เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย    Journal of the Psychiatric association of Thailand     CONTENT

ความชุกของโรคติดการพนันในบุคลากรของโรงพยาบาลนครปฐม

อัจฉรา พงษ์ศศิธร พ.บ. *

บทคัดย่อ

โรคติดการพนันเป็นความผิดปกติที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้คนทั่วโลก ลักษณะพิเศษของโรคนี้ได้แก่ การเล่นการพนันที่เกิดซ้ำๆ บ่อยๆ และมีผลเสียหายต่อตัวเอง ครอบครัว และ/หรือ อาชีพการงาน ได้มีการศึกษาหลายรายถึงอุบัติการณ์ความชุกของโรคนี้ พบว่ามีความชุกที่สูงมากในผู้ใหญ่ การวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องเพื่อหาความชุกของโรคนี้ โดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก South Oaks Gambling Screen พบว่าบุคลากรของโรงพยาบาลนครปฐมมีผู้ติดการพนันคิดเป็นร้อยละ 7.5 (ชายร้อยละ 22.7, หญิงร้อยละ 5.8) ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดการพนัน 3 ลำดับแรกคือ การติดสารเสพย์ติด ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย และเพศชาย การพนันที่เล่นมักเป็นหวย ล็อตเตอรี่ และไพ่ ผู้ติดการพนันร้อยละ 25 รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพจิต และร้อยละ 18.8 เคยมีความคิดอยากฆ่าตัวตายมาก่อน

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(4):308-319.

คำสำคัญ ความชุก โรคติดการพนัน โรงพยาบาลนครปฐม

 * กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลนครปฐม นครปฐม 73000

Prevalence of Pathological Gambling among Employees of Nakornprathom Hospital

Atchara Pongsasithorn, M.D.*

Abstract

Pathological gambling is a disabling disorder that affects people around the world. Essential features of pathological gambling involve constantly recurring gambling behavior. This behavior is maladaptive and consequently, personal life, family life, social life, and/or vocational life could be disrupted. Several studies have shown a high prevalence of pathological gambling among adult population. This research is a pilot study about the prevalence of pathological gambling. The questionnaires used in this research is based on the South Oaks Gambling Screen survey. The prevalence of pathological gambling among employees of Nakornprathom Hospital is 7.5% (22.7% of male, 5.8% of female). The three most important risk factors are being a drug addict, being educated under secondary school level, and being a male gender. The most prevalent gambling types are lotteries and pokers. Twenty-five per cent of the respondents think that they have psychological problems and 18.8% used to have suicidal idea.

J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(4): 308-319.

Key words: prevalence, pathological gambling, Nakornprathom Hospital

 * Department of Psychiatry, Nakornprathom Hospital, Nakornprathom 73000.

บทนำ

โรคติดการพนัน หรือ pathological gambling เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ impulse control disorder ตามการจัดของ DSM–IV1 และในกลุ่มของ habit and impulse disorder ตาม ICD-102 ความผิดปกตินี้ เป็นลักษณะของการเล่นการพนันซ้ำแล้วซ้ำอีกบ่อยมาก จนมีผลต่อความเป็นอยู่ของชีวิต โดยทำให้เกิดความเสียหายต่อคุณค่าและข้อผูกมัดในสังคม อาชีพ วัตถุทรัพย์สมบัติ และครอบครัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เสี่ยงต่อการเป็นหนี้เป็นสินจำนวนมาก และอาจโกหกหลอกลวงหรือละเมิดต่อกฎหมายเพื่อให้ได้เงินหรือหลีกเลี่ยงการใช้หนี้ มีความอยากที่จะเล่นการพนันมากจนยากที่จะควบคุมได้ ร่วมกับการหมกมุ่นอยู่ในความคิดและการวาดมโนภาพของการเล่นการพนัน และรายละเอียดต่างๆ ในการเล่นการพนัน ความหมกมุ่นและความอยากนี้มักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ชีวิตเกิดสภาวะเครียด การพนันนั้นมีแพร่หลายทั่วไปในสังคมทั่วโลก ดังที่พระพุทธองค์ทรงจัดไว้ว่าเป็นข้อหนึ่งในอบายมุข 6 (ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชีวิต) ซึ่งตามพื้นฐานของชีวิตชาวพุทธ การละเว้นการพนันเป็นการจัดระเบียบชีวิตและระบบความสัมพันธ์ในสังคมให้เป็นพื้นฐานที่มั่นคง3

