passo.jpg (6405 bytes)

ความสัมพันธ์ระหว่างยารักษาโรคจิตและการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิต

An Association Between Antipsychotic Drugs and Sudden Death in Psychotic Patients

PDF file

เกษราภรณ์ เคนบุปผา วท.ม.(วิทยาการระบาด)* Kedsaraporn Kenbubpha, M.Sc. (Clinical Epidemiology)*

ชัชวาลย์ ศิลปกิจ พ.บ.,ปร.ด.** Chatchawan Silpakit, M.D., PhD.**

 

Abstract

Objective To study the association between antipsychotic drugs and sudden death in psychotic patients receiving treatment at a psychiatric hospital.

Method This is a matched case-control study. The case group was composed of psychotic patients admitted into Srithanya Hospital during January 1989 to December 1999 who died suddenly with an unexplainable cause (N=54). Patients with physical illnesses, alcoholism or those who died from any other explainable causes were excluded from the study. On the other hand, the control group consisted of psychotic patients admitted into the same hospital during the same period (N=108). The age and gender of the subjects in both groups were matched, and the subjects’ medical records were reviewed. The type and dosage of antipsychotic drugs used were regarded as independent variables. Multiple logistic regression analysis was used to test for the association under study.

Results The incidence of sudden death in psychotic patients receiving antipsychotic drugs was equal to 11%. Two antipsychotics--thioridazine and chorpromazine--were found to be associated with sudden death. It is also found that the strength of association increased with the amount of dosage. However, a combination of two or more antipsychotics was not found to be associated with sudden death. Sudden death in the studied patients occurred more frequently at nighttime than it did during the daytime, and most of the cases received antipsychotics in a higher dose at bedtime than that received during the day.

Conclusions Thioridazine and chlorpromazine were associated with sudden death in psychotic patients receiving treatment at a psychiatric hospital. The strength of the association increased with the dosage. Based on the findings of the study, it is suggested that these two drugs should be used carefully, especially for older patients and with a high dosage. Giving the patient a high dose at night should be avoided at all, if possible. J Psychiatr Assoc Thailand 2001; 46(2): 95-106.

Key words: antipsychotics, sudden death, association

* Prasrimahabhodi Hospital, Muang District, Ubon Ratchathani, 34000

** Department of Psychiatry, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Rama VI Road, Bangkok 10400.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยารักษาโรคจิตและการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในโรงพยาบาลจิตเวช

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบ matched case-control study ระหว่างกลุ่มศึกษาที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 54 คน และกลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการในวันหรือปีตรงกันและมีเพศตรงกันกับกลุ่มศึกษาจำนวน 108 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกประวัติผู้ป่วยในเวชระเบียน

ผลการศึกษา พบอุบัติการณ์ของการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนในผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจิตร้อยละ 11 ยาที่มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนคือ thioridazine และ chlorpromazine ระดับของความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นตามปริมาณยาที่ได้รับ การได้รับยารักษาโรคจิตหลายชนิดไม่สัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน การเสียชีวิตส่วนใหญ่พบในช่วงเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้รับยาปริมาณยามื้อก่อนนอนสูงกว่ามื้ออื่น

สรุป ยา thioridazine และ chlorpromazine มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในโรงพยาบาลจิตเวช โดยความหนักแน่นของความสัมพันธ์จะเพิ่มตามปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับ วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544; 46(2):95-106.

คำสำคัญ ยารักษาโรคจิต การตายอย่างปัจจุบันทันด่วน

* โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000

** ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6กรุงเทพมหานคร 10400

บทนำ

การศึกษาเกี่ยวกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตแสดงให้เห็นว่า อัตราการตายของผู้ป่วยโรคจิตสูงกว่าประชากรทั่วไป 1.7-10 เท่า1-7 มีข้อสันนิษฐานว่าการใช้ยาทางจิตเวชอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตายของผู้ป่วยโรคจิต8-9 การศึกษาผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ความชุกของการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 1910-12 การสำรวจการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนในประเทศฟินแลนด์พบว่าเป็นเพศหญิงร้อยละ 63 อายุเฉลี่ย 44 ปี13 และมีรายงานการศึกษาที่พบว่าการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนอาจมีความสัมพันธ์กับการใช้ยารักษาโรคจิตหลายชนิด14 เช่น phenothiazine9,15 haloperidol16-18 และ flupenthixol19 แต่มีบางรายงานที่ไม่ยืนยันความสัมพันธ์ดังกล่าว20-25

