เกี่ยวกับวารสาร
วารสารฉบับปัจจุบัน
วารสารฉบับก่อนๆ
กองบรรณาธิการ
คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ
สมัครสมาชิก
อีเมล์เตือน
สมาคมจิตแพทย์
ติดต่อ
ค้นหาบทความในวารสาร


สนับสนุนการจัดทำโดย

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Journal of the Psychiatrist Association of Thailand
ISSN: 0125-6985

บรรณาธิการ มาโนช หล่อตระกูล
Editor: Manote Lotrakul, M.D.


การพัฒนาแบบสอบถาม The Five-Scale Test of Self-Esteem for Children ฉบับภาษาไทย

 สุวรรณี พุทธิศรี พ.บ.* ชัชวาลย์ ศิลปกิจ พ.บ.*

 บทคัดย่อ

วิธีการศึกษา คณะผู้ศึกษาได้นำ Five-Scale Test of Self-Esteem for Children (FSC) มาแปลเป็นภาษาไทย และนำไปทำการศึกษาร่วมกับ Children’s Depression Inventory (CDI) และ Rosenberg’s Self-Esteem Scale (RSE) ในเด็กนักเรียนมัธยมปลายจำนวน 408 คน เพื่อทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือในการประเมินความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่างๆ

ผลการศึกษา พบว่า FSC ฉบับภาษาไทยมีค่าความเชื่อถือได้อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ โดยความสอดคล้องภายในของแต่ละแบบสอบถามแต่ละด้านที่ผ่านการปรับปรุงแล้วอยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 0.78 และพบว่า คะแนนแต่ละด้านของ FSC มีความสัมพันธ์กับคะแนนของ CDI และ RSE อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า การประเมินความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่างๆ จะทำให้แยกปัญหาของนักเรียนได้ดีกว่าการประเมินโดยรวม

สรุป FSC สามารถนำไปใช้ในการประเมินความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียน เพื่อนำไปสู่การวางแผนให้ความช่วยเหลือได้อย่างเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับปัญหาของนักเรียน

วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541; 43(4):358-67. 

คำสำคัญ แบบสอบถาม Five-scale test of self-esteem for Children ฉบับภาษาไทย เด็กและวัยรุ่น ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง

 * ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ 10400 

The Reliability and Validity of Thai Version of Five-Scale Test of Self-Esteem for Children

 Suwannee Putthisri, M.D.* Chatchawan Silpakit, M.D.*

 Abstract

This study develops the five-scale test of self-esteem for children (FSC), Thai version, as an assessment various areas of self- esteem in Thai children.

Method The Cildren’s Depression Inventory (CDI) and Rosenberg’s Self-Esteem Scale(RSE) were used as a gold standard instrument. Subjects which consisted of 408 children aged 10-17 years filled out the FSC, CDI and RSE . Statistical analysis was performed to test the validity and internal consistency of the scale which consists of academic, body, family, social, and global area .

Results The internal consistencies were good (Cronbach's alpha coefficient = 0.60-0.78) and each subscale score has significantly correlated with RSE and CDI score.

Conclusion The result reveals the Thai version of FSC has satisfied validity and reliability. Self-esteem assessment in multidimentional area can detect the problem in children more accurate than assess subject as a whole. So the FSC is a practical instrument to assess various areas of self- esteem and to follow-up the improvement after intervention in Thai children.

J Psychiatr Assoc Thailand 1998; 43(4): 358-67. 

Key words : Five-scale test of self-esteem, Thai, children

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Rama VI Road, Bangkok 10400.

ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) เป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการป้องกันการเกิดหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหาทางจิตใจที่เกิดขึ้น ในทางปฏิบัติพบว่าความเดือนร้อนที่บุคคลได้รับนั้นบ่อยครั้งจะมาจากความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองที่น้อยเกินไป ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต้องอาศัยความสมดุลกันระหว่างความชำนาญ ความสามารถที่แต่ละบุคคลประเมินว่าตนเองเป็นอย่างไร (perceived self) กับจินตนาการของบุคคลนั้นว่าต้องการที่จะเป็นอย่างไร (ideal self) หากทั้ง 2 สิ่งใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มองตนเองในแง่ดีตามความเป็นจริง ชื่นชมกับความสามารถที่มีและพร้อมที่จะพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ในทางกลับกันถ้า perceived self และ ideal self แตกต่างกันก็จะทำให้คนๆ นั้นไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง กลัวการปฏิเสธ ท้อแท้ หรืออยู่เฉยไม่กระตือรือล้น1

นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาของตะวันตกจะเน้นถึงเรื่องความสำคัญของความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ต่อมายุค neofreudian ก็ยึดเอาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง (self-concept) มาอยู่ในทฤษฎีบุคลิกภาพ และมีการศึกษาในปัจจุบันที่บ่งชี้ว่าคนที่ภาคภูมิใจในตนเองจะมีความรู้สึกเป็นสุขและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในทางการแพทย์พบว่าภาวะซึมเศร้าในเด็กมีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับการสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเองของเด็ก และพบว่าปัญหาที่เกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเองมักพบในคนไข้โรคซึมเศร้า2

ในพัฒนาการของเด็ก ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองมีความสำคัญมากเพราะเป็นพื้นฐานในการมองประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาได้อย่างถูกต้องและไม่บิดเบือน3 รวมทั้งพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับอนาคตได้อย่างเข้มแข็ง พร้อมที่จะรับเอาสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต

การประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์บิดา มารดา การเฝ้าดูพฤติกรรม และการให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับตนเองด้วยตนเอง เป็นต้น ในประเทศไทยมีการแปลแบบสอบถามเพึ่อทดสอบความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองหลายฉบับ อาทิเช่น Coopersmith Self-Esteem Inventory,4,5 Robin’s Self-Esteem Scale,6 Rosenberg’s Self-Esteem Scale.7 แบบสอบถามเหล่านี้ใช้ประเมินภาพรวมของความภาคภูมิใจในตนเองโดยไม่ได้แยกความภาคภูมิใจในตนเองออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ Pope (1980) ได้เสนอแนวทางในการประเมินความภาคภูมิใจในตนเองของเด็กออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้

    1. สังคม (social) เป็นความรู้สึกถึงการยอมรับที่ได้จากผู้อื่น ความรู้สึกถึงความสามารถ ในการเป็นเพื่อนกับผู้อื่นของตนเอง
    2. การศึกษา (academic) เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในฐานะนักเรียน ความพอใจในผลการเรียน ซึ่งอาจถูกกำหนดมาตรฐาน โดยพ่อแม่ ครู เพื่อน
    3. ครอบครัว (family) เป็นความรู้สึกรับรู้ตนเองในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ความเป็นที่รักและเป็นที่ภาคภูมิใจของคนในครอบครัว
    4. ภาพลักษณ์ (body image) การมองรูปลักษณ์ของตนเองว่า สูง เตี้ย อ้วน ผอม กำลังดี
    5. มุมมองรวม (global) เป็นมุมมองเกี่ยวกับตนเองโดยทั่วๆไป เช่น ความรู้สึกเป็นคนดี

 

ผู้วิจัยเห็นว่าการประเมินรายละเอียดของความภาคภูมิใจในตนเองออกเป็นด้านต่างๆจะเป็นประโยชน์ในการเข้าใจปัญหาของเด็กและในการช่วยเหลือได้อย่างเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกว่าการประเมินโดยรวมๆ จึงได้แปล FSC เป็นภาษาไทยและทดสอบคุณสมบัติของแบบสอบถามนี้ในตัวอย่างประชากรที่เป็นนักเรียนไทย และเนื่องจากปัญหาการฆ่าตัวตายกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญ จึงได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของความคิดฆ่าตัวตายกับความภาคภูมิใจในตัวเองของกลุ่มตัวอย่างด้วย

 วัสดุและวิธีการ

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มประชากรที่นำมาทำการศึกษาครั้งนี้จากนักเรียนชั้นมัธยมต้น (ม.1-ม.3) ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 408 คน การตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในชั่วโมงแนะแนวและส่งคืนในวันเดียวกัน โดยชี้แจงให้นักเรียนทราบก่อนว่าเพื่อการทำวิจัยไม่ใช่การประเมินรายบุคคล