ได้มีการศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของผู้ติดการพนัน พบว่ามีความชุกของโรคนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในอัตราระหว่าง 1-3 ล้านคน (ร้อยละ 2-3 ในผู้ใหญ่) พบมากในเพศชาย1 และมีความสัมพันธ์กับ mood disorder (มีรายงานพบ depression ถึงร้อยละ 21)4, alcohol and substance use disorder5, anxiety disorder, attention deficit hyperactivity disorder, และ personality disorder6, alexithymia7 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าโรคนี้สามารถรักษาได้โดย insight-oriented psychotherapy, behavior therapy (imaginal desensitization)8, cognitive therapy9, cognitive-behavioral therapy10, โปรแกรมการรักษาแบบผู้ป่วยใน (inpatient treatment program)11 ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ และ gambler anonymous12 ในทางการรักษาด้วยยา มีรายงานว่าสามารถรักษาโรคนี้ด้วย lithium, clomipramine5,12-17 และ fluvoxamine18 และยังมีการศึกษาในแง่ของนิติเวชวิทยาด้วย พบว่าผู้ติดการพนันเหล่านี้มีอัตราการก่ออาชญากรรมที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป19 ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงเป็นโรคที่ควรให้ความสำคัญโรคหนึ่ง

ดังนั้นหากมีเครื่องมือตรวจวัดที่มีความไว และความจำเพาะสูงที่จะค้นหาบุคคลเหล่านี้ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ที่ติดการพนันได้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่แปลมาจาก South Oaks Gambling Screen20 อาจนำไปใช้แพร่หลายเป็น screening test ต่อไปได้ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาหาความชุกของโรคติดการพนันในบุคลากรของโรงพยาบาลนครปฐม ซึ่งเป็นการศึกษานำร่อง (pilot study) สำหรับการศึกษาที่มากขึ้นในระดับประเทศต่อไป

วัสดุและวิธีการ

ประชากรที่ศึกษาเป็นข้าราชการของโรงพยาบาลนครปฐม โดยส่งแบบสอบถามด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) ตามหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 300 ราย จากประชากรทั้งหมด 1,370 ราย แล้วให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง

เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลทั่วไปคือ เพศ สถานภาพการสมรส ตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ประวัติครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช และประวัติการใช้สารเสพย์ติด ส่วนที่สองเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพนัน ใช้แบบสอบถามที่แปลมาจาก South Oaks Gambling Screen (SOGS) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจหาผู้ป่วยโรคติดการพนันที่มีเหตุผลและเชื่อถือได้20 แบบสอบถามนี้ดัดแปลงมาจากเกณฑ์ของ DSM-III21 และเข้าได้กับเกณฑ์ของ DSM-IV1 เครื่องมือชุดนี้ได้รับการใช้กันอย่างแพร่หลายจากคณะผู้วิจัยในต่างประเทศ 9,15,22-27 แบบสอบถามจะประกอบไปด้วยหัวข้อ 20 หัวข้อ ซึ่งรวมทั้งหัวข้อที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเองไม่ได้ การโอ้อวดถึงชัยชนะ และการปกปิดผู้อื่นเมื่อเสียการพนัน และปัญหาทางการเงิน

การคิดคะแนน

ให้คะแนน 1 คะแนน - เมื่อเลือกคำตอบ ข้อ ค,ง ในคำถามที่ 4

- เมื่อเลือกคำตอบ ข้อ ข,ค ในคำถามที่ 5,6

- เมื่อตอบว่า “ใช่” ในคำถามข้อที่ 7 ถึง 16

(ไม่นับรวมข้อที่ 12 ,16.10 และ16.11)

จากเกณฑ์การทดสอบของ SOGS ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนนจาก 20 คะแนน จะอยู่ในกลุ่ม “น่าจะเป็นโรคติดการพนัน” หรือ probable pathological gambling ผู้ที่ได้คะแนน 1-4 คะแนน แสดงว่า “มีปัญหาเรื่องการพนัน” หรือ problem gambling ในการวิจัยครั้งนี้จะถือว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นโรคติดการพนัน เมื่อได้คะแนนเท่ากับ 5 ขึ้นไป (ดูแบบทดสอบในภาคผนวก)

ผลการวิจัย

จากแบบสอบถามที่ส่งไป 300 ชุด มีผู้ตอบกลับ 225 ราย เป็นข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ 12 ราย ดังนั้นข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 213 ราย เป็นชาย 22 ราย เเละหญิง 191 ราย (อัตราส่วนระหว่างชายกับหญิง เท่ากับ 1:8.7 ) อายุเฉลี่ย (mean ) 33.2 ปี อายุน้อยที่สุด 21 ปี มากที่สุด 56 ปี ค่าความแปรปรวนของอายุ (variance) เท่ากับ 64.5 สถานภาพสมรสเป็นคู่ 111 ราย โสด 93 ราย หย่าร้าง 6 ราย และเป็นม่าย 3 ราย เป็นข้าราชการ 143 ราย ลูกจ้าง 70 ราย การศึกษาอย่างน้อยประถมศึกษาที่ 6 จำนวน 4 ราย จบมัธยมศึกษาตอนต้น 11 ราย จบมัธยมศึกษาตอนปลาย 32 ราย จบอนุปริญญา 57 ราย จบปริญญาตรี 109 ราย รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท 47 ราย รายได้ 5,001-10,000 บาท 79 ราย มากกว่า 10,001 บาท 87 ราย มีผู้ติดบุหรี่ 4 ราย เหล้า 4 ราย และอื่น ๆ 1 ราย (ยานอนหลับ)