แม้ว่าจะมีรายงานการศึกษาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยารักษาโรคจิต และการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิต แต่การศึกษาที่ผ่านมาเป็นเพียงรายงานการศึกษาแบบ case report และมีการศึกษาเปรียบเทียบ (comparative study) เพียงรายงานเดียวที่วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการตายและการใช้ยาในโรงพยาบาลจิตเวช แต่ผลการศึกษายังไม่ได้ข้อสรุป11 การศึกษาส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศทางยุโรปและอเมริกา และมีหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าปฎิกิริยาการตอบสนองต่อยาทางจิตเวชมีความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติ26 โดยพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเชื้อชาติ อาเซียน จะมีการตอบสนองต่อยารักษาโรคจิตในปริมาณยาขนาดต่ำกว่าผู้ป่วยเชื้อชาติคอเคเซียน27 ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้เพื่อพิสูจน์ว่าชนิดและปริมาณยารักษาโรคจิตมีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบัน ทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิตในโรงพยาบาลจิตเวชหรือไม่

 

วัสดุและวิธีการ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ hospital-based, matched case-control study โดยกลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศรีธัญญาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2532 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2542 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนทางกายและไม่มีการแสดงการป่วยทางกายก่อนตายใน 24 ชั่วโมง28 ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) มีจำนวน 54 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบคือ ผู้ป่วยในที่ป่วยเป็นโรคจิตและได้รับยารักษาโรคจิตโดยมีเพศเดียวกันและมารับบริการในวันเดียวกันหรือปีเดียวกันกับกลุ่มศึกษา ซึ่งจับคู่กับกลุ่มศึกษาเป็น 2 เท่า มีจำนวน 108 ราย เกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่างออกจากกลุ่มศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคแทรกซ้อนทางกาย มีโรคประจำตัว เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ ฆ่าตัวตายหรือถูกฆาตกรรม ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปีถูกคัดออกจากการศึกษาเนื่องจากการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนแปรตามอายุ29 เนื่องจากพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้เกิดไขมันในตับที่มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน30 และปัจจัยเสี่ยงของการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนในผู้ป่วยโรคลมชักไม่เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคจิต31 ผู้ป่วยสองกลุ่มนี้จึงถูกคัดออกเช่นกัน

ข้อมูลได้มาจากการทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วย โดยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับยารักษาโรคจิต ชนิดที่ได้รับ ปริมาณที่ได้รับ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และเวลาที่ได้มีการบันทึกการตายของกลุ่มศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. ข้อมูลทั่วไปนำเสนอในรูปของความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้ Chi Square test, Fisher Exact test และ t-test ตามลักษณะของข้อมูล
  2. ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของขนาดยารักษาโรคจิตที่ได้รับระหว่างสองกลุ่มโดยใช้ unpaired t-test ขนาดยาที่ได้รับในกลุ่มศึกษาคือ ปริมาณยาที่ได้รับในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบใช้ปริมาณยาสูงสุดที่ได้รับในขณะอยู่โรงพยาบาล
  3. การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณยารักษาโรคจิตและการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุแบบลอจิสติก(multiple logistic regression analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ควบคุมอิทธิพลของปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลทำให้ความสัมพันธ์คลาดเคลื่อนไป (confounder)

 

ผลการศึกษา

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

จากศึกษาแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลจำนวน 667 ราย พบ 74 ราย มีการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน (ร้อยละ 11.09) โดย 17 รายเป็นผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี และอีก 3 รายเป็นผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ดังนั้นจึงเหลือกลุ่มศึกษา 54 ราย และได้กลุ่มเปรียบเทียบ 108 ราย ทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากันคือ 1.7:1 เมื่อใช้สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่ามีเพียงสถานภาพสมรสเท่านั้นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02)(ตารางที่ 1) แต่ที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนว่าสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน

ตารางที่ 1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ

กลุ่มศึกษา

กลุ่มเปรียบเทียบ

P-value

จำนวน (ร้อยละ)

จำนวน (ร้อยละ)

เพศ
ชาย 34(63.0) 68(63.0)
หญิง 20(37.0) 40(37.0) 1.00
อายุ (ปี)
ต่ำกว่า 20 ปี 2(3.7) 3(2.8)
20 - 29 ปี 5(9.3) 14(13.0)
30 – 39 ปี 13(24.1) 35(32.4)
40 – 49 ปี 20(37.0) 39(36.1)
50 – 59 ปี 14(25.9) 17(15.7) 0.505
อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 41.54(10.93) 39.31(9.87) 0.193
ระดับการศึกษา
ไม่ได้เรียน 6(11.1) 4(3.7)
ประถมศึกษา 28(51.9) 55(50.9)
ตั้งแต่มัธยมศึกษา 12(22.2) 41(38.0) 0.053
เศรษฐานะ
รายได้ต่ำ 21(38.9) 39(36.1)
ปานกลาง 27(50.0) 59(54.6) 0.614
อาชีพ
รับจ้าง 9(16.7) 26(24.1)
เกษตรกรรม 9(16.7) 16(14.8)
ว่างงาน/อาศัย 22(40.7) 45(41.7)
อื่นๆ 8(14.9) 13(12.1) 0.790
สถานภาพสมรส
โสด 25(46.3) 54(50)
คู่ 9(16.7) 34(31.5)
ม่าย 2(3.7) 6(5.6)
หย่า/ร้าง 13(24.1) 9(8.3) 0.019
การสูบบุหรี่
ไม่สูบบุหรี่ 23(42.6) 58(53.7)
สูบบุหรี่ 13(24.1) 28(25.9) 0.705

ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลกาารักษาระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า มีเพียงจำนวนครั้งการรักษาในโรงพยาบาลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.003) โดยพบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยครั้งรองร้อยละ 53.7 และกลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยรับใหม่ครั้งแรกร้อยละ 70.4 ส่วนการใช้ยาแก้ซึมเศร้าพบว่ามีเพียงกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 6 คนเท่านั้นที่ได้รับยาดังกล่าวร่วมกับยารักษาโรคจิต        (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ข้อมูลการรักษาขณะอยู่โรงพยาบาลของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ

กลุ่มศึกษา

กลุ่มเปรียบเทียบ

P-value

จำนวน (ร้อยละ)

จำนวน (ร้อยละ)

จำนวนยารักษาโรคจิตที่ได้รับ (ชนิด)
1 ชนิด 9(16.7) 21(19.5)
2-3 ชนิด 38(70.3) 74(68.5)
มากกว่า 3 ชนิด 7(13.0) 13(12.0) 0.908
เฉลี่ย(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 2.5(0.97) 2.3(0.99) 0.215
การปรับชนิดหรือปริมาณยา(ครั้ง)
ไม่ได้เปลี่ยน 38(70.4) 65(60.2)
เปลี่ยน 16(29.6) 43(39.8) 0.20
การได้รับยาตามอาการ(ครั้ง)
ไม่ได้รับ 17(31.5) 38(35.2)
1 ครั้ง 19(35.2) 47(43.5)
มากกว่า 1 ครั้ง 18(33.3) 23(21.3) 0.244
การได้รับยาฉีดชนิด long-acting
ไม่ได้รับ 38(70.4) 78(72.2)
ได้รับ 16(29.6) 30(27.8) 0.805
การรักษาด้วย ECT
ไม่ได้รับ 40(74.1) 76(70.4)
ได้รับ 14(25.9) 32(29.6) 0.622
การได้รับยาคลายกังวล
ไม่ได้รับ 44(81.5) 84(77.8)
ได้รับ 10(18.6) 24(22.2) 0.59
การได้รับยาแก้ซึมเศร้า
ไม่ได้รับ 54(100) 102(94.4)
ได้รับ 0 6(5.6) 0.18*
ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล
น้อยกว่า 1 เดือน 37(68.5) 59(54.6)
ตั้งแต่ 1 เดือน 17(31.5) 49(45.4) 0.09
จำนวนการรักษาในโรงพยาบาล
1 ครั้ง 25(46.3) 76(70.4)
มากกว่า 1 ครั้ง 19(53.7) 32(29.6) 0.003