เครื่องมือ

    1. แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีคำถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เช่น อายุ เพศ รายได้ผู้ปกครอง ผลการเรียน น้ำหนัก ส่วนสูง ความพอใจกับน้ำหนักและส่วนสูง ความคิดฆ่าตัวตาย ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา เป็นต้น
    2. แบบสอบถาม FSC ฉบับภาษาไทย ซึ่งแปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดยจิตแพทย์ผู้ทำการศึกษานำไปแปลแล้วแปลกลับโดยจิตแพทย์อีกท่านที่มีความชำนาญทางภาษาอังกฤษ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับต้นฉบับ แล้วจึงปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง FSC ประกอบด้วย คำถาม 60 ข้อ (ดูในภาคผนวก) แบ่งเป็น 6 กลุ่มๆละ 10 ข้อ ได้แก่
    • กลุ่มมุมมองรวม (Global scale)ได้แก่คำถามข้อ 1, 7, (13), (19), 25, 31, 37, (43), (49), (55)
    • กลุ่มการศึกษา (academic scale)ได้แก่ คำถามข้อ (2), 8, (14), 20, (26), 32, (38), 44, (50), 56
    • กลุ่มภาพลักษณ์ (body scale) ได้แก่ คำถามข้อ (3), 9, (15), 21, (27), 33, (39), 45, (51), 57
    • กลุ่มครอบครัว (family scale)ได้แก่ คำถามข้อ 4, 10, (16), (22), 28, 34, 40, (46), (52), (58)
    • กลุ่มสังคม (social scale)ได้แก่ คำถามข้อ (5), (11), 17, 23, (29), (35), (41), 47, 53, 59
    • กลุ่มคำถามลวง (lies scale)ได้แก่ คำถามข้อ 6, (12), (18), (24), 30, 36, 42, (48), 54, (60)

คำตอบมี 3 ตัวเลือก คิดคะแนนดังนี้ ถ้าเลือก เกือบตลอดเวลา = 2 คะแนน บางครั้ง = 1 คะแนน ไม่เคย = 0 คะแนน คำถามที่อยู่ในวงเล็บเมื่อคิดคะแนนต้องกลับคะแนนจาก 0 เป็น 2 และ 2 เป็น 0 ในกลุ่มคำถามลวงถ้าตอบ “เกือบตลอดเวลา” ตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไปจะถือว่าข้อมูลนั้นเป็นการตอบตามที่สังคมต้องการหรือตามความปรารถนาของสังคม ความเที่ยงตรงอาจมีปัญหาจึงตัดข้อมูลนั้นออก

    1. แบบประเมินอาการซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทยโดยอุมาพร ตรังคสมบัติ และคณะ8 ศึกษาในเด็กไทยพบว่ามีความตรงในการจำแนก (discriminant validity) สูง และค่าคะแนน CDI มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเศร้า, CDI ประกอบด้วยคำถาม 27 ข้อ ตัวเลือกคำตอบ 3 แบบ การให้คะแนน ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการน้อยมาก = 0 คะแนน มีอาการบ้าง = 1 คะแนน มีอาการมาก = 2 คะแนน คะแนนมีค่าตั้งแต่ 0-54 คะแนน คะแนนที่บ่งชี้ถึงภาวะ ซึมเศร้าที่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจสภาพจิตคือคะแนนที่ 15 ขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของคะแนน CDI ที่เคยมีการศึกษามาในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 10-15 ปี มีค่า = 18.5ฑ 6.19
    2. แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง Rosenberg’s Self-Esteem Scale (RSE) ฉบับภาษาไทยโดยเยาวลักษณ์ มหาสิทธิวัฒน์ ซึ่งมีค่า Cronbach’s alpha coefficient = 0.87 ประกอบด้วยคำถามจำนวน 10 ข้อ มี 4 ตัวเลือก จากเห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง คะแนนจาก 1 ไปถึง 4 ตามลำดับ

 

การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือ (reliability) พิจารณาค่า internal consistency โดยใช้ Cronbach’s alpha coefficient และการประเมินความเที่ยง (validity) โดยดูความสัมพันธ์ของคะแนนในแบบสอบถามแต่ละ subscale กับคะแนนในแบบสอบถาม CDI, RSE โดยใช้ Pearson correlation 

ผลการวิจัย

1. ลักษณะประชากรที่นำมาทำการวิจัย จำนวน 408 คน อายุตั้งแต่ 11 ถึง 17 ปี อายุเฉลี่ย 13.8 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.95) อัตราส่วนชายต่อหญิง 1:2 รายได้ของบิดามารดาต่ำกว่า 10,000 บาทถึงร้อยละ 74 ความสัมพันธ์ของบิดามารดาอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้ร้อยละ 95 (ตารางที่ 1) ค่า CDI จากกลุ่มตัวอย่างนี้มีค่าเฉลี่ย 16.77 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 พิสัย 5-42 คะแนน

2. ข้อมูลที่มีปัญหาในเรื่องความเที่ยงตรงถูกตัดออกไป ทำให้เหลือข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ร้อยละ 85.3

3. ในตารางที่ 2 จะเห็นว่า alpha coefficient ของแบบสอบถามต้นฉบับแต่ละด้านมีค่าอยู่ตั้งแต่ 0.49 สำหรับความภูมิใจด้านสังคม ถึง 0.73 สำหรับความภูมิใจด้านครอบครัว และพบว่า alpha coefficient ของแบบสอบถามแต่ละด้านเพิ่มขึ้นได้โดยการตัดคำถามบางข้อออก โดยค่า alpha coefficient ของแบบสอบถามแต่ละด้านที่ตัดคำถามบางข้อออกแล้วจะอยู่ระหว่าง 0.60 สำหรับด้านการเรียนและ 0.78 สำหรับด้านครอบครัว และมีข้อคำถามสุดท้ายเหลือ 36 ข้อ (ตารางที่ 2) ซึ่งจะนำไปใช้วิเคราะห์ในตอนต่อไป

4. ความเที่ยงของแบบสอบถามวิเคราะห์โดยประเมินความสัมพันธ์ของคะแนน FSC ในแต่ละ subscale หลังจากที่ตัดคำถามบางข้อออกไปแล้ว กับคะแนนของ CDI, RSE โดยใช้ Pearson correlation coefficient ผลดังตารางที่ 3

5. คะแนนผลการเรียนมีการตอบเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกตอบความรู้สึก คิดเป็นร้อยละ 20.1 กลุ่มที่ 2 ตอบเป็นเกรดเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 55.5 กลุ่มที่ 3 ไม่ตอบ คิดเป็นร้อยละ 24.4 ในกลุ่มที่ตอบเป็นคะแนนเกรด พบว่าคะแนน FSC ด้าน academic และ RSE ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเกรดที่ต่ำกว่า 2 กับเกรด 2 ขึ้นไป ในกลุ่มที่ตอบตามความรู้สึก พบว่าคะแนน FSC ด้าน academic มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่รายงานว่าผลการเรียนไม่ดีกับดี ส่วน RSE ไม่พบความแตกต่าง รายละเอียดในตารางที่ 2

6. การตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกต่อน้ำหนักและส่วนสูง พบว่าคนที่รู้สึกว่าตนเองเตี้ยจะมีค่า FSC ด้าน body ต่ำกว่าคนที่รู้สึกว่าตนเองสูงหรือพอดีอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านน้ำหนักพบว่าคะแนน FSC ด้านภาพลักษณ์ทางกายของคนที่รู้สึกว่าอ้วนจะมีค่าต่ำกว่าคนที่รู้สึกว่าผอมหรือพอดีอย่างมีนัยสำคัญ ดังตารางที่ 4

7. ความคิดฆ่าตัวตาย พบว่าในกลุ่มที่มีความคิดฆ่าตัวตายจะมีคะแนน CDI สูงกว่าคนที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญ (unpaired t-test = 6.48, df = 376, p=0.000) และพบว่าคะแนน FSC ในด้าน global, family, social และ RSE ของคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายจะต่ำกว่าคนที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญ ดังตารางที่ 6