การศึกษานี้พบว่าผู้ติดการพนันมีทั้งหมด 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.5 เป็น ชาย 5 ราย และหญิง 11 ราย คิดเป็น ร้อยละ 22.7 และ 5.8 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 51-60 ปี สถานภาพสมรส ม่าย มีอาชีพเป็นลูกจ้างและการศึกษาอย่างมากประถมศึกษาปีที่ 6 รายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท จากข้อมูลเรื่องการใช้สารเสพย์ติด พบว่าผู้ติดการพนันติดสารเสพย์ติดมากกว่าผู้ที่ไม่ติดการพนัน ซึ่งสารเสพย์ติดที่นิยมใช้คือ บุหรี่ ดังแสดงในตารางที่ 1

จากการศึกษานี้พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการติดการพนันมากที่สุดคือ การติดสารเสพย์ติด โดยผู้ที่ติดสารเสพย์ติดมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดการพนันมากกว่าผู้ที่ไม่ติดมากถึง 12.80 เท่า รองลงมาคือผู้ที่จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่เรียนสูงกว่า 8.50 เท่า เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 4.81 เท่า คนที่ยังอยู่กับคู่ของตนจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่อยู่คนเดียว 1.58 เท่า ดังแสดงรายละเอียดไว้ในตารางที่ 2

ผู้ไม่ติดการพนันรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.6 ส่วนผู้ที่ติดการพนันรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.0 ซึ่งมีความแตกด่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้น ผู้ที่ไม่ติดการพนันมีเพียง 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.6 ผู้ที่ติดการพนันมีความคิดนี้ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.0 ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังแสดงในตารางที่ 3 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ติดการพนันให้ประวัติว่ามีคนในครอบครัวเล่นการพนันมากถึงร้อยละ 50 ส่วนผู้ที่ไม่ติดการพนันให้ประวัติการเล่นการพนันในครอบครัวเพียงร้อยละ 25.4

ชนิดของการพนันที่ผู้ติดการพนันนิยมเล่น คือ หวย ล็อตเตอรี่ ไพ่ ลูกเต๋า ไฮโล และการพนันกีฬา ตามลำดับ จำนวนเงินที่ใช้พนันส่วนมากจะใช้เท่ากับ 10-100 บาทต่อวัน (ร้อยละ 50 ) มีบางรายใช้มากถึง 1,000-10,000 บาทต่อวัน (ร้อยละ 12.5 ) เงินที่นำมาใช้ส่วนมากจะมาจากคู่ครอง ค่าใช้จ่ายในบ้าน ญาติ และธนาคาร ตามลำดับ ผู้ติดการพนันมักเล่นการพนันน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง

ลักษณะการติดการพนันของผู้ติดการพนันมีดังนี้ ร้อยละ 37.5 ไม่เคยกลับไปเล่นการพนันเพื่อเอาเงินคืน ร้อยละ 37.5 มีบางครั้งที่กลับไปเล่นเอาเงินคืนเมื่อเล่นเสีย ร้อยละ 18.8 จะกลับไปเอาคืนบ่อยครั้ง และมีส่วนน้อยเพียงร้อยละ 6.3 เท่านั้นที่กลับไปทุกครั้งที่เล่นเสียเพื่อเอาเงินคืน ส่วนการอ้างว่าชนะทั้งที่แพ้นั้น ร้อยละ 62.5 ไม่เคยเลย ร้อยละ 37.5 เคยบ้างแต่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่เล่นเสีย และมีถึงร้อยละ 68.8 ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการพนัน ร้อยละ 56.3 มีการเล่นการพนันมากกว่าที่ตั้งใจไว้