* p-value จาก Fisher Exact test

ตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาที่มีการบันทึกการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนพบมากหลังเที่ยงคืนถึงร้อยละ 59.3 นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณยา thioridazine ในเวลากลางวันเฉลี่ย 112.5 มก. แต่ถูกแบ่งออกให้เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง (ประมาณ 40 ถึง 55 มก.ต่อครั้ง) แต่ปริมาณยาเฉลี่ยในเวลากลางคืนซึ่งให้ครั้งเดียวก่อนนอนเป็นปริมาณถึง 100 มก. เช่นเดียวกับยา chlorpromazine ปริมาณยาเฉลี่ยช่วงเวลากลางวันเป็น 143.5 มก. (40 ถึง 70 มก.ต่อครั้ง) แต่ในปริมาณยาก่อนนอนที่ให้ครั้งเดียวเป็น 156.5 มก.

ตารางที่ 3 ช่วงเวลาที่พบการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนในกลุ่มศึกษา

ระยะเวลา

ความถี่

ร้อยละ

00:01-05:00

9

16.7

05:01-08:00

23

42.6

08:01-16:00

8

14.8

16:01-24:00

14

25.9

รวม

54

100

ผลการศึกษาเกี่ยวกับชนิดและปริมาณยารักษาโรคจิตที่กลุ่มตัวอย่างได้รับโดยส่วนใหญ่พบว่ายาที่ใช้มาก ได้แก่ thioridazine, chlorpromazine และ haloperidol ส่วนยาที่นิยมใช้ร่วมกันมาก ได้แก่ chlorpromazine ร่วมกับ haloperidol นอกจากนี้พบว่าในกลุ่มตัวอย่างที่ได้ยาชนิดเดียวนั้น กลุ่มศึกษาจะมีขนาดเฉลี่ยของยาที่ได้รับสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และที่น่าสังเกตคือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมีขนาดยาแต่ละชนิดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาชนิดเดียว (ตารางที่ 4)

 

การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของกลุ่มตัวอย่าง

พบว่าค่าเฉลี่ยของยา thioridazine และ chlorpromazine แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.027 และ 0.001 ตามลำดับ) (ตารางที่ 5) ส่วนผลการวิเคราะห์ด้วย multiple logistic regression analysis ได้สมการดังนี้ logit (sudden death) = -1.9938 + 0.0101 (thioridazine) + 0.0046 (chlorpromazine) ซึ่งหมายความว่ายา thioridazine และ chlorpromazine มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยความหนักแน่นของความสัมพันธ์จะเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณยาที่ได้รับ (ตารางที่ 6-8)

 

ตารางที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณยารักษาโรคจิตกับการตายอย่างปัจจุบัน

ทันด่วนของผู้ป่วยโรคจิต

ชนิด (มก.ต่อวัน)

b

S.E.

Exp (b )

P-value

Thioridazine 0.0101 0.0025 1.0102 0.000
Chlorpromazine 0.0046 0.0014 1.0046 0.001

* Constant = -1.9938

ตารางที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณยาthioridazineและการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน

มก.ต่อวัน

Odds ratio

95 % CI

1-50

1.29

1.28-1.30

51-100

2.14

2.13-2.15

101-150

3.55

3.53-3.57

151-200

5.89

5.86-5.92

201-250

9.75

9.70-9.80

251-300

16.16

16.08-16.24

301-350

26.78

26.65-26.91

351-400

44.37

44.15-44.59

401-450

73.52

73.16-73.88

451-500

121.82

121.22-122.42

 

ตารางที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณยา chlorpromazine และการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน

มก.ต่อวัน

Odds ratio

95 % CI

1-50

1.12

1.117-1.123

51-100

1.42

1.416-1.424

101-150

1.78

1.775-1.785

151-200

2.24

2.23-2.25

201-250

2.82

2.81-2.83

251-300

3.55

3.54-3.56

301-350

4.47

4.46-4.48

351-400

5.63

5.61-5.65

401-450

7.08

7.06-7.10

451-500

8.91

8.89-8.93

501-550

11.22

11.19-11.25

551-600

14.12

14.08-14.16

 