วิจารณ์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเครื่องมือวัดความภาคภูมิใจในตนเอง FSC ฉบับภาษาไทย และจากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าเครื่องมือ FSC มีค่าความเชื่อถือได้โดยใช้ internal consistencies วิเคราะห์โดยใช้ Cronbach’s alpha coefficient = 0.85 และมีความสัมพันธ์กับ CDI และ RES โดยประเมินจาก Pearson correlation coefficient นอกจากนั้นจะเห็นว่าเครื่องมือสามารถบอกถึงส่วนต่างๆ ของความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น ในกลุ่มที่คะแนนการเรียนดีกับไม่ดี จะมีความแตกต่างในคะแนนของ FSC ด้าน academic อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ RSE เป็นการประเมินความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวม ไม่สามารถสืบหาปัญหาในส่วนต่างๆ ของความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะเรื่องความพอใจในผลการศึกษาของตน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อความภาคภูมิใจในตนเองของเด็กและวัยรุ่น ในกลุ่มที่มองว่าตนเองเตี้ยหรืออ้วน ก็จะมีค่า FSC ด้าน body ต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ จะเห็นได้ว่าภาพลักษณ์มีอิทธิพลกับความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นไทยเช่นเดียวกับที่เคยมีการศึกษาในประเทศทางตะวันตก10 และเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของแฟชั่นการลดน้ำหนักมากเกินไป หรือการใช้ยาลดความอ้วนโดยไม่ได้ระวังผลที่ตามมา ดังนั้นจึงจะกล่าวได้ว่าการมองความภาคภูมิใจในแต่ละด้านจะทำให้สามารถค้นหาข้อบกพร่องหรือความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ในขณะที่การมองโดยภาพรวมจะไม่เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเลย นอกจากนี้หลายการศึกษา 11,12,13,14 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีความคิดฆ่าตัวตายกับกลุ่มที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ15 ซึ่งในการศึกษานี้ก็ยืนยันผลเช่นเดียวกัน

เนื่องจากคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองไม่สามารถกำหนดได้ว่าเท่าใดจึงจะพอดี จุดประสงค์ของการใช้เครื่องมือก็เพื่อประกอบกับข้อมูลจากวิธีอื่นๆ เช่นการสัมภาษณ์ การสังเกต และต้องการใช้เครื่องมือ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความภาคภูมิใจของคนๆ หนึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหรือเมื่อได้รับการแนะนำช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการวิจัยนี้ เช่น เรื่องการปรึกษาผู้อื่นเวลามีปัญหา และความสัมพันธ์ทางบิดามารดา เพราะจำนวนประชากรบางค่ามีน้อยมากจนทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ทางสถิติได้

ในแบบสอบถามลักษณะทั่วไปได้ให้กลุ่มตัวอย่างระบุชื่อ ทำให้การตอบแบบอาจจะไม่เป็นไปตามจริงทั้งหมด เพราะอาจคำนึงถึงภาพพจน์ตนเอง อย่างไรก็ตามใน FSC ก็มีกลุ่มคำถามลวงในการตัดข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือออกไป

เครื่องมือ FSC นี้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในด้านการประเมินความภาคภูมิใจในบุคคลในด้านต่างๆ ได้อย่างละเอียด และมีกลุ่มคำถามลวงเพื่อตัดข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือออกไป แต่จำนวนคำถามมีมาก (60 ข้อ) ผลการวิจัยพบว่าเมื่อตัดข้อคำถามออกจนเหลือข้อคำถาม 36 ข้อ ค่าความน่าเชื่อถือของเครื่องมือก็ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อจำกัดในเรื่องกลุ่มประชากรที่เป็นเพียงกลุ่มย่อยกลุ่มเดียว ดังนั้นค่าที่ได้จะไม่สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรอื่นๆ แต่จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อทดสอบแบบสอบถามโดยอิงกับแบบสอบถามที่ได้มาตรฐานแล้ว ดังนั้นความจำกัดของข้อมูลจึงไม่ใช่อุปสรรค อย่างไรก็ตามแนวทางการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป สิ่งที่น่าจะทำการศึกษาต่อไปคือการวิเคราะห์ความเที่ยงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบของความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กไทยซึ่งอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันในต่างประเทศ ด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรม และค่านิยมในสังคม 