ผู้ติดการพนันจำนวนมากที่ถูกผู้อื่นตำหนิเรื่องการพนันและรู้สึกผิดที่เล่นการพนัน ซึ่งมีถึงร้อยละ 87.5 และ 93.8 ตามลำดับ ร้อยละ 56.3 มีความคิดอยากหยุดเล่นการพนัน แต่ไม่คิดว่าจะทำได้และมีความคิดปิดบังไม่ให้ผู้อื่นทราบเกี่ยวกับเรื่องการมีปากเสียงกับบุคคลที่อยู่ด้วยกันในเรื่องการใช้เงินและในเรื่องเงินที่ใช้ในการพนันมีร้อยละ 62.5 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ ร้อยละ 31.3 มีการยืมเงินผู้อื่นแล้วไม่ใช้คืน ส่วนที่จะทำให้เสียงานนั้นมีร้อยละ 43.8 ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4

วิจารณ์

จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความชุกของโรคติดการพนันในบุคลากรของโรงพยาบาลนครปฐมถึงร้อยละ 7.5 ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาที่ผ่านมาของ นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล และคณะ ที่พบความชุกของโรคติดการพนันในบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลร้อยละ 828 แต่แตกต่างกับการศึกษาของต่างประเทศ เช่น การศึกษาของ Volberg ในมลรัฐนิวเจอร์ซี่ และแมรี่แลนด์ พบความชุกของโรคติดการพนัน ร้อยละ 1.4 และ 1.5 ตามลำดับ26 Ladoceur พบความชุกของโรคนี้ในเมืองควิเบค ประเทศ แคนาดา ร้อยละ 1.222 Volberg และคณะ ได้ทำการศึกษาถึงความชุกของโรคนี้ในประเทศนิวซีแลนด์ พบความชุกร้อยละ 4.225 Westphal และคณะ พบความชุกของโรคนี้ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 21 ปี ร้อยละ 4.829 ส่วน Becona พบความชุกของโรคนี้ในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละ 2.2 และ 1.6 ตามลำดับ11 ซึ่งสาเหตุของความแตกต่างอันนี้อาจเนื่องมาจากวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน แต่จะเห็นว่ามีแนวโน้มของการเกิดโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามปีที่ผ่านไปทั้งนี้อาจเป็นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบไปทั่วโลกก็เป็นได้

ในแง่ของความแตกต่างของเพศ พบว่ามีความชุกของโรคติดการพนันในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญ คือ ร้อยละ 22.7 และ 5.8 ตามลำดับ เช่นเดียวกับการศึกษาของ นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล และคณะ ก็พบความชุกของโรคนี้ในเพศชายและหญิง ร้อยละ 15.3 และ 5.4 ตามลำดับ28 และไม่แตกต่างกับการศึกษาในต่างประเทศที่ผ่านมา อย่างเช่น ที่ฮ่องกง Chen และคณะ พบความชุกของโรคนี้ในเพศชาย ร้อยละ 2.45 และเพศหญิง ร้อยละ 0.1615 Volberg และคณะ พบว่ามีความชุกในเพศชายถึงร้อยละ 6825 Legarda พบสัดส่วนของเพศชายร้อยละ 7023

สำหรับอายุของผู้ติดการพนันส่วนมากจะอยู่ในช่วง 51-60 ปี อาจเป็นเพราะช่วงอายุนี้เลยวัยทำงานไปแล้ว มีเวลาว่างมากเลยทำให้มีโอกาสไปเล่นการพนันมากขึ้น ซึ่งต่างกับการศึกษาของ นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล และคณะ28 และการศึกษาในต่างประเทศของ Ladoceur และ Sommers ที่พบว่าผู้ติดการพนันมีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี22,24

ผู้ติดการพนันมีการใช้สารเสพย์ติด ปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งความคิดที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ไม่ติดการพนัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการเล่นการพนันเอง หรือเป็นจากโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับโรคนี้ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ผู้ติดการพนันมีประวัติการเล่นการพนันในครอบครัวถึงร้อยละ 50 นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล และคณะ พบว่าผู้ติดการพนันมีบิดาหรือมารดา มีปัญหาเรื่องการพนันร้อยละ 2528 Russo และคณะ พบว่ามีร้อยละ 23 ของผู้ติดการพนันที่มีประวัติปัญหาการเล่นการพนันในครอบครัว12 ส่วน Sommer พบว่ามีผู้มีปัญหาเรื่องการพนันในครอบครัวผู้ติดการพนันถึงร้อยละ 9424 จะเห็นว่าผู้ติดการพนันส่วนใหญ่แล้วพบปัญหาเรื่องการพนันในครอบครัว อาจบ่งบอกถึงเรื่องของพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และการเอาแบบอย่าง