วิจารณ์

ผลการศึกษาแสดงว่ายา thioridazine และ chlorpromazine เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยความเสี่ยงจะเพิ่มตามปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สอดคล้องกับรายงานที่สงสัยว่ายากลุ่ม phenothiazine9,15 อาจมีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน ยา thioridazine มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ทำให้เกิดภาวะ prolong QT interval และ arrhythmias ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับยาดังกล่าวในขนาดสูง32 ส่วนยา chlorpromazine มีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนได้เช่นกันแต่ไม่มากเท่ากับยา thioridazine ดังนั้นในการใช้ยา thioridazine และ chlorpromazine จึงควรเพิ่มความระมัดระวังการให้ยาในขนาดสูง ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งผู้ป่วยที่สูงอายุ

การศึกษาในครั้งนี้ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนว่า การใช้ยาร่วมกันหลายชนิดมีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน (ตารางที่ 5) พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเพียง 1 ชนิด จะได้รับยาในปริมาณสูงกว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบในการใช้ยาคลายกังวลและยาแก้ซึมเศร้า เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบเท่านั้นที่ได้รับยาแก้ซึมเศร้าร่วมกับยารักษาโรคจิต ซึ่งแตกต่างจากผลการศึกษาผ่านมาที่สันนิษฐานว่าการตายอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยไม่ทราบสาเหตุอาจเกิดจากการใช้ยาร่วมกันหลายชนิด ทั้งจากยารักษาโรคจิตและยาแก้ซึมเศร้า33 แต่เป็นเพียงรายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการบันทึกเวลาที่พบผู้ป่วยเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 50 เป็นเวลาหลังเที่ยงคืน และเป็นช่วงเวลา 05:01-08:00 น. เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยอาจเสียชีวิตมาก่อนหน้านั้นแล้ว และเมื่อพิจารณาปริมาณยาเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ได้รับพบว่า ในช่วงเวลากลางวันปริมาณยาได้ถูกแบ่งให้เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง ในขณะที่ปริมาณยาที่ให้ในเวลากลางคืนซึ่งให้เพียงครั้งเดียวมีขนาดมากกว่าปริมาณยาที่ให้ในเวลากลางวัน 2 ถึง 3 เท่า ดังนั้นจึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พบจำนวนผู้ป่วยที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนมากในช่วงเวลากลางคืน

ตารางที่ 5 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณยารักษาโรคจิตของกลุ่มตัวอย่าง

ชนิด

(มก.ต่อวัน)

กลุ่มศึกษา

เฉลี่ย (จำนวน)

กลุ่มเปรียบเทียบเฉลี่ย (จำนวน)

ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย

P-value

Thioridazine

221.4(21)

144.4 (18)

76.98

0.036

Chlorpromazine

297.8(23)

159.3 (54)

138.57

0.002

Haloperidol

26.2 (28)

20.7 (58)

5.52

0.14

Perphenazine

32 (11)

35.1 (30)

-3.07

0.47

Trifluoperazine

25 (2)

28.3 (12)

-3.33

0.77

Long-acting(mg/mo)

186.1(18)

294.3 (30)

-108.2

0.224

การวิจัยด้วยวิธีการแบบ case-control study เป็นรูปแบบการศึกษาที่เหมาะกับโรคที่พบยาก   ทำให้ทราบผลการศึกษาเร็วและเสียค่าใช่จ่ายน้อย ดังนั้นจึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมสูง แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการศึกษานี้เสี่ยงต่อการเกิดอคติจากการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการแปลผลที่สรุปผลผิดพลาดจากความเป็นจริงได้ง่ายกว่าการศึกษาชนิดอื่นๆ34 ในการวิจัยครั้งนี้ได้ควบคุมปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอคติได้ โดยเริ่มตั้งแต่การจับคู่เพศเนื่องจากมีผลการศึกษาที่พบว่าเพศอาจมีความสัมพันธ์กับการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน13 และมีผลต่อปฏิกิริยาการตอบสนองต่อยารักษาโรคจิตที่แตกต่างกัน26 การใช้กลุ่มเปรียบเทียบเป็น 2 เท่าของกลุ่มศึกษาจะทำให้ความเชื่อมั่น (power) ของการศึกษาเพิ่มขึ้นพร้อมกับทำให้ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยลงด้วย35 โดยการศึกษานี้จำกัดอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลแห่งเดียวไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรของผู้ป่วยโรคจิตทั้งหมด อย่างไรก็ตามแบบแผนการให้บริการของโรงพยาบาลจิตเวชแต่ละแห่งไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ผลการศึกษานี้น่าจะสามารถนำไปประยุกต์หรือสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลจิตเวชอื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนที่ศึกษานี้ไม่ได้ยืนยันเหตุการตายด้วยการชันสูตรศพ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่มีการชันสูตรศพผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย ซึ่งเป็นได้ว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วนในการศึกษานี้อาจจะมีเหตุการตายจากเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาได้ ส่วนการเก็บข้อมูลโดยใช้ medical record นั้นเป็นวิธีการที่เหมาะสม เนื่องวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาที่ได้ถูกบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้ลดปัญหาการเกิด recall bias ได้36