เอกสารอ้างอิง

  1. Pope AW, Mchale SM, Craighead WE. Self-esteem enhancement with children and adolescents. New York: Pergamon Press, 1988.
  1. Malmquist CP. The functioning of self-esteem in childhood depression. In: Mack JE, Ablon

SL, eds. The development and sustaining of self-esteem in childhood. New York: International

Universites Press, 1985:189-205.

3. Silverman I. Self-esteem and differential responsiveness to success and failure. J Per Soc

Psychol 1972;23:192-200.

4. นิพนธ์ แจ้งเอียม. การศึกษาบุคลิกภาพแสดงความเชื่อมั่นในตนเอง และความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้น มศ.3 ในกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปริญญานิพนธ์) : วิทยาลัยวิชาการประสานมิตร 2519.

  1. ปัทมา เรณุมาร. ผลการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมที่มีต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางบัว (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2539.
  2. กาญจนา พงศ์พฤกษ์, ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่เหมาะสมในการแสดงออก ความวิตกกังวล และ
  3. ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์) ครุศาสตร์มหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2523.

  4. เยาวลักษณ์ มหาสิทธิวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทาง กาย จิต สังคม กับ

ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหิดล 2529.

8. Trangkrasombat U, Likampichikul D. The Children’s Depression Inventory as a screen for

depression in Thai Children. J Med Assoc Thai 1997;80:491-6.

  1. อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. ภาวะซึมเศร้าในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นในเขตกรุงเทพ

มหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539;41:162-74.

10. Tsai CV, Hoerr SL, Song WO. Dieting behavior of Asian college woman attending a US university. J Am Coll Health 1998 ; 46 : 163-8.

11. วัณเพ็ญ บุญประกอบ. การพยายามฆ่าตัวตายในเด็ก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

2526; 28:29-40.

12. อุมาพร ตรังคสมบัติ. พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็ก. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2536:87-96.

  1. Garfinkel BD, Frolse A, Hood J. Suicide attempts in children and adolescents. Am J
  2. Psychiatry 1982;139:1257-61.

  3. Overholser JC, Adams DM, Lehnert KL, Brinkman DC. Self-esteem deficit and suicidal tendencies among adolescents. J Am Acad Child Adoles Psychiatry 1995;34:919-28.

15. Van GA, Schotte C, Maes M. The prediction of suicidal intent in depressed patients. Acta Psychiatr Scand 1997 ; 96 : 254-9.

 

แบบสอบถาม The Five-Scale Test of Self-Eateem for Children

ฉบับภาษาไทย (Thai FSC)

กรุณาใส่เครื่องหมายถูกในช่องคำตอบที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกท่านมากที่สุด

(คำตอบของท่านไม่มีถูกหรือผิด เพียงแต่ท่านตอบตามความรู้สึกที่แท้จริง ซึ่งเป็นความรู้สึกของตัวท่านเอง ไม่ใช่ความรู้สึกที่คนอื่นคิดว่าท่านควรจะรู้สึก)