ผู้ติดการพนันเพียง 3 ราย (ร้อยละ 18.8) เท่านั้นที่คิดว่าตนเองมีหรือเคยมีปัญหาเรื่องการพนันมาก่อน เช่นเดียวกับ นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล และคณะ Volberg และคณะ ที่พบว่าผู้ติดการพนันจะคิดว่าตัวเองมีปัญหามีเพียง ร้อยละ 56.2528 และร้อยละ 3626 ตามลำดับ นั่นอาจเป็นการปฏิเสธความจริงของผู้ติดการพนัน ทำให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาตามคลินิกจิตเวชด้วยเรื่องติดการพนันมีจำนวนน้อยมาก

การศึกษานี้ได้ศึกษาถึงระดับการศึกษาในผู้ติดการพนันด้วย พบว่ามีผู้ที่จบการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นมีถึงร้อยละ 33.3 และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดการพนันมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าถึง 8.50 เท่า ซึ่งอาจบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับการติดการพนันได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาในลักษณะนี้มาก่อน ประกอบกับการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษานำร่อง ซึ่งทำการวิจัยในวงจำกัดเพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในโรงพยาบาลซึ่งส่วนมากมีอาชีพพยาบาลและเป็นเพศหญิง อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 20-40 ปี) นอกจากนี้การติดการพนันเป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของบุคคลทั่วไป จึงมีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความจริงในแบบสอบถาม ทำให้ไม่อาจบอกความชุกที่แท้จริงของโรคติดการพนันในประชากรของประเทศไทยได้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาในชุมชนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง โดยอาจใช้แบบสอบถามชุดนี้ผ่านทางไปรษณีย์หรือทางโทรศัพท์ เพื่อวัดขนาดของปัญหา และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันรวมทั้งการรักษาในระดับชุมชนต่อไป

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบพระคุณนายแพทย์วิชิต บุญยวรรธนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม ที่ให้การสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลนครปฐมทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม

เอกสารอ้างอิง

  1. American Psychiatric Association: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-IV. 4 th ed. Washington DC: American Psychiatric Press, 1994:615-8.
  2. World Health Organization. International Statistical Classification of Disease and Related Health Problems. 10th ed. Geneva: World Health Organization, 1992
  3. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). ธรรมนูญชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 200. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธ-ธรรม, 2541.
  4. Becona E, Delcarmen Lorenzo M, Fuentes MJ. Pathological gambling and depression. Psychol Rep 1996; 78:635-40.
  5. Leisure HR, Biume SB. Evaluation of patients treated for pathological gambling in a combined alcohol, substance abuse and pathological gambling treatment unit using the addiction severity index. Br J Addict 1991; 86:1017-28.
  6. Mc Elroy SL, Hudson JI, Pope HG, Keck PE, Aizleg HG. The DSM-III-R impulse control disorders not elsewhere classified: clinical characteristics and relationship to other psychiatric disorders. Am J Psychiatry 1992; 149:318-27.
  7. Lumley MA, Roby KJ. Alexithymia and pathological gambling. Psychother Psychosom 1995; 63:201-6.
  8. Mc Conaghy N, Blasczynski A, Frankova A. Comparison of imaginal desensitisation with other behavioral treatments of pathological gambling a two-to-nine-year follow-up. Br J Psychiatry 1991; 159:390-3.
  9. Ladouceur R, Sylvain C, Letarte H, Giroux I, Jacques C. Cognitive treatment of pathological gamblers. Behav Res Ther 1998; 36:1111-9.
  10. Sylvain C, Ladouceur R, Boisvert JM. Cognitive and behavioral treatment of pathological gambling: a controlled study. J Consult Clin Psychol 1997; 65:727-32.
  11. Becona E. Pathological gamblimg in Spanish children and adolescents: an emerging problem. Psychol Rep 1997; 81:275-87.
  12. Russo AM, Tablr JI, Mc Cormick RA, Ramirez LF. An outcome study to an inpatient treament program for pathological gambling. Hosp Community Psychiatry 1984; 35:823-7.
  13. Mc Conaghy N. Assessment and management of pathological gambling. Br J Hosp Med 1988; 40:131-5.
  14. Allcock CC. Pathological gambling. Aust NZ J Psychiatry 1986; 20:259-65.
  15. Chen CN, Wong J, Lee N, et al. The Shatin community health survey in Hong Kong. Arch Gen Psychiatry 1993; 50:125-33.
  16. Taber JI, Mc Ormick RA, Russo AM, Adkins BJ, Ramirez LF. Follow-up of pathological gambling after treatment. Am J Psychiatry 1987; 144:757-61.
  17. Hollander E, Frenkel M, Decaria C, Trungold S, Stein DJ. Treatment of pathological gambling with clomipramine. Am J Psychiatry 1992; 149:710-11.
  18. Hollander E, DeCaria CM, Mari E, et al. Short-term single-blind fluvoxamine treatment of pathological gambling. Am J Psychiatry 1998; 155:1781-3.
  19. Blaszynski A, Silove D. Pathological gambling: Forensic issues. Aust NZ J Psychiatry 1996; 30:358-69.
  20. Leisure HR, Biume SB. South Oaks Gambling Screen (SOGS): a new instrument for identification of pathological gamblers. Am J Psychiatry 1987; 144 :1184-8.
  21. American Psychiatric Association: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder. 3rd ed. Washington DC: American Psychiatric Press, 1980:324-5.
  22. Ladouceur R. Prevalence estimates of pathological gambling in Quebec. Can J Psychiatry 1991; 36:732-4.
  23. Legarda JJ, Babio R, Abreu JM. Prevalence estimates of pathological gambling in Seville (Spain). Br J Addict 1992; 87:767-70.
  24. Sommers I. Pathological gambling : estimating prevalence and group characteristics. Int J Addict 1988; 23:477-90.
  25. Volberg RA, Abbott MW. Lifetime prevalence estimates of pathological gambling in New Zealand. Inter J Epidemiol 1994; 23:97.
  26. Volberg RA, Steadman HJ. Prevalence estimates of pathological gamblimg in New Jersy and Maryland. Am J Psychiatry 1989; 146:1618-9.
  27. Volberg RA, Steadman HJ. Refining prevalence estimates of pathological gambling. Am J Psychiatry 1988; 145:502-5.
  28. นวนันท์ ปิยวัฒน์กูล, สมพร พึ่งปัญญาเลิศ, มาลัย เฉลิมชัยนุกูล. ความชุกของโรคติดการพนันในบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสมาคมจิตเเพทย์แห่งประเทศไทย 2537; 39:58-67.
  29. Westphal JR, Rush J. Pathological gambling in Louisiana: an epidemiological perspective. J Louisiana State Med Soc 1996; 148:353-8.