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เลิกใช้ยา thioridazine และ chlorpromazine ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวมีราคาถูกและยังมีประสิทธิภาพการรักษาดี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะได้มีการพัฒนาตัวยาใหม่ขึ้นมาใช้แทน แต่ก็ยังมีราคาแพง การประยุกต์ใช้ผลการศึกษาในครั้งนี้คือ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการให้ยาในกลุ่ม phenothiazine โดยควรมีการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อนให้ยาอย่างละเอียด และจากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ตายอย่างปัจจุบันทันด่วนมีอายุเฉลี่ย 42 ปี ก็พอจะเป็นแนวทางได้ว่าผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่ได้รับยากลุ่มดังกล่าวในขนาดสูง ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมทั้งควรมีการสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย และควรหลีกเลี่ยงการให้ยาขนาดสูงในมื้อกลางคืน ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยนอนหลับอาจจะพิจารณาให้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ซึ่งปลอดภัยกว่าแทน นอกจากนี้การให้ยากลุ่ม high potency ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

กิตติกรรมประกาศ

การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนและส่งเสริมการวิจัยวิทยานิพนธ์บางส่วนจากทบวงมหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2543-44

คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณคณะกรรมการวิจัย/พัฒนานักวิชาการและวิชาชีพโรงพยาบาลศรีธัญญา ที่อนุญาตให้เก็บข้อมูลวิจัย รวมทั้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่อำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

1. Saugstad FL, f degard f . Mortality in psychiatric hospital in Norway, 1950-1974.

       Acta Psychiatry Scand 1979;4:431-47.

2. Brook OH. Mortality in the long stay population of Dutch mental hospitals. Acta

       Psychiatry Scand 1985; 71:622-35.

3. Zilber N, Schufman N, Lerner Y. Mortality among psychiatric patients-the group at

      risk. Acta Psychiatry Scand 1989; 79:248-56.

4. Saugstad L, f degard f . Recent rise in supposedly stress dependent cause of death in

      psychiatric hospital in Norway indicating increased “stress” in hospitals?. Acta

      Psychiatry Scand 1985; 71:402-9.

5. Martin RL, Cloninger CR, Gruze SB, Clayton PJ. Mortality in follow-up of 500

      psychiatric outpatients. Arch Gen Psychiatry 1985; 42:47-54.

6. Helgason L. Mortality and cause of death in psychiatric services and mental illness in

      Iceland. Incidence study (1966-1967) with 6-7 year follow-up. Acta Psychiatry

      Scand 1977; (Suppl 268):103-6.

7. Engberg M. Mortality and suicide rates of involuntarily committed patients. Acta

      Psychiatry Scand 1994; 89:35-40.

8. Plachta A. Asphyxia relatively inherent to tranquilization: review of the literature and

      report of seven cases. Arch Gen Psychiatry 1965; 12:152-8.

9. Hollister LE, Kosek JC. Sudden death during treatment with phenothiazine derivatives.

      JAMA 1965; 192:93-6.

10. Craig TJ. Medication use and deaths attributed to asphyxia among psychiatric patients.

     Am J Psychiatry 1980; 137:1366-73.

11. Ballinger BR, Ramsay AC. Death and drug treatment in a psychiatric hospital.

      Gerontology 1976; 22:220-6.