ฉันรู้สึก


ตลอดเวลา บางครั้ง แทบไม่รู้สึก

*1. ฉันชอบเกือบทุกสิ่งที่เกี่ยวกับตัวฉัน   

2. ฉันผิดหวังกับผลการเรียนของฉัน   

*3. ฉันงุ่มง่ามเหลือเกิน   

4. ฉันเป็นสมาชิกคนสำคัญของครอบครัว   

*5. ฉันกังวลกับการที่คนอื่นมาชอบฉัน   

6. ฉันทำการบ้านทุกวัน   

7. ฉันเป็นคนสำคัญ   

8. ฉันเก่งพอสมควรในด้านการอ่าน   

9. ฉันชอบรูปลักษณ์ของตัวเอง   

10.ฉันรู้สึกดีกับตัวเอง เมื่อฉันอยู่กับครอบครัว   

11.เด็กคนๆหนึ่งทำให้ฉันรู้สึกเหมือนว่าฉันไม่ดีพอ   

12.ฉันพูดไม่จริง   

13. ฉันอยากเป็นคนอื่น   

*14. ฉันอยากเข้าใจมากกว่านี้ เวลาครูอธิบาย   

*15. ฉันอยากสูง ใกล้เคียงกับเด็กวัยเดียวกัน   

16. ฉันรู้สึกเหมือนต้องเผชิญโลกโดยลำดัง   

17. เพื่อนฉันรับฟังความคิดเห็นของฉัน   

18. เวลาฉันแพ้ ฉันรู้สึกไม่เดือดร้อน   

*19. ฉันไม่ค่อยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเอง   

20.ฉันภูมิใจกับงานที่ฉันทำที่โรงเรียน   

  1. ฉันหน้าตาดี   
  2. ฉันทำให้พ่อแม่ไม่มีความสุข   
  3. ฉันรู้สึกดีกับตนเองเวลาฉันอยู่กับเพื่อนๆ   
  4. ถึงแม้ฉันโกรธเพื่อน ฉันก็ยังคุยกับเขาได้   
  5. ฉันเป็นคนที่น่าสนใจ   

*26. ฉันทำงานที่โรงเรียนเสร็จช้ามาก   

*27 ฉันอยากให้น้ำหนักของฉันเปลี่ยนไปจากนี้   

  1. ฉันเป็นลูกที่ดี   
  2. ฉันเหงา   
  3. ฉันเก็บที่นอนของตัวเองทุกเช้าโดยไม่ต้องเตือน   
  4. ฉันเป็นคนดี   
  5. ฉันรู้สึกดีกับตนเองเวลาฉันอยู่โรงเรียน   
  6. ฉันยิ้มสวย   
  7. พ่อแม่ฉันมีเหตุผลดีที่จะภูมิใจในตัวฉัน   

*35.ฉันหวังว่า ฉันน่าจะมีความสามารถในการคบเพื่อนมากกว่านี้   

  1. ถ้าฉันอยากจะชนะมาก ฉันจะฝ่าฝืนกฎ   
  2. ฉันมีความสุขในสิ่งที่ฉันเป็น   
  3. ฉันโง่ในเรื่องการเรียน   
  4. ฉันรู้สึกแย่กับรูปลักษณ์ของตนเอง   
  5. ฉันมีครอบครัวที่ดีที่สุดครอบครัวหนึ่งในโลก   

*41.ฉันอยากมีเพื่อนที่ชอบฉันจริงๆ   

  1. เมื่อถึงเวลานอนฉันจะเข้านอนโดยไม่บ่น   
  2. ฉันทำอะไรไม่ได้เรื่อง   
  3. ฉันคิดว่ารายงานผลการเรียนฉันดีพอ   

*45.ฉันทำได้ดีในกีฬาหรือเกมที่ฉันชอบเล่น   

  1. ครอบครัวฉันผิดหวังในตัวฉัน   
  2. ฉันสามารถมีเพื่อนได้ถ้าฉันต้องการ   
  3. ฉันโกรธเวลาพ่อแม่ไม่อนุญาตให้ฉันทำในสิ่งที่ฉันอยากทำจริงๆ  
  4. ฉันรู้สึกเหมือนตนเองล้มเหลว   

*50.ฉันอยากเป็นนักเรียนที่ดีกว่านี้   

*51.ฉันอยากเหมือนคนอื่นๆ   

*52.ฉันคิดว่าพ่อแม่คงไม่มีความสุขถ้าฉันเปลียนไปจากเดิม   

  1. ฉันมีเพื่อนมากพอ   
  2. ฉันแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ   
  3. ฉันไม่ภูมิใจกับอะไรเลยที่เกี่ยวกับตนเอง   
  4. ฉันเก่งเลขพอควร   
  5. ฉันรูปร่างดี   
  6. ฉันไม่ชอบสิ่งที่ฉันทำ เวลาฉันอยู่กับครอบครัวฉัน   
  7. ฉันเป็นเพื่อนที่ดี   
  8. ฉันยอมให้คนอื่นๆตำหนิให้สิ่งที่ฉันทำผิด     