ภาคผนวก (หรือดาวโหลดใน pdf format)

แบบทดสอบเรื่องการติดการพนัน

1. ในชีวิตของท่าน ท่านเคยเล่นการพนันชนิดใดบ้าง และท่านเล่นบ่อยเพียงใด กรุณาทำเครื่องหมาย 3 ในช่อง “ไม่เคยเล่น” , “น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง”,หรือ “สัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า”

 

ไม่เคยเล่น

เล่นการพนัน

   

น้อยกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์

มากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์

1. เล่นไพ่เพื่อการพนัน      
2. เล่นม้า,ชนไก่      
3. พนันกีฬาเช่น มวย ,ฟุตบอล      
4. เล่นลูกเต๋า ,ไฮโล,พนันเงิน      
5. ไปบ่อนคาสิโน      
6. แทงหวย,ล็อตเตอรี่      
7. เล่นหุ้น,พนันหุ้นหรือตลาด

เก็งกำไรพืชผล

     
8. เล่นพนันตู้เกมส์ต่าง ๆ เช่น

สล็อทแมชชีน

     
9. เล่นโบล์วลิ่ง,ยิงปืน,กอล์ฟ หรือ

เกมส์ชนิดอื่น ๆ เพื่อเอาเงิน

     
10. อื่น ๆ ระบุ      

2. จำนวนเงินที่มากที่สุดที่ท่านเคยพนันในแต่ละวันคือเท่าไร?

ก. ไม่เคยพนัน ข. 10 บาทหรือน้อยกว่า

ค. 10-100 บาท ง. 100-1,000 บาท

จ. 1,000-10,000 บาท ฉ. มากกว่า 100,000 บาท

3. บิดามารดาของท่านเล่นการพนันหรือไม่

ก. ทั้งบิดามารดาของท่านเล่น หรือเคยเล่นการพนันมากเกินไป

ข. บิดาของท่านเล่น หรือเคยเล่นการพนันมากเกินไป

ค. มารดาของท่านเล่น หรือเคยเล่นการพนันมากเกินไป

ง. ทั้งบิดามารดาของท่านไม่เคยเล่นการพนัน

4. เมื่อคุณเสียการพนัน คุณเคยกลับไปในวันอื่น เพื่อพนันเอาเงินคืนหรือไม่

ก. ไม่เคย

ข. บางครั้งที่เล่นเสีย (น้อยกว่าครึ่ง)

ค. บ่อยครั้งที่เล่นเสีย

ง. ทุกครั้งที่เล่นเสีย

5. คุณเคยอ้างว่าคุณชนะพนันทั้งๆที่จริงแล้วคุณแพ้ หรือไม่

ก. ไม่เคย (หรือไม่เคยเล่นการพนัน)

ข. เคย แต่น้อยกว่าครึ่งของจำนวนครั้งที่เล่นเสีย

ค. แทบทุกครั้งที่เล่นเสีย

6. คุณเคยรู้สึกว่าคุณมีปัญหาเรื่องการพนันหรือไม่

ก. ไม่

ข. แต่ก่อนเคย แต่ตอนนี้ไม่

ค. คิดว่ามีปัญหาอยู่

ข้อ 7 ถึงข้อ 15 ตอบในช่อง “ ใช่ “ หรือ “ ไม่ใช่ “

ใช่ ไม่ใช่

7. คุณเคยเล่นการพนันมากกว่าที่ตั้งใจไว้หรือไม่ …. ….