12. Abiodun OA. Mortality in a psychiatric population: A Nigerian psychiatric hospital

      experience. Acta Psychiatry Scand 1988; 77:654-7.

13. Mehtonen OP, Aranko K, Malkonen L, Vapaatalo H. A survey of sudden death

      associated with the use of antipsychotic or antidepressant drugs: 49 cases in Finland.

      Acta Psychiatry Scand 1991; 84:58-64.

14. Brown RP, Kocsis JH. Sudden death and antipsychotic drugs. Hosp Community

      Psychiatry 1984; 35:486-91.

15. Young CP, Guillan RA. Sudden death syndrome: reports of 16 patients on high dose

      of phenot่hiazine. J Kans Med Soc 1979; 80:547-63.

16. Ketai R, Matthews J, Mozdzen J. Sudden death in patient taking haloperidol. Am J

      Psychiatry 1979; 136:112-3.

17. Modestin J, Krapf R, Boker W. A fatality during haloperidol treatment: mechanism of

      sudden death. Am J Psychiatry 1981; 138:1616-7.

18. Mahutte CK, Nakasato SK, Light RW. Haloperidol and sudden death due to

       pulmonary edema. Arch Intern Med 1982; 142:1951-3.

19. Turbott J, Smeeton MI. Sudden death and flupenthixol decanoate. Aust NZ J

      Psychiatry 1984; 18:91-4.

20. Levenson AJ, Beard OW, Murphy ML. Major tranquilizers and heart disease: to use

      or not to use. Geriatrics 1980; 35:55-61.

21. Turbott J, Cairns FJ. Sudden death and neuroleptic medication. Am J Psychiatry

      1984; 141:919-20.

22. Lathers CM, Lipka LJ. Cardiac arrhythmia, sudden death, and psychoactive agents.

      J Clin Pharmacol 1987; 27:1-14.

23. Laposata EA, Hale P Jr, Poklis A. Evaluation of sudden death in psychiatric patients

      with special reference to phenothiazine therapy: forensic pathology. J Forensic Sci

      1988; 33:432-40.

24. Wakasugi C, Nishi K, Yamada M. Sudden death in a patient taking neuroleptics. Am

      J Forensic Med Pathol 1986; 7:165-6.

25. Leestma JE, Koenig KL. Sudden death and phenothiazine: a current controversy.

      Arch Gen Psychiatry 1968; 18:137-48.

26. Herrera JM, Lawson WB, Sramek JJ, eds. Cross cultural psychiatry. England: John

      Wiley & Sons Ltd, 1999.

27. Lin K, Finder E. Neuroleptic dosage for Asian. Am J Psychiatry 1983; 140:490-1.

28. Castelli WP, Levy D, Wilson PWF, Anderson K, Sanders M. Sudden death: the view

      from Framingham study. In: Kostis JB, Sanders M, eds. The prevention of sudden

      cardiac death. New York: Wiley-Liss, 1990.

29. Feinleib M, Simon AB, Gillum RF. Prodromal symptoms and signs of sudden death

      Circulation 1975; 52(Suppl 3):155-9.

30. Randall B. Fatty liver and sudden death. Human Pathol 1980; 11:147-53.

31. Nilsson L, Farahmand BY, Persson P-G, Thiblin I, Tomson T. Risk factors for

       sudden unexpected death in epilepsy: a case-control study. The Lancet 1999;

      353:888-93.

32. Buckley NA, Whyte IM, Dawson AH. Cardiotoxicity more common in thioridazine

      overdose than with other neuroleptics. J Toxicol Clin Toxicol 1995; 33:199-204.

33. Jusic N, Lader M. Post-mortem antipsychotic drug concentrations and unexplained

      deaths. Br J Psychiatry 1994; 165:787-91.

34. Austin H, Hill HA, Flanders WD, Dreengerg RS. Limitation in the application of

      case-control methodology. Epidemiol Rev 1994; 16:65-76.

35. Smith P. Lecture notes on matching in case-control studies and analysis of matched

      case-control studies. London school of hygiene and tropical medicine, 1993.

36. Armstrong BK, White E, Saracci R. Principles of exposure measurement in

      epidemiology. Oxford: Oxford University Press, 1992.