* ข้อคำถามที่ตัดออกไป แล้วทำให้คำถามที่เหลือมีความสอดคล้องกันมากขึ้น  

ตารางที่ 1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (N = 408)

 

N

%

เพศ หญิง

ชาย

ความรู้สึกต่อรูปร่าง (N = 397)

อ้วน

พอดี

ผอม

ความรู้สึกต่อส่วนสูง (N = 388)

สูง

พอดี

เตี้ย

รายได้ (N=304) < 5,000

5,001-10,000

> 10,000

ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา (N=404)

ดี

พอใช้

ไม่ดี

268

104

 

85

240

72

 

73

240

75

123

102

79

 

 

265

120

19

66

34

 

21.4

60.5

18.1

 

18.8

61.9

19.3

40.5

33.5

26

 

 

65.6

29.7

4.7

  ตารางที่ 2 ค่า alpha ของแต่ละ subsocale ของ FCS

 

alpha (Pre)

alpha (Post)

No. of items

Academic

0.54

0.60

7

Body

0.61

0.74

5

Family

0.73

0.78

9

Social

0.49

0.64

7

Global

0.65

0.65

8

Toal

0.86

0.85

36

 

ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน FSC กับ CDI และ RSE

 

CDI

RSE

Academic

Body

Family

Global

Social

0.47*

0.31*

0.54*

0.57*

0.54*

0.52*

0.37*

0.48*

0.61*

0.52*

* P < 0.05

ตารางที่ 4 ผลการเรียนกับค่าความภาคภูมิใจในตนเอง



ผลการเรียน

N

%

FSC-Academic

(X/SD)

RSE (X/SD)

เกรด < 2

เกรด ณ 2

ความรู้สึกต่อผลการเรียน ไม่ดี

ความรู้สึกต่อผลการเรียน พอใช้

ความรู้สึกต่อผลการเรียน ดี

ไม่ตอบ

13

158

8

43

12

174

3.2

38.7

2.0

10.5

3.0

42.6

6.8 ฑ 2.6

7.3 ฑ 2.3

6.3 ฑ 2.1*

7.5 ฑ 2.2

8.3 ฑ 2.1*

  1. ฑ 3.66
  2. ฑ 3.00

26.9 ฑ 1.9

27.0 ฑ 3.9

27.8 ฑ 3.8

* p < 0.05

ตารางที่ 5 ค่า FSC-Body กับความรู้สึกต่อน้ำหนัก-ส่วนสูง

 

FSC-Body

ความรู้สึกต่อน้ำหนัก อ้วน

ความรู้สึกต่อน้ำหนัก พอดี

ความรู้สึกต่อน้ำหนัก ผอม

ความรู้สึกต่อส่วนสูง เตี้ย

ความรู้สึกต่อส่วนสูง พอดี

ความรู้สึกต่อส่วนสูง สูง

1.9ฑ 1.7

3.4ฑ 2.2

2.9ฑ 2.1

2.3ฑ 1.8

3.2ฑ 2.2

3.1ฑ 2.2

ตารางที่ 6 ค่า FSC กับความคิดฆ่าตัวตาย

 

ความคิดฆ่าตัวตาย

P-value

 

ไม่มี

มี

 
FSC-Academic (N=290)

FSC-Body (N=289)

FSC-Family (N=290)

FSC-Global (N=289)

FSC-Social (N=290)

RSE (N=289)

7.4ฑ 2.2

3.1ฑ 2.2

11.2ฑ 3.4

9.0ฑ 2.4

9.1ฑ 2.3

27.5ฑ 3.2

6.1ฑ 2.7

2.2ฑ 1.8

8.5ฑ 4.9

6.2ฑ 3.5

6.9ฑ 2.7

25.3ฑ 3.7

0.013

0.058

0.001

0.000

0.000

0.001

 

 

 

Search | Present Issue | Archives | Editorial Board | Author Instructions | Subsribe | E-mail Alert | Contact

© Copyright The Psychiatric Association of Thailand. All Rights Reserved.1999-2001  

Home page Site map Contact us