8. มีคนตำหนิที่คุณเล่นการพนันหรือไม่ …. .…

9. คุณเคยรู้สึกผิดที่เล่นการพนัน หรือรู้สึกผิดในผลที่ตาม …. .…

มาจากการเล่นพนันหรือไม่

10. คุณเคยอยากหยุดเล่นการพนัน แต่ไม่คิดว่า จะทำได้หรือไม่ …. .…

11. คุณเคยซ่อนล็อตเตอรี่ ,เงินจากการพนัน หรือหลักฐาน …. .…

อื่นเกี่ยวกับการพนันไม่ให้คู่ครองหรือคนอื่นที่ใกล้ชิด

และมีความสำคัญต่อคุณ ได้รับทราบหรือไม่

12. คุณเคยทะเลาะกับคนที่อยู่ด้วยเรื่องการใช้เงินของคุณหรือไม่ …. .…

13. (ถ้าตอบข้อ 12 ว่าเคย)เงินที่เป็นสาเหตุของการโต้เถียง …. .…

เป็นเงินที่คุณใช้พนันหรือไม่

14. คุณเคยยืมเงินจากคนอื่น แต่ไม่คืนเนื่องจากผลของการ …. .…

เล่นการพนันหรือไม่

15. คุณเคยเสียเวลางาน เนื่องจากเล่นการพนันหรือไม่ …. .…

  • 16. ถ้าคุณเคยยืมเงินเพื่อการพนัน หรือเพื่อใช้หนี้ที่เกิดจากการพนันคุณยืมมาจากไหนบ้าง ตอบในช่อง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”
  • ใช่ ไม่ใช่

  • 16.1 จากเงินค่าใช้จ่ายในบ้าน .… ....

    16.2 จากคู่ครอง .… .…

    16.3 จากญาติ .… .…

    16.4 จากธนาคาร บริษัทการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ …. ….

    16.5 จากเครดิตการ์ด …. ….

    16.6 จากนายทุนเงินกู้ …. .…

    16.7 คุณเอาเงินจากเงินออม พันธบัตร ประกันที่มีอยู่ …. ….

    16.8 ขายสมบัติของตัวเองหรือครอบครัว .… .…

    16.9 คุณจ่ายเช็คเด้ง .…. .…

    16.10 คุณใช้วิธีเงินเชื่อกับเจ้ามือ .… .…

  • 16.11 คุณใช้วิธีเงินเชื่อกับบ่อน .… .…

    ตารางที่ 1 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชากรที่ตอบแบบสอบถาม

     

    ประชากรทั้งหมด

    Pathological Gambles

    (ราย)

    (ราย)

    (ร้อยละ)

    เพศ

    ชาย

    หญิง

    อายุ

    21-30 ปี

    31-40 ปี

    41-50 ปี

    51-60 ปี

    สถานภาพสมรส

    คู่

    โสด

    หย่าร้าง

    ม่าย

    ตำแหน่ง

    ข้าราชการ

    ลูกจ้างประจำ

    ลูกจ้างชั่วคราว

    การศึกษา

    อย่างน้อย ป.6

    จบ ม.ต้น

    จบ ม.ปลาย

    จบ อนุปริญญา

    จบ ปริญญาตรี

    สูงกว่าปริญญาตรี

    รายได้ต่อเดือน(บาท)

    ต่ำกว่า 5,000

    5,001-10,000

    10,001-20,000

    มากกว่า 20,000

    สารเสพย์ติด

    บุหรี่

    เหล้า

    ยาบ้า

    อื่นๆ

    ไม่ใช้

    22

    191

    85

    86

    38

    4

    111

    93

    6

    3

    143

    30

    40

    4

    11

    32

    57

    109

    0

    47

    79

    74

    13

    4

    4

    0

    1

    204

    5

    11

    2

    9

    4

    1

    10

    4

    1

    1

    8

    3

    5

    2

    3

    1

    5

    5

    0

    4

    7

    4

    1

    3

    1

    0

    0

    12

    22.7

    5.8

    2.4

    10.5

    10.5

    25.0

    9.0

    4.3

    16.7

    33.3

    5.6

    10.0

    12.5

    50.0

    27.3

    3.1

    8.8

    4.6

    0

    8.5

    8.9

    5.4

    7.7

    75.0

    25.0

    0

    0

    5.9

    ตารางที่ 2 แสดงค่าความเสี่ยงของปัจจัยต่าง ๆ ต่อการติดการพนัน

    ปัจจัยเสี่ยง

    ผู้ที่ไม่ติดการพนัน

    ผู้ที่ติดการพนัน

    Odds ratio

     

