงพยาบาลข้างต้นทั้ง 8 แห่ง จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
และได้รับการตอบสนองจากญาติผู้ป่วยผู้เข้าร่วมโครงการอย่างดียิ่ง
ในวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ได้มีการประชุมเพื่อประเมินผลโครงการ
พบว่าโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง ได้มีการจัดกลุ่ม psychoeducation ให้กับญาติผู้ป่วยจิตเภทไปแล้วเป็นจำนวนกว่า
100 ครอบครัว ในการประชุมนี้โรงพยาบาลแต่ละแห่งได้นำเสนอถึงวิธีการคัดเลือกญาติ
การทำกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่พบ เสนอผล pre-test, post-test
ในด้านความรู้และเจตคติของญาติที่เข้ากลุ่ม และการประเมินโครงการของญาติ
ตลอดจนข้อเสนอแนะในการใช้แบบประเมินต่าง ๆ ซึ่งในช่วงท้ายของการประชุมอาจารย์นายแพทย์ธนู
ชาติธนานนท์ ได้กล่าวสรุปว่าขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการ Prelapse นั้นมีทั้งหมด
7 ขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการกำหนดมาตรฐานและกิจกรรม,
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดลองปฏิบัติในโรงพยาบาลจิตเวช 5 แห่ง และโรงพยาบาลอื่น
ๆ อีก 3 แห่ง รวมทั้งหมดเป็น 8 แห่ง, ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสรุปผล ปัญหา
อุปสรรค และความเป็นไปได้, ขั้นตอนที่ 4 เป็นการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานและกิจกรรม,
ขั้นตอนที่ 5 และ 6 เป็นการขยายผลไปสู่โรงพยาบาลจิตเวช และโรงพยาบาลศูนย์อื่น
ๆ ให้เป็นการเข้าร่วมโครงการ Prelapse โดยความสมัครใจ และขั้นตอนสุดท้ายหรือขั้นตอนที่
7 เป็นการขยายผลไปยังหน่วยบริการจิตเวชอื่น ๆ
วันที่ 16 กรกฎาคม 2540 ได้มีการประชุมของคณะทำงานเพื่อปรับปรุงแบบประเมิน
รวมทั้ง pre-test, post-test เพื่อให้สั้น กระชับ และเหมาะสมยิ่งขึ้น
รวมทั้งวางแนวทางที่จะติดตามสัมฤทธิผลของโครงการนี้ต่อไปในระยะยาว
วันที่ 22 พฤษภาคม 2541 อาจารย์นายแพทย์ปรีชา
อินโท ท่านอธิบดีกรมสุขภาพจิต ในขณะนั้นได้จัดให้มีการประชุมเพื่อสรุปผลของโครงการ
Prelapse เฉพาะในโรงพยาบาลที่สังกัดกรมสุขภาพจิต 5 แห่ง ได้ความว่า
ในช่วง 1 ปีเศษที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มแก่ญาติผู้ป่วยจิตเภทไปแล้ว
7 รุ่น โดยมีญาติของผู้ป่วยทั้งหมด 54 คนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเลยในช่วง
1 ปีถัดมา หรือมีจำนวนวันของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลงหรือไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเลยในช่วง
1 ปีถัดมา (ในจำนวนนี้แบ่งเป็นร้อยละ 81.5 ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
และร้อยละ 18.5 มีจำนวนวันของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง) เมื่อพิจารณาถึงจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาล
พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาลเท่าเดิม
(กล่าวคือเมื่อเปรียบเทียบ 1 ปีก่อนและหลังที่ญาติมาเข้าอบรม ในจำนวนนี้ร้อยละ
85.2 ก็ยังไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเหมือนเดิม, ร้อยละ 11.1
รับไว้ 1 ครั้ง เหมือนกันทั้งช่วงก่อนและหลัง, และร้อยละ 3.7 รับไว้
2 ครั้งเหมือนกันทั้งช่วงก่อนและหลัง) ขณะที่ร้อยละ 44.4 ของผู้ป่วยทั้งหมด
มีจำนวนครั้งของการอยู่โรงพยาบาลน้อยลง (ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลถึงร้อยละ
91.7 และอยู่โรงพยาบาลน้อยลง 1 ครั้ง ร้อยละ 8.3) และมีเพียงร้อยละ
5.6 ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้นที่ต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลบ่อยขึ้น
(มากกว่า 1 ครั้ง) รายละเอียดในเรื่องผลของโครงการนี้ สามารถหาอ่านได้จากบทความเรื่อง
ผลของโครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย : เปรียบเทียบหนึ่งปีก่อนและหลังเริ่มโครงการ7
ในขณะเดียวกัน ทางสำนักพัฒนาสุขภาพจิต
โดยอาจารย์นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ซึ่งต้องการพัฒนาเทคโนโลยีทางสุขภาพจิตก็เห็นว่าเทคโนโลยีของโครงการ
Prelapse น่าจะถือเป็นต้นแบบในการปรับมาเป็นเทคโนโลยีของการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติผู้ป่วยจิตเภทขึ้นได้
จึงจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเรียกว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและญาติของสถานบริการสุขภาพจิต
สังกัดกรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 โดยแบ่งเทคโนโลยีออกเป็น
3 กลุ่มคือ เทคโนโลยีสำหรับญาติผู้ป่วยจิตเภท เทคโนโลยีสำหรับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง
และ เทคโนโลยีการสร้างเสริมทักษะชีวิตสำหรับผู้ป่วยจิตเภท โดยเรียนเชิญ
รองศาสตราจารย์นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์ ให้ไปเป็นวิทยากร
โดยเทคโนโลยีสำหรับญาติผู้ป่วยจิตเภทนั้น
แม้จะยึดแนวทางของโครงการ Prelapse เป็นต้นแบบก็ตาม แต่ได้ปรับปรุงรูปแบบใหม่โดยให้ญาติได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(participatory learning, PL) ทั้งหมด โดยมอบหมายให้ แพทย์หญิงพันธุ์นภา
กิตติรัตนไพบูลย์ และคณะ จากโรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่ กับ นายแพทย์สุพล
วิภาวีพลกุล และคณะ จากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ไปสร้างแผนการสอน
และนำกลับมาประชุมร่วมกันกับ รองศาสตราจารย์นายแพทย์พิเชฐ อุดมรัตน์
อีกหลายครั้ง ก่อนนำไปทดสอบองค์ประกอบตามหลักของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
แล้วนำไปปรับปรุงใหม่ เพื่อนำกลับไปใช้จริง ๆ กับกลุ่มญาติผู้ป่วยจิตเภท
จนสุดท้ายได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติผู้ป่วยจิตเภท8
จากนั้นจึงได้ ฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศเมื่อวันที่
31 มีนาคม - 2 เมษายน 2542 ในการใช้เทคโนโลยีทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว
จะเห็นได้ว่าโครงการ Perlapse
หรือโครงการป้องกันการกำเริบของโรคจิตเภทในประเทศไทย ที่ได้เริ่มดำเนินการไปเมื่อปี
พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบันนั้น ได้มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ
จากเดิมที่เป็นเพียงการศึกษานำร่องก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นเทคโนโลยีการดูแลญาติผู้ป่วยจิตเภท
โดยคาดหวังว่าบุคลากรทางสุขภาพจิตที่ได้รั
|