    (ค่า SGOS < 5)

    (ค่า SGOS > 5)

     
    เพศ      
    ชาย

    17

    5

    4.81 (1.28<OR<17.52)

    หญิง

    180

    11

     
    อายุ      
    21-40 ปี

    160

    11

    0.51(0.15<OR<1.80)

    41-60 ปี

    37

    5

     
    สถานภาพสมรส      
    คู่

    101

    10

    1.58(0.50<OR<5.13)

    อยู่คนเดียว

    96

    6

     
    อาชีพ      
    ข้าราชการ

    135

    8

    0.46(0.15<OR<1.42)

    ลูกจ้าง

    62

    8

     
    การศึกษา      
    ต่ำกว่า ม.ต้น

    10

    5

    8.50(2.09<OR<33.97)

    สูงกว่า ม.ต้น

    187

    11

     
    รายได้      
    ต่ำกว่า 10,000 บาท

    115

    11

    1.57(0.48<OR<5.41)

    สูงกว่า 10,000 บาท

    82

    5

     
    สารเสพย์ติด      
    ใช้

    5

    4

    12.80(2.47<OR<66.04)

    ไม่ใช้

    204

    12

     

    ตารางที่ 3 ปัญหาทางสุขภาพจิต และความคิดอยากฆ่าตัวตายของประชากรที่ตอบแบบสอบถาม

         

    ผู้ไม่ติดการพนัน (n=197)

    ผู้ติดการพนัน (n=16)

    P

         

    (ค่า SGOS <5)

    (ค่า SGOS > 5)

     
         

    จำนวน (ราย)

    ร้อยละ

    จำนวน (ราย)

    ร้อยละ

     
    1. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

    11

    5.6

    4

    25.0

    0.004

    2. ผู้ที่เคยมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

    13

    6.6

    3

    18.8

    0.077

    ตารางที่ 4 แสดงลักษณะของการติดการพนันของผู้ติดการพนัน (n = 16)

    ลักษณะของการติดการพนัน

       

    จำนวน

    (ราย)

    ร้อยละ

    1. การกลับไปเล่นการพนันเพื่อเอาเงินคืน      

    1.1

    ไม่เคย    

    6

    37.5

    1.2

    บางครั้งที่เล่นเสีย    

    6

    37.5

    1.3

    บ่อยครั้งที่เล่นเสีย    

    3

    18.8

    1.4

    ทุกครั้งที่เล่นเสีย    

    1

    6.3

    2. การอ้างว่าชนะทั้งๆที่แพ้พนัน        

    2.1

    ไม่เคย    

    10

    62.5

    2.2

    เคย แต่น้อยกว่าครึ่งของจำนวนครั้งที่เล่นเสีย  

    6

    37.5

    2.3

    แทบทุกครั้งที่เล่นเสีย    

    0

    0.0

    3. ความรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาเรื่องการพนัน      

    3.1

    ไม่เคยมี    

    11

    68.8

    3.2

    เคยมี แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหา    

    3

    18.8

    3.3

    คิดว่ามีปัญหามีอยู่    

    2

    12.5

    4. การเล่นการพนันมากกว่าที่ตั้งใจไว้    

    9

    56.3

    5. การถูกผู้อื่นตำหนิเรื่องเล่นการพนัน    

    14

    87.5

    6. ความรู้สึกผิดที่เล่นการพนัน หรือรู้สึกผิดในผลที่ตามมา  

    15

    93.8

    7. ความคิดอยากหยุดเล่นการพนัน แต่ไม่คิดว่าจะทำได้  

    9

    56.3

    8. การปิดบังหลักฐานของการเล่นพนันไม่ให้คนใกล้ชิดได้ทราบ

    9

    56.3

    9. การมีปากเสียงกับบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยกันในเรื่องการใช้เงิน

    10

    62.5

    10. การมีปากเสียงกับบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยในเรื่องเงินที่ใช้ในการพนัน

    5

    31.3

    11. การยืมเงินผู้อื่นแล้วไม่คืน เนื่องจากการพนัน  

    5

    31.3

    12. การเสียเวลางาน เนื่องจากการพนัน  

    7

    43.8

     

    Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

    © Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

    Home page Site map Contact us